รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมยกแนวคิดเขตพื้นที่คุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ ต้นแบบทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
วันที่ 7 มีนาคม 2567 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เดินทางไปเยี่ยมชุมชนชาวมอแกลนบ้านทับตะวัน - บนไร่ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา รับฟังชุมชนนำเสนอรูปธรรมความสำเร็จในการขับเคลื่อนเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ตามมติคณะรัฐมนตรี 2 มิถุนายน 2553
โอกาสนี้ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ได้กล่าวว่า
“กระทรวงวัฒนธรรมได้นำเสนอแนวคิดการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ไว้ในแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ตามมติคณะรัฐมนตรี 2 มิถุนายน 2553 และแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 โดยมุ่งหวังจะให้เป็นแนวทางคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมและส่งเสริมศักยภาพพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ในการใช้ทุนวัฒนธรรมเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี วันนี้ผมได้มาพบปะพี่น้องชาวมอแกลนบ้านทับตะวัน – บนไร่ และได้รับฟังว่าที่นี่ได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล มาตั้งแต่ปี 2565 โดยที่ผ่านมาชุมชนได้มีการจัดการแบบมีส่วนร่วมและประสานประโยชน์กันระหว่างชุมชนและส่วนราชการต่างๆ และก็เป็นที่น่ายินดีว่าปัญหาความขัดแย้งที่เคยมีในชุมชนก็ลดลง คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น มอแกลน จึงเป็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมของเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญในร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อที่จะได้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป”
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช กล่าวต่อด้วยว่า
“รัฐบาลนี้เห็นความสำคัญของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ โดยท่านนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ผมกำกับการขับเคลื่อนกฎหมาย ชาติพันธุ์อย่างใกล้ชิด ผมมาวันนี้นอกจากจะร่วมเฉลิมฉลองกับพี่น้องมอแกลนทับตะวัน – บนไร่แล้ว ผมยังอยากมารับฟังความต้องการของพี่น้องที่อยากบอกถึงรัฐบาลให้นำไปขับเคลื่อนแก้ปัญหาของพี่น้อง ให้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีคุณภาพชีวิตที่ดี เข้าถึงสิทธิในฐานะที่เป็นพลเมืองไทยอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ทุกคนในประเทศนี้จะต้องเดินหน้าไปด้วยกัน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
สำหรับชุมชนมอแกลนบ้านทับตะวัน - บนไร่ ได้รับประกาศเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี 2 มิถุนายน 2553 เป็นลำดับที่ 14 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 โดยเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีระบบการจัดการบริหารที่ดี หลังจากประสบภัยสึนามิ ชุมชนทับตะวัน-บนไร่ ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายหลายภาคสนามเพื่อรวมตัวกันรื้อฟื้นวัฒนธรรม เริ่มให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์และคุณค่าในภูมิปัญญาดั้งเดิม มีการดำเนินงานเรื่องการทำการท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้วิถีอัตลักษณ์วัฒนธรรมของชาวเลมอแกลน-มอแกน จัดกิจกรรมของการรับนักท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมจากในประเทศและต่างประเทศ ยกระดับเชื่อมร้อยเป็นเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนชาวเล ใน 4 อำเภอของจังหวัดพังงาชื่อว่า “มอแกลนพาเที่ยว” โดยได้รับการจัดให้เป็น 1 ใน 6 หลักสูตรเรียนรู้พังงาแห่งความสุข ของสถาบันพัฒนาการเรียนรู้พังงาแห่งความสุข ส่วนในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด19 มีการดำเนินการกิจกรรม “ปลาแลกข้าว” ร่วมกับจังหวัดพังงาและจังหวัดทางภาคอีสานแก้ไขปัญหาวิกฤติอาหาร จนกลายเป็นความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในช่วงวิกฤติ ต่อยอดมาถึงการยกระดับการแปรรูปอาหารทะเล ปัจจุบันชุมขนชาวมอแกลนบ้านทับตะวัน - บนไร่ ได้รับการยกย่องให้เป็นชุมชนต้นแบบเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ที่มีความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ความเป็นมอแกลน สามารถนำทุนทางวัฒนธรรมมาเป็นพลังสร้างสรรค์เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตดี มีความมั่นคงในชีวิต ลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมยกแนวคิดเขตพื้นที่คุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ ต้นแบบทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
โอกาสนี้ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ได้กล่าวว่า
“กระทรวงวัฒนธรรมได้นำเสนอแนวคิดการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ไว้ในแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ตามมติคณะรัฐมนตรี 2 มิถุนายน 2553 และแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 โดยมุ่งหวังจะให้เป็นแนวทางคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมและส่งเสริมศักยภาพพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ในการใช้ทุนวัฒนธรรมเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี วันนี้ผมได้มาพบปะพี่น้องชาวมอแกลนบ้านทับตะวัน – บนไร่ และได้รับฟังว่าที่นี่ได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล มาตั้งแต่ปี 2565 โดยที่ผ่านมาชุมชนได้มีการจัดการแบบมีส่วนร่วมและประสานประโยชน์กันระหว่างชุมชนและส่วนราชการต่างๆ และก็เป็นที่น่ายินดีว่าปัญหาความขัดแย้งที่เคยมีในชุมชนก็ลดลง คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น มอแกลน จึงเป็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมของเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญในร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อที่จะได้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป”
“รัฐบาลนี้เห็นความสำคัญของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ โดยท่านนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ผมกำกับการขับเคลื่อนกฎหมาย ชาติพันธุ์อย่างใกล้ชิด ผมมาวันนี้นอกจากจะร่วมเฉลิมฉลองกับพี่น้องมอแกลนทับตะวัน – บนไร่แล้ว ผมยังอยากมารับฟังความต้องการของพี่น้องที่อยากบอกถึงรัฐบาลให้นำไปขับเคลื่อนแก้ปัญหาของพี่น้อง ให้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีคุณภาพชีวิตที่ดี เข้าถึงสิทธิในฐานะที่เป็นพลเมืองไทยอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ทุกคนในประเทศนี้จะต้องเดินหน้าไปด้วยกัน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
สำหรับชุมชนมอแกลนบ้านทับตะวัน - บนไร่ ได้รับประกาศเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี 2 มิถุนายน 2553 เป็นลำดับที่ 14 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 โดยเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีระบบการจัดการบริหารที่ดี หลังจากประสบภัยสึนามิ ชุมชนทับตะวัน-บนไร่ ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายหลายภาคสนามเพื่อรวมตัวกันรื้อฟื้นวัฒนธรรม เริ่มให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์และคุณค่าในภูมิปัญญาดั้งเดิม มีการดำเนินงานเรื่องการทำการท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้วิถีอัตลักษณ์วัฒนธรรมของชาวเลมอแกลน-มอแกน จัดกิจกรรมของการรับนักท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมจากในประเทศและต่างประเทศ ยกระดับเชื่อมร้อยเป็นเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนชาวเล ใน 4 อำเภอของจังหวัดพังงาชื่อว่า “มอแกลนพาเที่ยว” โดยได้รับการจัดให้เป็น 1 ใน 6 หลักสูตรเรียนรู้พังงาแห่งความสุข ของสถาบันพัฒนาการเรียนรู้พังงาแห่งความสุข ส่วนในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด19 มีการดำเนินการกิจกรรม “ปลาแลกข้าว” ร่วมกับจังหวัดพังงาและจังหวัดทางภาคอีสานแก้ไขปัญหาวิกฤติอาหาร จนกลายเป็นความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในช่วงวิกฤติ ต่อยอดมาถึงการยกระดับการแปรรูปอาหารทะเล ปัจจุบันชุมขนชาวมอแกลนบ้านทับตะวัน - บนไร่ ได้รับการยกย่องให้เป็นชุมชนต้นแบบเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ที่มีความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ความเป็นมอแกลน สามารถนำทุนทางวัฒนธรรมมาเป็นพลังสร้างสรรค์เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตดี มีความมั่นคงในชีวิต ลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม