“ธนาธร” เมินตอบ “ยิ่งลักษณ์” กลับไทย ตามรอย “ทักษิณ” ไม่รู้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอย่างไร
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8124089
“ธนาธร” เมินตอบ “ยิ่งลักษณ์” กลับไทย ตามรอย “ทักษิณ” ไม่รู้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอย่างไร จี้ “รัฐบาล” บังคับใช้กฎหมายเท่าเทียม มี“นักสู้” ยังติดคุก
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 5 มี.ค.2567 ที่รัฐสภา นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ให้ความเห็นถึงกรณีที่ น.ส.
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อาจกลับประเทศไทย ตามรอย นาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ต้องเรียนว่า ตนไม่ได้ตามข่าวการเมืองรายวันเลย ถ้าพูดถึงเรื่องจุดยืนสำหรับเรื่องนี้ คงมี 2 ประการ คือ
ประการแรก ถ้าเราเชื่อว่าคนทุกคนในประเทศไทยเท่าเทียมกัน ควรได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคกัน ดังนั้น ถ้าพูดถึงเรื่องนี้เมื่อไหร่ ตนก็นึกถึงนักต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ไม่ได้รับสิทธิ์การประกันตัว ซึ่งทุกวันนี้ยังอยู่ในคุก
“
ผมขอเรียกร้องไปยังฝ่ายผู้มีอำนาจ และรัฐบาลว่า การที่จะทำให้ประเทศอยู่ด้วยกันอย่างร่มเย็น สงบสุข ความเป็นธรรมต้องมี ความเสมอภาคและการบังคับใช้กฎหมายต้องเท่าเทียมกันทั้งหมด“นาย
ธนาธร กล่าว
นาย
ธนาธร กล่าวต่อว่า ประการที่สอง ต้องกลับมายืนยันอีกครั้งว่า การทำรัฐประหาร ในปี 2549 และ 2557 ที่กระทำต่อ นาย
ทักษิณ และน.ส.
ยิ่งลักษณ์ และกระบวนการที่นำไปสู่การเอาผิด ด้วยกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ต้องยึดความเป็นธรรม และต้องยืนยันในหลักการตรงนี้ด้วยเช่นเดียวกัน
เมื่อถามว่า แสดงว่าหาก น.ส.
ยิ่งลักษณ์ จะเดินตามรอยนาย
ทักษิณกลับประเทศ ก็เป็นสิทธิ์ที่สามารถ กลับเข้าสู่กระบวนการปกติได้ ใช่หรือไม่ นายธนาธร กล่าวว่า เรื่องนี้ตนไม่รู้ว่า ทั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายทักษิณ กลับมาด้วยเหตุผลอะไร มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอย่างไร
วิกฤต 7 อ่างเก็บน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ งดปล่อยน้ำทำนาปรัง หวั่นกระทบกับน้ำอุปโภคบริโภค
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8124112
บุรีรัมย์ ชลประทานจังหวัด แจ้ง 7 อ่างเก็บน้ำ ต่ำกว่าเกณฑ์ งดปล่อยน้ำทำนาปรัง หวั่นกระทบกับน้ำอุปโภคบริโภค อีก 2 อ่างใหญ่ เพียงพอผลิตประปาหล่อเลี้ยง ปชช.เขตเศรษฐกิจเมืองพ้นแล้ง
5 มี.ค. 67 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง ที่อยู่ในความดูแลของโครงการชลประทานจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 16 แห่ง ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่าง 158 ล้านลูกบาศก์เมตร ของความจุอ่างทั้งหมด 295 ล้านลูกบาศก์เมตร
โดยอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 7 อ่าง ที่มีระดับน้ำกักเก็บต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งได้ประกาศงดปล่อยน้ำให้ทำนาปรัง เพื่อเก็บน้ำไว้ผลิตประปาไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชน และผู้ประกอบการ
ส่วนน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก และอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญ 2 อ่างใหญ่ ที่ใช้ผลิตประปาหล่อเลี้ยงประชาชน และพื้นที่เศรษฐกิจในตัวเมืองบุรีรัมย์ ปัจจุบันมีน้ำกักเก็บอยู่ 39 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณความจุรวมกัน 2 อ่าง 56 ล้านลูกบาศก์เมตร
ซึ่งหากเปรียบเทียบในช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ปีนี้ปริมาณน้ำยังสูงกว่าปีที่ผ่านมา แต่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติภัยแล้งขาดแคลนน้ำเหมือนปี 2563 ที่ผ่านมา ทางชลประทานก็ได้ทำการสูบผันน้ำจากลำน้ำมาศมาเติมสำรอง เพื่อให้มีน้ำเพียงพอในการผลิตประปาบริการประชาชนได้ตลอดฤดูแล้ง
นาย
สาโรจน์ เหง้าพรหมมินทร์ หน.ฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานบุรีรัมย์ ให้ข้อมูลว่า จากข้อมูลในตัวเมืองบุรีรัมย์ใช้น้ำดิบในการผลิตประปาเฉลี่ยวันละ 42,000 ลูกบาศก์เมตร ขณะที่ปริมาณน้ำดิบ 2 อ่างรวมกัน มั่นใจว่า เพียงพอใช้ผลิตประปาได้ตลอดทั้งปี67
โดนหมด ’บ้านใหม่-มือสอง’ ต่ำ 3 ล้าน กู้ไม่ผ่านพุ่ง50% สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เร่งถกแบงก์
https://www.matichon.co.th/economy/news_4455099
โดนหมด ’บ้านใหม่-มือสอง’ ต่ำ 3 ล้าน กู้ไม่ผ่านพุ่ง50% สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เร่งถกแบงก์
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม นาย
อลงกต บุญมาสุข เลขาธิการและประธานกรรมการบริหารสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวว่า ผลจากภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงกว่า 90% ของจีดีพี รายได้ที่ลดลง ค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมถึงทิศทางหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ที่สูงขึ้น ล้วนส่งผลต่อการอำนาจการซื้อที่อยู่อาศัยและการขออนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้ภาพรวมยอดถูกปฎิเสธสินเชื่อยังสูงถึง 50% โดยเฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยระดับราคาต่ำ 3 ล้านบาท เนื่องจากเป็นกลุ่มเปราะบาง ขณะเดียวกันกลุ่มราคาต่ำ 3 ล้านบาท เป็นตลาดขนาดใหญ่ของภาคอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน
“
สมาคมอยู่ระหว่างหารือและรวบรวมความเห็นของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง เพื่อหาแนวทางให้มีความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เช่น รีเจ็กต์เรตสาเหตุมาจากอะไร กรอบสินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงินเป็นอย่างไร เพื่อที่สถาบันการเงินจะได้เข้ามาช่วยเหลือภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่สถาบันการเงินเองก็ต้องมีเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่เช่นกัน คงต้องหารือร่วมกันมากขึ้น เพื่อให้เดินไปด้วยกันได้ ซึ่งในมุมของสถาบันการเงิน จริงๆอยากสนับสนุนให้ประชาชนมีบ้านผ่านกลไกสินเชื่อ แต่ยังมีหลายปัจจัยที่รุมเร้า ขณะนี้เรื่องของรีเจ็กต์เรตที่สูงนั้นไม่ใช่แค่บ้านใหม่ ในส่วนของบ้านมือสองราคาต่ำ 3 ล้านบาท ก็มีปัญหาเรื่องกู้ไม่ผ่านเช่นกัน”นาย
อลงกตกล่าว
JJNY : “ธนาธร” เมินตอบ “ยิ่งลักษณ์” กลับไทย│วิกฤต 7 อ่างเก็บน้ำ│โดนหมด ’บ้านใหม่-มือสอง’ ต่ำ 3 ล้าน│อิสราเอลเรียกทูตกลับ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8124089
“ธนาธร” เมินตอบ “ยิ่งลักษณ์” กลับไทย ตามรอย “ทักษิณ” ไม่รู้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอย่างไร จี้ “รัฐบาล” บังคับใช้กฎหมายเท่าเทียม มี“นักสู้” ยังติดคุก
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 5 มี.ค.2567 ที่รัฐสภา นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ให้ความเห็นถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อาจกลับประเทศไทย ตามรอย นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ต้องเรียนว่า ตนไม่ได้ตามข่าวการเมืองรายวันเลย ถ้าพูดถึงเรื่องจุดยืนสำหรับเรื่องนี้ คงมี 2 ประการ คือ
ประการแรก ถ้าเราเชื่อว่าคนทุกคนในประเทศไทยเท่าเทียมกัน ควรได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคกัน ดังนั้น ถ้าพูดถึงเรื่องนี้เมื่อไหร่ ตนก็นึกถึงนักต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ไม่ได้รับสิทธิ์การประกันตัว ซึ่งทุกวันนี้ยังอยู่ในคุก
“ผมขอเรียกร้องไปยังฝ่ายผู้มีอำนาจ และรัฐบาลว่า การที่จะทำให้ประเทศอยู่ด้วยกันอย่างร่มเย็น สงบสุข ความเป็นธรรมต้องมี ความเสมอภาคและการบังคับใช้กฎหมายต้องเท่าเทียมกันทั้งหมด“นายธนาธร กล่าว
นายธนาธร กล่าวต่อว่า ประการที่สอง ต้องกลับมายืนยันอีกครั้งว่า การทำรัฐประหาร ในปี 2549 และ 2557 ที่กระทำต่อ นายทักษิณ และน.ส.ยิ่งลักษณ์ และกระบวนการที่นำไปสู่การเอาผิด ด้วยกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ต้องยึดความเป็นธรรม และต้องยืนยันในหลักการตรงนี้ด้วยเช่นเดียวกัน
เมื่อถามว่า แสดงว่าหาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเดินตามรอยนายทักษิณกลับประเทศ ก็เป็นสิทธิ์ที่สามารถ กลับเข้าสู่กระบวนการปกติได้ ใช่หรือไม่ นายธนาธร กล่าวว่า เรื่องนี้ตนไม่รู้ว่า ทั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายทักษิณ กลับมาด้วยเหตุผลอะไร มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอย่างไร
วิกฤต 7 อ่างเก็บน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ งดปล่อยน้ำทำนาปรัง หวั่นกระทบกับน้ำอุปโภคบริโภค
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8124112
บุรีรัมย์ ชลประทานจังหวัด แจ้ง 7 อ่างเก็บน้ำ ต่ำกว่าเกณฑ์ งดปล่อยน้ำทำนาปรัง หวั่นกระทบกับน้ำอุปโภคบริโภค อีก 2 อ่างใหญ่ เพียงพอผลิตประปาหล่อเลี้ยง ปชช.เขตเศรษฐกิจเมืองพ้นแล้ง
5 มี.ค. 67 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง ที่อยู่ในความดูแลของโครงการชลประทานจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 16 แห่ง ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่าง 158 ล้านลูกบาศก์เมตร ของความจุอ่างทั้งหมด 295 ล้านลูกบาศก์เมตร
โดยอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 7 อ่าง ที่มีระดับน้ำกักเก็บต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งได้ประกาศงดปล่อยน้ำให้ทำนาปรัง เพื่อเก็บน้ำไว้ผลิตประปาไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชน และผู้ประกอบการ
ส่วนน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก และอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญ 2 อ่างใหญ่ ที่ใช้ผลิตประปาหล่อเลี้ยงประชาชน และพื้นที่เศรษฐกิจในตัวเมืองบุรีรัมย์ ปัจจุบันมีน้ำกักเก็บอยู่ 39 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณความจุรวมกัน 2 อ่าง 56 ล้านลูกบาศก์เมตร
ซึ่งหากเปรียบเทียบในช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ปีนี้ปริมาณน้ำยังสูงกว่าปีที่ผ่านมา แต่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติภัยแล้งขาดแคลนน้ำเหมือนปี 2563 ที่ผ่านมา ทางชลประทานก็ได้ทำการสูบผันน้ำจากลำน้ำมาศมาเติมสำรอง เพื่อให้มีน้ำเพียงพอในการผลิตประปาบริการประชาชนได้ตลอดฤดูแล้ง
นายสาโรจน์ เหง้าพรหมมินทร์ หน.ฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานบุรีรัมย์ ให้ข้อมูลว่า จากข้อมูลในตัวเมืองบุรีรัมย์ใช้น้ำดิบในการผลิตประปาเฉลี่ยวันละ 42,000 ลูกบาศก์เมตร ขณะที่ปริมาณน้ำดิบ 2 อ่างรวมกัน มั่นใจว่า เพียงพอใช้ผลิตประปาได้ตลอดทั้งปี67
โดนหมด ’บ้านใหม่-มือสอง’ ต่ำ 3 ล้าน กู้ไม่ผ่านพุ่ง50% สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เร่งถกแบงก์
https://www.matichon.co.th/economy/news_4455099
โดนหมด ’บ้านใหม่-มือสอง’ ต่ำ 3 ล้าน กู้ไม่ผ่านพุ่ง50% สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เร่งถกแบงก์
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม นายอลงกต บุญมาสุข เลขาธิการและประธานกรรมการบริหารสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวว่า ผลจากภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงกว่า 90% ของจีดีพี รายได้ที่ลดลง ค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมถึงทิศทางหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ที่สูงขึ้น ล้วนส่งผลต่อการอำนาจการซื้อที่อยู่อาศัยและการขออนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้ภาพรวมยอดถูกปฎิเสธสินเชื่อยังสูงถึง 50% โดยเฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยระดับราคาต่ำ 3 ล้านบาท เนื่องจากเป็นกลุ่มเปราะบาง ขณะเดียวกันกลุ่มราคาต่ำ 3 ล้านบาท เป็นตลาดขนาดใหญ่ของภาคอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน
“สมาคมอยู่ระหว่างหารือและรวบรวมความเห็นของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง เพื่อหาแนวทางให้มีความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เช่น รีเจ็กต์เรตสาเหตุมาจากอะไร กรอบสินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงินเป็นอย่างไร เพื่อที่สถาบันการเงินจะได้เข้ามาช่วยเหลือภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่สถาบันการเงินเองก็ต้องมีเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่เช่นกัน คงต้องหารือร่วมกันมากขึ้น เพื่อให้เดินไปด้วยกันได้ ซึ่งในมุมของสถาบันการเงิน จริงๆอยากสนับสนุนให้ประชาชนมีบ้านผ่านกลไกสินเชื่อ แต่ยังมีหลายปัจจัยที่รุมเร้า ขณะนี้เรื่องของรีเจ็กต์เรตที่สูงนั้นไม่ใช่แค่บ้านใหม่ ในส่วนของบ้านมือสองราคาต่ำ 3 ล้านบาท ก็มีปัญหาเรื่องกู้ไม่ผ่านเช่นกัน”นายอลงกตกล่าว