บางคนอาจเคยได้ยิน USO มาบ้าง หรือบางคนอาจไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยก็ไม่เป็นไรครับ เพราะวันนี้ผมจะพาทุกคนไปรู้จัก USO ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการของ สำนักงาน กสทช. ที่ต้องการกระจายความเจริญด้านการสื่อสารไปทั่วประเทศ ด้วยแนวคิด “ครอบคลุมทั่วถึง ทัดเทียมทั่วไทย”
USO คืออะไร ?
การจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (Universal Service Obligation) เรียกโดยย่อว่า USO เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสำนักงาน กสทช. บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงถือเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม อันจะเป็นประโยชน์ในการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม เปิดโอกาสให้มีการเข้าถึงการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมมากยิ่งขึ้น อันจะทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
หรืออธิบายให้ง่ายกว่านั้นก็คือการทำให้คนไทยในทุกพื้นที่ สามารถเข้าถึงโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตได้นั่นแหละครับ
ทำไมต้องมี USO ?
ในทางปฏิบัติแล้วเรารู้กันดีว่าความเจริญจะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ตัวเมือง ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายต่างๆ จึงเน้นการบริการในจุดที่ชุมชนหนาแน่นและความต้องการสูง ซึ่งคุ้มค่าในการลงทุน ต่างจากพื้นที่ห่างไกลที่ไม่คุ้มในแง่ธุรกิจ ดังนั้นนี่จึงเป็นหน้าที่ของ สำนักงาน กสทช. ที่จะนำความเท่าเทียมเข้าไปยังทุกพื้นที่ ตามแนวคิด “สุดขอบไทย ที่ไม่สุดขอบสัญญาณ”
โดยมี USO Net เป็นศูนย์บริการ ซึ่งในการแบ่งโซนสำหรับการทำ USO Net มีอยู่ 4 โซน คือ
1. Zone A และ Zone B ที่เป็นพื้นที่ตัวเมืองหรือจุดที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์
2. Zone C คือพื้นที่ห่างไกลไม่เกิน 15 กิโลเมตร
3. ส่วน Zone C+ คือพื้นที่ห่างไกลมากกว่า 15 กิโลเมตร
เป้าหมายของโครงการนี้เน้นการขยายบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปยังพื้นที่ห่างไกล ใน Zone C และ Zone C+ โดยเน้นการขยายโครงข่ายไปยังจุดสำคัญของหมู่บ้าน เช่น โรงเรียนและสถานพยาบาล
สิ่งที่คนในพื้นที่ห่างไกลและชายขอบจะได้รับ
ความพยายามของ สำนักงาน กสทช. ที่จะนำความทัดเทียมไปสู่ทุกพื้นที่ทั่วไทย โดยสิ่งที่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลจะได้รับคือ
1. บริการ Wi-Fi สาธารณะประจำหมู่บ้าน
2. บริการศูนย์อินเทอร์เน็ตสาธารณะ (ศูนย์ USO Net)
3. บริการห้องอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (USO Wrap)
4. บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับโรงเรียน
5. บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.)
เป้าหมายที่แท้จริงคือ Humanware
สำนักงาน กสทช. ได้จัดทำวีดีโอขึ้นมา 3 คลิป เพื่อนำเสนอเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ผ่านตัวละครเด็กหญิง “กอหญ้า” ที่เป็นตัวแทนของคนชายขอบที่ไม่เคยได้สัมผัสกับอินเทอร์เน็ต
ภาพยนตร์โฆษณา ตอนที่ 1 "Hardware" : https://youtu.be/JKuddnpQUZg
ในคลิปแรกเป็นการเล่าเรื่องราวของ Hardware โดยทีมงานของ สำนักงาน กสทช. ได้นำชุดอุปกรณ์เข้าไปยังดินแดนชายขอบ ผ่านเส้นทางที่ถนนไม่ได้สวยงามนัก แวดล้อมไปด้วยป่าไม้และภูเขา ตู้จดหมายที่ถูกทิ้งร้าง นั่นคือวันที่เด็กหญิงกอหญ้ารู้สึกตื่นเต้น เพราะของที่เจ้าหน้าที่นำมาในครั้งนี้ไม่เหมือนทุกครั้ง และเจ้าหน้าที่บอกว่าสิ่งนี้จะทำให้คนในชุมชนสามารถไปได้ทุกที่บนโลก และสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า สำนักงาน กสทช. ได้บรรลุเป้าหมายการขยายบริการสู่พื้นที่ชายขอบแล้ว
ภาพยนตร์โฆษณา ตอนที่ 2 "Software" : https://youtu.be/-XbDu2E5-zE
คลิปที่สองเป็นเรื่องของ Software โดยกอหญ้าได้ยินที่ครูสอนว่า Hardware เหล่านี้ถูกเชื่อมโยงส่งสัญญาณมาในหลายรูปแบบ ทั้งผ่านฟากฟ้า ( ดาวเทียมและเสาสัญญาณ ) และบางทีก็ต้องผ่านน้ำ ( สายเคเบิ้ลใต้น้ำ ) ผ่านเส้นทางที่แสนไกล แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่มีความพิเศษใดๆ เลย หากคนในหมู่บ้านไม่รู้จักการใช้งานผ่าน Software
ซึ่งครูก็ทำหน้าที่สอนให้รู้จักการใช้แอปพลิเคชันต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ เช่น การปูพื้นฐานการเขียนโปรแกรมให้เด็ก ทำให้รู้จักคำว่า AI และ IoT ส่วนผู้ใหญ่ก็ได้ใช้เรียนรู้ทักษะการสร้างอาชีพ และยังเข้าถึงบริการด้านสวัสดิการของภาครัฐ รวมไปถึงข้อมูลด้านการแพทย์สำหรับสถานพยาบาลในชุมชน การเรียนรู้และรับข้อมูลเพื่อรับมือภัยพิบัติ ทำให้หมู่บ้านที่อยู่ชายขอบแบบนี้ก็ได้รับความทัดเทียมเท่ากับพื้นที่อื่นในประเทศ โดย สำนักงาน กสทช. ได้จัดหาบุคลากรเพื่อทำการดูแลเครื่องมือและอบรมคนในหมู่บ้านด้วย
ภาพยนตร์โฆษณา ตอนที่ 3 "Humanware" : https://youtu.be/6WoPO0usTkU
คลิปที่สามเปรียบเสมือนภาพในอนาคตในอีก 5 ปีถัดมา หลังจากที่ชุมชนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ คราวนี้เด็กหญิงกอหญ้าใช้สมาร์ทโฟนไลฟ์พาทัวร์ชุมชนที่เปลี่ยนไปให้ชาวโลกได้เห็นวิถีของชุมชน
การเกษตรก็กลายเป็นแบบปลอดภัยไร้สาร ที่สามารถสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทันที และชุมชนก็กลายเป็นจุดท่องเที่ยว มีโฮมสเตย์เล็กๆ บรรยากาศชาวบ้านให้บริการ โดยมีลูกค้าต่างชาติจองห้องพักล่วงหน้าด้วย โดยใช้แอปพลิเคชันช่วยแปลภาษาไทยเป็นอังกฤษเพื่อให้สื่อสารกับชาวต่างชาติได้ ส่วนคนเลี้ยงไก่ก็สามารถสร้างฟาร์มที่มีผลผลิตดีขึ้น โดยเรียนรู้จากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่เพื่อนของกอหญ้าก็กลายเป็นนักพัฒนาเกม ครูก็สามารถใช้ Generative AI ด้วยการพานักเรียนพิมพ์ข้อความแล้วให้ AI แปลงเป็นภาพ ส่วนคนสูงวัยก็ให้ลูกหลานช่วยเช็คเบี้ยสูงอายุได้ รวมไปถึงการที่คนในหมู่บ้านสร้างเว็บไซต์เพื่อแนะนำหมู่บ้านให้นักท่องเที่ยวได้รู้จัก ในคลิปนี้สำนักงาน กสทช. สื่อสารให้รู้ว่าเป้าหมายที่แท้จริงคือการสร้างคุณภาพประชากร โดยการวางรากฐานเศรษฐกิจให้ยั่งยืนผ่านระบบโทรคมนาคม
ซึ่งวีดีโอทั้งสามคลิป ก็คือการเล่าแผนการดำเนินงานของ สำนักงาน กสทช. ให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย โดยคลิปที่สามเหมือนเป็นบทสรุปหนังไตรภาค ให้เห็นถึงเป้าหมายปลายทางที่ สำนักงาน กสทช. ได้พยายามทำ ว่าผลลัพธ์ของ USO Net จะช่วยสานฝันให้คนในชุมชนยิ้มได้มากกว่าเดิม แต่ก่อนจะไปถึงฝั่งฝันได้ก็ต้องเริ่มจากการติดตั้ง Hardware ก่อน จากนั้นจึงผลักดัน Software เพื่อสร้างการเรียนรู้และเข้าถึงบริการต่างๆ และเมื่อเวลาผ่านไปสิ่งนี้จะสร้าง Humanware ผู้คนที่ได้เรียนรู้เท่าทันโลกก็ทำให้ชุมชนเจริญก้าวหน้าขึ้น
ความท้าทายของ USO
แม้ว่าหลักการและแนวคิดจะเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่ในทางปฏิบัติก็มีข้อจำกัดและเงื่อนไขที่ท้าทาย สำนักงาน กสทช. อยู่ไม่น้อย เริ่มจากวิธีการนำสัญญาณกระจายไปยังพื้นที่ห่างไกล ต้องใช้เงินทุนจำนวนมากเพื่อใช้เทคนิคต่างๆ ในการนำสัญญาณเข้าไปถึงปลายทางที่ห่างไกล ซึ่งแม้จะมีความยากเพียงใด สำนักงาน กสทช. ก็มุ่งมั่นที่จะทำภารกิจนี้ให้สำเร็จให้ได้ต่อไป
แต่ความท้าทายยังไม่หมดแค่นั้น เพราะการนำเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีคุณภาพเข้าไปสู่คนชายขอบเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ยังมีโจทย์อีกมากมายให้ สำนักงาน กสทช. ต้องจัดการต่อในขั้นตอนถัดไป เช่น บางพื้นที่ยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง เมื่อใช้พลังงานแสงอาทิตย์ก็เกิดความไม่เสถียรในการใช้งาน
บทสรุป
สำนักงาน กสทช. ได้ประเมินเบื้องต้นแล้วว่าการทำโครงการ USO Net ก็ต้องมีคนไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะการมองในแง่ของต้นทุนในการนำโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตเข้าไปสู่พื้นที่ห่างไกลและชายขอบ เพราะในแง่ธุรกิจแล้วมันเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ไม่มีผู้ให้บริการเอกชนขยายโครงข่ายไปถึงหมู่บ้านเหล่านี้ แต่ภารกิจของ สำนักงาน กสทช. คือการทำให้คนไทยสามารถสื่อสารได้ทัดเทียมกันทั่วทุกพื้นที่ นี่จึงเป็นหน้าที่ของ สำนักงาน กสทช.
อย่างไรก็ตามหลังจากที่ทำการติดตั้งชุดอุปกรณ์แล้ว ก็ต้องมีเรื่องของการอบรมให้ความรู้ เพื่อให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและแอปพลิเคชันต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งสำนักงาน กสทช. ก็รับรู้เรื่องนี้โดยสื่อสารออกมาในวีดีโอชิ้นที่ 2 และถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่วางแผนไว้ ก็จะเกิดภาพอนาคตที่คนในหมู่บ้านได้รับข้อมูล ข่าวสารและสวัสดิการต่างๆ รวมถึงเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้ ตามในคลิปที่ 3 ครับ
หากมองที่ภารกิจและแผนงานที่ต้องการสร้างความเจริญให้เข้าถึงทุกพื้นที่ก็ดูเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็เป็นเรื่องปรกติที่การลงมือปฏิบัติก็จะพบอุปสรรคระหว่างทาง การจะไปถึงฝั่งฝันที่ สำนักงาน กสทช. วาดไว้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนและการร่วมมือช่วยแก้ไขของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
สุดท้ายนี้ทุกคนสามารถเข้าไปชมภาพยนตร์โฆษณาในแต่ละตอนกันได้ ตามลิงก์ข้างล่างนี้เลยครับ
ภาพยนตร์โฆษณา ตอนที่ 1 “Hardware” :
https://youtu.be/JKuddnpQUZg
ภาพยนตร์โฆษณา ตอนที่ 2 “Software” :
https://youtu.be/-XbDu2E5-zE
ภาพยนตร์โฆษณา ตอนที่ 3 "Humanware" :
https://youtu.be/6WoPO0usTkU
[BR] รู้จักกับ USO Net โครงการขยายความเจริญทั่วไทยของสำนักงาน กสทช. ฉบับอ่านง่าย
บางคนอาจเคยได้ยิน USO มาบ้าง หรือบางคนอาจไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยก็ไม่เป็นไรครับ เพราะวันนี้ผมจะพาทุกคนไปรู้จัก USO ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการของ สำนักงาน กสทช. ที่ต้องการกระจายความเจริญด้านการสื่อสารไปทั่วประเทศ ด้วยแนวคิด “ครอบคลุมทั่วถึง ทัดเทียมทั่วไทย”
USO คืออะไร ?
การจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (Universal Service Obligation) เรียกโดยย่อว่า USO เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสำนักงาน กสทช. บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงถือเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม อันจะเป็นประโยชน์ในการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม เปิดโอกาสให้มีการเข้าถึงการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมมากยิ่งขึ้น อันจะทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
หรืออธิบายให้ง่ายกว่านั้นก็คือการทำให้คนไทยในทุกพื้นที่ สามารถเข้าถึงโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตได้นั่นแหละครับ
ทำไมต้องมี USO ?
ในทางปฏิบัติแล้วเรารู้กันดีว่าความเจริญจะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ตัวเมือง ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายต่างๆ จึงเน้นการบริการในจุดที่ชุมชนหนาแน่นและความต้องการสูง ซึ่งคุ้มค่าในการลงทุน ต่างจากพื้นที่ห่างไกลที่ไม่คุ้มในแง่ธุรกิจ ดังนั้นนี่จึงเป็นหน้าที่ของ สำนักงาน กสทช. ที่จะนำความเท่าเทียมเข้าไปยังทุกพื้นที่ ตามแนวคิด “สุดขอบไทย ที่ไม่สุดขอบสัญญาณ”
โดยมี USO Net เป็นศูนย์บริการ ซึ่งในการแบ่งโซนสำหรับการทำ USO Net มีอยู่ 4 โซน คือ
1. Zone A และ Zone B ที่เป็นพื้นที่ตัวเมืองหรือจุดที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์
2. Zone C คือพื้นที่ห่างไกลไม่เกิน 15 กิโลเมตร
3. ส่วน Zone C+ คือพื้นที่ห่างไกลมากกว่า 15 กิโลเมตร
เป้าหมายของโครงการนี้เน้นการขยายบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปยังพื้นที่ห่างไกล ใน Zone C และ Zone C+ โดยเน้นการขยายโครงข่ายไปยังจุดสำคัญของหมู่บ้าน เช่น โรงเรียนและสถานพยาบาล
สิ่งที่คนในพื้นที่ห่างไกลและชายขอบจะได้รับ
ความพยายามของ สำนักงาน กสทช. ที่จะนำความทัดเทียมไปสู่ทุกพื้นที่ทั่วไทย โดยสิ่งที่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลจะได้รับคือ
1. บริการ Wi-Fi สาธารณะประจำหมู่บ้าน
2. บริการศูนย์อินเทอร์เน็ตสาธารณะ (ศูนย์ USO Net)
3. บริการห้องอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (USO Wrap)
4. บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับโรงเรียน
5. บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.)
เป้าหมายที่แท้จริงคือ Humanware
สำนักงาน กสทช. ได้จัดทำวีดีโอขึ้นมา 3 คลิป เพื่อนำเสนอเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ผ่านตัวละครเด็กหญิง “กอหญ้า” ที่เป็นตัวแทนของคนชายขอบที่ไม่เคยได้สัมผัสกับอินเทอร์เน็ต
ภาพยนตร์โฆษณา ตอนที่ 1 "Hardware" : https://youtu.be/JKuddnpQUZg
ในคลิปแรกเป็นการเล่าเรื่องราวของ Hardware โดยทีมงานของ สำนักงาน กสทช. ได้นำชุดอุปกรณ์เข้าไปยังดินแดนชายขอบ ผ่านเส้นทางที่ถนนไม่ได้สวยงามนัก แวดล้อมไปด้วยป่าไม้และภูเขา ตู้จดหมายที่ถูกทิ้งร้าง นั่นคือวันที่เด็กหญิงกอหญ้ารู้สึกตื่นเต้น เพราะของที่เจ้าหน้าที่นำมาในครั้งนี้ไม่เหมือนทุกครั้ง และเจ้าหน้าที่บอกว่าสิ่งนี้จะทำให้คนในชุมชนสามารถไปได้ทุกที่บนโลก และสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า สำนักงาน กสทช. ได้บรรลุเป้าหมายการขยายบริการสู่พื้นที่ชายขอบแล้ว
ภาพยนตร์โฆษณา ตอนที่ 2 "Software" : https://youtu.be/-XbDu2E5-zE
คลิปที่สองเป็นเรื่องของ Software โดยกอหญ้าได้ยินที่ครูสอนว่า Hardware เหล่านี้ถูกเชื่อมโยงส่งสัญญาณมาในหลายรูปแบบ ทั้งผ่านฟากฟ้า ( ดาวเทียมและเสาสัญญาณ ) และบางทีก็ต้องผ่านน้ำ ( สายเคเบิ้ลใต้น้ำ ) ผ่านเส้นทางที่แสนไกล แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่มีความพิเศษใดๆ เลย หากคนในหมู่บ้านไม่รู้จักการใช้งานผ่าน Software
ซึ่งครูก็ทำหน้าที่สอนให้รู้จักการใช้แอปพลิเคชันต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ เช่น การปูพื้นฐานการเขียนโปรแกรมให้เด็ก ทำให้รู้จักคำว่า AI และ IoT ส่วนผู้ใหญ่ก็ได้ใช้เรียนรู้ทักษะการสร้างอาชีพ และยังเข้าถึงบริการด้านสวัสดิการของภาครัฐ รวมไปถึงข้อมูลด้านการแพทย์สำหรับสถานพยาบาลในชุมชน การเรียนรู้และรับข้อมูลเพื่อรับมือภัยพิบัติ ทำให้หมู่บ้านที่อยู่ชายขอบแบบนี้ก็ได้รับความทัดเทียมเท่ากับพื้นที่อื่นในประเทศ โดย สำนักงาน กสทช. ได้จัดหาบุคลากรเพื่อทำการดูแลเครื่องมือและอบรมคนในหมู่บ้านด้วย
ภาพยนตร์โฆษณา ตอนที่ 3 "Humanware" : https://youtu.be/6WoPO0usTkU
คลิปที่สามเปรียบเสมือนภาพในอนาคตในอีก 5 ปีถัดมา หลังจากที่ชุมชนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ คราวนี้เด็กหญิงกอหญ้าใช้สมาร์ทโฟนไลฟ์พาทัวร์ชุมชนที่เปลี่ยนไปให้ชาวโลกได้เห็นวิถีของชุมชน
การเกษตรก็กลายเป็นแบบปลอดภัยไร้สาร ที่สามารถสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทันที และชุมชนก็กลายเป็นจุดท่องเที่ยว มีโฮมสเตย์เล็กๆ บรรยากาศชาวบ้านให้บริการ โดยมีลูกค้าต่างชาติจองห้องพักล่วงหน้าด้วย โดยใช้แอปพลิเคชันช่วยแปลภาษาไทยเป็นอังกฤษเพื่อให้สื่อสารกับชาวต่างชาติได้ ส่วนคนเลี้ยงไก่ก็สามารถสร้างฟาร์มที่มีผลผลิตดีขึ้น โดยเรียนรู้จากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่เพื่อนของกอหญ้าก็กลายเป็นนักพัฒนาเกม ครูก็สามารถใช้ Generative AI ด้วยการพานักเรียนพิมพ์ข้อความแล้วให้ AI แปลงเป็นภาพ ส่วนคนสูงวัยก็ให้ลูกหลานช่วยเช็คเบี้ยสูงอายุได้ รวมไปถึงการที่คนในหมู่บ้านสร้างเว็บไซต์เพื่อแนะนำหมู่บ้านให้นักท่องเที่ยวได้รู้จัก ในคลิปนี้สำนักงาน กสทช. สื่อสารให้รู้ว่าเป้าหมายที่แท้จริงคือการสร้างคุณภาพประชากร โดยการวางรากฐานเศรษฐกิจให้ยั่งยืนผ่านระบบโทรคมนาคม
ซึ่งวีดีโอทั้งสามคลิป ก็คือการเล่าแผนการดำเนินงานของ สำนักงาน กสทช. ให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย โดยคลิปที่สามเหมือนเป็นบทสรุปหนังไตรภาค ให้เห็นถึงเป้าหมายปลายทางที่ สำนักงาน กสทช. ได้พยายามทำ ว่าผลลัพธ์ของ USO Net จะช่วยสานฝันให้คนในชุมชนยิ้มได้มากกว่าเดิม แต่ก่อนจะไปถึงฝั่งฝันได้ก็ต้องเริ่มจากการติดตั้ง Hardware ก่อน จากนั้นจึงผลักดัน Software เพื่อสร้างการเรียนรู้และเข้าถึงบริการต่างๆ และเมื่อเวลาผ่านไปสิ่งนี้จะสร้าง Humanware ผู้คนที่ได้เรียนรู้เท่าทันโลกก็ทำให้ชุมชนเจริญก้าวหน้าขึ้น
ความท้าทายของ USO
แม้ว่าหลักการและแนวคิดจะเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่ในทางปฏิบัติก็มีข้อจำกัดและเงื่อนไขที่ท้าทาย สำนักงาน กสทช. อยู่ไม่น้อย เริ่มจากวิธีการนำสัญญาณกระจายไปยังพื้นที่ห่างไกล ต้องใช้เงินทุนจำนวนมากเพื่อใช้เทคนิคต่างๆ ในการนำสัญญาณเข้าไปถึงปลายทางที่ห่างไกล ซึ่งแม้จะมีความยากเพียงใด สำนักงาน กสทช. ก็มุ่งมั่นที่จะทำภารกิจนี้ให้สำเร็จให้ได้ต่อไป
แต่ความท้าทายยังไม่หมดแค่นั้น เพราะการนำเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีคุณภาพเข้าไปสู่คนชายขอบเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ยังมีโจทย์อีกมากมายให้ สำนักงาน กสทช. ต้องจัดการต่อในขั้นตอนถัดไป เช่น บางพื้นที่ยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง เมื่อใช้พลังงานแสงอาทิตย์ก็เกิดความไม่เสถียรในการใช้งาน
บทสรุป
สำนักงาน กสทช. ได้ประเมินเบื้องต้นแล้วว่าการทำโครงการ USO Net ก็ต้องมีคนไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะการมองในแง่ของต้นทุนในการนำโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตเข้าไปสู่พื้นที่ห่างไกลและชายขอบ เพราะในแง่ธุรกิจแล้วมันเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ไม่มีผู้ให้บริการเอกชนขยายโครงข่ายไปถึงหมู่บ้านเหล่านี้ แต่ภารกิจของ สำนักงาน กสทช. คือการทำให้คนไทยสามารถสื่อสารได้ทัดเทียมกันทั่วทุกพื้นที่ นี่จึงเป็นหน้าที่ของ สำนักงาน กสทช.
อย่างไรก็ตามหลังจากที่ทำการติดตั้งชุดอุปกรณ์แล้ว ก็ต้องมีเรื่องของการอบรมให้ความรู้ เพื่อให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและแอปพลิเคชันต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งสำนักงาน กสทช. ก็รับรู้เรื่องนี้โดยสื่อสารออกมาในวีดีโอชิ้นที่ 2 และถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่วางแผนไว้ ก็จะเกิดภาพอนาคตที่คนในหมู่บ้านได้รับข้อมูล ข่าวสารและสวัสดิการต่างๆ รวมถึงเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้ ตามในคลิปที่ 3 ครับ
หากมองที่ภารกิจและแผนงานที่ต้องการสร้างความเจริญให้เข้าถึงทุกพื้นที่ก็ดูเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็เป็นเรื่องปรกติที่การลงมือปฏิบัติก็จะพบอุปสรรคระหว่างทาง การจะไปถึงฝั่งฝันที่ สำนักงาน กสทช. วาดไว้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนและการร่วมมือช่วยแก้ไขของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
สุดท้ายนี้ทุกคนสามารถเข้าไปชมภาพยนตร์โฆษณาในแต่ละตอนกันได้ ตามลิงก์ข้างล่างนี้เลยครับ
ภาพยนตร์โฆษณา ตอนที่ 1 “Hardware” : https://youtu.be/JKuddnpQUZg
ภาพยนตร์โฆษณา ตอนที่ 2 “Software” : https://youtu.be/-XbDu2E5-zE
ภาพยนตร์โฆษณา ตอนที่ 3 "Humanware" : https://youtu.be/6WoPO0usTkU
BR - Business Review : กระทู้นี้เป็นกระทู้รีวิวจากผู้สนับสนุน