“Forecasting Love and Weather” (2022) “พยากรณ์วันนี้ มีรักบางแห่ง”
ปกติไม่ว่าจะเป็นซีรีส์เกี่ยวกับอะไร จะย้อนยุค สายลับ หมอ ทนาย ทหาร อาชญากรรม เวทมนตร์ วิทยาศาสตร์ เกาหลีก็เอามาทำเป็นแนวรักได้หมดเลย 😂 ซึ่งเรื่องนี้ก็จะเป็นคอนเสปต์ -ความรักในที่ทำงาน-
เรื่องนี้เป็นซีรีส์วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับกรมอุตุฯ และการพยากรณ์อากาศ ซึ่งให้ความรู้เรื่องการพยากรณ์อากาศ ใครที่ไม่รู้มาก่อนก็จะสร้างความเข้าใจว่า การพยากรณ์ล้วนเป็นการวิเคราะห์คาดเดาหรือคาดการณ์ ความผิดพลาดมากกว่าความถูกต้อง , ผลการวิเคราะห์ที่ไม่ตรงกันของแต่ละคน
เนื้อหาก็จะไม่พูดถึง สำหรับท่านที่ยังไม่รับชมก็ต้องไปดูว่าในตอนละตอน เขามีปัญหาอะไร แก้อย่างไร ผลเป็นอย่างไร
…..
(อันนี้นำเสนอเรื่องวิทยาศาสตร์เล็กน้อย)
ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ การพยากรณ์อากาศ
ข้อมูลและการวิเคราะห์ :
1. ข้อมูลสภาพอากาศที่ผ่านมา-
การวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตช่วยในการสร้างแบบจำลองพยากรณ์
2. การตรวจวัดปัจจุบัน-
เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ลม และพายุ ซึ่งช่วยให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
3. แบบจำลองทางคณิตศาสตร์-
นักอุตุนิยมวิทยาใช้สมการทางฟิสิกส์และสถิติในการจำลองสภาพอากาศในอนาคต โดยมีแบบจำลองคอมพิวเตอร์ (Numerical Weather Pridiction)
4. เทคโนโลยีดาวเทียมและเรดาร์-
ใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในแบบเรียลไทม์
การพยากรณ์อากาศจึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และคาดเดาหน้าที่สมจริงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและเชื่อถือได้มากที่สุด
. . .
ปัจจัยที่ทำให้การพยากรณ์ผิดพลาด :
1. ความซับซ้อนของระบบอากาศ-
สภาพอากาศเป็นระบบที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อกัน เช่น ลม, ความร้อน, และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอื่น ๆ
2. ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง
หากข้อมูลที่ใช้ในการพยากรณ์มีคุณภาพต่ำหรือไม่สมบูรณ์ จะส่งผลต่อความแม่นยำในการพยากรณ์
3. แบบจำลองทางคณิตศาสตร์-
แบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณโดยสมการที่ซับซ้อน อาจไม่สามารถจับลักษณะเฉพาะของสภาพอากาศได้อย่างแม่นยำ ซึ่งอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาด
4. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว-
การปะทะกันของปรากฏการณ์ทางอากาศ หรือเหตุการณ์ทางอากาศบางอย่าง เช่น พายุหรือฝนฟ้าคะนอง อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันและไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า
5. ข้อมูลย้อนหลัง-
การพยากรณ์ที่อิงจากข้อมูลในอดีตอาจไม่สามารถสะท้อนสภาพใหม่ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
6. ขีดจำกัดของการพยากรณ์ระยะยาว-
การพยากรณ์ระยะสั้น (1-3 วัน) มีความแม่นยำกว่าการพยากรณ์ระยะยาว (เช่น 7-14 วัน)
[การพยากรณ์อากาศล้วนเป็นการวิเคราะห์] ซีรีส์เกาหลี “Forecasting Love and Weather”
“Forecasting Love and Weather” (2022) “พยากรณ์วันนี้ มีรักบางแห่ง”
ปกติไม่ว่าจะเป็นซีรีส์เกี่ยวกับอะไร จะย้อนยุค สายลับ หมอ ทนาย ทหาร อาชญากรรม เวทมนตร์ วิทยาศาสตร์ เกาหลีก็เอามาทำเป็นแนวรักได้หมดเลย 😂 ซึ่งเรื่องนี้ก็จะเป็นคอนเสปต์ -ความรักในที่ทำงาน-
เรื่องนี้เป็นซีรีส์วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับกรมอุตุฯ และการพยากรณ์อากาศ ซึ่งให้ความรู้เรื่องการพยากรณ์อากาศ ใครที่ไม่รู้มาก่อนก็จะสร้างความเข้าใจว่า การพยากรณ์ล้วนเป็นการวิเคราะห์คาดเดาหรือคาดการณ์ ความผิดพลาดมากกว่าความถูกต้อง , ผลการวิเคราะห์ที่ไม่ตรงกันของแต่ละคน
เนื้อหาก็จะไม่พูดถึง สำหรับท่านที่ยังไม่รับชมก็ต้องไปดูว่าในตอนละตอน เขามีปัญหาอะไร แก้อย่างไร ผลเป็นอย่างไร
…..
(อันนี้นำเสนอเรื่องวิทยาศาสตร์เล็กน้อย)
ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ การพยากรณ์อากาศ
ข้อมูลและการวิเคราะห์ :
1. ข้อมูลสภาพอากาศที่ผ่านมา-
การวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตช่วยในการสร้างแบบจำลองพยากรณ์
2. การตรวจวัดปัจจุบัน-
เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ลม และพายุ ซึ่งช่วยให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
3. แบบจำลองทางคณิตศาสตร์-
นักอุตุนิยมวิทยาใช้สมการทางฟิสิกส์และสถิติในการจำลองสภาพอากาศในอนาคต โดยมีแบบจำลองคอมพิวเตอร์ (Numerical Weather Pridiction)
4. เทคโนโลยีดาวเทียมและเรดาร์-
ใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในแบบเรียลไทม์
การพยากรณ์อากาศจึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และคาดเดาหน้าที่สมจริงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและเชื่อถือได้มากที่สุด
. . .
ปัจจัยที่ทำให้การพยากรณ์ผิดพลาด :
1. ความซับซ้อนของระบบอากาศ-
สภาพอากาศเป็นระบบที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อกัน เช่น ลม, ความร้อน, และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอื่น ๆ
2. ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง
หากข้อมูลที่ใช้ในการพยากรณ์มีคุณภาพต่ำหรือไม่สมบูรณ์ จะส่งผลต่อความแม่นยำในการพยากรณ์
3. แบบจำลองทางคณิตศาสตร์-
แบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณโดยสมการที่ซับซ้อน อาจไม่สามารถจับลักษณะเฉพาะของสภาพอากาศได้อย่างแม่นยำ ซึ่งอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาด
4. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว-
การปะทะกันของปรากฏการณ์ทางอากาศ หรือเหตุการณ์ทางอากาศบางอย่าง เช่น พายุหรือฝนฟ้าคะนอง อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันและไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า
5. ข้อมูลย้อนหลัง-
การพยากรณ์ที่อิงจากข้อมูลในอดีตอาจไม่สามารถสะท้อนสภาพใหม่ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
6. ขีดจำกัดของการพยากรณ์ระยะยาว-
การพยากรณ์ระยะสั้น (1-3 วัน) มีความแม่นยำกว่าการพยากรณ์ระยะยาว (เช่น 7-14 วัน)