ว่ากันถึงความน่าดึงดูดของอนิเมชั่นที่ใช้ชื่อไทยว่า “ยินดีต้อนรับสู่โรงกลั่นโคมาดะ” ซึ่งแปลตรงตัวมาจากชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า Komada Jouryuusho e Youkoso โดยไม่มีการตั้งชื่อใหม่ให้เข้ากับบริบทของตัวเรื่องเหมือนภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ หนำซ้ำหากอ่านเรื่องย่อแล้วก็จะพบว่า นี่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กหนุ่มที่เป็นบรรณาธิการข่าวออนไลน์มาทำข่าวเกี่ยวกับโรงผลิตวิสกี้ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของครอบครัวหนึ่ง ซึ่งดูๆ แล้วไม่น่าจะเป็นเรื่องราวที่สามารถถ่ายทอดให้เกิดความบันเทิงได้ง่ายเลยจริงๆ
แต่ผลงานออริจินอลล่าสุดจากสตูดิโอ P.A. Works ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ภาพยนตร์(อนิเมชั่น)จะสนุกได้มันอยู่ที่ “การเล่าเรื่อง” คุณไม่จำเป็นต้องมีตัวเอกเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ มีพลังหรือความพิเศษใดๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องราวที่คอขาดบาดตาย ต้องต่อสู้กับผีสางนางไม้หรือห่ำหั่นกับกลุ่มคนที่เป็นศัตรูโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน กลับกันเรื่องราวของการตามหาสูตรวิสกี้ที่ชื่อว่า “โคมะ” (Koma) ของโรงกลั่นยามาดะแห่งนี้กลับเต็มไปด้วยความน่าค้นหาและน่าเรียนรู้ แม้กระทั่งกับผู้ที่ไม่นิยมชมชอบในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยก็ตามที
คล้ายกับตัวเอกของเรื่องอย่าง ทาคาฮาชิ โคทาโร่ (Takahashi Kōtarō) ที่เป็นบรรณาธิการข่าวออนไลน์และไม่ได้มีความสนใจหรือความรู้ในเรื่องวิสกี้มากนัก แต่ต้องมาสัมภาษณ์ โคมาดะ รุย (Komada Rui) สาวเจ้าของโรงกลั่นวิสกี้ที่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤตสุดๆ ช่วงแรกจึงเต็มไปด้วยความรู้สึกที่ว่า “ก็ไม่เห็นจะอยากรู้เรื่องนี้สักเท่าไหร่” การมาทัศนศึกษาที่โรงกลั่นเพราะเรื่องงาน ต้องจำใจทำมากกว่า และขั้นตอนการผลิตวิสกี้ก็เต็มไปด้วยรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย จุดนี้หากนำเสนอไม่ดีพอ คนที่เบื่ออาจจะไม่ใช่โคทาโร่เพียงคนเดียว แต่อาจจะลามมาถึงผู้ชมอย่างเราๆ ด้วยเช่นกัน
ต้องยอมรับว่าในช่วงแรกทุกอย่างก็อาจจะดูเหมือนเป็นอย่างนั้น การผลิตวิสกี้ไม่ใช่เรื่องที่น่าสนุกเหมือนกับการค้นพบพลังของซุปเปอร์ฮีโร่ การได้หลุดไปสู่มิติอื่น หรือการตั้งวงดนตรีหลังจากค้นพบพรสวรรค์ของตนเอง วิธีการเล่าเรื่องของ Komada a Whisky Family จึงเน้นไปที่การนำเสนอ “คุณค่า” ในแบบที่คอวิสกี้หลงใหล โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอน “การบ่ม” (Aging) ในถังไม้โอ๊ค ที่กินระยะเวลายาวนานหลัก 10 ปี (ยิ่งนานยิ่งทำให้รสของวิสกี้ดีขึ้น แต่ก็ไม่เสมอไป) ความยาวนานของมันทำให้ระหว่างนั้นอาจจะมีเรื่องเกิดขึ้นมากมาย จึงบอกได้ว่า “วิสกี้” เหมือนเป็นตัวแทนจากรุ่นสู่รุ่นได้เลยก็ว่าได้
แต่ขั้นตอนที่อนิเมชั่นเรื่องนี้ใช้เป็นประเด็นหลักในการเล่าเรื่องเป็นขั้นตอนที่เรียกว่า “การเบลนด์” (Blending) หมายถึงการนำเอาวิสกี้แต่ละตัวมาผสมกัน เพื่อให้เกิดเป็นวิสกี้ที่มีลักษณะเฉพาะตัว เรียกว่า เบลนด์ วิสกี้ (Blended Whisky) ดังนั้นหลักชัยสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ การเบลนด์เพื่อตามหาสูตรวิสกี้ที่สาบสูญไป (ก็น่าแปลกเรื่องสำคัญขนาดนี้หายไปง่ายๆ ได้อย่างไร) บวกกับความยากลำบากในการได้มา ซึ่งทำให้ตัวเรื่องดูน่าสนใจขึ้นเป็นเท่าตัวเลย
และ Komada a Whisky Family ก็เหมือนกับการเบลนด์วิสกี้อันยอดเยี่ยม เพราะแม้จะเป็นการตามหาส่วนผสมของโคมะวิสกี้ แต่ใจความสำคัญจริงๆ ของเรื่องกลับอยู่ที่ระหว่างทางมากกว่า ที่เล่าถึงสายสัมพันธ์ของครอบครัวโคมาดะ พนักงาน และตัวของโคทาโร่ที่ดูเหมือนเป็นคนนอก เป้าหมายของรุยที่จะต้องฟื้นฟูวิสกี้ตัวนี้กลับมาให้ได้ เพื่อไม่ให้กิจการโรงกลั่นต้องปิดตัวลงจากปัญหาหนี้สิน แม้จะมีทางออกอื่นก็ปฏิเสธไป (การขายกิจการ) เป็นการสะท้อนถึงอีโก้ ความทะเยอทะยาน และจิตวิญญาณของคนญี่ปุ่นในแบบที่เราค่อนข้างจะเห็นได้ชัดว่า พวกเขารักในกิจการของครอบครัวมากแค่ไหน (ถ้าไม่ถึงที่สุดจริงๆ ก็จะไม่ล้มเลิก)
มาจนถึงประเด็นสุดท้ายในด้านการทำงานที่แทรกซึมอยู่ตลอดทั้งเรื่อง (เนื่องจากตัวละครอยู่ในวัยทำงานกันหมด) ถ้า Blue Giant บอกว่า เราต้องทำตามความฝันจึงจะประสบความสำเร็จและมีความสุข Komada a Whisky Family ก็จะบอกว่า มุมมองที่เรามีขึ้นอยู่กับสิ่งที่ทำต่างหากที่จะทำให้เรามีความสุข เพราะตัวละครนำทั้งสองของเรื่องไม่ได้อยู่ในจุดที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบ(เลย) แต่ในระหว่างการตามหาโคมะวิสกี้ ก็ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้ในเรื่องนี้ และส่งต่อแพสชั่นหรือแรงบันดาลใจมาสู่ผู้ชมในรูปแบบที่จับต้องได้อย่างง่ายดายและจริงใจ
เท่านั้นไม่พอการใส่ประเด็นดราม่าเข้ามาก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่ช่วยเพิ่มรสชาติให้กับวิสกี้(อนิเมชั่น)ได้ดีมากๆ แม้ว่าเหตุการณ์ จุดพลิกผัน การตัดสินใจของตัวละคร อาจจะดูเข้าล็อคตามสูตรไปสักหน่อย แต่เมื่อมันเป็นสูตรที่อร่อยก็ไม่น่าใช่เรื่องผิดที่จะถูกยกมาใช้
ในแง่ของงานสร้าง รายละเอียดต่างๆ ถูกวาดออกมาอย่างพิถีพิถัน โดยเฉพาะในเวลาที่มีวิสกี้มาเกี่ยวข้องก็ยิ่งสัมผัสได้ว่าผู้สร้างพยายามยกระดับให้สิ่งนี้มีความล้ำค่า ทั้งแก้ววิสกี้ที่ดูหรูหรา มีความงดงามของการใช้แสง หม้อกลั่นทองเหลืองงามอร่างตา ถังไม้โอ๊คที่ดูหอมกลิ่นไม้ อาจจะมีติดในส่วนของตัวละครที่ยังไม่ค่อยน่าดึงดูด และมีหน้าตาที่ไม่ค่อยคงที่อยู่บ้าง ส่วนด้านงานพากย์ตัวละครนำทั้งสองได้ นักพากย์สาวชื่อดังที่หลายคนคุ้นเสียงกันดีอย่าง ฮายามิ ซาโอริ (Hayami Saori) และนักพากย์ชาย โอโนะ เคนโช (Ono Kensho) ทั้งสองเคยให้เสียงร่วมกันในอนิเมชั่นเรื่อง SpyxFamily เป็นคู่พี่น้องไบร์อานั่นเอง (อะไรจะบังเอิญขนาดนั้น)
สรุป Komada a Whisky Family เป็นการผสมผสานเรื่องราวของอาชีพคนทำงาน ความพยายามในการรักษาความสัมพันธ์และกิจการครอบครัว ความภาคภูมิใจในสิ่งที่ทำ ภายใต้การเล่าเรื่องที่แข็งแรงและการดำเนินเรื่องที่มีคุณภาพ จึงสัมผัสได้ถึงคุณค่าของสิ่งที่เป็นประเด็นของเรื่อง ไม่ต่างจากตัวของวิสกี้โคมะที่ถูกผสมผสานอย่างพิถีพิถันจนกลายเป็นวิสกี้ชั้นยอดและพร้อมมอบความสุขให้แก่ผู้ที่ได้ดื่มดำมัน
Story Decoder
[รีวิว] Komada a Whisky Family - ฟื้นฟูวิสกี้ที่สาบสูญสู่การสร้างพลังบวกให้กับชีวิตการทำงาน
ว่ากันถึงความน่าดึงดูดของอนิเมชั่นที่ใช้ชื่อไทยว่า “ยินดีต้อนรับสู่โรงกลั่นโคมาดะ” ซึ่งแปลตรงตัวมาจากชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า Komada Jouryuusho e Youkoso โดยไม่มีการตั้งชื่อใหม่ให้เข้ากับบริบทของตัวเรื่องเหมือนภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ หนำซ้ำหากอ่านเรื่องย่อแล้วก็จะพบว่า นี่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กหนุ่มที่เป็นบรรณาธิการข่าวออนไลน์มาทำข่าวเกี่ยวกับโรงผลิตวิสกี้ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของครอบครัวหนึ่ง ซึ่งดูๆ แล้วไม่น่าจะเป็นเรื่องราวที่สามารถถ่ายทอดให้เกิดความบันเทิงได้ง่ายเลยจริงๆ
แต่ผลงานออริจินอลล่าสุดจากสตูดิโอ P.A. Works ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ภาพยนตร์(อนิเมชั่น)จะสนุกได้มันอยู่ที่ “การเล่าเรื่อง” คุณไม่จำเป็นต้องมีตัวเอกเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ มีพลังหรือความพิเศษใดๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องราวที่คอขาดบาดตาย ต้องต่อสู้กับผีสางนางไม้หรือห่ำหั่นกับกลุ่มคนที่เป็นศัตรูโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน กลับกันเรื่องราวของการตามหาสูตรวิสกี้ที่ชื่อว่า “โคมะ” (Koma) ของโรงกลั่นยามาดะแห่งนี้กลับเต็มไปด้วยความน่าค้นหาและน่าเรียนรู้ แม้กระทั่งกับผู้ที่ไม่นิยมชมชอบในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยก็ตามที
คล้ายกับตัวเอกของเรื่องอย่าง ทาคาฮาชิ โคทาโร่ (Takahashi Kōtarō) ที่เป็นบรรณาธิการข่าวออนไลน์และไม่ได้มีความสนใจหรือความรู้ในเรื่องวิสกี้มากนัก แต่ต้องมาสัมภาษณ์ โคมาดะ รุย (Komada Rui) สาวเจ้าของโรงกลั่นวิสกี้ที่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤตสุดๆ ช่วงแรกจึงเต็มไปด้วยความรู้สึกที่ว่า “ก็ไม่เห็นจะอยากรู้เรื่องนี้สักเท่าไหร่” การมาทัศนศึกษาที่โรงกลั่นเพราะเรื่องงาน ต้องจำใจทำมากกว่า และขั้นตอนการผลิตวิสกี้ก็เต็มไปด้วยรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย จุดนี้หากนำเสนอไม่ดีพอ คนที่เบื่ออาจจะไม่ใช่โคทาโร่เพียงคนเดียว แต่อาจจะลามมาถึงผู้ชมอย่างเราๆ ด้วยเช่นกัน
ต้องยอมรับว่าในช่วงแรกทุกอย่างก็อาจจะดูเหมือนเป็นอย่างนั้น การผลิตวิสกี้ไม่ใช่เรื่องที่น่าสนุกเหมือนกับการค้นพบพลังของซุปเปอร์ฮีโร่ การได้หลุดไปสู่มิติอื่น หรือการตั้งวงดนตรีหลังจากค้นพบพรสวรรค์ของตนเอง วิธีการเล่าเรื่องของ Komada a Whisky Family จึงเน้นไปที่การนำเสนอ “คุณค่า” ในแบบที่คอวิสกี้หลงใหล โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอน “การบ่ม” (Aging) ในถังไม้โอ๊ค ที่กินระยะเวลายาวนานหลัก 10 ปี (ยิ่งนานยิ่งทำให้รสของวิสกี้ดีขึ้น แต่ก็ไม่เสมอไป) ความยาวนานของมันทำให้ระหว่างนั้นอาจจะมีเรื่องเกิดขึ้นมากมาย จึงบอกได้ว่า “วิสกี้” เหมือนเป็นตัวแทนจากรุ่นสู่รุ่นได้เลยก็ว่าได้
แต่ขั้นตอนที่อนิเมชั่นเรื่องนี้ใช้เป็นประเด็นหลักในการเล่าเรื่องเป็นขั้นตอนที่เรียกว่า “การเบลนด์” (Blending) หมายถึงการนำเอาวิสกี้แต่ละตัวมาผสมกัน เพื่อให้เกิดเป็นวิสกี้ที่มีลักษณะเฉพาะตัว เรียกว่า เบลนด์ วิสกี้ (Blended Whisky) ดังนั้นหลักชัยสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ การเบลนด์เพื่อตามหาสูตรวิสกี้ที่สาบสูญไป (ก็น่าแปลกเรื่องสำคัญขนาดนี้หายไปง่ายๆ ได้อย่างไร) บวกกับความยากลำบากในการได้มา ซึ่งทำให้ตัวเรื่องดูน่าสนใจขึ้นเป็นเท่าตัวเลย
และ Komada a Whisky Family ก็เหมือนกับการเบลนด์วิสกี้อันยอดเยี่ยม เพราะแม้จะเป็นการตามหาส่วนผสมของโคมะวิสกี้ แต่ใจความสำคัญจริงๆ ของเรื่องกลับอยู่ที่ระหว่างทางมากกว่า ที่เล่าถึงสายสัมพันธ์ของครอบครัวโคมาดะ พนักงาน และตัวของโคทาโร่ที่ดูเหมือนเป็นคนนอก เป้าหมายของรุยที่จะต้องฟื้นฟูวิสกี้ตัวนี้กลับมาให้ได้ เพื่อไม่ให้กิจการโรงกลั่นต้องปิดตัวลงจากปัญหาหนี้สิน แม้จะมีทางออกอื่นก็ปฏิเสธไป (การขายกิจการ) เป็นการสะท้อนถึงอีโก้ ความทะเยอทะยาน และจิตวิญญาณของคนญี่ปุ่นในแบบที่เราค่อนข้างจะเห็นได้ชัดว่า พวกเขารักในกิจการของครอบครัวมากแค่ไหน (ถ้าไม่ถึงที่สุดจริงๆ ก็จะไม่ล้มเลิก)
มาจนถึงประเด็นสุดท้ายในด้านการทำงานที่แทรกซึมอยู่ตลอดทั้งเรื่อง (เนื่องจากตัวละครอยู่ในวัยทำงานกันหมด) ถ้า Blue Giant บอกว่า เราต้องทำตามความฝันจึงจะประสบความสำเร็จและมีความสุข Komada a Whisky Family ก็จะบอกว่า มุมมองที่เรามีขึ้นอยู่กับสิ่งที่ทำต่างหากที่จะทำให้เรามีความสุข เพราะตัวละครนำทั้งสองของเรื่องไม่ได้อยู่ในจุดที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบ(เลย) แต่ในระหว่างการตามหาโคมะวิสกี้ ก็ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้ในเรื่องนี้ และส่งต่อแพสชั่นหรือแรงบันดาลใจมาสู่ผู้ชมในรูปแบบที่จับต้องได้อย่างง่ายดายและจริงใจ
เท่านั้นไม่พอการใส่ประเด็นดราม่าเข้ามาก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่ช่วยเพิ่มรสชาติให้กับวิสกี้(อนิเมชั่น)ได้ดีมากๆ แม้ว่าเหตุการณ์ จุดพลิกผัน การตัดสินใจของตัวละคร อาจจะดูเข้าล็อคตามสูตรไปสักหน่อย แต่เมื่อมันเป็นสูตรที่อร่อยก็ไม่น่าใช่เรื่องผิดที่จะถูกยกมาใช้
ในแง่ของงานสร้าง รายละเอียดต่างๆ ถูกวาดออกมาอย่างพิถีพิถัน โดยเฉพาะในเวลาที่มีวิสกี้มาเกี่ยวข้องก็ยิ่งสัมผัสได้ว่าผู้สร้างพยายามยกระดับให้สิ่งนี้มีความล้ำค่า ทั้งแก้ววิสกี้ที่ดูหรูหรา มีความงดงามของการใช้แสง หม้อกลั่นทองเหลืองงามอร่างตา ถังไม้โอ๊คที่ดูหอมกลิ่นไม้ อาจจะมีติดในส่วนของตัวละครที่ยังไม่ค่อยน่าดึงดูด และมีหน้าตาที่ไม่ค่อยคงที่อยู่บ้าง ส่วนด้านงานพากย์ตัวละครนำทั้งสองได้ นักพากย์สาวชื่อดังที่หลายคนคุ้นเสียงกันดีอย่าง ฮายามิ ซาโอริ (Hayami Saori) และนักพากย์ชาย โอโนะ เคนโช (Ono Kensho) ทั้งสองเคยให้เสียงร่วมกันในอนิเมชั่นเรื่อง SpyxFamily เป็นคู่พี่น้องไบร์อานั่นเอง (อะไรจะบังเอิญขนาดนั้น)
สรุป Komada a Whisky Family เป็นการผสมผสานเรื่องราวของอาชีพคนทำงาน ความพยายามในการรักษาความสัมพันธ์และกิจการครอบครัว ความภาคภูมิใจในสิ่งที่ทำ ภายใต้การเล่าเรื่องที่แข็งแรงและการดำเนินเรื่องที่มีคุณภาพ จึงสัมผัสได้ถึงคุณค่าของสิ่งที่เป็นประเด็นของเรื่อง ไม่ต่างจากตัวของวิสกี้โคมะที่ถูกผสมผสานอย่างพิถีพิถันจนกลายเป็นวิสกี้ชั้นยอดและพร้อมมอบความสุขให้แก่ผู้ที่ได้ดื่มดำมัน
Story Decoder