Follow the Money ได้สรุป 5 วิธีคิดให้รอบคอบก่อนจ่ายเงิน
ที่จะช่วยให้คุณเก็บเงินแบบ Kakeibo ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่
- ก่อนจะซื้อของ ต้องถามตัวเองทุกครั้งว่าเราอยู่ได้ไหม หากไม่มีของชิ้นนี้
- เงินในบัญชีเพียงพอ ไม่เกินที่ตั้งไว้ใช่ไหม
- อะไรทำให้เราอยากได้ของชิ้นนี้
- สภาพอารมณ์ตอนเราจะซื้อของชิ้นนี้เป็นแบบไหน
- หลังจากซื้อมาแล้ว จะใช้ได้นานแค่ไหน
รู้จัก Kakeibo วิธีออมเงินแบบญี่ปุ่น ที่ทำให้คนทั้งประเทศถือเงินสดได้มากกว่า 250 ล้านล้านบาท | Follow the Money
ตามข้อมูลจากธนาคาคารแห่งชาติญี่ปุ่น
ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การถือเงินสดของคนในประเทศญี่ปุ่น
โดยได้แสดงให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นกำลัง ถือครองเงินสดกว่า 250 ล้านล้านบาท
หากนับจากจากประชากรญี่ปุ่นที่มี 125 ล้านคน เรียกได้ว่าคนญี่ปุ่นกำลังมีเงินคนละ 2 ล้านบาท
ในขณะที่ประเทศไทยมีเงินสดในระบบธนาคาร รวมทั้งสิ้นประมาณ 16.7 ล้านล้านบาท
ประชากรไทยมีจำนวน 71.6 ล้านคน เฉลี่ยคนไทยมีเงินคนละ 2 แสนบาท (คิดแบบง่าย ๆ)
เรียกได้ว่าคนไทยมีเงินน้อยกว่าคนญี่ปุ่นถึง 10 เท่า
ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักวิธีการออมแบบญี่ปุ่น
ที่ทำให้คนญี่ปุ่นถือครองเงินสดได้มากจากการประหยัดเล็กน้อย
[คนญี่ปุ่นเก็บเงินผ่านวิธี Kakeibo]
Kakeibo (คะเคะโบ) คือ การออมเงินต้นตำรับของชาวญี่ปุ่น
เป็นสิ่งที่สืบทอดกันมากว่า 117 ปี โดยถือเป็นวิธีการออมเงิน
ที่ต้องมีการวางแผนในการออมเงินอย่างเคร่งครัด
และเป็นการสร้างพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในการเก็บเงินได้เป็นอย่างดี
โดยการออมเงินแบบวิธีคะเคะโบนั้น ใช้อุปกรณ์เพียงสมุดกับปากกาเท่านั้น
ซึ่งเป็นวิธีออมเงินที่ใช้ได้จริง มีเงินเก็บเพิ่มขึ้น
เป็นเทคนิคที่ทำให้เราตระหนักการย้ำคิดย้ำทำ
ที่ไตร่ตรองออกมาแล้วอย่างถี่ถ้วน ด้วยการ ‘จด’ ลงบนสมุดบันทึกในทุกๆ วัน
เพื่อแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้เงินของเราในแต่ละวัน
ทำให้รู้ตัวเองและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินได้
[เริ่มเก็บเงินแบบ Kakeibo ทำอย่างไร ?]
อันดับแรกก็ต้อง ‘ตั้งเป้าหมาย’ ก่อนเริ่มออมเงินแบบ Kakeibo
โดยอาศัย 4 หลัก ดังต่อไปนี้ ได้แก่
- ออมเงินไปได้แล้วเท่าไร
- อยากออมเงินให้ได้เท่าไร
- ค่าใช้จ่ายต้องใช้เงินเท่าไร
- สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้บ้างในเดือน เพื่อช่วยให้การออมเงินได้ดีขึ้น
เมื่อเข้าใจเป้าหมายในการออมเงินและรายจ่ายแล้ว
ลำดับต่อไปที่ต้องปรับเป็นอย่างมากคือ ‘พฤติกรรม’
แน่นอนการเปลี่ยนพฤติกรรมช่วยประหยัดเงิน
ได้มากกว่าการหารายได้เพิ่มอีกหนึ่งทางเสียอีก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘การคิด’ ก่อนที่จะ ‘ใช้จ่าย’
แน่นอนว่าหากคุณตั้งคำถามเหล่านี้แล้วหล่ะก็
เงินในบัญชีของคุณคงไม่ปลิวหายไปเร็วอย่างแน่นอน
และยังช่วยประหยัดเล็กประหยัดน้อยไปหลายเดือน
อย่าลืมว่าเดือนละ 1,000 บาทก็ 12,000 บาทต่อปีเลยนะ !
วิธีเก็บเงิน โดยเฉพาะคนที่ชอบซื้อครับ
ที่จะช่วยให้คุณเก็บเงินแบบ Kakeibo ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่
- ก่อนจะซื้อของ ต้องถามตัวเองทุกครั้งว่าเราอยู่ได้ไหม หากไม่มีของชิ้นนี้
- เงินในบัญชีเพียงพอ ไม่เกินที่ตั้งไว้ใช่ไหม
- อะไรทำให้เราอยากได้ของชิ้นนี้
- สภาพอารมณ์ตอนเราจะซื้อของชิ้นนี้เป็นแบบไหน
- หลังจากซื้อมาแล้ว จะใช้ได้นานแค่ไหน
รู้จัก Kakeibo วิธีออมเงินแบบญี่ปุ่น ที่ทำให้คนทั้งประเทศถือเงินสดได้มากกว่า 250 ล้านล้านบาท | Follow the Money
ตามข้อมูลจากธนาคาคารแห่งชาติญี่ปุ่น
ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การถือเงินสดของคนในประเทศญี่ปุ่น
โดยได้แสดงให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นกำลัง ถือครองเงินสดกว่า 250 ล้านล้านบาท
หากนับจากจากประชากรญี่ปุ่นที่มี 125 ล้านคน เรียกได้ว่าคนญี่ปุ่นกำลังมีเงินคนละ 2 ล้านบาท
ในขณะที่ประเทศไทยมีเงินสดในระบบธนาคาร รวมทั้งสิ้นประมาณ 16.7 ล้านล้านบาท
ประชากรไทยมีจำนวน 71.6 ล้านคน เฉลี่ยคนไทยมีเงินคนละ 2 แสนบาท (คิดแบบง่าย ๆ)
เรียกได้ว่าคนไทยมีเงินน้อยกว่าคนญี่ปุ่นถึง 10 เท่า
ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักวิธีการออมแบบญี่ปุ่น
ที่ทำให้คนญี่ปุ่นถือครองเงินสดได้มากจากการประหยัดเล็กน้อย
[คนญี่ปุ่นเก็บเงินผ่านวิธี Kakeibo]
Kakeibo (คะเคะโบ) คือ การออมเงินต้นตำรับของชาวญี่ปุ่น
เป็นสิ่งที่สืบทอดกันมากว่า 117 ปี โดยถือเป็นวิธีการออมเงิน
ที่ต้องมีการวางแผนในการออมเงินอย่างเคร่งครัด
และเป็นการสร้างพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในการเก็บเงินได้เป็นอย่างดี
โดยการออมเงินแบบวิธีคะเคะโบนั้น ใช้อุปกรณ์เพียงสมุดกับปากกาเท่านั้น
ซึ่งเป็นวิธีออมเงินที่ใช้ได้จริง มีเงินเก็บเพิ่มขึ้น
เป็นเทคนิคที่ทำให้เราตระหนักการย้ำคิดย้ำทำ
ที่ไตร่ตรองออกมาแล้วอย่างถี่ถ้วน ด้วยการ ‘จด’ ลงบนสมุดบันทึกในทุกๆ วัน
เพื่อแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้เงินของเราในแต่ละวัน
ทำให้รู้ตัวเองและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินได้
[เริ่มเก็บเงินแบบ Kakeibo ทำอย่างไร ?]
อันดับแรกก็ต้อง ‘ตั้งเป้าหมาย’ ก่อนเริ่มออมเงินแบบ Kakeibo
โดยอาศัย 4 หลัก ดังต่อไปนี้ ได้แก่
- ออมเงินไปได้แล้วเท่าไร
- อยากออมเงินให้ได้เท่าไร
- ค่าใช้จ่ายต้องใช้เงินเท่าไร
- สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้บ้างในเดือน เพื่อช่วยให้การออมเงินได้ดีขึ้น
เมื่อเข้าใจเป้าหมายในการออมเงินและรายจ่ายแล้ว
ลำดับต่อไปที่ต้องปรับเป็นอย่างมากคือ ‘พฤติกรรม’
แน่นอนการเปลี่ยนพฤติกรรมช่วยประหยัดเงิน
ได้มากกว่าการหารายได้เพิ่มอีกหนึ่งทางเสียอีก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘การคิด’ ก่อนที่จะ ‘ใช้จ่าย’
แน่นอนว่าหากคุณตั้งคำถามเหล่านี้แล้วหล่ะก็
เงินในบัญชีของคุณคงไม่ปลิวหายไปเร็วอย่างแน่นอน
และยังช่วยประหยัดเล็กประหยัดน้อยไปหลายเดือน
อย่าลืมว่าเดือนละ 1,000 บาทก็ 12,000 บาทต่อปีเลยนะ !