หลังจากที่อุณหภูมิของกรุงเทพทะยานไปแตะที่ 40.2°C เมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา ณ สถานีตรวจวัดที่สนามบินดอนเมือง หลังจากวันนั้นอุณหภูมิสูงสุดในแต่ละวันของกรุงเทพจะทรงๆอยู่ราว 36-38°C มาโดยตลอดจนถึงตอนนี้ แต่เมื่อคิดรวมกับค่าความชื้นสัมพัทธ์ทำให้ Real Feel หรืออุณหภูมิที่รู้สึกจริงก็จะเกิน 40°C ตลอดตามปกติในช่วงฤดูร้อน
[1] พยากรณ์อุณหภูมิกรุงเทพในช่วงบ่าย ให้แตะ 40°C โดยเฉพาะในช่วงต้นสัปดาห์นี้และช่วงต้นสัปดาห์หน้า ส่วนพื้นที่คาดว่าถ้าเกิดขึ้นก็น่าจะเป็นแถวดอนเมืองเหมือนเดิม (GFS พยากรณ์ไว้ 40°C ส่วน ECMWF พยากรณ์ไว้ 39°C )
[2] พยากรณ์อุณหภูมิกรุงเทพ จาก AccuWeather.com ช่วงวันที่ 21-24 เม.ษ. คาดว่าน่าจะพีคช่วงวันอาทิตย์-จันทร์
[3] สถิติอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุดของกรุงเทพมหานคร (จุดตรวจวัดสถานีดอนเมือง)
ตั้งแต่วันที่ 1-18 เม.ษ. ที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่แล้ว (ข้อมูลจากกรมอุตุฯ)
จะเห็นได้ว่าอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนเมษาของปีนี้จะสูงกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วแทบทุกวัน และอุณหภูมิสูงสุดค่อนข้าง(ร้อน)คงที่กว่าปีที่แล้ว แถมยังเจอ 40°C เร็วกว่าปีที่แล้ว(เปิดมาต้อนรับวันแรกเลย) ฝนก็ตกแค่บางพื้นที่ในวันที่ 10 เม.ษ. วันเดียว ถึงจะยังไม่หมดเดือนก็อาจจะประมาณได้อยู่ว่าค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของกรุงเทพในเดือนเมษาปีนี้น่าจะสูงกว่าปีที่แล้ว
กรุงเทพ "ร้อนชื้น" หรือ "ร้อนแห้ง"
- พื้นที่กรุงเทพจะถือว่าเป็นร้อนชื้นเมื่อคิดเฉลี่ยจากค่าความชื้นสัมพัทธ์ตลอดวันทั้งกลางวันและกลางคืน ตามสถิติค่าความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยในเดือนเมษาทั้งเดือนของกรุงเทพจะอยู่ที่ประมาณ 72% โดยในช่วงกลางคืนถึงช่วงเช้าค่าความชื้นสัมพัทธ์จะอยู่ระหว่าง 70-90% และช่วงกลางวันถึงช่วงเย็นค่าความชื้นสัมพัทธ์จะอยู่ระหว่าง 40-60% (ไม่รวมวันที่ฝนตก) แต่...จะมีช่วงบ่ายของบางวันเกิดร้อนแห้งขึ้นได้คล้ายภาคเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเกิดในวันที่อุณหภูมิใกล้แตะหรือเกิน 40°C โดยเฉพาะกรุงเทพตอนบน
[4] อุณหภูมิจะลดหลั่นกันตามระดับความใกล้-ไกลทะเล และแนวลม
ตัวอย่างแผนที่พยากรณ์อุณหภูมิของกรุงเทพ 19/04/67 เวลา 13.00น. โดยทางตอนบนอุณหภูมิจะสูงกว่าตอนล่าง
[5] ค่าความชื้นสัมพัทธ์จะลดหลั่นกันตามระดับความใกล้-ไกลทะเล แนวลม และอุณหภูมิ
ตัวอย่างแผนที่พยากรณ์ค่าความชื้นของกรุงเทพ 19/04/67 เวลา 13.00น. อุณหภูมิยิ่งสูงค่าความชื้นสัมพัทธ์จะยิ่งต่ำ โดยทางตอนบนจะค่าความชื้นสัมพัทธ์จะต่ำกว่าตอนล่าง
[6] เปรียบเทียบอุณหภูมิ แนวลม และค่าความชื้น ของวันที่ 1 กับ 2 เม.ษ. ที่ผ่านมา ช่วงเวลาเที่ยงวันถึง 6 โมงเย็น
จากกราฟสถิติในรูป [3] ทำไมวันที่ 1 เม.ษ. อุณหภูมิ 40°C พอวันที่ 2 อุณหภูมิลดลงเหลือ 38°C
- วันที่ 1 เม.ษ. แดดจัด ลมอ่อนและบางช่วงพัดจากด้านตะวันตก ความร้อนไม่ระบาย อุณหภูมิสูง ค่าความชื้นสัมพัทธ์ต่ำมาก
- วันที่ 2 เม.ษ. แดดจัด แต่ลมใต้พัดแทบตลอดช่วง ความร้อนถูกระบายตามแนวลมใต้ ค่าความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มขึ้นกว่าวันก่อนหน้า
สรุป
- ลมใต้ช่วยระบายความร้อนให้กรุงเทพได้เยอะมาก แต่ก็จะนำความชื้นจากทะเลมาด้วยเช่นกัน ทำให้รู้สึกร้อนชื้น
- ในบางวันช่วงบ่ายในวันที่ลมใต้อ่อน อุณหภูมิสูง ความชื้นลดลง จะเริ่มร้อนแห้ง อุณหภูมิ 39-40°C แดดจะร้อนแบบแสบผิว
- ในทุกวันช่วงกลางคืนถึงเช้าจะร้อนแบบเหนียวตัวตามปกติ เพราะความชื้นสัมพัทธ์ขึ้นสูงเนื่องจากอุณหภูมิลดลง
- อุณหภูมิในกรุงเทพจะไม่ได้เท่ากันทุกพื้นที่ ตัวอย่างตามรูป [4] รวมถึง การวัดเองที่บ้าน ดูในแอป หรือจากกรมอุตุฯ ก็จะต่างกัน (ในที่นี้ขอยึดตามกรมอุตุฯ)
- ถึงอุณหภูมิอากาศจะสูงจนทำสถิติ แต่ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ก็อาจจะไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าร้อนที่สุดก็ได้ ยกตัวอย่างจากสถิติของวันที่ 1 และ 2 เม.ษ. มาเปรียบเทียบ เมื่อคำนวณค่า Heat Index (หรือที่รู้จักในแอปพยากรณ์อากาศว่า
Real Feel) ของวันที่ 2 เม.ษ. จะสูงกว่าเนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า
--- (วันที่ 1 เม.ษ.) อุณหภูมิอากาศ 40°C ความชื้นสัมพัทธ์ 20% จะได้ค่า Heat Index = 40°C
--- (วันที่ 2 เม.ษ.) อุณหภูมิอากาศ 38°C ความชื้นสัมพัทธ์ 44% จะได้ค่า Heat Index = 45°C
ปล. วิเคราะห์จากการสังเกตในหลายๆช่วงเวลา ส่วนการพยากรณ์ว่าจะตรงหรือไม่ ขึ้นอยู่ปัจจัยทางธรรมชาติ อย่างเช่นแนวทิศทางลมที่ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงบ่อย บางทีถ้ามันแปรปรวนการพยากรณ์มันก็จะเปลี่ยนตามเรื่อยๆ แต่แนวโน้มคิดว่ามีโอกาสถึงหรือใกล้เคียงอยู่ครับ
คาดการณ์กรุงเทพอาจมีโอกาสแตะ 40°C อีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของเดือนเมษา 2567
[1] พยากรณ์อุณหภูมิกรุงเทพในช่วงบ่าย ให้แตะ 40°C โดยเฉพาะในช่วงต้นสัปดาห์นี้และช่วงต้นสัปดาห์หน้า ส่วนพื้นที่คาดว่าถ้าเกิดขึ้นก็น่าจะเป็นแถวดอนเมืองเหมือนเดิม (GFS พยากรณ์ไว้ 40°C ส่วน ECMWF พยากรณ์ไว้ 39°C )
[2] พยากรณ์อุณหภูมิกรุงเทพ จาก AccuWeather.com ช่วงวันที่ 21-24 เม.ษ. คาดว่าน่าจะพีคช่วงวันอาทิตย์-จันทร์
[3] สถิติอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุดของกรุงเทพมหานคร (จุดตรวจวัดสถานีดอนเมือง)
ตั้งแต่วันที่ 1-18 เม.ษ. ที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่แล้ว (ข้อมูลจากกรมอุตุฯ)
จะเห็นได้ว่าอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนเมษาของปีนี้จะสูงกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วแทบทุกวัน และอุณหภูมิสูงสุดค่อนข้าง(ร้อน)คงที่กว่าปีที่แล้ว แถมยังเจอ 40°C เร็วกว่าปีที่แล้ว(เปิดมาต้อนรับวันแรกเลย) ฝนก็ตกแค่บางพื้นที่ในวันที่ 10 เม.ษ. วันเดียว ถึงจะยังไม่หมดเดือนก็อาจจะประมาณได้อยู่ว่าค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของกรุงเทพในเดือนเมษาปีนี้น่าจะสูงกว่าปีที่แล้ว
กรุงเทพ "ร้อนชื้น" หรือ "ร้อนแห้ง"
- พื้นที่กรุงเทพจะถือว่าเป็นร้อนชื้นเมื่อคิดเฉลี่ยจากค่าความชื้นสัมพัทธ์ตลอดวันทั้งกลางวันและกลางคืน ตามสถิติค่าความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยในเดือนเมษาทั้งเดือนของกรุงเทพจะอยู่ที่ประมาณ 72% โดยในช่วงกลางคืนถึงช่วงเช้าค่าความชื้นสัมพัทธ์จะอยู่ระหว่าง 70-90% และช่วงกลางวันถึงช่วงเย็นค่าความชื้นสัมพัทธ์จะอยู่ระหว่าง 40-60% (ไม่รวมวันที่ฝนตก) แต่...จะมีช่วงบ่ายของบางวันเกิดร้อนแห้งขึ้นได้คล้ายภาคเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเกิดในวันที่อุณหภูมิใกล้แตะหรือเกิน 40°C โดยเฉพาะกรุงเทพตอนบน
[4] อุณหภูมิจะลดหลั่นกันตามระดับความใกล้-ไกลทะเล และแนวลม
ตัวอย่างแผนที่พยากรณ์อุณหภูมิของกรุงเทพ 19/04/67 เวลา 13.00น. โดยทางตอนบนอุณหภูมิจะสูงกว่าตอนล่าง
[5] ค่าความชื้นสัมพัทธ์จะลดหลั่นกันตามระดับความใกล้-ไกลทะเล แนวลม และอุณหภูมิ
ตัวอย่างแผนที่พยากรณ์ค่าความชื้นของกรุงเทพ 19/04/67 เวลา 13.00น. อุณหภูมิยิ่งสูงค่าความชื้นสัมพัทธ์จะยิ่งต่ำ โดยทางตอนบนจะค่าความชื้นสัมพัทธ์จะต่ำกว่าตอนล่าง
[6] เปรียบเทียบอุณหภูมิ แนวลม และค่าความชื้น ของวันที่ 1 กับ 2 เม.ษ. ที่ผ่านมา ช่วงเวลาเที่ยงวันถึง 6 โมงเย็น
จากกราฟสถิติในรูป [3] ทำไมวันที่ 1 เม.ษ. อุณหภูมิ 40°C พอวันที่ 2 อุณหภูมิลดลงเหลือ 38°C
- วันที่ 1 เม.ษ. แดดจัด ลมอ่อนและบางช่วงพัดจากด้านตะวันตก ความร้อนไม่ระบาย อุณหภูมิสูง ค่าความชื้นสัมพัทธ์ต่ำมาก
- วันที่ 2 เม.ษ. แดดจัด แต่ลมใต้พัดแทบตลอดช่วง ความร้อนถูกระบายตามแนวลมใต้ ค่าความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มขึ้นกว่าวันก่อนหน้า
สรุป
- ลมใต้ช่วยระบายความร้อนให้กรุงเทพได้เยอะมาก แต่ก็จะนำความชื้นจากทะเลมาด้วยเช่นกัน ทำให้รู้สึกร้อนชื้น
- ในบางวันช่วงบ่ายในวันที่ลมใต้อ่อน อุณหภูมิสูง ความชื้นลดลง จะเริ่มร้อนแห้ง อุณหภูมิ 39-40°C แดดจะร้อนแบบแสบผิว
- ในทุกวันช่วงกลางคืนถึงเช้าจะร้อนแบบเหนียวตัวตามปกติ เพราะความชื้นสัมพัทธ์ขึ้นสูงเนื่องจากอุณหภูมิลดลง
- อุณหภูมิในกรุงเทพจะไม่ได้เท่ากันทุกพื้นที่ ตัวอย่างตามรูป [4] รวมถึง การวัดเองที่บ้าน ดูในแอป หรือจากกรมอุตุฯ ก็จะต่างกัน (ในที่นี้ขอยึดตามกรมอุตุฯ)
- ถึงอุณหภูมิอากาศจะสูงจนทำสถิติ แต่ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ก็อาจจะไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าร้อนที่สุดก็ได้ ยกตัวอย่างจากสถิติของวันที่ 1 และ 2 เม.ษ. มาเปรียบเทียบ เมื่อคำนวณค่า Heat Index (หรือที่รู้จักในแอปพยากรณ์อากาศว่า Real Feel) ของวันที่ 2 เม.ษ. จะสูงกว่าเนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า
--- (วันที่ 1 เม.ษ.) อุณหภูมิอากาศ 40°C ความชื้นสัมพัทธ์ 20% จะได้ค่า Heat Index = 40°C
--- (วันที่ 2 เม.ษ.) อุณหภูมิอากาศ 38°C ความชื้นสัมพัทธ์ 44% จะได้ค่า Heat Index = 45°C
ปล. วิเคราะห์จากการสังเกตในหลายๆช่วงเวลา ส่วนการพยากรณ์ว่าจะตรงหรือไม่ ขึ้นอยู่ปัจจัยทางธรรมชาติ อย่างเช่นแนวทิศทางลมที่ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงบ่อย บางทีถ้ามันแปรปรวนการพยากรณ์มันก็จะเปลี่ยนตามเรื่อยๆ แต่แนวโน้มคิดว่ามีโอกาสถึงหรือใกล้เคียงอยู่ครับ