สัตว์:..ผู้อริยสาวก-ผู้โสดาบัน..ตอนที่ 10 :...ทิฏฐิสัมปทา(โสดาบัน)..ละธรรม 6 อย่าง..

กระทู้คำถาม


https://etipitaka.com/read/thai/22/390/
๕. ปหาตัพพสูตร
[๓๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา(โสดาบัน)
ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

- สักกายทิฐิ ๑   <------------(ความเห็น..ที่ผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตน)
- วิจิกิจฉา ๑  <----------------(ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์)
- สีลัพพตประมาส ๑  <-------(การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง)
- ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ <---------(อปายคมนิยราคะ)
- โทสะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ <--------(อปายคมนิยโทสะ)
- และโมหะที่เป็นเหตุ ไปสู่อบาย ๑ <---(อปายคมนิยโมหะ)

ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้ แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา
ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

- สักกายทิฐิ ๑   <------------(ความเห็น..ที่ผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตน)
- วิจิกิจฉา ๑  <----------------(ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์)
- สีลัพพตประมาส ๑  <-------(การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง)
- ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ <---------(อปายคมนิยราคะ)
- โทสะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ <--------(อปายคมนิยโทสะ)
- และโมหะที่เป็นเหตุ ไปสู่อบาย ๑ <---(อปายคมนิยโมหะ)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๖ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา ฯ
จบสูตรที่ ๕

 
สรุป...ตอนที่ 5..นี้  
1. คำว่า " ทิฏฐิสัมปทา "---แปลว่า "..สมบูรณ้ด้วยความเห็น..."  ซึ่งพระองค์หมายเอาถึง...โสดาบัน

2. อยากให้พิจารณาดีๆ ตรงนี้นะ คำว่า " ละสักกาย " vs " ละสักกายทิฏฐิ "...
    - การละสักกายได้....มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นนะ... พระโสดาบันละสักกายะ..ยังไม่ได้..ท่านละได้เพียงความเห็น
      นั้นหมายถึงการละ..ฉันทะ-ราคะ~นันทิ-ตัณหา...ที่มีอยู่ใน..รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ...หรือละ..ตัณหา-อุปาทาน
    - ส่วน  การละสักกายทิฏฐิ ---- นี่คือการละ...ความเห็น(ทิฏฐิ)..เท่านั้น
      คือละความเห็นว่า.....เราคือกายนี้--กายนี้ของเรา-กายนี้เป็นตัวตนของเรา  (กายนี้ = ขันธ์๔)

3. การละวิจิกิฉานี้....ก็คือ...เข้าใจแล้ว---ไม่สงสัยอีกต่อไปว่า...
    ทุกข์มันคืออะไร-ทุกข์ุกิดมาได้อย่างไร-ทุกข์มันจะดับไปได้อย่างไร--แล้วจะทำอย่างไรมีข้อปฏิบัติอย่างไร..ทุกข์มันจึงจะดับไป
    สรุปก็คือ...เข้าใจ...สติปัฏฐาน๔--ปฏิจจสมุปปาท---อริยสัจจ๔...นั่นเอง

4. จะเห็นได้ว่า... มีคุณธรรมอีก 3 ร่วมด้วย  คือ..ละราคา-โทสะ-โมหะ..ที่ไม่หนักพอที่จะพาไปสู่อบาย...
     จะเห็นได้ว่า.....ราคะ-โทสะ-โมหะ...ของพระโสดาบันยังมี...แต่ก็ไม่หนักพอที่จะพาไปสู่อบาย...
      ราคะ-โทสะ-โมหะ...ถ้าเบาบางลง(จากการประพฤติธรรม)...ก็เป็นสกทาคามี...
      ราคะ-โทสะ..จะหมดไปก็เป็นอานาคามีแล้ว(หมายเอากามราคะ)  
      แต่อนาคามียังมีโมหะ..นะ...เพราะท่านยังมี....รูปราคะ-อรูปราคะ-มานะ-อุทธัจจะ-อวิชชา...อยู่
    
      สรุปว่า....ท่านทั้งหลาย..มองพระโสดาบันไม่ออกหรอก...ครับ คล้ายกับคนธรรมดานะ...มีราคะ-โทสะ-โมหะ..ครบ
                    แต่ก็เบาบางกว่าคนธรรมดาไปเยอะหละ...  ท่านมีทุกข์น้อยกว่าปุถุชนอย่างมหาศาล
                    เพราะอะไร? ก็เพราะท่านมองโลกไม่เหมือนกับคนธรรมดาปุถุชน..แล้ว  เพราะเหตุที่มี " ทิฏฐิสัมปทา "
            
                     ท่านเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดเพราะเหตุปัจจัย...แล้วมันก็ดับไปเพราะเหตุปัจจัย...
                     สติอาจจะตามไม่ทัน...ผัสสะ...ที่เกิดขึ้นก็ตาม 
                     แต่ท่านก็รู้เหตุเกิด-เหตุดับ-รู้อัสสาทะ-รู้อาทีนวะ..ของมัน
                     ทุกข์กาย-สุขกาย-โสมนัส-โทมนัส-อุเบกขา..เกิดขึ้นก็พิจารณาว่าเดี๋ยวพอ...ปัจจัยคือผัสสะดับ..
                     มันก็จะดับไปเอง... อย่าไปตามติด  อย่าไป...เพลิน...อย่าไปอยาก....  อนุสัยก็จะเบาบางลงไปเลื่อย...
                     เหมือนกับการสึกไปๆ..ของดามมีดของช่างไม้(พระสูตรด้ามมีดสึกไป)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่