เลือกอาจารย์ที่เป็นกัลยาณมิตร เรียนรู้ปริยัติพอเหมาะแก่การปฏิบัติ ตรวจสอบความถูกต้องธรรมจากพระไตรปิฎก

บทนำ 
การเรียนธรรม การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลคือปฏิเวธที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ
และมีความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติต้องมีความรู้ในปริยัติที่ถูกต้อง จึงจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง 

มีคำถามว่า การเรียนรู้ปริยัติ เพื่อการนำไปปฏิบัตินั้นต้องเรียนรู้มากแค่ไหน 

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ.ปยุตฺโต ท่านแนะนำไว้ในคลิปธรรมบรรยาย ว่า เรียนเพียงเล็กน้อยก็พอ
นอกจากนี้ในคลิปยังได้พูดถึงการเลือกอาจารย์ ถ้าไม่ไว้ใจอาจารย์ (เกรงว่าอาจารย์อาจสอนผิด) จะทำอย่างไร 

ประเด็นสำคัญอีกประการที่จำเป็นต้องกล่าวถึงก็คือ คลิปที่มีผู้นำมาเผยแพร่นั้น ได้มีการตัดจากคลิปเดิมให้สั้นลง 
ผู้เขียนสันนิษฐานว่า การตัดให้สั้นลงนั้นก็เพื่อให้พอเหมาะแก่การฟัง 
ผู้เขียนจึงได้ค้นหาคลิปอื่นที่มีเนื้อหาคล้ายกัน ใกล้เคียงกัน ที่บรรยายไว้โดยสมเด็จฯ นำมาฟังผสมผสาน
เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ นอกจากนี้ผู้เขียนได้นำเนื้อหาสาระธรรมจากธรรมนิพนธ์ ที่ท่านได้นิพนธ์ไว้นำมาประกอบการวิเคราะห์ด้วย 
 
วัตถุประสงค์ 1. เรียนรู้ความหมายของกัลยาณมิตร หรืออาจารย์ ผู้ที่จะทำหน้าที่ให้กัมมัฏฐาน
                  2. เรียนรู้ความหมายของธรรม ปริยัติ แต่ละคำที่สำคัญสำหรับการปฏิบัติ 
                  3. เหตุที่ศิษย์ไม่ไว้วางใจอาจารย์ ถ้าอาจารย์สอนผิด ลูกศิษย์ควรมีวิธีแก้ไขอย่างไร
                  4. ถ้าผู้เรียนมีวัตถุประสงค์ต้องการรู้ปริยัติเพิ่มเติม จะทำได้หรือไม่ และควรต้องทำอย่างไร  
 
คลิปที่ 1 เข้าหากัลยาณมิตร & เรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์ (1)
https://www.youtube.com/watch?v=1FKjqWVi_U4&list=PLhWtQZRwLfz6Ba_mEpEUlgvhDAJn6ldDC&index=6
ธรรมบรรยาย เนื้อความตัวอักษรธรรมบรรยาย 
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คลิปที่ 2  ก่อนปฏิบัติธรรม ต้องรู้ "ปริยัติ" มากน้อยแค่ไหน? (1)
:  https://www.youtube.com/watch?v=7J_OnJgSS4A&t=6s
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คลิปที่ 3 ก่อนปฏิบัติธรรม ต้องรู้ "ปริยัติ" มากน้อยแค่ไหน? (2)
https://www.youtube.com/watch?v=FruaPG-vZpk
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ปริยัติ ความหมาย คือ พุทธพจน์อันจะพึงเล่าเรียน, สิ่งที่ควรเล่าเรียน (โดยเฉพาะหมายเอาพระบาลี คือพระไตรปิฎก พุทธพจน์หรือพระธรรมวินัย)
การเล่าเรียนพระธรรมวินัย สมัยปัจจุบันมีผู้ที่มีความรู้ภาษาบาลีน้อยลง รวมถึงผู้เรียนก็มีความรู้ภาษาบาลีน้อยมาก 
จึงนิยมเผยแพร่ บอกสอนปริยัติด้วยภาษาไทย
อ้างอิง https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BB%C3%D4%C2%D1%B5&original=1
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

สัทธรรม  ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษมี สัทธรรม ๓ อย่าง คือ
           ๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
           ๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติ ได้แก่ ไตรสิกขา
           ๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรคผล และนิพพาน
       สัทธรรม ๗ คือ
           ๑. ศรัทธา ๒. หิริ ๓. โอตตัปปะ ๔. พาหุสัจจะ ๕. วิริยารัมภะ ๖. สติ ๗. ปัญญา
อ้างอิง https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%B7%B8%C3%C3%C1_%F3

ปฏิเวธสัทธรรมที่ถูกต้อง มาจากการปฏิบัติที่ถูกต้อง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
 
ผู้เขียน นำการบรรยายธรรมทั้ง 3 คลิป มาวิเคราะห์เนื้อหา สาระการบรรยาย โดยอ้างอิงอรรถ อิงธรรม อิงกับพระไตรปิฎ
ทั้งนี้ผู้เขียนยังเป็นปุถุชน การวิเคราะห์อาจมีผิดพลาด
แต่ผู้เขียนจะใช้ความระมัดระวัง ไม่ให้ผิดวัตถุประสงค์การเผยแพร่คำบรรยายของสมเด็จ. ป.อ.ปยุตฺโต

ชื่อคลิปธรรมบรรยาย บอกชัดว่าปฏิบัติธรรม ธรรมที่ว่านี้ก็คือพระสัทธรรมของพระตถาคต เรียกโดยย่อคือ ปฏิบัติ ไตรสิกขา

คลิปที่ 1 คุณสมบัติของกัลยาณมิตร อาจารย์ คุณสมบัติตรงตามพระไตรปิฎก มีคุณลักษณะที่สำคัญ 7 ประการ 
นั่นคือ ควรรู้จักความหมายพระธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง
รู้จักอภิธรรม อภิวินัย รูป นาม ขันธ์ 5 ธาตุ อายตนะ  รู้จักกัมมัฏฐาน เป็นอย่างดี และควรอธิบายตอบข้อสงสัยของลูกศิษย์ได้

วิเคราะห์ คุณสมบัติของกัลยาณมิตร ตามที่สมเด็จ ป.อ.ปยุตฺโตได้แสดงไว้ นั้น 
ตรงตามที่พระตถาคตได้แสดงไว้ คือ ทุติยมิตตสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมิตร สูตรที่ ๒
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_name.php?name=%B7%D8%B5%D4%C2%C1%D4%B5%B5%CA%D9%B5%C3&book=9&bookZ=33

คุณสมบัติของกัลยาณมิตร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้



คลิปที่ 2 การให้ปริยัติแบบสั้น ไม่ต้องยาวมาก
วิเคราะห์ด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้ที่มาเรียนธรรม ปฏิบัติธรรมนั้น ถ้าเป็นชาวบ้าน อุบาสก อุบาสิกา 
ถ้าอาจารย์ให้ปริยัติที่ยาวเกินไป อาจไม่สามารถจดจำได้
แม้ปริยัติที่สั้น แต่มีความหมายลึกซึ้งก็ยังยากต่อการจดจำ ยากต่อการทำความเข้าใจ
ถ้าหากว่าคำปริยัติที่ท่านบอกนั้นตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า อันนั้นก็เป็นปริยัติที่แท้จริง คือเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
ลูกศิษย์ที่รับปริยัติมาแล้ว ก็ควรต้องทำความเข้าใจปริยัตินั้น ๆ โดยสอบถามทำความเข้าใจจากอาจารย์ สอบถามให้เข้าใจถูก จึงจะปฏิบัติถูก

หลังจากฟังปริยัติ + ปฏิบัติแล้ว ลูกศิษย์ก็ควรต้องหมั่นทบทวนทำความเข้าใจ 
ครั้งต่อ ๆ ไปที่มาพบพระอาจารย์ ๆ ให้ปริยัติใหม่(ซึ่งก็ควรต่อเนื่องจากเรื่องเดิม)
ลูกศิษย์ก็ต้องทำความเข้าใจ นี่คือเหตุผลว่าทำไมอาจารย์จึงควรให้ปริยัติแบบสั้น ๆ เพียงเพื่อทำความเข้าใจสำหรับการปฏิบัติครั้งนั้น ๆ
เป็นการเกื้อกูลต่อการจดจำและนำไปปฏิบัติ
ถ้าให้ปริยัติแบบยาว ๆ โดยพิสดาร ลูกศิษย์ก็คงไม่สามารถจดจำและทำความเข้าใจได้ทั้งหมด  

ตัวอย่างปริยัติสั้นในพระไตรปิฎกเป็นจำนวนมาก นำมาแสดงบางส่วน เช่น 
พระอัสสชิ แสดงธรรมให้พระสารีบุตรได้ฟัง ในขณะที่แสดงะรรมสิ้นสุดลงพระสารีบุตรดวงตาเห็นธรรม
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=4&A=2042&w=%CA%D4%E8%A7%E3%B4%CA%D4%E8%A7%CB%B9%D6%E8%A7

ตัวอย่างปริยัติแบบย่อ ที่พระตถาคตแสดงแก่พระภิกษุ
ภิกขุสูตร ว่าด้วยภิกษุ
“ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรมทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดีและความเห็นที่ตรง 
เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และ ความเห็นจักตรง 
เมื่อนั้น เธออาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ 
 ....อนึ่ง ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=19&A=5768&w=%E0%BB%E7%B9%BE%C3%D0%CD%C3%CB%D1%B9%B5%EC

ธรรมแม้เพียงบทเดียวถ้าผู้ฟังเข้าใจและนำไปปฏิบัติถูก ก็มีอานิสงส์ทำให้สิ้นทุกข์ได้ 
ธรรมบทเดียว ขตตูปมสูตร ความสำคัญของธรรมบทเดียว
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=18&A=11312&w=%BA%B7%E0%B4%D5%C2%C7

คลิปที่ 3 มีคำสำคัญคือ 
“อาจารย์ท่านมีความชำนาญ ท่านได้เคยใช้ปริยัตินั้นในการปฏิบัติมีประสบการณ์ของตนเองแล้ว 
ท่านก็เลยรู้ว่าอันไหนที่จำเป็นจะต้องใช้เมื่อไร ท่านก็คัดเลือกปริยัตินั้นมาให้เรา” 
“พระพุทธเจ้าสอนปริยัติไว้นั้น ทรงสอนกับคนนั้นบ้างคนนี้บ้างมากมาย พระองค์สอนให้เหมาะกับบุคคล ให้เหมาะที่จะได้ผลกับบุคคลนั้น ๆ”   

วิเคราะห์  “อาจารย์” ที่สมเด็จ ป.อ.ปยุตฺโต กล่าวถึงนี้ แสดงว่า ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ในธรรม สดับรับฟัง อ่านศึกษาพระธรรมมามาก
พร้อมทั้งผ่านการปฏิบัติถูกต้องมาแล้วจึงสามารถถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์
ซึ่งธรรมที่อาจารย์เรียนและนำมาบอกสอนลูกศิษย์นั้นก็ต้องมาจากพระไตรปิฎก ไม่ใช่คิดขึ้นเอง 

“เพราะปริยัตินั้นบางทีก็เหมาะสำหรับคนนี้ คนโน้นไม่เหมือนกัน เพราะว่าคนเราในการปฏิบัตินั้นมีความแตกต่างระหว่างบุคคล” 

วิเคราะห์ สมเด็จ ป.อ.ปยุตฺโต ท่านกล่าวถูกต้องตามพระไตรปิฎก 
และผู้ที่จะรู้ได้ถูกต้องแม่นยำมีญาณหยั่งรู้ว่า ภิกษุรูปใด อุบาสก อุบาสิกาท่านใดควรใช้ธรรมบทใดจึงเหมาะสมนั้น
เป็นญาณหยั่งรู้ได้เฉพาะพระตถาคต
 
ตัวอย่าง พระสารีบุตรซึ่งเป็นผู้มีความรู้แตกฉานไม่มีญาณหยั่งรู้ข้อนี้จึงแสดงธรรมไม่ตรงกับจริตของผู้ฟัง อ่าน ธนัญชานิสูตร
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_name.php?name=%B8%B9%D1%AD%AA%D2%B9%D4%CA%D9%B5%C3&book=9&bookZ=33

ตัวอย่างพระสูตรนี้ 
ผู้เขียนมิได้มีเจตนาตำหนิพระสารีบุตร แต่นำมาให้ได้ศึกษาว่า 
แม้พระอรหันตสาวกผู้เลิศทางปัญญาก็ยังไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าจะเลือกเฟ้นธรรมบทใดให้เหมาะกับแต่ละบุคคล
ในขณะที่ในพระไตรปิฎกบันทึกไว้ว่า มี ภิกษุ อุบาสก ที่ฟังธรรม (ปริยัติ) จากพระสารีบุตรแล้วบรรลุธรรมก็มี 

“เราจะไปรับปริยัติโดยตรงทั้งดุ้นก็แล้วแต่ อันนี้ก็อยู่ที่ว่าเรามีความประสงค์อย่างไร  
ถ้าเราไม่ไว้ใจอาจารย์เราก็อาจจะนึกว่าสติปัญญาของเราก็ดีพอสมควรเราจะเลือกเฟ้นปริยัติด้วยตนเอง 
เราก็อาจไปศึกษาตำรับตำราคัมภีร์ด้วยตนเอง”

วิเคราะห์ ประเด็นนี้ ถ้าอาจารย์ ก. อาจารย์ ข. อาจารย์ ค. สอนปริยัติเรื่องเดียวกัน
แต่ความหมายที่อธิบายไม่ตรงกัน ลูกศิษย์ ผู้ฟัง ควรทำอย่างไร
อาจมีผู้ฟังบางท่านก็จะเริ่มสงสัยว่าจะเชื่อถืออาจารย์ท่านใด
เพราะว่า อาจารย์แต่ละท่านต่างก็อ้างว่าที่ตนให้ปริยัติแก่ลูกศิษย์และอธิบายไปนั้นถูกต้องแล้ว 

"น่าเป็นห่วงเรื่องการยึดถือคำอาจารย์"

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตรวจสอบความถูกต้องของปริยัติ และคำอธิบายของอาจารย์ โดยใช้ ธรรมจากพระไตรปิฎกเป็นหลัก 
โดยที่พระตถาคตได้วางหลักมหาปเทส ๔ หลักพิจารณาธรรมไว้แล้ว 
แนะนำอ่านพระไตรปิฎกสิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
https://www.watnyanaves.net/en/book_detail/276

ญาติโยมที่ได้ฟังคำสอนที่ผิด แบ่งเป็น
(1) บางพวกไม่รู้ว่าอาจารย์สอนผิด เพราะไม่เคยฟังจากอาจารย์ท่านอื่น ไม่เคยอ่านหนังสือ ก็จะไม่รู้ว่าพระอาจารย์ตนสอน ให้ปริยัติถูกหรือผิด  
(2) บางพวกรู้ว่าอาจารย์สอนผิด ให้ปริยัติผิด เพราะได้ยินได้ฟังจากอาจารย์ท่านอื่น หรือ ได้เปิดอ่านหนังสือค้นคว้าศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นต้น   
 
ถ้าผู้เรียนประสงค์เรียนรู้ธรรมให้ยิ่งขึ้นไปก็สามารถค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมได้จากแหล่งเรียนรู้ เช่น
เข้าหาพระอาจารย์ที่มีความรู้แตกฉานในคัมภีร์ หรือ การศึกษาค้นคว้าอ่านพระไตรปิฎก
ค้นคว้าผ่านสื่อ เช่น เช่น www.84000.org www.suttacentral.net เป็นต้น

สรุปวิเคราะห์ ผู้ที่เรียนปริยัติ ปฏิบัติ
1. ควรเลือกหาอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเป็นกัลยาณมิตร 
2. อาจารย์ผู้ที่ผ่านการเรียนปริยัติของพระตถาคต ให้ปริยัติ แบบสั้น ๆ ให้รู้จักความหมายของธรรมแต่ละคำ อธิบายความหมายของธรรม 
3. ถ้าสงสัยปริยัติหรือจะเรียนเพิ่ม หรือไม่ไว้ใจพระอาจารย์ ก็ให้สอบถามจากอาจารย์ และไปต่อที่ข้อ 4
4. หาเรียนจากแหล่งอื่น มิได้จำกัดว่าต้องรู้ปริยัติแบบสั้น ๆ เท่านั้น

           ผู้เขียน สรุปความคิดเห็นไว้แต่พอสังเขป 
           เชิญสมาชิกแสดงความคิดเห็นแบบอิงอรรถอิงธรรม อิงวินัย อิงหลักฐาน (พระไตรปิฎก) 

           ดูก่อนทั้งทั้งหลาย อย่าไว้ใจนักบวช เพียงเพราะใช้บาตร จีวร และอ้างว่าสอนตามพระตถาคต
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่