เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1114963
KEY POINTS
เศรษฐกิจไทยเร่งเครื่องไม่ขึ้น สร้างผลกระทบต่อธุรกิจ กำลังซื้อในวงกว้าง
อุตสาหกรรมสื่อโฆษณาเม็ดเงินโตต่ำ 2.6%
ธุรกิจสื่อเผชิญความท้าทายไม่จบไม่สิ้น ผลประกอบการปี 2566 บรรดาบิ๊กทีวีดิจิทัล ช่อง3 ช่องวัน31 เวิร์คพอยท์กอดคอกัน "กำไรลด"
งบโฆษณาทีวีโตต่ำเป็นประวัติการณ์
โมโน29 สาหัส ขาดทุนกระอัก! จนต้องปรับโครงสร้าง ลดขนาดองค์กรเพื่ออยู่รอด
"เม็ดเงินโฆษณาแสนล้านบาท” เป็นภาพรวมที่ “นีลเส็น” ตลอดจน สมาคมมีเดียเอเยนซี และธุรกิจสื่อโฆษณาแห่งประเทศไทย(MAAT) หยิบยกมารายงานซึ่งเป็นมูลค่าที่ยังไม่หักส่วนลดแก่ลูกค้า(Rate Card)
ปิดปี 2566 งบโฆษณาที่ MAAT แจกแจงมีมูลค่า 114,447 ล้านบาท เติบโตเพียง 2.6% เท่านั้น และสื่อดั้งเดิมที่ครองเม็ดเงินโฆษณาสูงสุดอย่าง “ทีวี” ด้วยมูลค่า 53,213 ล้านบาท“หดตัว” 2.5%
“ทีวีดิจิทัล” ประเภทธุรกิจที่เหลือในตลาด 15 ช่อง เป็นกิจการที่เหมือนขึ้นหลังเสือไปแล้ว ลงไม่ได้! เพราะลงทุนประมูลมหาศาล และระยะเวลาของใบอนุญาตประกอบกิจการหรือไลเซนส์เหลืออีก 6-7 ปีเท่านั้น แต่การ “หารายได้” ยังยากยิ่งนัก และเมื่อดูผลประกอบการของบรรดา “บิ๊กสื่อ” ยิ่งสะท้อนภาพดังกล่าว เพราะธุรกิจหลักหรือ Core Business แหล่งรายได้อย่างโฆษณาที่ต้องดึงเงินจากกระเป๋าลูกค้ายากเหลือเกิน ส่วนสื่อใหม่ทั้งดิจิทัล และสื่อที่ร้อนแรงอย่างสื่อโฆษณานอกบ้าน(OOH)ก็มีบทบาทแบ่งเค้กมากขึ้นด้วย
ช่อง 3 กำไรลดลง 65.4%
บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด(มหาชน)หรือช่อง 3 รายงานผลประกอบการปี 2566 บริษัททำรายได้ 4,652.9 ล้านบาท ลดลง 9% และมี “กำไรสุทธิ” 210 ล้านบาท ลดลง 65.4% หรือคิดเป็นมูลค่า 397 ล้านบาท
ทั้งนี้ รายได้จากโฆษณาอยู่ที่ 3,963.2 ล้านบาท ลดลง 10.9% โดยปัจจุบัน “โฆษณา” ทำเงินให้บริษัทมากถึง 85.2% ส่วนรายได้จากการให้ใช้ลิขสิทธิ์และบริการอื่นอยู่ที่ 689.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6%
สำหรับปัจจัยกระทบผลงานของบริษัท มีทั้งเศรษฐกิจไทยเผชิญสารพัด “ความเสี่ยง” ที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน เช่น เศรษฐกิจโลกถดถอย การส่งออก การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง “เงินเฟ้อสูง” ตลาดการเงินโลกผันผวน ทำให้ธนาคารกลางประเทศต่างๆ “เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย”
อีกทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์กระทบต้นทุนราคาพลังงาน ต้นทุนการเงิน เป็นต้น ขณะที่แรงหนุนเศรษฐกิจมีเพียง “ภาคการท่องเที่ยว” และ “การบริโภคของภาคเอกชน” เท่านั้น
ประเทศไทยยังมี “มรสุมการเมือง” ที่ไม่มีเสถียรภาพจากการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล "ทำให้การบริโภคและการลงทุนภาครัฐลดลงอย่างยาวนานในปี 2566” มีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ผู้ประกอบการในประเทศจน “ชะลอการใช้จ่าย” เป็นต้น
ผลิตหนัง 2-3 เรื่อง ลุยน่านน้ำใหม่ทำเงิน
ช่อง 3 วางตัวเป็นยักษ์คอนเทนต์โปรวายเดอร์ ไม่แค่ “ช่องทีวีดิจิทัล” ดังนั้นการหารายได้จาก “น่านน้ำใหม่” จึงเป็นเชิงรุก ซึ่งปี 2566 บริษัทสร้างรายได้จากธุรกิจการจัดจำหน่ายละครไปต่างประเทศและธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม รายได้รวมกัน 669.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% และมีสัดส่วน 14.4% ของรายได้รวมบริษัท ธุรกิจภาพยนตร์ เป็นอีกขุมทรัพย์ทำเงิน ซึ่งปีที่ผ่านมาช่อง 3 ผนึกพันธมิตรสร้าง “ธี่หยด” ทำเงินได้กว่า 400 ล้านบาท และยังขึ้นแท่นหนังไทยทำเงินสูงสุดในประวัติศาสตร์อันดับ 4 ด้วย
ในส่วนของธุรกิจการจัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ในต่างประเทศ ซึ่งยังเน้นตลาดอาเซียน และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงการขยายสู่ 23 ประเทศในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา และอินเดีย การออกอากาศคู่ขนานกับไทย(Simulcast / Date on Broadcasting) การเสิร์ฟคอนเทนต์สู่แพลตฟอร์มออนไลน์สตรีมมิง(OTT) เช่น Netflix VIU Amazon Prime MediaCorp และ Netopia
ด้านธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม การร่วมมือกับเอไอเอส ธนาคารไทยพาณิชย์(เอสซีบี) และธนาคารกรุงเทพ เพื่อเพิ่มยอดสมาชิก 3Plus Premium ทั้งแบบรายเดือน 6 เดือน รายปี ราคาพิเศษ ทำให้บริษัทมียอดสมาชิกทะลุ 1 แสนรายแล้ว
ส่วนธุรกิจบีอีซี สตูดิโอ โปรเจคใหญ่ที่บริษัททุ่มเงินลงทุนมหาศาล มีการประกาศขยายตลาดไปต่างประเทศเมื่อปลายปี 2566 ในงาน “แกะกล่องไทยบันเทิง” ที่จัดโดยยักษ์ใหญ่ Prime Video บริษัทป้อน 2 คอนเทนต์ อย่างละคร “ร้อยเล่มเกมส์ออฟฟิศ” และ “มือปราบกระทะรั่ว” ปลายปีได้ออกอากาศทั่วอาเซียนผ่านแพลฟอร์ม Prime Video
มุมมองปี 2567 ท้าทาย เศรษฐกิจโลก หนี้นอกระบบ มาตรการรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่กลยุทธ์การปั๊มรายได้จะเห็นการผลิตภาพยนตร์ 2-3 เรื่อง การมุ่งขยายฐานสมาชิก 3Plus Premium และบทบาทของบีอีซี สตูดิโอ จะผลิตคอนเทนต์ป้อนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งโลกมากขึ้น ปีนี้จะเห็นการต่อยอด “พรหมลิขิต” ด้วยการการบริหารลิขสิทธิ์ หาบริหารรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา(IP Right) การริเริ่มธุรกิจบริหารศิลปิน เป็นต้น
ช่องวัน31 เผชิญโจทย์ยากไม่แพ้กัน
วิก 3 พระราม 4 กำไรลดลงแล้ว อีกบริษัทก็ไม่ต่างกัน โดยผลงานของบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด(มหาชน) สร้างรายได้รวม 6,432.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% หรือคิดเป็นมูลค่า 303.8 ล้านบาท ทว่า “กำไรสุทธิอยู่ที่ 506.6 ล้านบาท ลดลง 31.4%”
เมื่อแบ่งรายได้จะพบว่า รายได้จากสื่อโทรทัศน์อยู่ที่ 2,834.4 ล้านบาท ลดลง 3.5% รายได้จากธุรกิจรับจ้างผลิตและบริการอยู่ที่ 297.4 ล้านบาท ลดลง 21% รายได้จากการบริหารลิขสิทธิ์อยู่ที่ 988.5 ล้านบาท ลดลง 26.5%
ส่วนธุรกิจบริหารศิลปินและที่ปรึกษาทำรายได้ 1,020.7 ล้านบาท เติบโต 48.2% จากปีก่อน รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและบริหารกิจกรรมอยู่ที่ 635.5 ล้านบาท เติบโตก้าวกระโดดถึง 111.2% รายได้จากการผลิตรายการวิทยุอยู่ที่ 290.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.8% รายได้จากการขายสินค้าอยู่ที่ 329.7% เพิ่มขึ้น 44.8% และรายได้จากการให้บริการสตูดิโออยู่ที่ 34.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.5%
เวิร์คพอยท์ กำไรหดตัว 92%
บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด(มหาชน) มีรายได้รวม 2,421.98 ล้านบาท ลดลง 1% จากปีก่อน ขณะที่ “กำไรสุทธิ 13.48 ล้านบาท หรือลดลง 157.93 ล้านบาท ลดลงคิดเป็น 92%” จากปีก่อน
เมื่อแยกย่อยรายได้ กลุ่มธุรกิจรายการทีวี ซึ่งมาจากการขายโฆษณา และโปรโมทในช่วงเวลาต่างๆของช่อง เวิร์คพอยท์(workpoint) รวมถึงช่องทางสื่อออนไลน์ของบริษัท การรับจ้างผลิตรายการ รวมถึงรายได้จากการจำหน่ายลิขสิทธิ์รายการไปยังต่างประเทศ ฯ อยู่ที่ 1,896.24 ล้านบาท ลดลง 9% จากปีก่อน อันเป็นผลจาก “เม็ดงินโฆษณาทางทีวี” อยู่ในภาวะ “ชะลอตัว” ตามทิศทางเศรษฐกิจ
เวิร์คพอยท์ระบุด้วยว่า “เม็ดเงินโฆษณาทางทีวี” ลดลงกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต
ส่วนรายได้อื่น เช่น การรับจ้างจัดงานหรืออีเวนต์ อยู่ที่ 158.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและละครเวที อยู่ที่ 291.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 105% เพราะมีงานมากขึ้นทั้งคอนเสิร์ตและละครเวที เช่น งาน JAYB World Tour 2023 in Bangkok IVE FANCON in Bangkok 2023 (G)I-DLE Concert in Bangkok 2023 เป็นต้น
ขณะที่รายได้จากการขายสินค้าและบริการอื่น เช่น บริการพื้นที่โรงละคร การจัดหานักแสดง ฯ อยู่ที่ 72.94 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27%
โมโน29 เจ็บหนักขาดทุน 255.1 ล้านบาท!!
ด้านบริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด(มหาชน)หรือช่อง MONO29 บริษัททำรายได้รวม 1,895.4 ล้านบาท ลดลง 9.4% จากปีก่อน โดยรายได้จากโฆษณาอยู่ที่ 1,1140.7 ล้านบาท ลดลง 21.4% รายได้จากการให้บริการคอนเทนต์ผ่าน MONOMAX / GIGATV อยู่ที่ 700.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.3% รายได้จากการขายสินค้าผ่านทีวีโฮมชอปปิงอยู่ที่ 30.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.9% และรายได้อื่นๆอยู่ที่ 24.4 ล้านบาท ลดลง 49.5%
ขณะที่ตัวเลขน่าสนใจคือ “กำไร” เพราะทั้งปี 2566 บริษัทประสบภาวะ “ขาดทุน” ถึง 255.1 ล้านบาท เป็นการลดลงรุนแรงถึง 468.1% จากปี 2565 ที่ยังมีอัตรา “กำไร” 69.3 ล้านบาท และยังเป็นการกลับมาขาดทุนอีกครั้งหลังจากเผชิญ Red Zone เมื่อปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ระบาด ทำให้บริษัทขาดทุน 524 ล้านบาท
สำหรับการขาดทุน เกิดจากผลกระทบของ “เม็ดเงินโฆษณาดลง” จากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และภาวะ “ดอกเบี้ยสูง” ตลอดจน “กำลังซื้อชะลอตัว”
เขย่าโครงสร้าง ลดขนาดองค์กรเพื่อรอด!
ในปี 2567 บริษัทประกาศ “ปรับโครงสร้างการทำงาน” และ “ลดขนาดองค์กร” เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินการทางธุรกิจ สามารถขับเคลื่อนและบรรลุเป้าหมายที่ท้าทายในอนาคต
กลยุทธ์รอดในปี 2567 โมโนยังคงลุยสตรีมมิงแบบบอกรับสมาชิก(SVOD)ภายใต้แพลตฟอร์มของบริษัทอย่าง MONOMAX ที่ดึงซีรีส์จีนฟอร์มยักษ์ระดับ S+ (ทุ่มทุนสร้างมหาศาล นักแสดงตัวท็อป ฯ) ซีรีส์เกาหลี และซีรีส์ญี่ปุ่น เป็นอีกแม่เหล็กดึงคนดู ที่สำคัญยัง “พากย์ไทย” และซับไทยครบทุกเรื่องตอบจริตทั้งดู และเปิดทีวีเพื่อฟังเรื่องราว
นอกจากนี้ คอนเทนต์ของช่องหรือ MONO Original ยังเดินหน้าผลิต โดยปี 2567 จะมีภาพยนตร์และละครหลากรสชาติ ทั้งแอ็คชั่น สืบสวนสอบสวน ดรามา โรแมนติกฯ มากถึง 24 เรื่อง
ด้านธุรกิจทีวีดิจิทัล ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก MONO29 ยังชูจุดยืนการตลาดหรือ Positioning ในการเป็นช่อง “หนังดี ซีรีส์ดัง” ตอบโจทย์คนดู ผลักดันเรทติ้ง ดึงเม็ดเงินโฆษณา ซึ่งคอนเทนต์เด็ดยังเป็น ภาพยนตร์และซีรีส์แนวแอ็คชั่น-แฟนตาซีจากฮอลลีวูด รวมถึงหนังจีน อินเดีย ญี่ปุ่น ฯ และยังเสริมทัพด้วยเอ็กซ์คลูสีฟคอนเทนต์ เป็นต้น
ผลงานบิ๊กสื่อสาหัส “ช่อง3-ช่องวัน31-เวิร์คพอยท์” กำไรลด โมโน29 ขาดทุนหนัก!
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1114963
KEY POINTS
เศรษฐกิจไทยเร่งเครื่องไม่ขึ้น สร้างผลกระทบต่อธุรกิจ กำลังซื้อในวงกว้าง
อุตสาหกรรมสื่อโฆษณาเม็ดเงินโตต่ำ 2.6%
ธุรกิจสื่อเผชิญความท้าทายไม่จบไม่สิ้น ผลประกอบการปี 2566 บรรดาบิ๊กทีวีดิจิทัล ช่อง3 ช่องวัน31 เวิร์คพอยท์กอดคอกัน "กำไรลด"
งบโฆษณาทีวีโตต่ำเป็นประวัติการณ์
โมโน29 สาหัส ขาดทุนกระอัก! จนต้องปรับโครงสร้าง ลดขนาดองค์กรเพื่ออยู่รอด
"เม็ดเงินโฆษณาแสนล้านบาท” เป็นภาพรวมที่ “นีลเส็น” ตลอดจน สมาคมมีเดียเอเยนซี และธุรกิจสื่อโฆษณาแห่งประเทศไทย(MAAT) หยิบยกมารายงานซึ่งเป็นมูลค่าที่ยังไม่หักส่วนลดแก่ลูกค้า(Rate Card)
ปิดปี 2566 งบโฆษณาที่ MAAT แจกแจงมีมูลค่า 114,447 ล้านบาท เติบโตเพียง 2.6% เท่านั้น และสื่อดั้งเดิมที่ครองเม็ดเงินโฆษณาสูงสุดอย่าง “ทีวี” ด้วยมูลค่า 53,213 ล้านบาท“หดตัว” 2.5%
“ทีวีดิจิทัล” ประเภทธุรกิจที่เหลือในตลาด 15 ช่อง เป็นกิจการที่เหมือนขึ้นหลังเสือไปแล้ว ลงไม่ได้! เพราะลงทุนประมูลมหาศาล และระยะเวลาของใบอนุญาตประกอบกิจการหรือไลเซนส์เหลืออีก 6-7 ปีเท่านั้น แต่การ “หารายได้” ยังยากยิ่งนัก และเมื่อดูผลประกอบการของบรรดา “บิ๊กสื่อ” ยิ่งสะท้อนภาพดังกล่าว เพราะธุรกิจหลักหรือ Core Business แหล่งรายได้อย่างโฆษณาที่ต้องดึงเงินจากกระเป๋าลูกค้ายากเหลือเกิน ส่วนสื่อใหม่ทั้งดิจิทัล และสื่อที่ร้อนแรงอย่างสื่อโฆษณานอกบ้าน(OOH)ก็มีบทบาทแบ่งเค้กมากขึ้นด้วย
ช่อง 3 กำไรลดลง 65.4%
บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด(มหาชน)หรือช่อง 3 รายงานผลประกอบการปี 2566 บริษัททำรายได้ 4,652.9 ล้านบาท ลดลง 9% และมี “กำไรสุทธิ” 210 ล้านบาท ลดลง 65.4% หรือคิดเป็นมูลค่า 397 ล้านบาท
ทั้งนี้ รายได้จากโฆษณาอยู่ที่ 3,963.2 ล้านบาท ลดลง 10.9% โดยปัจจุบัน “โฆษณา” ทำเงินให้บริษัทมากถึง 85.2% ส่วนรายได้จากการให้ใช้ลิขสิทธิ์และบริการอื่นอยู่ที่ 689.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6%
สำหรับปัจจัยกระทบผลงานของบริษัท มีทั้งเศรษฐกิจไทยเผชิญสารพัด “ความเสี่ยง” ที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน เช่น เศรษฐกิจโลกถดถอย การส่งออก การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง “เงินเฟ้อสูง” ตลาดการเงินโลกผันผวน ทำให้ธนาคารกลางประเทศต่างๆ “เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย”
อีกทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์กระทบต้นทุนราคาพลังงาน ต้นทุนการเงิน เป็นต้น ขณะที่แรงหนุนเศรษฐกิจมีเพียง “ภาคการท่องเที่ยว” และ “การบริโภคของภาคเอกชน” เท่านั้น
ประเทศไทยยังมี “มรสุมการเมือง” ที่ไม่มีเสถียรภาพจากการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล "ทำให้การบริโภคและการลงทุนภาครัฐลดลงอย่างยาวนานในปี 2566” มีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ผู้ประกอบการในประเทศจน “ชะลอการใช้จ่าย” เป็นต้น
ผลิตหนัง 2-3 เรื่อง ลุยน่านน้ำใหม่ทำเงิน
ช่อง 3 วางตัวเป็นยักษ์คอนเทนต์โปรวายเดอร์ ไม่แค่ “ช่องทีวีดิจิทัล” ดังนั้นการหารายได้จาก “น่านน้ำใหม่” จึงเป็นเชิงรุก ซึ่งปี 2566 บริษัทสร้างรายได้จากธุรกิจการจัดจำหน่ายละครไปต่างประเทศและธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม รายได้รวมกัน 669.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% และมีสัดส่วน 14.4% ของรายได้รวมบริษัท ธุรกิจภาพยนตร์ เป็นอีกขุมทรัพย์ทำเงิน ซึ่งปีที่ผ่านมาช่อง 3 ผนึกพันธมิตรสร้าง “ธี่หยด” ทำเงินได้กว่า 400 ล้านบาท และยังขึ้นแท่นหนังไทยทำเงินสูงสุดในประวัติศาสตร์อันดับ 4 ด้วย
ในส่วนของธุรกิจการจัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ในต่างประเทศ ซึ่งยังเน้นตลาดอาเซียน และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงการขยายสู่ 23 ประเทศในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา และอินเดีย การออกอากาศคู่ขนานกับไทย(Simulcast / Date on Broadcasting) การเสิร์ฟคอนเทนต์สู่แพลตฟอร์มออนไลน์สตรีมมิง(OTT) เช่น Netflix VIU Amazon Prime MediaCorp และ Netopia
ด้านธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม การร่วมมือกับเอไอเอส ธนาคารไทยพาณิชย์(เอสซีบี) และธนาคารกรุงเทพ เพื่อเพิ่มยอดสมาชิก 3Plus Premium ทั้งแบบรายเดือน 6 เดือน รายปี ราคาพิเศษ ทำให้บริษัทมียอดสมาชิกทะลุ 1 แสนรายแล้ว
ส่วนธุรกิจบีอีซี สตูดิโอ โปรเจคใหญ่ที่บริษัททุ่มเงินลงทุนมหาศาล มีการประกาศขยายตลาดไปต่างประเทศเมื่อปลายปี 2566 ในงาน “แกะกล่องไทยบันเทิง” ที่จัดโดยยักษ์ใหญ่ Prime Video บริษัทป้อน 2 คอนเทนต์ อย่างละคร “ร้อยเล่มเกมส์ออฟฟิศ” และ “มือปราบกระทะรั่ว” ปลายปีได้ออกอากาศทั่วอาเซียนผ่านแพลฟอร์ม Prime Video
มุมมองปี 2567 ท้าทาย เศรษฐกิจโลก หนี้นอกระบบ มาตรการรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่กลยุทธ์การปั๊มรายได้จะเห็นการผลิตภาพยนตร์ 2-3 เรื่อง การมุ่งขยายฐานสมาชิก 3Plus Premium และบทบาทของบีอีซี สตูดิโอ จะผลิตคอนเทนต์ป้อนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งโลกมากขึ้น ปีนี้จะเห็นการต่อยอด “พรหมลิขิต” ด้วยการการบริหารลิขสิทธิ์ หาบริหารรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา(IP Right) การริเริ่มธุรกิจบริหารศิลปิน เป็นต้น
ช่องวัน31 เผชิญโจทย์ยากไม่แพ้กัน
วิก 3 พระราม 4 กำไรลดลงแล้ว อีกบริษัทก็ไม่ต่างกัน โดยผลงานของบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด(มหาชน) สร้างรายได้รวม 6,432.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% หรือคิดเป็นมูลค่า 303.8 ล้านบาท ทว่า “กำไรสุทธิอยู่ที่ 506.6 ล้านบาท ลดลง 31.4%”
เมื่อแบ่งรายได้จะพบว่า รายได้จากสื่อโทรทัศน์อยู่ที่ 2,834.4 ล้านบาท ลดลง 3.5% รายได้จากธุรกิจรับจ้างผลิตและบริการอยู่ที่ 297.4 ล้านบาท ลดลง 21% รายได้จากการบริหารลิขสิทธิ์อยู่ที่ 988.5 ล้านบาท ลดลง 26.5%
ส่วนธุรกิจบริหารศิลปินและที่ปรึกษาทำรายได้ 1,020.7 ล้านบาท เติบโต 48.2% จากปีก่อน รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและบริหารกิจกรรมอยู่ที่ 635.5 ล้านบาท เติบโตก้าวกระโดดถึง 111.2% รายได้จากการผลิตรายการวิทยุอยู่ที่ 290.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.8% รายได้จากการขายสินค้าอยู่ที่ 329.7% เพิ่มขึ้น 44.8% และรายได้จากการให้บริการสตูดิโออยู่ที่ 34.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.5%
เวิร์คพอยท์ กำไรหดตัว 92%
บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด(มหาชน) มีรายได้รวม 2,421.98 ล้านบาท ลดลง 1% จากปีก่อน ขณะที่ “กำไรสุทธิ 13.48 ล้านบาท หรือลดลง 157.93 ล้านบาท ลดลงคิดเป็น 92%” จากปีก่อน
เมื่อแยกย่อยรายได้ กลุ่มธุรกิจรายการทีวี ซึ่งมาจากการขายโฆษณา และโปรโมทในช่วงเวลาต่างๆของช่อง เวิร์คพอยท์(workpoint) รวมถึงช่องทางสื่อออนไลน์ของบริษัท การรับจ้างผลิตรายการ รวมถึงรายได้จากการจำหน่ายลิขสิทธิ์รายการไปยังต่างประเทศ ฯ อยู่ที่ 1,896.24 ล้านบาท ลดลง 9% จากปีก่อน อันเป็นผลจาก “เม็ดงินโฆษณาทางทีวี” อยู่ในภาวะ “ชะลอตัว” ตามทิศทางเศรษฐกิจ
เวิร์คพอยท์ระบุด้วยว่า “เม็ดเงินโฆษณาทางทีวี” ลดลงกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต
ส่วนรายได้อื่น เช่น การรับจ้างจัดงานหรืออีเวนต์ อยู่ที่ 158.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและละครเวที อยู่ที่ 291.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 105% เพราะมีงานมากขึ้นทั้งคอนเสิร์ตและละครเวที เช่น งาน JAYB World Tour 2023 in Bangkok IVE FANCON in Bangkok 2023 (G)I-DLE Concert in Bangkok 2023 เป็นต้น
ขณะที่รายได้จากการขายสินค้าและบริการอื่น เช่น บริการพื้นที่โรงละคร การจัดหานักแสดง ฯ อยู่ที่ 72.94 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27%
โมโน29 เจ็บหนักขาดทุน 255.1 ล้านบาท!!
ด้านบริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด(มหาชน)หรือช่อง MONO29 บริษัททำรายได้รวม 1,895.4 ล้านบาท ลดลง 9.4% จากปีก่อน โดยรายได้จากโฆษณาอยู่ที่ 1,1140.7 ล้านบาท ลดลง 21.4% รายได้จากการให้บริการคอนเทนต์ผ่าน MONOMAX / GIGATV อยู่ที่ 700.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.3% รายได้จากการขายสินค้าผ่านทีวีโฮมชอปปิงอยู่ที่ 30.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.9% และรายได้อื่นๆอยู่ที่ 24.4 ล้านบาท ลดลง 49.5%
ขณะที่ตัวเลขน่าสนใจคือ “กำไร” เพราะทั้งปี 2566 บริษัทประสบภาวะ “ขาดทุน” ถึง 255.1 ล้านบาท เป็นการลดลงรุนแรงถึง 468.1% จากปี 2565 ที่ยังมีอัตรา “กำไร” 69.3 ล้านบาท และยังเป็นการกลับมาขาดทุนอีกครั้งหลังจากเผชิญ Red Zone เมื่อปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ระบาด ทำให้บริษัทขาดทุน 524 ล้านบาท
สำหรับการขาดทุน เกิดจากผลกระทบของ “เม็ดเงินโฆษณาดลง” จากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และภาวะ “ดอกเบี้ยสูง” ตลอดจน “กำลังซื้อชะลอตัว”
เขย่าโครงสร้าง ลดขนาดองค์กรเพื่อรอด!
ในปี 2567 บริษัทประกาศ “ปรับโครงสร้างการทำงาน” และ “ลดขนาดองค์กร” เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินการทางธุรกิจ สามารถขับเคลื่อนและบรรลุเป้าหมายที่ท้าทายในอนาคต
กลยุทธ์รอดในปี 2567 โมโนยังคงลุยสตรีมมิงแบบบอกรับสมาชิก(SVOD)ภายใต้แพลตฟอร์มของบริษัทอย่าง MONOMAX ที่ดึงซีรีส์จีนฟอร์มยักษ์ระดับ S+ (ทุ่มทุนสร้างมหาศาล นักแสดงตัวท็อป ฯ) ซีรีส์เกาหลี และซีรีส์ญี่ปุ่น เป็นอีกแม่เหล็กดึงคนดู ที่สำคัญยัง “พากย์ไทย” และซับไทยครบทุกเรื่องตอบจริตทั้งดู และเปิดทีวีเพื่อฟังเรื่องราว
นอกจากนี้ คอนเทนต์ของช่องหรือ MONO Original ยังเดินหน้าผลิต โดยปี 2567 จะมีภาพยนตร์และละครหลากรสชาติ ทั้งแอ็คชั่น สืบสวนสอบสวน ดรามา โรแมนติกฯ มากถึง 24 เรื่อง
ด้านธุรกิจทีวีดิจิทัล ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก MONO29 ยังชูจุดยืนการตลาดหรือ Positioning ในการเป็นช่อง “หนังดี ซีรีส์ดัง” ตอบโจทย์คนดู ผลักดันเรทติ้ง ดึงเม็ดเงินโฆษณา ซึ่งคอนเทนต์เด็ดยังเป็น ภาพยนตร์และซีรีส์แนวแอ็คชั่น-แฟนตาซีจากฮอลลีวูด รวมถึงหนังจีน อินเดีย ญี่ปุ่น ฯ และยังเสริมทัพด้วยเอ็กซ์คลูสีฟคอนเทนต์ เป็นต้น