ตั้งแต่เป็นนักลงทุนเต็มตัวแบบ VI หลังวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ผมก็ใช้พอร์ตลงทุนแทบจะ “แบบเดียว” มานานมากแทบจะเกือบ 20 ปี นั่นก็คือ ลงทุนเฉพาะในหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะเป็นการลงทุนเกือบ 100% แทบจะตลอดเวลา
วิธีการลงทุนก็คือการเลือกหุ้นเป็นรายตัวแบบ “VI” พอร์ตเป็นแบบ “Focus” หรือเน้นการถือหุ้นน้อยตัว โดยที่หุ้นตัวใหญ่ ๆ จะมีแค่ 6-7 ตัว ซึ่งคิดรวมกันเป็นประมาณ 75% ของพอร์ต ที่เหลือซึ่งก็มีไม่เกิน 10 ก็จะเป็นหุ้นตัวเล็กที่ไม่มีนัยสำคัญกับผลการดำเนินงานของพอร์ตลงทุน
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงบ้าง หุ้นตัวที่ใหญ่ที่สุดของพอร์ตก็จะไม่เกิน 50% ของพอร์ตในระยะยาวเกิน 4-5 เดือน โดยทั่วไปแล้ว ตัวใหญ่ที่สุดก็มักจะไม่เกิน 30-40% และหุ้นตัวใหญ่อันดับ 2 ก็มักจะใหญ่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของตัวแรก
แนวทางการจัดพอร์ตแบบนั้น ได้ผลดีมากมาจนถึงประมาณเมื่อ 5-6 ปีที่แล้วที่ตลาดหุ้นไทย และเฉพาะอย่างยิ่งหุ้น VI ที่เป็นแนว “ซุปเปอร์สต็อก” เริ่มทำผลงานตกต่ำลงมากและอนาคตก็ดูไม่สดใสตามภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ถดถอยลงเพราะโรคโควิด-19 และการที่คนไทยแก่ตัวลงมาก ซึ่งส่งผลให้หุ้นของบริษัทที่แข็งแกร่งและโดดเด่น ไม่ไปไหนมานานต่อเนื่อง และผมก็สรุปว่า การจัดพอร์ตลงทุนแบบเดิมที่ใช้มานานนั้น อาจจะไม่เหมาะสมอีกต่อไป
และถ้ายังดึงดันทำแบบเดิมอยู่ ผลตอบแทนการลงทุนที่เคยทำได้ดีมาก ก็จะตกต่ำลงไปเรื่อย ๆ ว่าที่จริงช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น ผลตอบแทนพอร์ตก็ค่อนข้างย่ำแย่และไม่ได้ดีกว่าดัชนีตลาดมากนัก
การ “จัดพอร์ตใหม่” ของผมเริ่มจากการมองหาตลาดหุ้นใหม่ที่จะลงทุนควบคู่ไปกับตลาดหุ้นไทย โดยที่ตลาดใหม่จะต้องเป็นตลาดของประเทศที่โตเร็วและมีความพร้อมสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ ต้องเป็นตลาดที่จะมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในอนาคต ซึ่งก็หมายถึงว่าควรจะมีประชากรจำนวนมากพอสมควร อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ควรจะอยู่ไม่ไกลจากไทยนัก และผมก็พบว่า “เวียตนาม” คือคำตอบ
การปรับพอร์ตโดยการเพิ่มการลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามนั้น ในช่วงแรก เนื่องจากยังไม่รู้จักหุ้นรายตัวของเวียตนามเลย ว่าที่จริงยังแทบจะไม่มีนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในเวียตนามเลย ผมจึงปรับแนวทางการลงทุนในพอร์ตเวียตนามเป็นแบบ เลือกหุ้นโดยใช้ “สูตร VI” ของ Joel Greenblatt ในหนังสือ “The little book that beats the market” ซึ่งอ้างว่าสามารถทำผลตอบแทนที่ชนะตลาดได้อย่างงดงาม
รอบแรกของการลงทุนในเวียตนาม ผมใช้เกณฑ์หาหุ้นที่มีค่า PE ไม่เกิน 10 เท่า ค่า PB ไม่เกิน 1 และค่า Dividend Yield ไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี ซึ่งได้หุ้นมากว่า 100 ตัว เป็นตัวเล็ก ๆ ที่มีแต่คำว่าหุ้นถูกเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีคุณภาพและมักจะไม่โต เป็นหุ้นรัฐวิสาหกิจขนาดเล็ก สภาพคล่องน้อยมาก ผมใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนในการสร้างพอร์ตนี้
มองย้อนหลังไปผมคิดว่าการปรับพอร์ตครั้งนี้ อาจจะถูกต้องในแง่ของตลาดหุ้น แต่กลยุทธ์ที่ใช้ในการเลือกหุ้นลงทุนนั้นผิดพลาดอย่างแรง ผมคิดว่าในตอนนั้นผมรีบร้อนเกินไป และเชื่อในหลักการหรือสูตรการลงทุนว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะมีการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับ ว่าที่จริงผมเองก็เคยทำการศึกษาเรื่องนี้ในประเทศไทยย้อนหลังไปหลายสิบปีซึ่งพบว่า การลงทุนโดยใช้ “สูตร VI” นั้น ได้ผลตอบแทนที่ดีเลิศยิ่งกว่าการลงทุนในซุปเปอร์สต็อกด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของการศึกษา หรือจุดอ่อนของสิ่งที่ผมทำก็คือ ผมไม่ได้ตระหนักว่า ผมจะต้องสามารถขายหุ้นในพอร์ตทุกสิ้นปีได้โดยที่ขายได้ในราคาตลาดที่เห็นด้วย และหลังจากนั้นก็ต้องซื้อหุ้นใหม่ตามสูตรเดิมด้วย ซึ่งผมก็ทำไม่ได้
ผม “ติดหุ้น” ตัวเล็ก ๆ ที่ซื้อตามสูตรแต่ขายไม่ได้เนื่องจากไม่ค่อยมีสภาพคล่อง และเมื่อไม่ได้ขายมันก็ค้างอยู่ในพอร์ตหลายปีโดยที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ผมแก้ไขหรือปรับพอร์ตเวียตนามมาหลายปีโดยการเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปและซื้อหุ้นซุปเปอร์สต็อกที่ผมเริ่มรู้แล้วว่ามันควรจะเป็นหุ้นตัวไหน เพราะตลาดหุ้นเวียตนามเริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ นักลงทุนรุ่นใหม่เริ่มเข้าไปลงทุนมากขึ้นมาก เช่นเดียวกับบทวิเคราะห์ที่ออกมามากมาย
ล่าสุดผมเริ่มปรับพอร์ตเวียตนามอีกครั้งหนึ่งโดยการทยอยขายหุ้นขนาดเล็กที่ผมคิดว่าไม่มีอนาคตในระยะยาวจนแทบจะหมด แน่นอนว่าผมต้องทำใจขายในราคาที่ไม่ดีเลยสำหรับหลาย ๆ ตัวเพราะผมทำอย่างรวดเร็วมาก ผมคิดว่า ในการปรับพอร์ตนั้น เราต้องทำตามหลักการ อย่าเสียดายสิ่งที่จะต้องเสียเป็น “ต้นทุน” ของการปรับพอร์ต มิฉะนั้นมันจะไม่สำเร็จ ในทำนอง “ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก” หรือ “เกลือ”
พอร์ตเวียตนามของผมถูกปรับจนเข้ารูปแบบที่ผมทำมาตลอดในประเทศไทยแล้ว นั่นคือ ประกอบไปด้วยหุ้นซุปเปอร์สต็อก 5-6 ตัวมีสัดส่วนมากกว่า 75% แล้ว นอกจากนั้น เนื่องจากประเด็นเรื่องการเสียภาษีบุคคลธรรมดาสำหรับหุ้นที่ลงทุนในต่างประเทศที่เพิ่งถูกนำมาใช้ ผมก็ยังได้ปรับพอร์ตหุ้นเวียตนามให้เข้าไปอยู่ในรูปบริษัทซึ่งจะเสียภาษีเพียง 20% แทนที่จะเป็นถึง 35% ในกรณีของบุคคลธรรมดาถ้ามีการนำเงินกลับประเทศไทย
การเก็บภาษีที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ยังทำให้ผมคิดต่อไปว่า เราจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงความคิดที่ว่า ตลาดหุ้นไทยนั้น “หมดยุคไปแล้ว” ยังไงเราก็ต้องออกไปลงทุนนอกประเทศเพิ่มขึ้นอีก ผมจึงคิดว่า พอร์ตในประเทศที่คิดเป็นเกือบ 70% ของความมั่งคั่งของผมนั้น ยังมากเกินไป ผมจึงวางแผนที่จะปรับในส่วนนี้โดยการลดขนาดลง อาจจะเหลือซัก 30-40% ละนำเงินส่วนที่เหลือไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่ม
แต่การลงทุนในส่วนต่างประเทศใหม่นี้ ผมคงจะไม่นำมารวมในบริษัทที่ยังไงก็ยังเสียภาษีนิติบุคคลถึง 20% จากผลกำไรประจำปี ผมคิดว่าการนำไปลงทุนในกองทุนรวมไทยที่ไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศ หรือลงทุนใน DR ซึ่งเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในไทยที่เป็นตัวแทนหุ้นในต่างประเทศจะดีกว่า เหตุผลก็เพราะว่าเมื่อกำไรและขายกองทุนหรือหลักทรัพย์นั้น เราจะไม่เสียภาษีเหมือนหุ้นที่เราไปลงทุนในต่างประเทศโดยตรง
การลงทุนในกองทุนและ DR ดังกล่าวนั้นมีข้อเสียอย่างหนึ่งก็คือ เราเลือกไม่ได้ว่าจะลงทุนหุ้นตัวไหน เพราะนั่นจะมาจากบริษัทหลักทรัพย์ที่จะเสนอกองทุนรวมหรือสร้าง DR ขึ้นมา ซึ่งเขาก็จะต้องดูว่าจะมีคนสนใจมาลงทุนหรือซื้อขายไหม อย่างไรก็ตาม ด้วยกฎหมายภาษีการลงทุนในหุ้นต่างประเทศที่มีการตีความเปลี่ยนไป โบรกเกอร์ก็อาจจะมีการเสนอผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการของนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ ผมคิดว่า มีหุ้นและกองทุนต่างประเทศประเทศเพียงพอที่ผมจะเลือกลงทุน
ดังนั้น พอร์ตการลงทุนที่สามของผม นอกจากพอร์ตหุ้นไทยและพอร์ตเวียตนามแล้วก็คือ พอร์ต “หุ้นต่างประเทศ” ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเป็นหุ้นประเทศอื่น ๆ ยกเว้นเวียตนาม ก็จะกลายเป็น “พอร์ตระยะยาว” ของผม โดยที่แต่ละพอร์ตก็อาจจะมีขนาดพอ ๆ กัน คือพอร์ตละ 30-40% ของความมั่งคั่ง และผมคิดว่า นี่จะเป็นพอร์ตที่เหมาะสมที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีพอใช้ อาจจะประมาณปีละ 10% แบบทบต้น และมีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ คนที่บริหาร ซึ่งวันหนึ่งก็ไม่ใช่เป็นผม อาจจะสามารถทำได้ไม่ยากนัก
แน่นอนว่า การปรับพอร์ตครั้งนี้ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้อีก โดยเฉพาะถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของภาษีและกฎเกณฑ์การลงทุนของไทยซึ่งอาจจะกระทบกับการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น อาจจะเปลี่ยนเป็นว่า หุ้นของคนไทยที่อยู่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะลงทุนผ่านเครื่องมือหรือผลิตภัณฑ์อะไร ก็จะต้องเสียภาษีทั้งหมด เป็นต้น
หรือวันหนึ่ง อาจจะเป็นว่า การลงทุนในหุ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้นไทยหรือต่างประเทศ หรือไม่ว่าจะลงทุนผ่านเครื่องมืออะไร ก็จะต้องเสียภาษีเท่ากันแบบของสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็คงจะเปลี่ยนแปลงเกมการลงทุนของเราอย่างสิ้นเชิง และการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนั้น ผมคิดว่า เป็นไปได้ เมื่อคำนึงถึงว่ารัฐบาลต้องการเงินเพื่อที่จะใช้จ่ายมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่รายได้และเศรษฐกิจกลับถดถอยลง
ถ้าถึงวันนั้น เราในฐานะ “นักเลือก” ก็จะต้องปรับตัวหรือปรับพอร์ตไปเรื่อย ๆ ทำสิ่งที่เหมาะสมสำหรับตนเอง และก็คงไม่เหมือนการปรับพอร์ตของผม ที่ตอนนี้กำลังพยายามลดพลังงานของการลงทุนโดยเฉพาะการปรับให้เป็นการลงทุนจากที่เคยทำแบบ “Active” หรือทุ่มเทเลือกหุ้นรายตัว เป็น “Semi-Active” หรือเลือกประเทศและเลือกกองทุน มากกว่าการเลือกหุ้นรายตัว แล้วปล่อยให้กองทุนหรือหุ้นในประเทศเหล่านั้น “ดูแลตัวเอง” ในระยะยาว เราจะเข้าไปซื้อ-ขายน้อยมาก
17 มี.ค 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
อ้างอิง
https://www.blockdit.com/posts/65f6987c1f5b5134e1ef680d
การปรับพอร์ตหุ้น : โลกในมุมมองของ Value Investor โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
วิธีการลงทุนก็คือการเลือกหุ้นเป็นรายตัวแบบ “VI” พอร์ตเป็นแบบ “Focus” หรือเน้นการถือหุ้นน้อยตัว โดยที่หุ้นตัวใหญ่ ๆ จะมีแค่ 6-7 ตัว ซึ่งคิดรวมกันเป็นประมาณ 75% ของพอร์ต ที่เหลือซึ่งก็มีไม่เกิน 10 ก็จะเป็นหุ้นตัวเล็กที่ไม่มีนัยสำคัญกับผลการดำเนินงานของพอร์ตลงทุน
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงบ้าง หุ้นตัวที่ใหญ่ที่สุดของพอร์ตก็จะไม่เกิน 50% ของพอร์ตในระยะยาวเกิน 4-5 เดือน โดยทั่วไปแล้ว ตัวใหญ่ที่สุดก็มักจะไม่เกิน 30-40% และหุ้นตัวใหญ่อันดับ 2 ก็มักจะใหญ่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของตัวแรก
แนวทางการจัดพอร์ตแบบนั้น ได้ผลดีมากมาจนถึงประมาณเมื่อ 5-6 ปีที่แล้วที่ตลาดหุ้นไทย และเฉพาะอย่างยิ่งหุ้น VI ที่เป็นแนว “ซุปเปอร์สต็อก” เริ่มทำผลงานตกต่ำลงมากและอนาคตก็ดูไม่สดใสตามภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ถดถอยลงเพราะโรคโควิด-19 และการที่คนไทยแก่ตัวลงมาก ซึ่งส่งผลให้หุ้นของบริษัทที่แข็งแกร่งและโดดเด่น ไม่ไปไหนมานานต่อเนื่อง และผมก็สรุปว่า การจัดพอร์ตลงทุนแบบเดิมที่ใช้มานานนั้น อาจจะไม่เหมาะสมอีกต่อไป
และถ้ายังดึงดันทำแบบเดิมอยู่ ผลตอบแทนการลงทุนที่เคยทำได้ดีมาก ก็จะตกต่ำลงไปเรื่อย ๆ ว่าที่จริงช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น ผลตอบแทนพอร์ตก็ค่อนข้างย่ำแย่และไม่ได้ดีกว่าดัชนีตลาดมากนัก
การ “จัดพอร์ตใหม่” ของผมเริ่มจากการมองหาตลาดหุ้นใหม่ที่จะลงทุนควบคู่ไปกับตลาดหุ้นไทย โดยที่ตลาดใหม่จะต้องเป็นตลาดของประเทศที่โตเร็วและมีความพร้อมสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ ต้องเป็นตลาดที่จะมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในอนาคต ซึ่งก็หมายถึงว่าควรจะมีประชากรจำนวนมากพอสมควร อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ควรจะอยู่ไม่ไกลจากไทยนัก และผมก็พบว่า “เวียตนาม” คือคำตอบ
การปรับพอร์ตโดยการเพิ่มการลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามนั้น ในช่วงแรก เนื่องจากยังไม่รู้จักหุ้นรายตัวของเวียตนามเลย ว่าที่จริงยังแทบจะไม่มีนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในเวียตนามเลย ผมจึงปรับแนวทางการลงทุนในพอร์ตเวียตนามเป็นแบบ เลือกหุ้นโดยใช้ “สูตร VI” ของ Joel Greenblatt ในหนังสือ “The little book that beats the market” ซึ่งอ้างว่าสามารถทำผลตอบแทนที่ชนะตลาดได้อย่างงดงาม
รอบแรกของการลงทุนในเวียตนาม ผมใช้เกณฑ์หาหุ้นที่มีค่า PE ไม่เกิน 10 เท่า ค่า PB ไม่เกิน 1 และค่า Dividend Yield ไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี ซึ่งได้หุ้นมากว่า 100 ตัว เป็นตัวเล็ก ๆ ที่มีแต่คำว่าหุ้นถูกเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีคุณภาพและมักจะไม่โต เป็นหุ้นรัฐวิสาหกิจขนาดเล็ก สภาพคล่องน้อยมาก ผมใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนในการสร้างพอร์ตนี้
มองย้อนหลังไปผมคิดว่าการปรับพอร์ตครั้งนี้ อาจจะถูกต้องในแง่ของตลาดหุ้น แต่กลยุทธ์ที่ใช้ในการเลือกหุ้นลงทุนนั้นผิดพลาดอย่างแรง ผมคิดว่าในตอนนั้นผมรีบร้อนเกินไป และเชื่อในหลักการหรือสูตรการลงทุนว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะมีการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับ ว่าที่จริงผมเองก็เคยทำการศึกษาเรื่องนี้ในประเทศไทยย้อนหลังไปหลายสิบปีซึ่งพบว่า การลงทุนโดยใช้ “สูตร VI” นั้น ได้ผลตอบแทนที่ดีเลิศยิ่งกว่าการลงทุนในซุปเปอร์สต็อกด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของการศึกษา หรือจุดอ่อนของสิ่งที่ผมทำก็คือ ผมไม่ได้ตระหนักว่า ผมจะต้องสามารถขายหุ้นในพอร์ตทุกสิ้นปีได้โดยที่ขายได้ในราคาตลาดที่เห็นด้วย และหลังจากนั้นก็ต้องซื้อหุ้นใหม่ตามสูตรเดิมด้วย ซึ่งผมก็ทำไม่ได้
ผม “ติดหุ้น” ตัวเล็ก ๆ ที่ซื้อตามสูตรแต่ขายไม่ได้เนื่องจากไม่ค่อยมีสภาพคล่อง และเมื่อไม่ได้ขายมันก็ค้างอยู่ในพอร์ตหลายปีโดยที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ผมแก้ไขหรือปรับพอร์ตเวียตนามมาหลายปีโดยการเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปและซื้อหุ้นซุปเปอร์สต็อกที่ผมเริ่มรู้แล้วว่ามันควรจะเป็นหุ้นตัวไหน เพราะตลาดหุ้นเวียตนามเริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ นักลงทุนรุ่นใหม่เริ่มเข้าไปลงทุนมากขึ้นมาก เช่นเดียวกับบทวิเคราะห์ที่ออกมามากมาย
ล่าสุดผมเริ่มปรับพอร์ตเวียตนามอีกครั้งหนึ่งโดยการทยอยขายหุ้นขนาดเล็กที่ผมคิดว่าไม่มีอนาคตในระยะยาวจนแทบจะหมด แน่นอนว่าผมต้องทำใจขายในราคาที่ไม่ดีเลยสำหรับหลาย ๆ ตัวเพราะผมทำอย่างรวดเร็วมาก ผมคิดว่า ในการปรับพอร์ตนั้น เราต้องทำตามหลักการ อย่าเสียดายสิ่งที่จะต้องเสียเป็น “ต้นทุน” ของการปรับพอร์ต มิฉะนั้นมันจะไม่สำเร็จ ในทำนอง “ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก” หรือ “เกลือ”
พอร์ตเวียตนามของผมถูกปรับจนเข้ารูปแบบที่ผมทำมาตลอดในประเทศไทยแล้ว นั่นคือ ประกอบไปด้วยหุ้นซุปเปอร์สต็อก 5-6 ตัวมีสัดส่วนมากกว่า 75% แล้ว นอกจากนั้น เนื่องจากประเด็นเรื่องการเสียภาษีบุคคลธรรมดาสำหรับหุ้นที่ลงทุนในต่างประเทศที่เพิ่งถูกนำมาใช้ ผมก็ยังได้ปรับพอร์ตหุ้นเวียตนามให้เข้าไปอยู่ในรูปบริษัทซึ่งจะเสียภาษีเพียง 20% แทนที่จะเป็นถึง 35% ในกรณีของบุคคลธรรมดาถ้ามีการนำเงินกลับประเทศไทย
การเก็บภาษีที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ยังทำให้ผมคิดต่อไปว่า เราจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงความคิดที่ว่า ตลาดหุ้นไทยนั้น “หมดยุคไปแล้ว” ยังไงเราก็ต้องออกไปลงทุนนอกประเทศเพิ่มขึ้นอีก ผมจึงคิดว่า พอร์ตในประเทศที่คิดเป็นเกือบ 70% ของความมั่งคั่งของผมนั้น ยังมากเกินไป ผมจึงวางแผนที่จะปรับในส่วนนี้โดยการลดขนาดลง อาจจะเหลือซัก 30-40% ละนำเงินส่วนที่เหลือไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่ม
แต่การลงทุนในส่วนต่างประเทศใหม่นี้ ผมคงจะไม่นำมารวมในบริษัทที่ยังไงก็ยังเสียภาษีนิติบุคคลถึง 20% จากผลกำไรประจำปี ผมคิดว่าการนำไปลงทุนในกองทุนรวมไทยที่ไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศ หรือลงทุนใน DR ซึ่งเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในไทยที่เป็นตัวแทนหุ้นในต่างประเทศจะดีกว่า เหตุผลก็เพราะว่าเมื่อกำไรและขายกองทุนหรือหลักทรัพย์นั้น เราจะไม่เสียภาษีเหมือนหุ้นที่เราไปลงทุนในต่างประเทศโดยตรง
การลงทุนในกองทุนและ DR ดังกล่าวนั้นมีข้อเสียอย่างหนึ่งก็คือ เราเลือกไม่ได้ว่าจะลงทุนหุ้นตัวไหน เพราะนั่นจะมาจากบริษัทหลักทรัพย์ที่จะเสนอกองทุนรวมหรือสร้าง DR ขึ้นมา ซึ่งเขาก็จะต้องดูว่าจะมีคนสนใจมาลงทุนหรือซื้อขายไหม อย่างไรก็ตาม ด้วยกฎหมายภาษีการลงทุนในหุ้นต่างประเทศที่มีการตีความเปลี่ยนไป โบรกเกอร์ก็อาจจะมีการเสนอผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการของนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ ผมคิดว่า มีหุ้นและกองทุนต่างประเทศประเทศเพียงพอที่ผมจะเลือกลงทุน
ดังนั้น พอร์ตการลงทุนที่สามของผม นอกจากพอร์ตหุ้นไทยและพอร์ตเวียตนามแล้วก็คือ พอร์ต “หุ้นต่างประเทศ” ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเป็นหุ้นประเทศอื่น ๆ ยกเว้นเวียตนาม ก็จะกลายเป็น “พอร์ตระยะยาว” ของผม โดยที่แต่ละพอร์ตก็อาจจะมีขนาดพอ ๆ กัน คือพอร์ตละ 30-40% ของความมั่งคั่ง และผมคิดว่า นี่จะเป็นพอร์ตที่เหมาะสมที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีพอใช้ อาจจะประมาณปีละ 10% แบบทบต้น และมีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ คนที่บริหาร ซึ่งวันหนึ่งก็ไม่ใช่เป็นผม อาจจะสามารถทำได้ไม่ยากนัก
แน่นอนว่า การปรับพอร์ตครั้งนี้ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้อีก โดยเฉพาะถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของภาษีและกฎเกณฑ์การลงทุนของไทยซึ่งอาจจะกระทบกับการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น อาจจะเปลี่ยนเป็นว่า หุ้นของคนไทยที่อยู่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะลงทุนผ่านเครื่องมือหรือผลิตภัณฑ์อะไร ก็จะต้องเสียภาษีทั้งหมด เป็นต้น
หรือวันหนึ่ง อาจจะเป็นว่า การลงทุนในหุ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้นไทยหรือต่างประเทศ หรือไม่ว่าจะลงทุนผ่านเครื่องมืออะไร ก็จะต้องเสียภาษีเท่ากันแบบของสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็คงจะเปลี่ยนแปลงเกมการลงทุนของเราอย่างสิ้นเชิง และการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนั้น ผมคิดว่า เป็นไปได้ เมื่อคำนึงถึงว่ารัฐบาลต้องการเงินเพื่อที่จะใช้จ่ายมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่รายได้และเศรษฐกิจกลับถดถอยลง
ถ้าถึงวันนั้น เราในฐานะ “นักเลือก” ก็จะต้องปรับตัวหรือปรับพอร์ตไปเรื่อย ๆ ทำสิ่งที่เหมาะสมสำหรับตนเอง และก็คงไม่เหมือนการปรับพอร์ตของผม ที่ตอนนี้กำลังพยายามลดพลังงานของการลงทุนโดยเฉพาะการปรับให้เป็นการลงทุนจากที่เคยทำแบบ “Active” หรือทุ่มเทเลือกหุ้นรายตัว เป็น “Semi-Active” หรือเลือกประเทศและเลือกกองทุน มากกว่าการเลือกหุ้นรายตัว แล้วปล่อยให้กองทุนหรือหุ้นในประเทศเหล่านั้น “ดูแลตัวเอง” ในระยะยาว เราจะเข้าไปซื้อ-ขายน้อยมาก
17 มี.ค 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
อ้างอิง https://www.blockdit.com/posts/65f6987c1f5b5134e1ef680d