บทนำ ผู้เขียนอ่านพบในเว็บบอร์ดทั่วไป ว่า มีบุคคลบางพวกมักจะด้อยค่าคัมภีร์ ด้อยค่าการเรียนธรรม
พร้อมทั้งกล่าวถ้อยคำยกตนข่มผู้อื่นว่า พวกเขา พวกข้าปฏิบัติมากกว่า ย่อมได้รับผลมากกว่า เป็นต้น
ประเด็นที่นำมาเขียนถึงนี้ นำไปสู่การวิเคราะห์ ผู้ที่ด้อยค่าคัมภีร์พระไตรปิฎก และด้อยค่าผู้อื่นเรื่องการปฏิบัติ
ผู้เขียน รวบรวมสรุปไว้ 4 ข้อ (ท่านอื่นจะจำแนกโดยพิสดารกว่านี้ก็ได้) คือ
1. การพยายามด้อยค่าตำรา คัมภีร์ (หมายถึงพระไตรปิฎก)
ควรทำความเข้าใจว่า ตำรา คัมภีร์ คือ ปริยัติ คือผลการปฏิบัติของพระตถาคต มีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก การด้อยค่าตำรา เท่ากับ ด้อยค่าปัญญาในการตรัสรู้ของพระตถาคต
ดังนั้นแล้ว บุคคลผู้เจริญในธรรม ไม่ควรกล่าวด้อยค่าตำรา ไม่ควรกล่าวด้อยค่าพระไตรปิฎก
2. การพยายามพูดกดผู้อื่นมัวแต่สนใจท่องตำรา
ก่อนที่จะพูดกดผู้อื่นเช่นนี้ ควรทราบวัตถุประสงค์ของผู้ที่เรียนธรรม ทราบเหตุปัจจัยที่เขาท่องจำธรรม อาจเพราะเขามีความประสงค์อย่างนั้น เขาต้องการรู้ให้ตรงและเข้าใจความหมายให้ตรงแล้วจึงนำไปปฏิบัติก็ได้ เขาตระหนักว่า ถ้ายังไม่รู้ความหมาย ยังไม่เข้าใจความหมายธรรมก็จะยังไม่นำไปปฏิบัติ เป็นต้น
ดังนั้นแล้ว บุคคลผู้เจริญในธรรม ไม่ควรกล่าวด้อยค่าพูดกดผู้อื่นว่ามัวแต่สนใจท่องตำรา
3. การพยายามพูดกดผู้อื่นอ่านท่องตำราแต่ไม่รู้จักการปฏิบัติ
การที่มีผู้ใฝ่เรียนธรรม แต่ไม่ได้มุ่งปฏิบัติ คือไม่ได้ฝึกเรียนรู้ว่าที่ได้เรียนจากคัมภีร์มานั้นเมื่อลงมือปฏิบัติแล้วจะได้ผลตามนั้นหรือไม่
อาจมีบุคคลที่เป็นเช่นนี้อยู่จริง แต่อย่างน้อยเขาได้ประโยชน์ตนคือ รู้ปริยัติ เสียประโยชน์ปัจจุบันในการปฏิบัติ
ถ้าเขารู้ถูกต้องตรงจริง แล้วเมื่อใดก็ตามที่เขาต้องการปฏิบัติเขาก็สามารถเข้าถึงกระแสธรรม เช่น พุทธพจน์ มาในมิคสาลาสูตร
บางส่วนของมิคสาลาสูตร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้๑๐. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฟุ้งซ่าน
แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติซึ่งเป็นที่ดับความฟุ่งซ่านได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง
บุคคลนั้นทำกิจด้วยการฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
และได้วิมุตติตามเวลาอันควร
หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=4649
ถ้าเขา (ผู้ที่เรียนธรรม) รู้จริง รู้ตรง แต่ไม่ได้ปฏิบัติในภพชาตินี้ เขามีอานิสงส์ คือ สะสมภูมิปัญญาไว้ภพชาติต่อไป อ่าน โสตานุคคตสูตร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้นของภิกษุนั้นเป็นภาวะเข้าถึงโสตประสาท คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
เธอหลงลืมสติ๓- เมื่อตายไป จะไปเกิดในหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น
สติเกิดขึ้นช้า๔- ต่อมา เธอระลึกได้จึงบรรลุคุณวิเศษ๕- เร็วพลัน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งธรรมทั้งหลาย
ที่เข้าถึงโสตประสาท คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคลพึงหวังได้
อ่านพระสูตรเต็มคลิกที่นี่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=8229&w=%E0%B7%BE%CB%C1%D9%E8%E3%B4
ดังนั้นแล้วไม่ควรกล่าวทับถมผู้ที่มีความประสงค์มุ่งมั่นเรียนธรรม
4. การพยายามพูดกดผู้อื่นอ่านท่องตำราแต่ไม่รู้จักการปฏิบัติ
กรณีนี้อาจมีคนที่ทั้งเรียนและฝึกขัดเกลากิเลสไปด้วยมีอยู่จริงแต่เขาไม่นำมาเล่าให้ฟัง ไม่นำมาอวด เช่น เขาพิจารณาโดยส่วนตัวว่าเรียนรู้แล้วนำมาใช้กับชีวิตประจำวันฝึกหัดขัดเกลากิเลสใช้ลัลเลขธรรม (อ่านสัลเลขสูตร)
กรณีนี้ถ้าผู้พูด พูดผิดไปจากความเป็นจริง ก็จะกลายเป็นการยกตนข่มผู้อื่นด้วยความไม่จริง ไม่เป็นผลดีกับผู้พูด
การยกตัวอย่างท่านโปฐิละ เถระ
ผู้รวบรวมมักจะพบเห็นการยกตัวอย่าง อยู่เนือง ๆ คือ ท่าน โปฐิละเถระ ท่านคือ พระอรหันต์รูปหนึ่งในพระพุทธศาสนา เมื่อเอ่ยนามถึงท่านมักได้ยินเรียกกันติดปากว่า ใบลานเปล่า ซึ่งข้อความนี้ปรากฏในอรรถกถา ได้เล่าเรื่องราวความเป็นมาของท่านโปฐิละ ว่า ท่านเป็นผู้ที่เรียนพระสูตรมามากแต่ไม่นำธรรมที่เรียนนั้นฝึกหัดขัดเกลากิเลสในตนจึงไม่เจริญก้าวหน้าในพระธรรมวินัย และต่อมาท่านก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
เรื่องเล่าที่มีมาแบบนี้ก็ควรมองในแง่ดี มุมที่มีประโยชน์ ท่านคือพระอรหันต์รูปหนึ่ง เราจะนำประวัติส่วนไหนมาใช้ประโยชน์ได้คือ เอาแบบอย่างที่ดีนำมาใช้ประโยชน์ เช่น ถ้าเราขยันเรียนธรรมแล้วไม่ควรปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไปโดยไม่ขัดเกลากิเลส เป็นต้น
น่าสนใจที่ต้องนำมาคิดทบทวนก็คือ แม้ว่าให้เราขยันเรียนธรรมและปฏิบัติแบบที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้จะสามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์เช่นเดียวกับท่านโปฐิละหรือไม่ ดังนั้นแล้ว พุทธศาสนิกชนเมื่อเอ่ยนามถึงท่านซึ่งพระอรหันต์สาวกของพระตถาคต ก็ควรเอ่ยถึงด้วยความเคารพในแง่ที่นำเอาประโยชน์มาใช้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เรื่องพระโปฐิลเถระ
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?E=&B=25&A=3095&w=_%E2%BB%B0%D4%C5&option=2
อ่านอรรถกถา โปฐิลเถระคาถา ที่นี่
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30&p=5
พระพุทธเจ้าท่านทรงสรรเสริญการเรียนธรรม ขยันถ่ายทอดบอกสอนธรรม เพื่อความไม่ลบเลือนของพระสัทธรรม (ย้ำว่าธรรมนะครับ ไม่ใช่อธรรม) ส่วนท่านใดที่เรียนธรรมแล้ว ไม่ปฏิบัติไม่ขัดเกลากิเลส พระองค์ก็ยังมีแง่มุมที่สรรเสริญ คือการเรียนธรรม สะสมความรู้ มีสัมมาทิฏฐิ ก็ยังเอื้อประโยชน์ได้จนถึงเวลาใกล้ตายคือให้ระลึกบทแห่งธรรมที่ได้เล่าเรียนได้ฟังมาพร้อมทั้งตรึกตรองด้วยดี ก็ยังสามารถเป็นอริยบุคคล (อ่านบางส่วนของผัคคุณสูตร)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคต ทั้งไม่ได้เห็นสาวกของตถาคต
แต่ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรม ตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา
เมื่อเธอตรึกตามตรองตามเพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ได้เรียนมา
จิตของเธอจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ในการพิจารณาเนื้อความตามกาล
อ่านพระสูตรเต็มที่นี่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=15259&w=%E3%A1%C5%E9%B5%D2%C2
ผัคคุณสูตร สำหรับผู้ที่ผ่านการเรียนธรรมมาก่อนแล้ว ได้ฟังมาก่อนแล้ว เข้าใจธรรมมาก่อนแล้ว
ไม่ใช่เปิดเสียงให้ศพ (อ้างว่าให้ศพฟังธรรม อ้างไม่ขึ้น เพราะศพไม่มีโสตวิญญาณ) หรือว่า ในเวลาที่คนใกล้ตายเอาเสียงไปกรอกข้างหู อย่างนี้ไม่ตรงตามที่พระตถาคตได้แสดงไว้
สำหรับผู้ที่เรียนธรรมมาดี แม้ว่าในเวลาใกล้ตายหลงลืมสติ เมื่อไปเกิดในเทพหมู่ใดหมู่หนึ่งก็ยังมีโอกาสที่จะบรรลุธรรมได้ (อ่านโสตานุคคตสูตร-อ้างแล้ว)
เรื่องเล่าที่บางคราวบางท่านยกมาลอย ๆ ว่า ใบลานเปล่านี้ ถ้านำมาเล่าเพื่อจะกดทับ ผู้ที่เรียนธรรมและ ไม่ปฏิบัติว่าเสียเวลาเปล่า ผู้เขียนไม่เห็นด้วย (ได้ยกเหตุผลอธิบายไว้แล้ว) ควรนำมาเล่าเพื่อให้เกิดประโยชน์ ใช้ประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว กล่าวคือ ขยันเรียนธรรม ถ่ายทอดธรรมที่ถูกพร้อมกับขัดเกลากิเลสในตน (อ่านข้อปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส สัลเลขสูตร )
สัลเลขสูตร
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=12&A=2034
ดังนั้นแล้ว ไม่ควรพูดกดผู้อื่นว่า อ่านท่องตำรา แต่ไม่รู้จักการปฏิบัติ
บุคคลที่เล่าเรียนธรรม รู้ธรรมมาก เข้าใจถูก มีสัมมาทิฏฐิ รวมถึงเล่าเรียนธรรม รู้ธรรมน้อย เข้าใจถูก มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมมีประโยชน์กว่า เล่าเรียนธรรม รู้ธรรมมาก เข้าใจผิด มีมิจฉาทิฏฐิ ข้อนั้นเพราะอะไร
เพราะรู้ถูก มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมนำไปสู่การปฏิบัติถูก ให้ผลถูก
ถ้าบอกว่ารู้ธรรมมาก สะสมความรู้ไว้มาก แต่ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ย่อมนำไปสู่การปฏิบัติ ให้ผลผิด
บุคคลเล่าเรียนธรรม รู้ธรรมมาก เข้าใจถูก ก็ไม่ควรยกตนข่มผู้ที่รู้น้อยกว่า ไม่ควรเขียนหรือพูดยกตนข่มผู้อื่นว่า ฉัน ข้า รู้มากกว่าคนนั้นคนนี้ แต่เมื่อใดก็ตามที่มีโอกาสได้สนทนากันควรทำความเข้าใจธรรม สิ่งที่ควรทำคือ สนทนาทำความเข้าใจร่วมกันว่า ธรรมบทนี้ คำนี้ ข้อนี้ ๆ พระตถาคตว่าอย่างนี้ ๆ ธรรมบทนี้มีความหมายอย่างนี้ ธรรม คำนี้ มีความหมายอย่างนี้ คือ สนทนาทบทวนกันเพื่อทำความเข้าใจให้ถูก
หากเราจะยกย่อง สรรเสริญ ว่า คนนั้น คนนี้ รู้ธรรมมาก เราควรทำความเข้าใจก่อนว่า ที่เราคิดว่าบุคคลนั้น ๆ รู้ธรรมมากนั้น รู้ถูกต้องตามที่พระตถาคตได้สอนไว้หรือไม่ มีสัมมาทิฏฐิหรือไม่
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าบุคคลที่เรายกย่องสรรเสริญนั้น เป็น
ธรรมวาที หรือ
อธรรมวาที
คลิกเพื่อนอ่าน==> ลักษณะของภิกษุผู้เป็น ธรรมวาที อธรรมวาที
เราจะรู้ได้ว่า ภิกษุรูปใด บุคคลใด ว่า เป็นธรรมวาที หรือ อธรรมวาที เราควรต้องอ่านพระไตรปิฎก และใช้หลักมหาปเทส ๔ เป็นต้น
เราจะอ้างแค่ว่า ภิกษุเถระรูปนั้น กล่าวตรงกับพระเถระรูปนี้ หาได้ไม่ ข้อนั้นเพราะอะไร
เพราะภิกษุเถระที่เราอ้างถึงนั้น
อาจเรียนธรรมมาผิดและกล่าวคล้อยตามกัน
อาจเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิและมีความเห็นคล้อยตามกันก็อาจเป็นได้
หากท่านเหล่านั้นรู้ตรง มีสัมมาทิฏฐิ นั่นเป็นการดี
แต่หากท่านเหล่านั้น รู้ไม่ตรง เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นพวกสัสสตทิฏฐิ เช่นมีทิฏฐิว่า จิตเที่ยง คือรู้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเราควรละทิ้งคำเหล่านั้นเสีย
สรุป
พุทธศาสนิกชนผู้ที่รู้ถูกต้อง มีสัมมาทิฏฐิ ปฏิบัติดีแล้ว ไม่ควรกล่าวทับถมผู้ที่สนใจใฝ่เรียนรู้ธรรม ไม่ควรกล่าวทับถมคัมภีร์พระไตรปิฎก เพราะนั่นคือการกล่าวขัดแย้งกับพระตถาคต
เชิญสมาชิก ร่วมสนทนาอิงอรรถอิงธรรม อิงวินัย อิงพระไตรปิฎก
กระทู้ที่ควรอ่านประกอบ
เลือกอาจารย์ที่เป็นกัลยาณมิตร เรียนรู้ปริยัติพอเหมาะแก่การปฏิบัติ ตรวจสอบความถูกต้องธรรมจากพระไตรปิฎก
https://ppantip.com/topic/42621070
ผลที่ได้รับจากการทำสมาธิ ของผู้ที่มี "มิจฉาทิฏฐิ" เปรียบเทียบกับ ผู้ที่มี "สัมมาทิฏฐิ"
https://ppantip.com/topic/42631254
วิเคราะห์ ผู้ที่ด้อยค่าคัมภีร์พระไตรปิฎก และ ด้อยค่าผู้อื่นเรื่องการปฏิบัติ
พร้อมทั้งกล่าวถ้อยคำยกตนข่มผู้อื่นว่า พวกเขา พวกข้าปฏิบัติมากกว่า ย่อมได้รับผลมากกว่า เป็นต้น
ประเด็นที่นำมาเขียนถึงนี้ นำไปสู่การวิเคราะห์ ผู้ที่ด้อยค่าคัมภีร์พระไตรปิฎก และด้อยค่าผู้อื่นเรื่องการปฏิบัติ
ผู้เขียน รวบรวมสรุปไว้ 4 ข้อ (ท่านอื่นจะจำแนกโดยพิสดารกว่านี้ก็ได้) คือ
1. การพยายามด้อยค่าตำรา คัมภีร์ (หมายถึงพระไตรปิฎก)
ควรทำความเข้าใจว่า ตำรา คัมภีร์ คือ ปริยัติ คือผลการปฏิบัติของพระตถาคต มีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก การด้อยค่าตำรา เท่ากับ ด้อยค่าปัญญาในการตรัสรู้ของพระตถาคต
ดังนั้นแล้ว บุคคลผู้เจริญในธรรม ไม่ควรกล่าวด้อยค่าตำรา ไม่ควรกล่าวด้อยค่าพระไตรปิฎก
2. การพยายามพูดกดผู้อื่นมัวแต่สนใจท่องตำรา
ก่อนที่จะพูดกดผู้อื่นเช่นนี้ ควรทราบวัตถุประสงค์ของผู้ที่เรียนธรรม ทราบเหตุปัจจัยที่เขาท่องจำธรรม อาจเพราะเขามีความประสงค์อย่างนั้น เขาต้องการรู้ให้ตรงและเข้าใจความหมายให้ตรงแล้วจึงนำไปปฏิบัติก็ได้ เขาตระหนักว่า ถ้ายังไม่รู้ความหมาย ยังไม่เข้าใจความหมายธรรมก็จะยังไม่นำไปปฏิบัติ เป็นต้น
ดังนั้นแล้ว บุคคลผู้เจริญในธรรม ไม่ควรกล่าวด้อยค่าพูดกดผู้อื่นว่ามัวแต่สนใจท่องตำรา
3. การพยายามพูดกดผู้อื่นอ่านท่องตำราแต่ไม่รู้จักการปฏิบัติ
การที่มีผู้ใฝ่เรียนธรรม แต่ไม่ได้มุ่งปฏิบัติ คือไม่ได้ฝึกเรียนรู้ว่าที่ได้เรียนจากคัมภีร์มานั้นเมื่อลงมือปฏิบัติแล้วจะได้ผลตามนั้นหรือไม่
อาจมีบุคคลที่เป็นเช่นนี้อยู่จริง แต่อย่างน้อยเขาได้ประโยชน์ตนคือ รู้ปริยัติ เสียประโยชน์ปัจจุบันในการปฏิบัติ
ถ้าเขารู้ถูกต้องตรงจริง แล้วเมื่อใดก็ตามที่เขาต้องการปฏิบัติเขาก็สามารถเข้าถึงกระแสธรรม เช่น พุทธพจน์ มาในมิคสาลาสูตร
บางส่วนของมิคสาลาสูตร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ถ้าเขา (ผู้ที่เรียนธรรม) รู้จริง รู้ตรง แต่ไม่ได้ปฏิบัติในภพชาตินี้ เขามีอานิสงส์ คือ สะสมภูมิปัญญาไว้ภพชาติต่อไป อ่าน โสตานุคคตสูตร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ดังนั้นแล้วไม่ควรกล่าวทับถมผู้ที่มีความประสงค์มุ่งมั่นเรียนธรรม
4. การพยายามพูดกดผู้อื่นอ่านท่องตำราแต่ไม่รู้จักการปฏิบัติ
กรณีนี้อาจมีคนที่ทั้งเรียนและฝึกขัดเกลากิเลสไปด้วยมีอยู่จริงแต่เขาไม่นำมาเล่าให้ฟัง ไม่นำมาอวด เช่น เขาพิจารณาโดยส่วนตัวว่าเรียนรู้แล้วนำมาใช้กับชีวิตประจำวันฝึกหัดขัดเกลากิเลสใช้ลัลเลขธรรม (อ่านสัลเลขสูตร)
กรณีนี้ถ้าผู้พูด พูดผิดไปจากความเป็นจริง ก็จะกลายเป็นการยกตนข่มผู้อื่นด้วยความไม่จริง ไม่เป็นผลดีกับผู้พูด
การยกตัวอย่างท่านโปฐิละ เถระ
ผู้รวบรวมมักจะพบเห็นการยกตัวอย่าง อยู่เนือง ๆ คือ ท่าน โปฐิละเถระ ท่านคือ พระอรหันต์รูปหนึ่งในพระพุทธศาสนา เมื่อเอ่ยนามถึงท่านมักได้ยินเรียกกันติดปากว่า ใบลานเปล่า ซึ่งข้อความนี้ปรากฏในอรรถกถา ได้เล่าเรื่องราวความเป็นมาของท่านโปฐิละ ว่า ท่านเป็นผู้ที่เรียนพระสูตรมามากแต่ไม่นำธรรมที่เรียนนั้นฝึกหัดขัดเกลากิเลสในตนจึงไม่เจริญก้าวหน้าในพระธรรมวินัย และต่อมาท่านก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
เรื่องเล่าที่มีมาแบบนี้ก็ควรมองในแง่ดี มุมที่มีประโยชน์ ท่านคือพระอรหันต์รูปหนึ่ง เราจะนำประวัติส่วนไหนมาใช้ประโยชน์ได้คือ เอาแบบอย่างที่ดีนำมาใช้ประโยชน์ เช่น ถ้าเราขยันเรียนธรรมแล้วไม่ควรปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไปโดยไม่ขัดเกลากิเลส เป็นต้น
น่าสนใจที่ต้องนำมาคิดทบทวนก็คือ แม้ว่าให้เราขยันเรียนธรรมและปฏิบัติแบบที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้จะสามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์เช่นเดียวกับท่านโปฐิละหรือไม่ ดังนั้นแล้ว พุทธศาสนิกชนเมื่อเอ่ยนามถึงท่านซึ่งพระอรหันต์สาวกของพระตถาคต ก็ควรเอ่ยถึงด้วยความเคารพในแง่ที่นำเอาประโยชน์มาใช้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พระพุทธเจ้าท่านทรงสรรเสริญการเรียนธรรม ขยันถ่ายทอดบอกสอนธรรม เพื่อความไม่ลบเลือนของพระสัทธรรม (ย้ำว่าธรรมนะครับ ไม่ใช่อธรรม) ส่วนท่านใดที่เรียนธรรมแล้ว ไม่ปฏิบัติไม่ขัดเกลากิเลส พระองค์ก็ยังมีแง่มุมที่สรรเสริญ คือการเรียนธรรม สะสมความรู้ มีสัมมาทิฏฐิ ก็ยังเอื้อประโยชน์ได้จนถึงเวลาใกล้ตายคือให้ระลึกบทแห่งธรรมที่ได้เล่าเรียนได้ฟังมาพร้อมทั้งตรึกตรองด้วยดี ก็ยังสามารถเป็นอริยบุคคล (อ่านบางส่วนของผัคคุณสูตร)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผัคคุณสูตร สำหรับผู้ที่ผ่านการเรียนธรรมมาก่อนแล้ว ได้ฟังมาก่อนแล้ว เข้าใจธรรมมาก่อนแล้ว
ไม่ใช่เปิดเสียงให้ศพ (อ้างว่าให้ศพฟังธรรม อ้างไม่ขึ้น เพราะศพไม่มีโสตวิญญาณ) หรือว่า ในเวลาที่คนใกล้ตายเอาเสียงไปกรอกข้างหู อย่างนี้ไม่ตรงตามที่พระตถาคตได้แสดงไว้
สำหรับผู้ที่เรียนธรรมมาดี แม้ว่าในเวลาใกล้ตายหลงลืมสติ เมื่อไปเกิดในเทพหมู่ใดหมู่หนึ่งก็ยังมีโอกาสที่จะบรรลุธรรมได้ (อ่านโสตานุคคตสูตร-อ้างแล้ว)
เรื่องเล่าที่บางคราวบางท่านยกมาลอย ๆ ว่า ใบลานเปล่านี้ ถ้านำมาเล่าเพื่อจะกดทับ ผู้ที่เรียนธรรมและ ไม่ปฏิบัติว่าเสียเวลาเปล่า ผู้เขียนไม่เห็นด้วย (ได้ยกเหตุผลอธิบายไว้แล้ว) ควรนำมาเล่าเพื่อให้เกิดประโยชน์ ใช้ประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว กล่าวคือ ขยันเรียนธรรม ถ่ายทอดธรรมที่ถูกพร้อมกับขัดเกลากิเลสในตน (อ่านข้อปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส สัลเลขสูตร )
สัลเลขสูตร
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=12&A=2034
ดังนั้นแล้ว ไม่ควรพูดกดผู้อื่นว่า อ่านท่องตำรา แต่ไม่รู้จักการปฏิบัติ
บุคคลที่เล่าเรียนธรรม รู้ธรรมมาก เข้าใจถูก มีสัมมาทิฏฐิ รวมถึงเล่าเรียนธรรม รู้ธรรมน้อย เข้าใจถูก มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมมีประโยชน์กว่า เล่าเรียนธรรม รู้ธรรมมาก เข้าใจผิด มีมิจฉาทิฏฐิ ข้อนั้นเพราะอะไร
เพราะรู้ถูก มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมนำไปสู่การปฏิบัติถูก ให้ผลถูก
ถ้าบอกว่ารู้ธรรมมาก สะสมความรู้ไว้มาก แต่ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ย่อมนำไปสู่การปฏิบัติ ให้ผลผิด
บุคคลเล่าเรียนธรรม รู้ธรรมมาก เข้าใจถูก ก็ไม่ควรยกตนข่มผู้ที่รู้น้อยกว่า ไม่ควรเขียนหรือพูดยกตนข่มผู้อื่นว่า ฉัน ข้า รู้มากกว่าคนนั้นคนนี้ แต่เมื่อใดก็ตามที่มีโอกาสได้สนทนากันควรทำความเข้าใจธรรม สิ่งที่ควรทำคือ สนทนาทำความเข้าใจร่วมกันว่า ธรรมบทนี้ คำนี้ ข้อนี้ ๆ พระตถาคตว่าอย่างนี้ ๆ ธรรมบทนี้มีความหมายอย่างนี้ ธรรม คำนี้ มีความหมายอย่างนี้ คือ สนทนาทบทวนกันเพื่อทำความเข้าใจให้ถูก
หากเราจะยกย่อง สรรเสริญ ว่า คนนั้น คนนี้ รู้ธรรมมาก เราควรทำความเข้าใจก่อนว่า ที่เราคิดว่าบุคคลนั้น ๆ รู้ธรรมมากนั้น รู้ถูกต้องตามที่พระตถาคตได้สอนไว้หรือไม่ มีสัมมาทิฏฐิหรือไม่
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าบุคคลที่เรายกย่องสรรเสริญนั้น เป็นธรรมวาที หรือ อธรรมวาที
คลิกเพื่อนอ่าน==> ลักษณะของภิกษุผู้เป็น ธรรมวาที อธรรมวาที
เราจะรู้ได้ว่า ภิกษุรูปใด บุคคลใด ว่า เป็นธรรมวาที หรือ อธรรมวาที เราควรต้องอ่านพระไตรปิฎก และใช้หลักมหาปเทส ๔ เป็นต้น
เราจะอ้างแค่ว่า ภิกษุเถระรูปนั้น กล่าวตรงกับพระเถระรูปนี้ หาได้ไม่ ข้อนั้นเพราะอะไร
เพราะภิกษุเถระที่เราอ้างถึงนั้น
อาจเรียนธรรมมาผิดและกล่าวคล้อยตามกัน
อาจเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิและมีความเห็นคล้อยตามกันก็อาจเป็นได้
หากท่านเหล่านั้นรู้ตรง มีสัมมาทิฏฐิ นั่นเป็นการดี
แต่หากท่านเหล่านั้น รู้ไม่ตรง เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นพวกสัสสตทิฏฐิ เช่นมีทิฏฐิว่า จิตเที่ยง คือรู้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเราควรละทิ้งคำเหล่านั้นเสีย
สรุป
พุทธศาสนิกชนผู้ที่รู้ถูกต้อง มีสัมมาทิฏฐิ ปฏิบัติดีแล้ว ไม่ควรกล่าวทับถมผู้ที่สนใจใฝ่เรียนรู้ธรรม ไม่ควรกล่าวทับถมคัมภีร์พระไตรปิฎก เพราะนั่นคือการกล่าวขัดแย้งกับพระตถาคต
เชิญสมาชิก ร่วมสนทนาอิงอรรถอิงธรรม อิงวินัย อิงพระไตรปิฎก
กระทู้ที่ควรอ่านประกอบ
เลือกอาจารย์ที่เป็นกัลยาณมิตร เรียนรู้ปริยัติพอเหมาะแก่การปฏิบัติ ตรวจสอบความถูกต้องธรรมจากพระไตรปิฎก
https://ppantip.com/topic/42621070
ผลที่ได้รับจากการทำสมาธิ ของผู้ที่มี "มิจฉาทิฏฐิ" เปรียบเทียบกับ ผู้ที่มี "สัมมาทิฏฐิ"
https://ppantip.com/topic/42631254