เปลือกโลกมีน้ำอยู่มากเท่าไร

.

.
โครงสร้างโลกในอวกาศ 3 มิติ
น้ำเค็มที่อยู่ลึกเข้าไปในเปลือกโลก
อาจเป็นแหล่งอาศัยของชุมชนจุลินทรีย์
ที่บอกคนเราเกี่ยวกับชีวิตอดีตของคนเราได้
©  AlexLMX via Getty Images
.
.

โลกถูกปกคลุมไปด้วยน้ำ 
แต่เปลือกโลกของคนเรา
มีน้ำอยู่มากมายเท่าใด

น้ำครอบคลุมพื้นที่เกือบ 3/4 ของพื้นผิวโลก
แต่มีน้ำจำนวนเท่าใดซ่อนอยู่ใต้เปลือกโลก
ผลการศึกษาในปี 2021 ในวารสาร 
Geophysical Research Letters พบว่า
น้ำของโลกถูกกักไว้ใต้ดินในดิน
หรือในรูพรุนในหิน หรือที่เรียกว่า น้ำใต้ดิน
มากกว่าน้ำในแผ่นน้ำแข็ง/ธารน้ำแข็งของโลก
.
.

.
.

“ มีน้ำประมาณ 43.9 ล้านลบ.กม.
อยู่ภายในเปลือกโลก ”
Grant Ferguson นักอุทกธรณีวิทยา
University of Saskatchewan
และผู้เขียนหลักผลการศึกษาในปี 2021
ให้สัมภาษณ์กับ Livescience 
.
.

.
.

เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว 
น้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกา กักเก็บน้ำ
ได้ประมาณ 27 ล้านลบ.กิโลเมตร 

ในกรีนแลนด์
ประมาณ 3 ล้านลบ.กิโลเมตร

ในพิ้นที่นอกธารน้ำแข็ง
แอนตาร์กติกาและกรีนแลนด์ 
ประมาณ 158,000 ลบ.กิโลเมตร 
ตามผลการศึกษาปี 2021 ระบุ

มหาสมุทรของโลกยังคงเป็น
แหล่งกักเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก 
โดยกักเก็บน้ำไว้ประมาณ 
1.3 พันล้านลบ.กิโลเมตร
 
ตามผลการศึกษาในปี 2021
ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า
นอกเหนือจากมหาสมุทรแล้ว
น้ำบาดาลยังเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ
ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

ผลการศึกษาในปี 2015 ในวารสาร 
Nature Geoscience
ประมาณการว่ามีน้ำใต้ดินตื้น
ถึง 22.6 ล้านลบ.กิโลเมตร
ซึ่งเป็นน้ำในบริเวณส่วนบนของ
เปลือกโลกระดับ 2 กิโลเมตร
Grant Ferguson  ได้ตั้งข้อสังเกตไว้

ในทางตรงกันข้าม
ผลการศึกษาในปี 2021 ได้พิจารณาว่า
น้ำใต้ดินภายในรัศมี 10 กิโลเมตร
บนของเปลือกโลกมีมากกว่าเดิม

ความคลาดเคลื่อนนี้เกิดจาก
การประมาณการน้ำบาดาลลึก
ก่อนหน้านี้ซึ่งอยู่ใต้เปลือกโลก
ตอนบนที่ระดับ 1.93 กิโลเมตร
เน้นเฉพาะหินผลึกที่มีความพรุนต่ำ 
เช่น หินแกรนิต  (น้ำซึมผ่านยากมาก
แต่ถ้าอิ่มน้ำจะสกัดทำป้ายต่าง ๆ ง่ายมาก
ภูมิปัญญาคนทำป้ายสุสานจีนบอก
จะแช่หินแกรนิตนานนับปีนับเดือน
ก่อนจะนำมาสกัดแบบร่างเบื้องต้น
ในยุคอดีตทึ่เครื่องไม้เครื่องมือไม่ทันสมัย)

ผลการศึกษาในปี 2021
ได้ครอบคลุมหินตะกอน
ซึ่งมีรูพรุนมากกว่าหินผลึก
โดยรวมแล้ว ผลการศึกษาในปี 2021
ได้เพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินที่คิดว่า
มีอยู่ลึกลงไปใต้พื้นผิวโลกมากกว่า 2 เท่า
จาก 8.5 ล้านลบ.กิโลเมตร
เป็น 20.3 ล้านลบ.กิโลเมตร
ประมาณการใหม่นี้เกือบจะมากเท่ากับ
23.6 ล้านลบ.กิโลเมตร
ที่คำนวณสำหรับน้ำบาดาลตื้นเท่านั้น

ทั้งนี้ Grant Ferguson ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า
เปลือกโลกโดยทั่วไป
มีความหนา 30- 50 กิโลเมตร
ซึ่งหนากว่าความลึก 9.97 กิโลเมตร
ตามผลการศึกษาในปี 2021
มีข้อควรพิจารณาอย่างมาก
นักวิจัยมุ่งความสนใจไปที่ปลือกโลกด้านบน
เพราะมันค่อนข้างเปราะและมีหินร้าว
ที่สามารถกักเก็บน้ำได้มาก
ลึกลงไปประมาณ 16.42 กิโลเมตร
เปลือกโลกจะมีรูพรุนน้อยลงมาก
และมีแนวโน้มที่จะกักเก็บน้ำได้น้อย

ชั้นหินอุ้มน้ำตื้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำจืด 
ใช้สำหรับการดื่มและการชลประทาน 

ในทางตรงกันข้าม ในพื้นที่บางแห่ง
น้ำบาดาลลึกนั้นมีรสเค็ม
และไม่สามารถไหลเวียน
หรือไหลลงสู่ผิวน้ำได้ง่าย 
ส่งผลให้น้ำส่วนใหญ่ตัดขาด
จากน้ำส่วนอื่นของโลก

อย่างไรก็ตาม 
การแยกน้ำใต้ดินที่อยู่ลึกออกไป
มีความสัมพันธ์กัน หมายความว่า
ในบางสถานที่มี น้ำเกลือ
บริเวณที่นี้ติดอยู่ในชั้นใต้ดิน
เป็นเวลานานเป็นพิเศษแล้ว
นั่นหมายความว่า สามารถให้ข้อมูลเชิงลึก
อันมีค่าเกี่ยวกับอดีตของโลกได้
ผลการศึกษาในปี 2021 ระบุ

“ เรารู้เพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับน้ำเหล่านี้
ที่ระดับความลึกมากกว่า 2-3 กิโลเมตร
ทำให้ที่นี่เป็นพื้นที่ชายขอบ
ของดินแดนทางวิทยาศาสตร์ "
(รอการศึกษาและค่อนข้างยุ่งยาก)
Grant Ferguson  กล่าว

นอกจากนี้ น่านน้ำโบราณเหล่านี้
ยังอาจสนับสนุนระบบนิเวศของ
จุลินทรีย์ที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน 
ชุมชนทางชีววิทยาเชิงลึกดังกล่าว
อาจให้ความกระจ่างว่า
สิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการอย่างไรบนโลก
และอาจพัฒนาไปอย่างไรในโลกอื่น
ที่มีแนวโน้มว่า จะมีน้ำอยู่ลึกลงไป
ในใต้พื้นผิวของโลกอื่น

“ ยังมีอะไรอีกมากมายให้สำรวจ
เกี่ยวกับน้ำที่ระดับความลึกหลายกิโลเมตร
บนโลกและดาวเคราะห์อื่น ๆ ”
Jennifer McIntosh นักอุทกธรณีเคมี
University of Arizona ใน Tucson
ผู้ร่วมเขียนผลการศึกษาในปี 2021
กล่าวกับ Livescience 
.
.

.
.


เรียบเรียง/ที่มา

https://tinyurl.com/yfrcv5xh
.
.

.
ผู้เขียนบทความ
.
.
เรื่องเดิม
.
น้ำท่วมโลกมีจริงหรือไม่
.

.
เรือโนอาห์ช่วงน้ำท่วมในพระคัมภีร์
โต้คลื่นยักษ์กับท้องฟ้าที่มีพายุ
© Pink_frog via Getty Images
.
.
หลุมขุดเจาะที่ลึกที่สุดในโลก
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
Новый Уренгой. Сверхглубокая
скважина СГ-7, 2005 год
.
.
.

จีนเริ่มขุดหลุมลึกกว่า 10,000 เมตร
กลางทะเลทราย บริเวณแอ่งทาริม
เขตปกครองพิเศษซินเกียง
ทางตะวันคกเฉียงเหนือของจีน
เพื่อวิจัยทางวิทยาศาสตร์ดืนแดนใต้พิภพ
โดยตั้งเป้าทุบสถิติหลุมลึกที่สุดในโลก
ที่มา https://tinyurl.com/tjhby7d3
..

เรื่องเล่าไร้สาระ


มีคนตั้งข้อสังเกตว่า
บ่อเกลือที่ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
น่าจะเป็นแหล่งน้ำเกลือใต้ดินโบราณ
ที่แยกออกจากแหล่งเกลือสินเธาว์ที่ภาคอีศาน
ที่เกิดจากการชนกันของแผ่นดินทวีป
แผ่นทวีปอินเดียกับแผ่นทวีปยูโรเซีย
ในช่วงมหายุค Mesozoic 252-66 ล้านปีก่อน
เทือกเขาหิมาลัยจึงขยับตัวขึ้นพร้อมภาคอีศาน
น้ำทะเลในมหาสมุทรจึงตกค้างด้านบน
เวลาที่ยาวนานเกิดการเหือดแห้ง
มีตะกอนดินทรายทับถมด้านบน
ทำให้เกิดเป็นแหล่ง เกลือสินเธาว์

พื้นดินในสภาพปกติ ถ้าไม่มีการรบกวน
จากน้ำท่วม ลมพายุ คน/สัตว์ ต้นไม้
จะมีอัตราทับถมราว ๆ 1 นิ้ว/ปี
ระยะเวลาที่ยาวนานยิ่งทับถมมาก
ดังเช่น การขุดค้นโบราณคดีในที่ต่าง ๆ


บนเทือกเขาหิมาลัยก็มีแหล่งเกลือสินเธาว์
เกลือสีขมพูแถวปากีสถาน ส่งมาขายอินเดีย
นำมาแปรรูปเป็นเกลือหิมาลัยสีชมพูราคาแพง


บ่อเกลือที่ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
เดิมชื่อ เมืองบ่อ หรือ บ่อน้ำเกลือสินเธาว์
ที่มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งเดิมมีอยู่จำนวน 9 บ่อ
เมืองบ่อเดิมทีเป็นชุมชนขนาดใหญ่
มีความสำคัญมาตั้งแต่ในอดีตกาล

ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ตามพงศาวดารเมืองน่าน
ซึ่ง พระเจ้าสุริยพงษผริตเดช
ได้แต่งรวบรวมขึ้นไว้ กล่าวถึง
แหล่งผลิตเกลือที่สำคัญ
ที่เป็นสาเหตุให้พระเจ้าติโลกราช
แห่งเมืองเชียงใหม่ยกทัพ
มายึดเมืองน่าน เมื่อปี พ.ศ. 1993 

" เดิมทีเขตบ่อเกลือเป็นป่าดงพงไพร
ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ มีหนองน้ำ
ซึ่งพวกสัตว์ต่าง ๆ ชอบมากินน้ำ
ในหนองน้ำแห่งนี้เป็นประจำ
ยังมีนายพรานผู้หนึ่งมาล่าสัตว์
และเห็นพวกเหล่าสัตว์ทั้งหลาย
มักจะกินน้ำที่นี่เป็นประจำ
เมื่อลองชิมดูจึงรู้ว่ามีรสเค็ม

ข่าวหนองน้ำเกลือได้ล่วงรู้ไปถึง
เจ้าหลวงภูคาและเจ้าหลวงบ่อ
จึงได้มาดูบ่อน้ำเกลือ
และต่างก็ต้องการครอบครอง
จึงคิดหาวิธีการโดยทั้งสองพระองค์
ขึ้นไปอยู่ที่ยอดดอยภูจั๋น
เพื่อแข่งขันกันพุ่งสะเน้า (หอก)
แสดงการครอบครองบ่อน้ำเกลือ

เจ้าหลวงภูคาพุ่งหอก
ไปตกทางตะวันตกของลำน้ำมาง
ตรงที่ตั้งหอนอกในปัจจุบัน

เจ้าหลวงบ่อพุ่งหอก
ไปตกทางตะวันออกของลำน้ำมาง
ตรงที่ตั้งหอเจ้าพ่อบ่อหลวงในปัจจุบัน

ผู้คนที่พากันมาดูการแข่งขันพุ่งหอก
ได้นำเอาก้อนหินมาก่อไว้เป็นที่สังเกต
แล้วตั้งเป็นโรงหอทำพิธีระลึก
ตอบแทนเจ้าหลวงทั้งสององค์ทุกปี

ภายหลังทั้งสองพระองค์คิดกันว่า
จะนำคนที่ไหนมาอยู่ เมื่อปรึกษากันแล้ว
เจ้าหลวงภูคาจึงไปทูลขอประชาชน
ที่อยู่เมืองเชียงแสนจากเจ้าเมืองเชียงราย
มาหักร้างถางพงทำเกลืออยู่ที่นี่
ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวบ่อหลวงในปัจจุบัน
ดังนั้นชุมชนบริเวณนี้จึงได้เกิดขึ้น
และดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้

(ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า
เดิมทีนั้นบรรพบุรุษ
อยู่ที่มองโกเลียและจีน
หนี้ลี้ภัยมาทางแม่น้ำเหลืองเข้าสู่ลาว
ทางลาวไม่อนุญาตให้อาศัยอยู่ได้
จึงพากันข้ามแม่น้ำโขง
มาอาศัยอยู่ที่เมืองเชียงแสน)

ต่อมาภายใต้การปกครองของรัฐสยาม
เมืองบ่อจึงอยู่ในเขตอำเภอปัว จังหวัดน่าน
โดยแยกเป็น 2 ตำบล คือ
ตำบลบ่อเกลือเหนือ ตำบลบ่อเกลือใต้ 
ซึ่งในระยะหลังมีราษฎรจากพื้นราบ
มาทำการค้าขายและตั้งรกรากมากขึ้น
รวมทั้งราษฎรอยู่ในพื้นที่ห่างไกลปืนเที่ยง

(ทุรกันดารมากจนไม่ได้ยินเสียงปืนใหญ่
ที่ยิงบอกเวลาเที่ยงวันของพระนคร
ในสมัยต้นรัตนโกสินธิ์ เพื่อให้ราษฏรรับรู้
เวลาเปลี่ยนเวรยาม/พระภิกษุ/เณรหยุดฉันเพล)

กระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศ
แบ่งเขตการปกครองท้องที่อำเภอปัว
โดยแยกตำบลบ่อเกลือเหนือ กับ
ตำบลบ่อเกลือใต้ เป็นกิ่งอำเภอบ่อเกลือ 
ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531
และยกฐานะเป็น อำเภอบ่อเกลือ
เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2538
ที่มา  อำเภอบ่อเกลือ
.

.
พวกสัตว์มักจะชอบกินดินเค็ม/ดินโป่ง
ด้วยการเลีย/ชิมเพื่อเพิ่มธาตุในร่างกาย
บางครั้งนายพรานหรือคนเราจะนำเกลือ
ไปหว่านหรือผสมในดินพื้นที่สัตว์มาชุมนุม
เพื่อทำดินโป่งให้กับพวกสัตว์ได้เลียกิน
 
ส่วนคนเราชอบกินเกลือ เพราะรสชาติ
กับใช้ในการถนอมอาหารได้เป็นอย่างดี
เกลือในอดีตแพงมากเพราะเป็นเกลือสินเธาว์
การผลิตต้องใช้เวลาต้ม/เคี่ยว/รอให้แห้ง
เกลือทะเลก็ทำแบบเดียวกัน แต่ต้นทุนสูง
เสียเวลามาก ชาวประมงพื้นบ้านก็เคยทำ

นาเกลือในสยามเริ่มช่วงยุคกรุงศรีอยุธยา
มาจาภภูมิปัญญาคนจีนโบราณ
หลังจากช่างเกลือคนจีนอพยพ
พบชั้นดินเหนียวใกล้ทะเล
ที่เก็บกักน้ำเกลือได้แถวสามสมุทร
(สมุทรปราการ สงคราม สาคร)
เพชรบุรี ชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปัตตานี  
ช่างเกลือจึงได้ริเริ่มทำนาเกลือ
ทำพื้นที่เป็นลานกว้างไว้ตากน้ำทะเล
ทำให้ตกผลึกเป็นเกลือได้จำนวนมาก
ในไทยหลายพื้นที่ทำนาเกลือไม่ได้
เพราะไม่มีชั้นดินเหนียวรองรับน้ำทะเล

ธุรกิจเกลือในจีนผูกขาดโดยฮ่องเต๊
รวมทั้งอังกฤษในช่วงปกครองอินเดีย
ที่ไม่ยอมให้สินค้าเกลือมีคนผลิตมาก
หรือซื้อง่ายขายคล่องแบบทุกวันนี้

ทำให้มหาตมะ คานธี ประท้วงเกลือแพง
ด้วยการชักชวนชาวบ้านไปที่ชายทะเล
นำน้ำทะเลมาต้มเคี่ยวกันเองที่ชายหาด
เพื่อผลิตเกลือทะเลไว้ใช้กันเอง
.
.

นักรบกองทัพปลดแอกประชาชน(พคท)
บอกเป้(แบก)ข้าวบนหลังขึ้นภู
แม้ว่าหนักกว่าเกลือก็ยอม
เพราะข้าวไหลไปตามรูปทรง
แต่เกลือจะถ่วงลงด้านล่างตลอด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่