.
.
© aluxum via Getty Images
.
.
ตัวเลขจุดทศนิยมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
ค้นพบในบันทึกของพ่อค้าอิตาลีในยุค 1440
จุดทศนิยมมีการใช้งานอายุนานมากกว่า
ที่นักประวัติศาสตร์คิดไว้อย่างน้อย 150 ปี
ตามบันทึกที่เพิ่งค้นพบของพ่อค้าชาวเวนิส
Giovanni Bianchini ในช่วงทศวรรษที่ 1440
ผู้ซึ่งฝึกฝน
โหราศาสตร์และดาราศาสตร์
บันทึกที่เพิ่งค้นพบจากอิตาลีในศตวรรษที่ 15
นักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะเปิดเผยหลักฐานชิ้นนี้
.
.
.
.
จุดทศนิยมนั้นง่ายมากกว่าระบบเศษส่วน
ดูเหมือนว่ามันควรจะมีอยู่ตลอดไป
เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่มีประโยชน์นี้
แบ่งจำนวนเต็มออกเป็น
ส่วนสิบ ส่วนร้อย และส่วนพัน
ทำให้การคำนวณง่ายกว่าระบบเศษส่วน
และจุดทศนิยมบางแบบมีมาตั้งแต่
ช่วงปี 900 (ในดามัสกัส-อาหรับ)
หรือช่วงปี 1200 (ในจีน)
แต่ระบบทศนิยมที่สอดคล้องกัน
ยังไม่ได้กำหนดแบบที่สมบูรณ์
จนกระทั่งปี 1593
เมื่อนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน
Christopher Clavius
เริ่มใช้ระบบทศนิยม
ในบทความทางดาราศาสตร์
งานวิจัยใหม่ชี้ให้เห็นว่า Christopher Clavius
กำลังใช้งานคณิตศาสตร์ตามประเพณีที่เก่าแก่
โดยเลือกใช้ระบบทศนิยมของพ่อค้าชาวเวนิส
ชื่อ Giovanni Bianchini ในศตวรรษที่ 15
.
.
.
.
ผลงานของ Giovanni Bianchini
มีอายุระหว่างปี 1441 - 1450
ทำให้การใช้งานจุดทศนิยม
มีอายุการใช้งานก่อน
Christopher Clavius ถึง 150 ปึ
ตามที่ผู้เขียนงานวิจัยระบุ
.
.
.
Glen Robert Van Brummelen, PhD
Dean, Faculty of Natural and Applied Sciences
Professor of Mathematical Sciences
Trinity Western University
.
.
ขณะสอนค่ายคณิตศาสตร์ให้กับนักศึกษา
Glen Van Brummelen
นักประวัติศาสตร์คณิตศาสตร์
ทึ่ Trinity Western University ในแคนาดา
สังเกตเห็นการใช้ทศนิยมในบทความ
ของ Giovanni Bianchini
“ ผมจำได้ว่า
ผมวิ่งขึ้นลงตามโถงทางเดินในหอพัก
พร้อมกับ Tablet ในมือของผม
ผมพยายามตามหาใครสักคนที่ตื่นอยู่
และตะโกนว่า ดูนี่สิ ผู้ชายคนนี้
กำลังใช้จุดทศนิยมในช่วงทศวรรษปี 1440 “
Van Brummelen บอกกับ
Nature News
.
.
.
.
แนวคิดในการแบ่งจำนวนเต็ม
ออกเป็นชิ้น ๆ นั้นเก่าแก่มาก
ในช่วงก่อนยุคกลาง
นักคณิตศาสตร์ใช้เศษส่วนเป็นส่วนใหญ่
นักดาราศาสตร์ใช้ทศนิยม
แต่ไม่ได้อยู่ในระบบฐาน 10
ที่ใช้งานและเรียนรู้กันในปัจจุบัน
แต่ใช้ทศนิยมฐาน 60 แทน
ซึ่งสร้างขึ้นโดยการแบ่งวงกลม
360 องศาออกเป็น 60 นาที
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 60 วินาทีได้
การที่แบ่ง 1 ชั่วโมง ออกเป็น 60 นาที
และ 60 นาที ออกเป็น 60 วินาที
ปรากฏหลักฐานว่ามาจากชาวบาบิโลเนีย
ที่ใช้ระบบเลขฐาน 60 ในการศึกษา
คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์อยู่แล้ว
ซึ่งก็เป็นความฉลาดของคนในยุคนั้น
พวกเขาวิเคราะห์แล้วว่าการที่แบ่งแบบนี้
ช่วยให้การคำนวณค่าต่าง ๆ ง่ายขึ้น
เพราะ 60 ก็เท่ากับ 12x5 ซึ่งค่า 12
สามารถหารได้ด้วย 2,3,4,6 และ 12
เทียบกับการใช้เลขฐาน 10
จะมีตัวหารได้ลงตัวแค่ 2,5 และ 10 เท่านั้น
©
Thaiware
ในบางครั้ง
นักคณิตศาสตร์ก็ใช้สัญลักษณ์
ที่ชวนให้นึกถึงระบบทศนิยมในปัจจุบัน
Van Brummelen เขียนในบทความ
ที่ตีพิมพ์ออนไลน์ในวารสาร
Historia Mathematica
.
.
แต่แนวคิดใช้ระบบทศนิยม
ในหมู่นักคณิตศาสตร์
มีแนวโน้มที่จะมอดลง/ไม่คืบหน้า
ไม่นิยมใช้กันเพราะยุ่งยากเล็กน้อย
แทนที่จะถูกส่งต่อแนวคิดนี้
จากนักคณิตศาสตร์ไปยังนักคณิตศาสตร์
(เพราะต้องเริ่มต้นวิธีการใหม่หมด)
" ดังนั้น การพยายามระบุ คนแรก
ในหมู่นักบุกเบิกของนักคณิตศาสตร์
ที่แนวความคิด/ความนิยมแตกต่างกัน
บางคนอาจจะบอกว่าเป็นงานของคนโง่
(ไม่สมเหตุสมผล/ไม่สะดวกเลย)
ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของคน ๆ หนึ่ง
กับระดับความซาบซึ้งทึ่มีต่อนักบุกเบิก
แนวคิดคณิตศาสตร์ที่ใช้งานระบบทศนิยม
แทนการใช้งานที่มีเศษส่วนแบบเดืม
กระทบความคงอยู่/ความเคยชืน
ในการใช้เศษส่วนของนักคณิตศาสตร์ "
อย่างไรก็ตาม มันง่ายกว่ามาก
ที่จะระบุประวัติของจุดทศนิยม
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ยังคงมีมาจนถึงทุกวันนี้
และสัญลักษณ์ดังกล่าวปรากฏครั้งแรกใน
Tabulae primi mobilis B
ของ Giovanni Bianchini
ซึ่งเป็นข้อความเกี่ยวกับ
การคำนวณพิกัดดาวฤกษ์
.
.
Giovanni Bianchini เป็นพ่อค้ามาก่อน
ที่กลายมาเป็นพ่อบ้านของตระกูล
d'Estes ผู้ปกครองเมืองเวนิสในขณะนั้น
มีอาณาเขตดินแดนเยอรมันบางส่วนช่วงหนึ่ง
.
.
.
.
.
แม้ว่า
สัญกรณ์วิทยาศาสตร์
(Scientific Notation)
จะเข้าใจและใช้กันช้ามาก
แต่ Christopher Clavius
น่าจะรู้เรื่องการใช้ทศนิยมนี้
ของ Giovanni Bianchin แล้ว
José Chabás
นักประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์
ที่ Pompeu Fabra University
ใน Barcelona ประเทศ Spain
ให้ความเห็นกับ Nature News
นักคณิตศาสตร์ได้รับแรงบันดาลใจ
จาก Christopher Clavius
ก็หยิบจุดทศนิยมขึ้นมาใช้ตามกัน
ในที่สุด
John Napier
นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์
ผู้คิดค้นระบบ
Logarithms
ได้นำระบบนี้มาใช้งานในช่วงปีค.ศ. 1600
และเป็นระบบทึ่นิยมสืบต่อกันมา
.
.
.
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3P4G92c
https://bit.ly/49FkWDY
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
โหราศาสตร์(การทำนาย)จากดวงดาว
มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับดาราศาสตร์
กาลิเลโอก็เคยเป็นโหรทำนายทายทัก
ด้วยการอิงดาราศาสตร์อยู่ช่วงหนึ่ง
ทำนายแบบแอบ ๆ /คลุมเครือเล็กน้อย
ช่วงไร้งานไร้อาชีพเพราะต้องขึ้นศาลศาสนา
สู้คดีลบหลู่ศาสนาเรื่องโลกหมุนรอบดวงตะวัน
ขัดกับความเชื่อพระสันตปาปา/บาทหลวง
ที่เชื่อคำสอน อริสโตเติลที่ระบุไว้ว่า
ดวงตะวัน ดารา หมุนรอบโลก โลกยิ่งใหญ่สุด
เพราะพระเจ้าสร้างโลก สร้างคนขึ้นมา
ถ้าปฏิเสธความเชื่อนี้เท่ากับพระเจ้าผิดพลาด
เพราะ God never makes mistakes.
If God made mistakes.
Go to see the first.
เพิ่งจะมีคำขออภัยจากสำนักวาติกัน
ต่อความผิดพลาดที่ประกาศในครั้งนั้น
ความยากจนของกาลิเลโอในครั้งนั้น
จนไม่มีเงิน Dowry สินเดิมให้เจ้าบ่าว
ลูกสาวนอกสมรสสองคน
จึงต้องบวชเป็นนางชีจนตาย
มีลูกสาวคนโตที่สนิทสนม/ดูแลกาลิเลโอ
ที่ได้ฝังศพร่วมกันท่านในสุสานเดียวกัน
20 เรื่องลึกลับของกาลิเลโอ
มีคนสันนิษฐานว่า กาลิเลโอ
เคยเป็นบาทหลวงมาก่อน แล้วมีลูกเมีย
โทษทัณฑ์จึงไม่รุนแรงเหมือนกับคนอื่น ๆ
บาทหลวงคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค
ไม่มีการสึก บวชแล้วจะต้องเป็นตลอดชีพ
Pope ห้ามได้อย่างเดียวคือ
ห้ามทำพิธีมิซซาตลอดชีวิต
พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ในนามตัวแทนพระเยซู
ส่วนจะใช้ชีวิตแบบฆราวาสก็ห้ามไม่ได้แล้ว
และห้ามแต่งงานตามพิธีศาสนาคริสต์
เพราะบาทหลวงต้องถือศีลเป็นโสดตลอดชีพ
มีช่วงหนึ่ง ที่โปแลนด์เลิกเป็นคอมมี่ใหม่ ๆ
บาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิค
ออกมาใช้ชีวิตแบบฆราวาสกัน
จนวัดร้างไปหลายร้อยแห่งมาก
.
.
แม่ของลีโอนาโด ดาวินซี ก็หมดตัว
เพราะต้องนำสินเดิมจ่ายสามีคนใหม่
เพื่อรักษาชื่อเสียงตระกูล/หน้าตาของตน
จากการมีลูกชายดาวินซี ลูกนอกสมรส
จากพ่อมีอาชีพทนายความ/พ่อค้าเจ้าเล่ห์
ไร้ความรับผิดชอบการกระทำของตน
แถมปู่ยังนำเอาชื่อดาวินซีใส่ในผังตระกูล
เลี้ยงดูไว้เพื่อหักภาษีด้วย
แม่ของ Leonado da Vinci คือ ลูกสาวชาวนายากจนไม่ใข่ทาส
ลูกนอกสมรส คือ พ่อแม่ไม่แต่งงานกัน
ต่อหน้าบาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิค
ทึ่ห้ามคู่สมรสหย่าตลอดชีวิต
แต่งงานใหม่ได้ถ้าอีกคนตาย
ในยุคนั้นถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย น่ารังเกียจ
และหางานทำได้ยากมาก เว้นแต่เก่งจริง ๆ
จุดทศนิยมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกค้นพบในบันทึกของพ่อค้าอิตาลี
.
© aluxum via Getty Images
.
ตัวเลขจุดทศนิยมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
ค้นพบในบันทึกของพ่อค้าอิตาลีในยุค 1440
จุดทศนิยมมีการใช้งานอายุนานมากกว่า
ที่นักประวัติศาสตร์คิดไว้อย่างน้อย 150 ปี
ตามบันทึกที่เพิ่งค้นพบของพ่อค้าชาวเวนิส
Giovanni Bianchini ในช่วงทศวรรษที่ 1440
ผู้ซึ่งฝึกฝนโหราศาสตร์และดาราศาสตร์
บันทึกที่เพิ่งค้นพบจากอิตาลีในศตวรรษที่ 15
นักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะเปิดเผยหลักฐานชิ้นนี้
.
.
จุดทศนิยมนั้นง่ายมากกว่าระบบเศษส่วน
ดูเหมือนว่ามันควรจะมีอยู่ตลอดไป
เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่มีประโยชน์นี้
แบ่งจำนวนเต็มออกเป็น
ส่วนสิบ ส่วนร้อย และส่วนพัน
ทำให้การคำนวณง่ายกว่าระบบเศษส่วน
และจุดทศนิยมบางแบบมีมาตั้งแต่
ช่วงปี 900 (ในดามัสกัส-อาหรับ)
หรือช่วงปี 1200 (ในจีน)
แต่ระบบทศนิยมที่สอดคล้องกัน
ยังไม่ได้กำหนดแบบที่สมบูรณ์
จนกระทั่งปี 1593
เมื่อนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน
Christopher Clavius
เริ่มใช้ระบบทศนิยม
ในบทความทางดาราศาสตร์
งานวิจัยใหม่ชี้ให้เห็นว่า Christopher Clavius
กำลังใช้งานคณิตศาสตร์ตามประเพณีที่เก่าแก่
โดยเลือกใช้ระบบทศนิยมของพ่อค้าชาวเวนิส
ชื่อ Giovanni Bianchini ในศตวรรษที่ 15
.
.
ผลงานของ Giovanni Bianchini
มีอายุระหว่างปี 1441 - 1450
ทำให้การใช้งานจุดทศนิยม
มีอายุการใช้งานก่อน
Christopher Clavius ถึง 150 ปึ
ตามที่ผู้เขียนงานวิจัยระบุ
.
.
Glen Robert Van Brummelen, PhD
Dean, Faculty of Natural and Applied Sciences
Professor of Mathematical Sciences
Trinity Western University
.
ขณะสอนค่ายคณิตศาสตร์ให้กับนักศึกษา
Glen Van Brummelen
นักประวัติศาสตร์คณิตศาสตร์
ทึ่ Trinity Western University ในแคนาดา
สังเกตเห็นการใช้ทศนิยมในบทความ
ของ Giovanni Bianchini
“ ผมจำได้ว่า
ผมวิ่งขึ้นลงตามโถงทางเดินในหอพัก
พร้อมกับ Tablet ในมือของผม
ผมพยายามตามหาใครสักคนที่ตื่นอยู่
และตะโกนว่า ดูนี่สิ ผู้ชายคนนี้
กำลังใช้จุดทศนิยมในช่วงทศวรรษปี 1440 “
Van Brummelen บอกกับ Nature News
.
.
แนวคิดในการแบ่งจำนวนเต็ม
ออกเป็นชิ้น ๆ นั้นเก่าแก่มาก
ในช่วงก่อนยุคกลาง
นักคณิตศาสตร์ใช้เศษส่วนเป็นส่วนใหญ่
นักดาราศาสตร์ใช้ทศนิยม
แต่ไม่ได้อยู่ในระบบฐาน 10
ที่ใช้งานและเรียนรู้กันในปัจจุบัน
แต่ใช้ทศนิยมฐาน 60 แทน
ซึ่งสร้างขึ้นโดยการแบ่งวงกลม
360 องศาออกเป็น 60 นาที
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 60 วินาทีได้
การที่แบ่ง 1 ชั่วโมง ออกเป็น 60 นาที
และ 60 นาที ออกเป็น 60 วินาที
ปรากฏหลักฐานว่ามาจากชาวบาบิโลเนีย
ที่ใช้ระบบเลขฐาน 60 ในการศึกษา
คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์อยู่แล้ว
ซึ่งก็เป็นความฉลาดของคนในยุคนั้น
พวกเขาวิเคราะห์แล้วว่าการที่แบ่งแบบนี้
ช่วยให้การคำนวณค่าต่าง ๆ ง่ายขึ้น
เพราะ 60 ก็เท่ากับ 12x5 ซึ่งค่า 12
สามารถหารได้ด้วย 2,3,4,6 และ 12
เทียบกับการใช้เลขฐาน 10
จะมีตัวหารได้ลงตัวแค่ 2,5 และ 10 เท่านั้น
© Thaiware
ในบางครั้ง
นักคณิตศาสตร์ก็ใช้สัญลักษณ์
ที่ชวนให้นึกถึงระบบทศนิยมในปัจจุบัน
Van Brummelen เขียนในบทความ
ที่ตีพิมพ์ออนไลน์ในวารสาร
Historia Mathematica
.
.
.
.
แต่แนวคิดใช้ระบบทศนิยม
ในหมู่นักคณิตศาสตร์
มีแนวโน้มที่จะมอดลง/ไม่คืบหน้า
ไม่นิยมใช้กันเพราะยุ่งยากเล็กน้อย
แทนที่จะถูกส่งต่อแนวคิดนี้
จากนักคณิตศาสตร์ไปยังนักคณิตศาสตร์
(เพราะต้องเริ่มต้นวิธีการใหม่หมด)
" ดังนั้น การพยายามระบุ คนแรก
ในหมู่นักบุกเบิกของนักคณิตศาสตร์
ที่แนวความคิด/ความนิยมแตกต่างกัน
บางคนอาจจะบอกว่าเป็นงานของคนโง่
(ไม่สมเหตุสมผล/ไม่สะดวกเลย)
ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของคน ๆ หนึ่ง
กับระดับความซาบซึ้งทึ่มีต่อนักบุกเบิก
แนวคิดคณิตศาสตร์ที่ใช้งานระบบทศนิยม
แทนการใช้งานที่มีเศษส่วนแบบเดืม
กระทบความคงอยู่/ความเคยชืน
ในการใช้เศษส่วนของนักคณิตศาสตร์ "
อย่างไรก็ตาม มันง่ายกว่ามาก
ที่จะระบุประวัติของจุดทศนิยม
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ยังคงมีมาจนถึงทุกวันนี้
และสัญลักษณ์ดังกล่าวปรากฏครั้งแรกใน
Tabulae primi mobilis B
ของ Giovanni Bianchini
ซึ่งเป็นข้อความเกี่ยวกับ
การคำนวณพิกัดดาวฤกษ์
.
.
.
.
.
Giovanni Bianchini เป็นพ่อค้ามาก่อน
ที่กลายมาเป็นพ่อบ้านของตระกูล
d'Estes ผู้ปกครองเมืองเวนิสในขณะนั้น
มีอาณาเขตดินแดนเยอรมันบางส่วนช่วงหนึ่ง
.
.
.
แม้ว่า สัญกรณ์วิทยาศาสตร์
(Scientific Notation)
จะเข้าใจและใช้กันช้ามาก
แต่ Christopher Clavius
น่าจะรู้เรื่องการใช้ทศนิยมนี้
ของ Giovanni Bianchin แล้ว
José Chabás
นักประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์
ที่ Pompeu Fabra University
ใน Barcelona ประเทศ Spain
ให้ความเห็นกับ Nature News
นักคณิตศาสตร์ได้รับแรงบันดาลใจ
จาก Christopher Clavius
ก็หยิบจุดทศนิยมขึ้นมาใช้ตามกัน
ในที่สุด John Napier
นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์
ผู้คิดค้นระบบ Logarithms
ได้นำระบบนี้มาใช้งานในช่วงปีค.ศ. 1600
และเป็นระบบทึ่นิยมสืบต่อกันมา
.
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3P4G92c
https://bit.ly/49FkWDY
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
โหราศาสตร์(การทำนาย)จากดวงดาว
มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับดาราศาสตร์
กาลิเลโอก็เคยเป็นโหรทำนายทายทัก
ด้วยการอิงดาราศาสตร์อยู่ช่วงหนึ่ง
ทำนายแบบแอบ ๆ /คลุมเครือเล็กน้อย
ช่วงไร้งานไร้อาชีพเพราะต้องขึ้นศาลศาสนา
สู้คดีลบหลู่ศาสนาเรื่องโลกหมุนรอบดวงตะวัน
ขัดกับความเชื่อพระสันตปาปา/บาทหลวง
ที่เชื่อคำสอน อริสโตเติลที่ระบุไว้ว่า
ดวงตะวัน ดารา หมุนรอบโลก โลกยิ่งใหญ่สุด
เพราะพระเจ้าสร้างโลก สร้างคนขึ้นมา
ถ้าปฏิเสธความเชื่อนี้เท่ากับพระเจ้าผิดพลาด
เพราะ God never makes mistakes.
If God made mistakes.
Go to see the first.
เพิ่งจะมีคำขออภัยจากสำนักวาติกัน
ต่อความผิดพลาดที่ประกาศในครั้งนั้น
ความยากจนของกาลิเลโอในครั้งนั้น
จนไม่มีเงิน Dowry สินเดิมให้เจ้าบ่าว
ลูกสาวนอกสมรสสองคน
จึงต้องบวชเป็นนางชีจนตาย
มีลูกสาวคนโตที่สนิทสนม/ดูแลกาลิเลโอ
ที่ได้ฝังศพร่วมกันท่านในสุสานเดียวกัน
20 เรื่องลึกลับของกาลิเลโอ
มีคนสันนิษฐานว่า กาลิเลโอ
เคยเป็นบาทหลวงมาก่อน แล้วมีลูกเมีย
โทษทัณฑ์จึงไม่รุนแรงเหมือนกับคนอื่น ๆ
บาทหลวงคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค
ไม่มีการสึก บวชแล้วจะต้องเป็นตลอดชีพ
Pope ห้ามได้อย่างเดียวคือ
ห้ามทำพิธีมิซซาตลอดชีวิต
พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ในนามตัวแทนพระเยซู
ส่วนจะใช้ชีวิตแบบฆราวาสก็ห้ามไม่ได้แล้ว
และห้ามแต่งงานตามพิธีศาสนาคริสต์
เพราะบาทหลวงต้องถือศีลเป็นโสดตลอดชีพ
มีช่วงหนึ่ง ที่โปแลนด์เลิกเป็นคอมมี่ใหม่ ๆ
บาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิค
ออกมาใช้ชีวิตแบบฆราวาสกัน
จนวัดร้างไปหลายร้อยแห่งมาก
.
.
แม่ของลีโอนาโด ดาวินซี ก็หมดตัว
เพราะต้องนำสินเดิมจ่ายสามีคนใหม่
เพื่อรักษาชื่อเสียงตระกูล/หน้าตาของตน
จากการมีลูกชายดาวินซี ลูกนอกสมรส
จากพ่อมีอาชีพทนายความ/พ่อค้าเจ้าเล่ห์
ไร้ความรับผิดชอบการกระทำของตน
แถมปู่ยังนำเอาชื่อดาวินซีใส่ในผังตระกูล
เลี้ยงดูไว้เพื่อหักภาษีด้วย
แม่ของ Leonado da Vinci คือ ลูกสาวชาวนายากจนไม่ใข่ทาส
ลูกนอกสมรส คือ พ่อแม่ไม่แต่งงานกัน
ต่อหน้าบาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิค
ทึ่ห้ามคู่สมรสหย่าตลอดชีวิต
แต่งงานใหม่ได้ถ้าอีกคนตาย
ในยุคนั้นถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย น่ารังเกียจ
และหางานทำได้ยากมาก เว้นแต่เก่งจริง ๆ