จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 28 กันยายน 2566 ตอนที่ 6

กระทู้สนทนา
2)ประวัติก่อตั้งสถานศึกษา และขยายสถานศึกษาขอบคุณพ่อเช่น สถาบันอาชีวะ278แห่ง มัธยมต้น 2680แห่ง และ อื่นๆเพื่อนักเรียน4.35ล้านคน รวมถึงความเป็นมาห้องสมุด และเเหล่งการเรียนรู้ต่างๆซึ่งยังคงสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งประกาศจัดตั้งช่วงปี 2538-2540 ตามแผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่21  ล้วนแล้วแต่นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ เปิดโอกาสให้คนเลวในคราบนักการศึกษาหาประโยชน์จากงบประมาณซึ่งมาจากภาษีของประชาชน 

3)ปัญหาการศึกษาไทยในปัจจุบันเริ่มจาก กฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญ2540ด้านการศึกษา2542 ของกลุ่มอำนาจเก่าในกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งคัดค้านแผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่21 จึงต้องแก้ไขแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ซึ่งแก้ไขจากผู้บริหารจึงเกิดปัญหาในการปฏิบัติการ

บิดาของข้าพเจ้าต้องคิดกระบวนทัศน์ใหม่ ในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่8 โดยประชาชนมีส่วนร่วม และ ผลักดันบทบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 

แต่น่าเสียดายหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย2540 มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง กลุ่มอำนาจเก่าในกระทรวงศึกษาธิการจึงกลับมามีอำนาจในกระทรวงศึกษาธิการ และครอบงำนักการเมือง รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และระบบการศึกษาไทยอีกครั้ง คนไทยจึงเสียสิทธิ์เรียนฟรีจริงตั้งแต่อนุบาล ถึงปริญญาตรี เพราะกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาซึ่งเบิกจ่ายได้จริง ตามกฎหมายปี2491(ตั้งแต่มกราคม2539 สมัยคุณพ่อสุขวิช เนื่องจากเมื่อตั้งกองทุนกู้ยืมในปี2538กฎหมายไม่ผ่านสภาจึงปล่อยกู้ไม่ได้) 

กองทุนนี้ต้องการยกหนี้ให้ผู้ยืมซึ่งเรียนจบจริง แต่ปัจจุบันงบประมาณในการศึกษาถูกใช้ผิดเจตนารมณ์ของแผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่21เพราะกฎหมายปี2542มีปัญหา

องค์กรอิสระซึ่งตั้งขึ้นมาหลังประกาศใช้กฎหมายการศึกษา2542 แย่งงบประมาณไปจากสิทธิในการเรียนฟรีจริงพร้อมอาหาร รถรับส่งและอุปกรณ์ของเด็ก สวัสดิการครู บุคลากรทางการศึกษา งบประมาณปรับปรุงสถานศึกษา การยกหนี้ให้ผู้กู้ซึ่งเรียนจบปริญญาตรีจริง และอื่นๆ 

องค์กรซึ่งเป็นภาระกับงบประมาณกระทรวงศึกษาธิการ 

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) Equitable Education Fund (EEF) บทบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้รัฐจัดการศึกษาประชาชน12 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ปัญหามาจาก กระทรวงศึกษาธิการไม่สามารถจัดบริการมีการศึกษาคุณภาพทั่วถึง เพราะไม่มีงบประมาณจึงไม่สามารถให้เด็กเรียนฟรีจริง และอื่นๆซึ่งกองทุนนี้แก้ไขปัญหาได้มิติเดียว หากจ่ายเงินให้สถานศึกษาโดยตรงจะแก้ไขปัญหาได้หลายมิติและเสมอภาคอย่างแท้จริง

คณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา หากนำแผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่21 ควบคู่กับคู่มือการแปลงแผน8 เป็นแผนปฏิบัติการซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยได้รับรางวัลUNESCOเพื่อการศึกษา 3รางวัล และ การปฏิรูปการศึกษา2538 ยังใช้อยู่ในประเทศฟินแลนด์ ซึ่งมีระบบการศึกษาเป็นเลิศหลังจากใช้12ปี 1998-2010 

สุดท้ายนี้ ขอความร่วมมือแก้ไขประวัติศาสตร์การศึกษาไทย ทั้งในประเทศไทยและให้ถูกต้อง 

นำคืนรางวัลการศึกษาเป็นเลิศ ประเภทองค์กร ของ UNESCO ปี 2540 ซึ่งสภาการศึกษาปล้นไปในปี2540  คืนให้กระทรวงศึกษาธิการ เพราะครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศได้ทำงานหนัก สภาการศึกษาของ นายรุ่ง แก้วแดงไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หลังจากถูกบิดาของข้าพเจ้าย้ายจากกรมการศึกษานอกโรงเรียนไปเป็นเลขาธิการสภาการศึกษา ซึ่งหากบิดาของข้าพเจ้าย้ายไปแขวนยังสำนักนายกรัฐมนตรี คงจะดีกว่า และสร้างความตกต่ำต่อเนื่องให้วงการศึกษาไทยต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2000 ไม่ได้

ข้อมูลเพิ่มเติม เดือนมกราคม2567 หลังจากข้าพเจ้าส่งจดหมายเปิดผนึก 26 กันยายน 2566 โดยคุณวิโรจน์ก้าวไกล ยืนยันเรื่องการศึกษาไทยตกต่ำตั้งแต่ปี 2000

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

รางวัลการจัดบริการการศึกษาเป็นเลิศประเภทบุคคลปี 2540  และ รางวัลผู้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาใ้ช้ในระบบการศึกษาไทย ส่งหลักฐานเมื่อ 25 พฤษภาคม 2541ต้องเป็นของบิดาข้าพเจ้า ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ2538-2540 ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน และ ดร.ประเวศ วะสี  คัดค้านอภิวัฒน์การศึกษาไทยในช่วงปี 2538-2540 

การปล้นรางวัลไปให้บุคคลฝ่ายตรงข้าม กับคุณพ่อของข้าพเจ้า เจ้าของผลงานตัวจริง ของ ดร.ดวงทิพย์ สุรินทราทิพย์ ผู้ประสานงานงานUNESCO เป็นการนำกลุ่มอำนาจเก่ามาเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย ให้ถอยหลังลงคลองด้วยกฎหมายการศึกษา2542

https://ppantip.com/topic/41483077/desktop 
คดีนำเข้าข้อมูลเท็จในวิกิพิเดีย ผู้การศิริวัฒน์ ดีพอ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.)  ยังลบข้อความหมิ่นประมาทและจับกุมผู้กระทำความผิดไม่ได้ 

หลักฐานกระทรวงศึกษาธิการ
Ministry of Education Information 
https://web.archive.org/web/20110131195622/http://www.moe.go.th:80/main2/new06.htm

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สุขวิช รังสิตพล กล่าวถึงสถาบันราชภัฎว่า สำหรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างเช่น สถาบันราชภัฎ จะต้องให้โอกาสแก่เด็กในชนบททุกคน เพราะสถานศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัยรับได้น้อยที่เหลือ ต้องเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเปิด ทำให้เกิดปัญหามากมายทั้งด้านเศรษฐกิจ ความปลอดภัย และปัญหาสังคมอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เพิ่มสถาบันราชภัฎอีก 5 แห่ง เพื่อรองรับและให้โอกาสแก่เด็กในชนบท แน่นอน บางคนอาจเรียนไม่ได้ก็ออกไปทำงาน แต่เราต้องให้โอกาสแก่เขา ไม่ทอดทิ้งเขา

ขอบคุณค่ะ 
ลูกสาวคุณพ่อ สุขวิช รังสิตพล 
พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล - ผู้พันปราง

15 ปี ปฏิรูปการศึกษาไทย
          เลาะเลียบคลองผดุงฯ
          ตุลย์ ณ ราชดำเนิน tulacom@gmail.com
          ผ่านมาวันนี้ย่างเข้าสู่เดือนกันยายน 2556 หากนับเอาเดือน สิงหาคม ปี 2542 เป็นวันที่บรรดานักปฏิรูปการศึกษายุคนั้น ประกาศถึงความสำเร็จและภาคภูมิใจที่สามารถผลักดันให้เกิดกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ก่อเกิดคุณอนันต์แก่ประเทศชาติเป็นล้นพ้น อันส่งผลต่อคุณภาพของคนไทยในอนาคต ผ่านมา 15 ปีพอดี
          จากคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกขานกันว่า 9 อรหันต์การศึกษาในสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา ส่วนใหญ่หัวนอกและไม่ยอมฟังเสียงท้วงติงของคนศธ. มั่นใจว่าการปรับโครงสร้างและการ กระจายอำนาจจัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้ที่ถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการพัฒนาวิชาชีพครู ตามแนวคิดของตนนั้นถูกต้อง
          นับแต่นั้นมา ศธ.จากที่เคยมีโครงสร้าง 14 กรม ยุบรวมเหลือ 5 องค์กรหลัก คือ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ .) และสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.)
          กระนั้นก็ดียังมีเรื่องที่โต้แย้งและถกเถียงในความเห็นไม่เพียงเรื่องการพัฒนาวิชาชีพครู และเขตพื้นที่การศึกษาจะลงตัวที่จำนวนเท่าไร ตามมาด้วยการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ ไชลด์เซ็นเตอร์
          จากวลีเด็ดของนักเรียนหญิงคนหนึ่งที่ทำเอาคำขวัญวันเด็กของนายกรัฐมนตรี ปี 2545 แทบตกพื้นที่ข่าว คือ การวิจารณ์ถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนไชลด์เซ็นเตอร์ของคุณครู มีสภาพไม่ต่างไปจาก ควายเซ็นเตอร์ เนื่องจากครูไม่เข้าใจและยังไม่มีแหล่งเรียนรู้นอกห้องพอที่จะทำให้เข้าถึงการเรียนรู้ด้วยตนเองได้
          ผ่านไป 7 ปีตรงกับ 23 ส.ค. 2549 สมศ.เปิดผลการออกประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบแรก พ.ศ. 2544-2548 จำนวน 30,010แห่ง ไม่ได้มาตรฐานขั้นต่ำถึง 20,000 แห่ง และอยู่ขั้นโคม่าหรือ ICU กว่า 15,000 แห่ง
          เดือนสิงหาคมที่เพิ่งจะผ่านมาครบ 15 ปี อยากให้ลองทบทวนกันว่า นับแต่ประกาศใช้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เปลี่ยนรมว.ศธ.และรัฐมนตรีช่วยมาแล้วเท่าใด น่าจะเป็นสถิติสูงสุดในโลก
          ส่วนใหญ่เมื่อมาแล้วมักพยายามสร้างให้มีผลงานใหม่ๆ มั่นใจตนเองถึงความรู้ ความเก่งและเฉลียวฉลาดเหนือกว่าคนการศึกษาที่ทำงานมายาวนาน
          ก็อย่างที่เห็นและเป็นไป 15 ปี ปฏิรูปการศึกษา มีอะไรที่ไปถึงฝั่งอย่างที่คิดกันมั่ง ช่วยบอกที
          หน้า 23
          ที่มา: http://www.matichon.co.th/khaosod
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่