หลังจากช่วงครึ่งเดือนหลังของเดือนธันวา 67 เป็นต้นมา มวลอากาศเย็นหรือลมหนาวได้แผ่ลงมาค่อนข้างต่อเนื่อง แม้ไม่แรงมาก แต่ทำให้หลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคอีสานเย็นถึงหนาวต่อเนื่อง รวมถึงภาคเหนือถึงแม้จะหนาวช้ากว่าก็ยังเย็นต่อเนื่องเช่นกัน สรุปสภาพอากาศย้อนหลังของช่วงครึ่งหลังเดือนธันวาได้
ที่นี่
ช่วงราวๆวันเด็กที่จะถึงนี้ คาดการณ์ว่าจะมีลมหนาวอีกระลอกที่คาดว่าจะเย็นมากสุดตั้งแต่เข้าฤดูหนาว 2567/68 นี้มา ทำให้หลายพื้นที่จะหนาวเย็นลงไปอีก และอาจจะเจออุณหภูมิต่ำสุดในตอนเช้าต่ำกว่า 10°C ในพื้นราบได้โดยเฉพาะอีสานตอนบน โดยลมหนาวระลอกนี้จะเย็นพีคสุดในช่วงวันที่ 12-14 ม.ค.
[1] อุณหภูมิน้ำทะเลและ MJO
อุณหภูมิน้ำทะเลบริเวณทะเลจีนใต้แถบชายฝั่งเวียดนามยังคงเย็นลงอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้บางจุดเย็นกว่าค่าเฉลี่ยปกติไปแล้ว เป็นเสมือนการเปิดทางให้ลมหนาวแผ่ลงมาได้ง่ายขึ้น(เมื่อลมหนาวมา) ส่วน MJO ช่วงนี้อยู่ในช่วง phase 8 กำลังอ่อน และสุดสัปดาห์นี้จะข้ามไปเริ่ม phase 1 ยังคงไม่ส่งผลกระทบอะไรกับลมหนาวที่แผ่มาทางบ้านเรา
[2] แนวลมกรดกึ่งเขตร้อน (ระดับ 250hPa : ความสูง 10 กม.) ช่วงวันที่ 4-7 ธ.ค.
อันนี้ถือเป็นกรณีศึกษาจากเนื้อหาของกระทู้คุณสมาชิกหมายเลข 1716385 กระทู้ >
โอกาสและความเป็นไปได้ของฤดูหนาว 2567/2568 < ซึ่งลมหนาวระลอกที่จะถึงนี้เกิดแบบ ฉากทัศน์ที่ 1 รูปแบบที่ 3
ช่วงนี้เกิดการสบกันของแนวลมกรดกึ่งเขตร้อนกับแนวลมกรดขั้วโลก และเกิดลำบีบของลมกรดแถวประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดการยกตัวของอากาศเบื้องล่าง เกิดเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนแถวญี่ปุ่น สามารถดึงลมหนาวจากไซบีเรียไหลลงมาตรงๆได้มากขึ้น รวมถึงทางเข้าของลำบีบแนวลมกรดจะเลื่อนมาแถวทิเบต ด้านซ้ายของทางเข้าก็จะเป็นบริเวณที่อากาศจมตัว ค่าความกดอากาศจะสูงขึ้น ที่หลายคนบ่นๆ กันว่าทำไม หย่อม L แถวทิเบตเกิดบ่อย,อยู่นาน,ไม่ไปไหน มันจะมีบางช่วงเหตุการณ์แบบนี้ที่ทำให้ค่าความกดอากาศมันสูงขึ้น ส่งผลให้หย่อม L มันจะหายไปอยู่บางจังหวะ ช่วงนี้แหละครับ ลมหนาวจะไหลลงมาทางบ้านเราได้มากขึ้น
[3] แนวลมที่ระดับ 850hPa (ความสูง 1500 ม.) ช่วงวันที่ 8-12 ม.ค.
สังเกตแถวบริเวณเกาหลี-ญี่ปุ่น จะเกิดพายุหมุนนอกเขตร้อนจากเหตุการณ์ [2] ดึงลมหนาวจากไซบีเรียลงมาตรงๆ หลังจากนั้นแนวลมจะโค้งลงมาตามแนวลมตะวันออกเฉียงเหนือเนื่องจากจะเกิดแนวปะทะอากาศตั้งแต่ตอนใต้ของญี่ปุ่นจนถึงทะเลจีนใต้ ทำให้มวลอากาศเย็นหรือลมหนาวจะไหลเข้ามาทางบ้านเรา
[4] อุณหภูมิที่ระดับ 850hPa (ความสูง 1500 ม.) ที่ต่างจากค่าปกติ ช่วงวันที่ 8-12 ม.ค.
บ่งบอกถึงมวลอากาศเย็นที่เคลื่อนที่มาตามแนวลมระดับ 850hPa ช่วงแรกจะทำให้เกาหลีหนาวสุดตั้งแต่เข้าฤดูหนาวมาด้วยเหมือนกัน หลังจากนั้นจะเริ่มเคลื่อนที่มาทางบ้านเราจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศ กรุงโซล, เกาหลีใต้
ช่วงวันที่ 9-10 ม.ค. นี้ ช่วงกลางวันจะสุงสุดที่ -8°C และช่วงเช้าต่ำสุดที่ -13°C ซึ่งเย็นกว่าค่าเฉลี่ยปกติของกรุงโซลมาก
[5] ค่าความกดอากาศแถวเอเชียฝั่งตะวันออก ช่วงวันที่ 9-14 ม.ค.
สังเกตหย่อม L แถวที่ทิเบตจะมีค่าความกดอากาศสูงขึ้นหรือหายไปบางช่วง จังหวะนี้ทำให้ลมหนาวแผ่มาทางบ้านเราได้เต็มที่มากขึ้น
[6] ค่าความกดอากาศที่คาดว่าจะสูงสุดของระลอกนี้ (อ้างอิง ECMWF)
อยู่ในช่วง 10:00น. ของวันที่ 11 ม.ค. และ 12 ม.ค.
ภาคเหนือ-ภาคอีสานตอนบนสูงสุดประมาณ 1024-1025 hPa
กรุงเทพมหานคร สูงสุดอยู่ประมาณ 1020 hPa (เป็นครั้งแรกตั้งแต่เข้าฤดูหนาวนี้มา)
[7] แนวลมที่ระดับ 925hPa (ความสูง 750 ม.) ของวันที่ 11 ม.ค.
บ่งบอกถึงลมที่แรงตามเส้นไอโซบาร์ที่ถี่มากตามรูป [6] ซึ่งภาคอีสานลมน่าจะเริ่มแรงขึ้นตั้งแต่ช่วงวันที่ 10 ม.ค. เป็นต้นไป
[8] พยากรณ์ฝนสะสม 24 ชม.รายวัน ช่วงวันที่ 8-15 ม.ค.
แนวโน้มภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นได้ช่วงประมาณวันที่ 11-12 ม.ค. และอีกครั้งอาจจะเป็นช่วงวันที่ 15 ม.ค.
[9] พยากรณ์อากาศจาก Weather.com ช่วง 7 วันข้างหน้า
นครพนม
ลมจะเริ่มแรงตั้งแต่ช่วงวันที่ 10-11 ม.ค. หลังจากนั้นอุณหภูมิลดฮวบ ต่ำสุดรอลุ้นเลขตัวเดียว หนาวสุดจะเป็นช่วงวันที่ 11-14 ม.ค.
เชียงราย
อุณหภูมิจะลดลงอีกหน่อย ต่ำสุดคาดว่าจะอยู่ช่วง 10°C ต้นๆ เป็นสัปดาห์ น่าจะหนาวต่อเนื่องแบบสม่ำเสมอ
กรุงเทพมหานคร
ลมจะมาหลังภาคอีสานหน่อย ลมน่าจะเริ่มแรงช่วงประมาณวันที่ 11 ม.ค. ช่วงที่เย็นสุดคาดว่าจะเป็นวันที่ 12-14 ม.ค. โดยช่วงเช้าต่ำสุดประมาณ 18-19°C และอุณหภูมิสูงสุดช่วงกลางวันจะเย็นลงกว่าเดิม
...ข้อมูลการพยากรณ์จาก ECMWF...
...ข้อมูลการพยากรณ์ ณ วันที่ 7 มกราคม 2568...
ลมหนาวช่วงกลางเดือนมกราคม 2568 ที่คาดว่าจะเย็นสุดตั้งแต่เข้าฤดูหนาวนี้มา
ช่วงราวๆวันเด็กที่จะถึงนี้ คาดการณ์ว่าจะมีลมหนาวอีกระลอกที่คาดว่าจะเย็นมากสุดตั้งแต่เข้าฤดูหนาว 2567/68 นี้มา ทำให้หลายพื้นที่จะหนาวเย็นลงไปอีก และอาจจะเจออุณหภูมิต่ำสุดในตอนเช้าต่ำกว่า 10°C ในพื้นราบได้โดยเฉพาะอีสานตอนบน โดยลมหนาวระลอกนี้จะเย็นพีคสุดในช่วงวันที่ 12-14 ม.ค.
[1] อุณหภูมิน้ำทะเลและ MJO
อุณหภูมิน้ำทะเลบริเวณทะเลจีนใต้แถบชายฝั่งเวียดนามยังคงเย็นลงอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้บางจุดเย็นกว่าค่าเฉลี่ยปกติไปแล้ว เป็นเสมือนการเปิดทางให้ลมหนาวแผ่ลงมาได้ง่ายขึ้น(เมื่อลมหนาวมา) ส่วน MJO ช่วงนี้อยู่ในช่วง phase 8 กำลังอ่อน และสุดสัปดาห์นี้จะข้ามไปเริ่ม phase 1 ยังคงไม่ส่งผลกระทบอะไรกับลมหนาวที่แผ่มาทางบ้านเรา
[2] แนวลมกรดกึ่งเขตร้อน (ระดับ 250hPa : ความสูง 10 กม.) ช่วงวันที่ 4-7 ธ.ค.
อันนี้ถือเป็นกรณีศึกษาจากเนื้อหาของกระทู้คุณสมาชิกหมายเลข 1716385 กระทู้ > โอกาสและความเป็นไปได้ของฤดูหนาว 2567/2568 < ซึ่งลมหนาวระลอกที่จะถึงนี้เกิดแบบ ฉากทัศน์ที่ 1 รูปแบบที่ 3
ช่วงนี้เกิดการสบกันของแนวลมกรดกึ่งเขตร้อนกับแนวลมกรดขั้วโลก และเกิดลำบีบของลมกรดแถวประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดการยกตัวของอากาศเบื้องล่าง เกิดเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนแถวญี่ปุ่น สามารถดึงลมหนาวจากไซบีเรียไหลลงมาตรงๆได้มากขึ้น รวมถึงทางเข้าของลำบีบแนวลมกรดจะเลื่อนมาแถวทิเบต ด้านซ้ายของทางเข้าก็จะเป็นบริเวณที่อากาศจมตัว ค่าความกดอากาศจะสูงขึ้น ที่หลายคนบ่นๆ กันว่าทำไม หย่อม L แถวทิเบตเกิดบ่อย,อยู่นาน,ไม่ไปไหน มันจะมีบางช่วงเหตุการณ์แบบนี้ที่ทำให้ค่าความกดอากาศมันสูงขึ้น ส่งผลให้หย่อม L มันจะหายไปอยู่บางจังหวะ ช่วงนี้แหละครับ ลมหนาวจะไหลลงมาทางบ้านเราได้มากขึ้น
[3] แนวลมที่ระดับ 850hPa (ความสูง 1500 ม.) ช่วงวันที่ 8-12 ม.ค.
สังเกตแถวบริเวณเกาหลี-ญี่ปุ่น จะเกิดพายุหมุนนอกเขตร้อนจากเหตุการณ์ [2] ดึงลมหนาวจากไซบีเรียลงมาตรงๆ หลังจากนั้นแนวลมจะโค้งลงมาตามแนวลมตะวันออกเฉียงเหนือเนื่องจากจะเกิดแนวปะทะอากาศตั้งแต่ตอนใต้ของญี่ปุ่นจนถึงทะเลจีนใต้ ทำให้มวลอากาศเย็นหรือลมหนาวจะไหลเข้ามาทางบ้านเรา
[4] อุณหภูมิที่ระดับ 850hPa (ความสูง 1500 ม.) ที่ต่างจากค่าปกติ ช่วงวันที่ 8-12 ม.ค.
บ่งบอกถึงมวลอากาศเย็นที่เคลื่อนที่มาตามแนวลมระดับ 850hPa ช่วงแรกจะทำให้เกาหลีหนาวสุดตั้งแต่เข้าฤดูหนาวมาด้วยเหมือนกัน หลังจากนั้นจะเริ่มเคลื่อนที่มาทางบ้านเราจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศ กรุงโซล, เกาหลีใต้
ช่วงวันที่ 9-10 ม.ค. นี้ ช่วงกลางวันจะสุงสุดที่ -8°C และช่วงเช้าต่ำสุดที่ -13°C ซึ่งเย็นกว่าค่าเฉลี่ยปกติของกรุงโซลมาก
[5] ค่าความกดอากาศแถวเอเชียฝั่งตะวันออก ช่วงวันที่ 9-14 ม.ค.
สังเกตหย่อม L แถวที่ทิเบตจะมีค่าความกดอากาศสูงขึ้นหรือหายไปบางช่วง จังหวะนี้ทำให้ลมหนาวแผ่มาทางบ้านเราได้เต็มที่มากขึ้น
[6] ค่าความกดอากาศที่คาดว่าจะสูงสุดของระลอกนี้ (อ้างอิง ECMWF)
อยู่ในช่วง 10:00น. ของวันที่ 11 ม.ค. และ 12 ม.ค.
ภาคเหนือ-ภาคอีสานตอนบนสูงสุดประมาณ 1024-1025 hPa
กรุงเทพมหานคร สูงสุดอยู่ประมาณ 1020 hPa (เป็นครั้งแรกตั้งแต่เข้าฤดูหนาวนี้มา)
[7] แนวลมที่ระดับ 925hPa (ความสูง 750 ม.) ของวันที่ 11 ม.ค.
บ่งบอกถึงลมที่แรงตามเส้นไอโซบาร์ที่ถี่มากตามรูป [6] ซึ่งภาคอีสานลมน่าจะเริ่มแรงขึ้นตั้งแต่ช่วงวันที่ 10 ม.ค. เป็นต้นไป
[8] พยากรณ์ฝนสะสม 24 ชม.รายวัน ช่วงวันที่ 8-15 ม.ค.
แนวโน้มภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นได้ช่วงประมาณวันที่ 11-12 ม.ค. และอีกครั้งอาจจะเป็นช่วงวันที่ 15 ม.ค.
[9] พยากรณ์อากาศจาก Weather.com ช่วง 7 วันข้างหน้า
นครพนม
ลมจะเริ่มแรงตั้งแต่ช่วงวันที่ 10-11 ม.ค. หลังจากนั้นอุณหภูมิลดฮวบ ต่ำสุดรอลุ้นเลขตัวเดียว หนาวสุดจะเป็นช่วงวันที่ 11-14 ม.ค.
เชียงราย
อุณหภูมิจะลดลงอีกหน่อย ต่ำสุดคาดว่าจะอยู่ช่วง 10°C ต้นๆ เป็นสัปดาห์ น่าจะหนาวต่อเนื่องแบบสม่ำเสมอ
กรุงเทพมหานคร
ลมจะมาหลังภาคอีสานหน่อย ลมน่าจะเริ่มแรงช่วงประมาณวันที่ 11 ม.ค. ช่วงที่เย็นสุดคาดว่าจะเป็นวันที่ 12-14 ม.ค. โดยช่วงเช้าต่ำสุดประมาณ 18-19°C และอุณหภูมิสูงสุดช่วงกลางวันจะเย็นลงกว่าเดิม
...ข้อมูลการพยากรณ์จาก ECMWF...
...ข้อมูลการพยากรณ์ ณ วันที่ 7 มกราคม 2568...