คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ขอเสนอดวงตาเห็นธรรม หรือบรรลุธรรมแบบปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 (วิปัสสนากรรมฐาณ) มีปัญญาแจ้งชัดในไตรลักษณ์(อนิจัง ทุกขัง อนัตตา) กับ รูป-นาม(ขันธ์ 5) ที่ปรากฏเป็นปัจจุบันนั้นๆ จนเกิดสภาวะธรรมที่เรียกว่า มัคสมังคี
ก็คือการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 จนวิปัสสนาญาณถึง อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ที่ปรากฏทยอยพร้อมกันเสร็จสิ้นในคราวเดียว
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ธรรมต่างๆ คือ สติปัฏฐาน 4 อิทธิบาท 4 สัมมัปธาน 4 พละ 5 อินทรีย์ 5 โพชฌงค์ 7 และ มรรคมีองค์ 8 เมื่อสั่งสมเจริญจนพร้อมบริบูรณ์ ประชุมรวมกันจนเกิด มัคสมังคี เพียงคราวเดียว ช่วงขณะเดียว เป็นการบรรลุธรรมหรือมีดวงตาเห็นธรรมเป็น พระโสดาบัน ในรอบที่ 1
แต่เมื่อยังปฏิบัติธรรมอยู่เนื่องๆ หรือธรรมทั้ง 37 ประการยังเจริญสมบูรณ์ขึ้น ก็จะบรรลุธรรมรอบที่ 2 เป็นพระสกิทาคามี รอบที่ 3 เป็นพระอนาคามี รอบที่ 4 เป็นพระอรหันต์.
สรุป เป็นการเสนอ ภาวนามยปัญญา เพื่อเกิดดวงตาเห็นธรรม หรือเกิดมัคสมังคี เพราะต้องเกิด ภาวนามยปัญญาที่เป็นวิปัสสนากรรมฐาน จึงมีสภาวธรรมที่เป็น มัคสมังคี ได้.
ก็คือการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 จนวิปัสสนาญาณถึง อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ที่ปรากฏทยอยพร้อมกันเสร็จสิ้นในคราวเดียว
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ธรรมต่างๆ คือ สติปัฏฐาน 4 อิทธิบาท 4 สัมมัปธาน 4 พละ 5 อินทรีย์ 5 โพชฌงค์ 7 และ มรรคมีองค์ 8 เมื่อสั่งสมเจริญจนพร้อมบริบูรณ์ ประชุมรวมกันจนเกิด มัคสมังคี เพียงคราวเดียว ช่วงขณะเดียว เป็นการบรรลุธรรมหรือมีดวงตาเห็นธรรมเป็น พระโสดาบัน ในรอบที่ 1
แต่เมื่อยังปฏิบัติธรรมอยู่เนื่องๆ หรือธรรมทั้ง 37 ประการยังเจริญสมบูรณ์ขึ้น ก็จะบรรลุธรรมรอบที่ 2 เป็นพระสกิทาคามี รอบที่ 3 เป็นพระอนาคามี รอบที่ 4 เป็นพระอรหันต์.
สรุป เป็นการเสนอ ภาวนามยปัญญา เพื่อเกิดดวงตาเห็นธรรม หรือเกิดมัคสมังคี เพราะต้องเกิด ภาวนามยปัญญาที่เป็นวิปัสสนากรรมฐาน จึงมีสภาวธรรมที่เป็น มัคสมังคี ได้.
แสดงความคิดเห็น
ดวงตาเห็นธรรม เห็นอะไรบ้าง
ดวงตาเห็นธรรมนั้นคือดวงตาเห็นอะไร คือดวงตาเห็นสิ่งใดสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นเบื้องต้น ความแปรไปเป็นท่ามกลาง ความดับเป็นที่สุด สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็คือทั้งหมดจะเป็นรูปก็ช่าง จะเป็นนามก็ตาม สิ่งใดสิ่งหนึ่งครอบรวมเลยทีเดียวได้แก่ ธรรมชาติทั้งหมดเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะเป็นรูปธรรมก็ช่าง จะเป็นนามธรรมก็ตาม เกิดขึ้นแล้วก็แปรดับไป อย่างตัวสกลร่างกายของเราก็เหมือนกัน มันเกิดแล้วก็แปรไปตามธรรมดาของมันแล้วมันก็ดับไป
อย่างเด็กก็แปรจากเด็ก ดับจากเด็กมาหนุ่ม จากหนุ่มก็ดับไปเป็นแก่ จากแก่ก็ดับจากแก่ก็เป็นชรา จากชราก็ตาย ต้นไม้ภูเขาเถาวัลย์ก็เหมือนกัน มันแปรไปแล้วก็แก่ไป สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ธรรมชาติเหล่านี้ เรียกว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความเห็นหรือความเข้าใจ อันเกิดมาจากผู้รู้ในคราวที่นั่งฟังธรรมอยู่นั้นเข้าไปถึงใจ
อย่างแจ่มแจ้ง สิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นเลยเข้าฝังในดวงจิตของพระอัญญาโกณฑัญญะ จนเป็นเหตุให้ถอนตัวอุปธิหรืออุปาทานออกจากสังขาร ทั้งหลายทั้งปวงนั้นได้ เป็นต้นว่าสักกายทิฐิ คืออาการที่ไม่ถือเนื้อถือตัวทั้งหลายนี้ เห็นตามสกลร่างกายของเราแล้ว ก็ไม่เห็นว่าเป็นตัวเป็นตนของเรา เห็นชัดลงไปจนเป็นเหตุให้ถอนจากอุปาทานนั้น ไม่ถือตัวซึ่งเป็นสักกายทิฐิ และไม่มีวิจิกิจฉา
เมื่อถอนอุปาทานออกมาจากความยึดมั่นถือมั่นแล้ว ก็มิได้สงสัยเลยในธรรมทั้งหลาย หรือในความรู้ทั้งหลาย เข้าไปเห็นธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล้ว ก็เปลี่ยนออกไปเลยทีเดียว รู้ว่านี่วิจิกิจฉา นี่สีลัพพตปรามาส การปฏิบัติของท่านนั้นแน่แน่วตรงเข้าไป ไม่ได้เคลือบแคลงสงสัย ไม่ได้ลูบหรือไม่ได้คลำ ถึงแม้ว่าสกลร่างกายมันจะเจ็บ มันจะไข้เป็นไปอย่างใด ท่านก็ไม่ลูบไม่คลำมัน ไม่ได้สงสัยเสียแล้ว การที่ไม่ได้สงสัยนี่ก็คือถอนอุปาทานออกมาแล้ว ถ้ามีอุปาทานอยู่ก็ต้องไปลูบไปคลำในสกลร่างกายนี้
อาการลูบคลำในสกลร่างกายนี้ เป็นสีลัพพตปรามาสเมื่อถอนสักกายทิฐิออกจากกายนี้ สีลัพพตปรามาสก็หมดไปวิจิกิจฉาก็ไม่มี ถ้าถอนสักกายทิฐิขึ้นอย่างเดียว วิจิกิจฉาก็ไม่มี ถ้าถอนสักกายทิฐิขึ้นอย่างเดียว วิจิกิจฉาก็เลิก สีลัพพตปรามาสก็เลิก ถ้ายังมีสีลัพพตปรามาสอยู่ วิจิกิจฉาก็ยังอยู่ อุปาทานก็ยังอยู่
เมื่อดวงตาเห็นธรรม ก็หลุดพ้นจากอุปาทาน
อันนี้แสดงว่าธรรมะที่สมเด็จพระบรมศาสดา ของเราท่านแสดงคราวนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะฟังแล้วได้ดวงตาเห็นธรรม ดวงตาอันนั้นก็คือผู้รู้แจ้งนั่นเอง เรียกว่าดวงตาเห็นธรรม คือเห็นธรรมหรือธรรมดาอันนี้เอง เมื่อเห็นชัดลงไปอย่างนี้ก็ถอนอุปาทานได้
ฉะนั้น การถอนอุปทานได้นี้ จึงรู้สึกว่ามันเกิดผู้รู้ขึ้นมาจริงๆ เมื่อก่อนก็รู้อยู่เหมือนกันแต่มันถอนอุปาทานไม่ได้ นั่นเรียกว่าผู้รู้ธรรม อยู่แต่ไม่เห็นธรรม เห็นธรรมอยู่แต่ไม่เป็นธรรม เพราะไม่รู้ตามสภาวะของมัน ฉะนั้นพระบรมศาสดาท่านจึงตรัส “อัญญาสิ วต โภ โกณทัญโญ” ได้รู้แล้วหนอ รู้แล้วหนอ รู้อะไรล่ะ ท่านรู้อะไร ก็คือได้รู้ธรรมชาติที่มันเป็นอยู่นี่เอง
เราทั้งหลายมักหลงธรรมชาติ อย่างสกลร่างกายนี้ กายของเรานี้ประกอบขึ้นด้วยดินน้ำไฟลม มันก็เป็นธรรมชาติที่เรียกว่าวัตถุที่มองเห็นด้วยตา มันอยู่ด้วยอาหารเจริญมาเจริญมา เจริญขึ้นมาแล้วก็แปรไป ถึงที่สุดมันก็ดับไปเช่นกัน
เครดิต
http://anuchah.com/seeing-dhamma/#:~:text=ดวงตาเห็นธรรม