พิธา ลุยพิษณุโลก รับฟังปัญหาที่ดิน ก่อนร่วมเสวนานักธุรกิจรุ่นใหม่ มองศก. 5 ปีข้างหน้า
https://www.matichon.co.th/politics/news_4442508
พิธา ลุยพิษณุโลก รับฟังปัญหาที่ดิน ก่อนร่วมเสวนานักธุรกิจรุ่นใหม่ มองศก. 5 ปีข้างหน้า
เมื่อเวลา 14.00 น วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ณ ห้องคอนเวนชั่นฮอล โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าจังหวัดพิษณุโลก (YEC Phitsanulok) ได้จัดงาน PED TALK โลกธุรกิจ ใน 5 ปี ข้างหน้า โดยมี นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล บรรยายพิเศษ หัวข้อเรื่อง ธุรกิจโลก ธุรกิจไทย ในอีก 5 ปี ข้างหน้า
นาย
พิธา กล่าวว่า วันนี้ได้เดินทางมาจังหวัดพิษณุโลก เพื่อปฏิบัติภารกิจ 2 อำเภอ 2 เรื่องด้วยกัน ภารกิจแรกที่อำเภอวัดโบสถ์ เป็นปัญหาที่ดิน ทำมาหากินของประชาชน เป็นเรื่องป่าทับที่ติดอยู่ในป่าสงวน แต่เป็นป่าสงวนที่เสื่อมโทรมแล้ว แต่ประชาชนเข้าถึงสาธารณูปโภคไม่ได้ เสร็จจากอำเภอห้วยโบสถ์แล้วเดินทางสู่อำเภอเมืองพิษณุโลก มาพบเครือข่าย YEC พิษณุโลก เพื่อมาพูดคุยเรื่องเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก ในอีก 5 ปีข้างหน้า
นางสาว
กนกนาถ ลิขิตไพรวัลย์ ประธาน YEC Phitsanulok กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า การจัดงาน PED TALK โลกธุรกิจ ใน 5 ปี ข้างหน้า เป็นการเสวนา จากผู้ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจ ในเรื่องเศรษฐกิจ การตลาด วัฒนธรรม ของไทยในอนาคต ให้แก่สมาชิกYEC Phitsanulok กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนำความรู้ไปใช้กับธุรกิจตนเองในอนาคต
‘ธิดา’ ทวงคำสัญญา 8 ข้อ รออีก 4 ปีไม่ไหว คดีใกล้หมดอายุความ ขอคืนยุติธรรมวีรชนเสื้อแดง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4442196
‘ธิดา’ ทวงคำสัญญา 8 ข้อ รออีก 4 ปีไม่ไหว คดีใกล้หมดอายุความ ขอคืนยุติธรรมวีรชนเสื้อแดง
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณ 10.00 น. ที่สำนักงานกฎหมาย
ธนา เบญจาทิกุล หมู่บ้านชวนชื่นโมดัช วิภาวดี เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ คณะประชาชนทวงคืนความยุติธรรม (คปช.53) ร่วมกันแถลงข่าว ‘
การทวงความยุติธรรมให้วีรชนคนเสื้อแดง 2553’ ต่อพรรคการเมืองทั้งพรรคฝ่ายค้านและพรรคฝ่ายรัฐบาล โดยมีนาง
ธิดา ถาวรเศรษฐ, นายแพทย์
เหวง โตจิราการ และญาติวีรชน ร่วมแถลง
โดยนาง
ธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แกนนำคนเสื้อแดง กล่าวว่า
ในวันนี้เราต้องจัดแสดงข่าวในนาม คปช. 53 หรือคณะประชาชนทวงความยุติธรรม 2553 ซึ่งเป็นคณะที่ปฎิติภารกิจต่อเนื่องจาก นปช. การปราบปรามเสื้อแดงในปี 2553 เรื่องราวต่างๆถูกแช่แข็งยุติตั้งแต่มีการรัฐประหารเป็นต้นมา บัดนี้เป็นระยะเวลาอีกไม่นานที่จะหมดอายุความแล้ว แม้ว่า ผลการเลือกตั้งพรรคการเมืองฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตย รวมกันแล้ว เป็น 64 % ของผู้มาออกเสียง ซึ่งน่าจะได้เป็นรัฐบาลร่วมกัน ถึงอย่างไรก็ตามแม้จะมีรัฐบาลผสม และฝ่ายเสรีประชาธิปไตยเป็นฝ่ายค้าน แต่เราไม่สามารถผ่านเวลาให้เฉยๆ 4 ปีได้” นาง
ธิดา กล่าว
นาง
ธิดา กล่าวต่อว่า นี่เป็นสิ่งที่เราต้องขับเคลื่อนภารกิจจาก นปช. ซึ่งยังไม่เสร็จสิ้น องค์กรนำ นปช. ต่างฝ่ายต่างแยกย้ายไปทำภารกิจของตนเอง เราเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2565 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ จากนั้นเราได้ดำเนินการมาเป็นลำดับ จนมาเป็นองค์กร คปช. เพราะเราไม่สามารถทำงานในนำ นปช. ได้ เนื่องจากองค์กรเหล่านั้นแยกย้ายกันไปอยู่คนละส่วน เรามองว่า เราได้เสียเวลามากมาย ในการทำรัฐประหาร และการสืบทอดอำนาจ ในรัฐบาลพลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ดังนั้นเราจึงเริ่มต้น ในช่วงปี 2565 ก่อนจะมีการเลือกตั้งในปี 2566 เราจำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อน เพราะมีพรรคการเมือง ที่อ้างตนเองว่าเป็นพรรคฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ไม่เอาคนสืบทอดอำนาจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีต่อประชาชน ผล 64 % เลือกพรรคฝ่ายเสรีประชาธิปไตย แม้รัฐบาลที่ได้มาจะเป็นรัฐบาลผสม แต่เราไม่สามารถปล่อยเวลาไปได้
“เราขอแจ้งคนเสื้อแดงว่า เราเหลือเวลาไม่นาน ที่คดีจะหมดอายุความ เราจะรอรัฐบาลที่เป็นเสรีประชาธิปไตยทั้งหมดเราก็รอไม่ได้ ดังนั้น คปช. เราตั้งขึ้นเพื่อทำภารกิจที่ยังค้างอยู่ ในฐานะที่ตนเป็นอดีตประธานนปช. และเป็นแกนนำที่อยู่มาถึงการทำรัฐประหาร ถือว่าเป็นภารกิจที่ขับเคลื่อนร่วมกับทนาย เราทวงความยุติธรรมในอดีตให้กับผู้เสียชีวิต ประชาชนในปัจจุบัน และลูกหลานในอนาคต” นาง
ธิดา กล่าว
นาง
ธิดา กล่าวต่อว่า เมื่อในอดีตไม่ได้ถูกสะสาง ก็ไม่เป็นหลักประกันเลยว่าลูกหลานเราในอนาคตจะถูกฆ่าตายมือเปล่าอย่างโหดเหี้ยม ทั้งหมดร่วม 100 ศพ ผ่านการไต่สวนไป 33 ศพ ยังเหลือไม่ได้ทำการใดๆ อีก 62 ศพ และคดีต่างๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าคนเสื้อแดงเป็นคนมีระเบิด เป็นพวกก่อการรุนแรง แต่ศาลก็ยกฟ้องหมด ในบรรดาทั้งหมดนั้น 17 ศพที่ผ่านการไต่สวน ศาลบอกว่า ผู้ที่กระทำให้แก่ความตาย ก็คือเจ้าหน้าที่รัฐ อีก 15 ศพ บอกไม่รู้มาจากที่ไหน แต่คือช่วงเวลาเดียวกัน ยกตัวอย่าง ฮิโรยูกิ
ดังนั้นเราจึงมีการขับเคลื่อน 23 กุมภาพันธ์ 2566 ในตอนนี้เราครบ 1 ปีพอดี เราคิดว่าสมควรแก่เวลาพรรคการเมืองฝ่ายค้าน และรัฐบาล ต้องพิจารณาในสิ่งที่ให้คำมั่นสัญญา ทั้งในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 และวันที่ 10 เมษายน 2566 ก่อนการเลือกตั้ง เราถอดทุกคำพูด ทุกคำมั่นสัญญา แม้กระทั้งพรรคเพื่อไทย แต่ยกเว้นเรื่องไอซีซี
เราจะนำเอกสารทวงคำมั่นสัญญาเป็นจดหมายเปิดผนึกต่อพรรคการเมืองเพื่อถาม ว่าสิ่งที่คุณให้คำมั่นสัญญาในวันที่ 10 เมษายน 2566 เราจะไปมอบในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่พรรคเพื่อไทย และ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา ในจดหมายเปิดผนึก มี 8 ข้อ ซึ่งข้อเสนอเราเป็นข้อเสนอตามกฏหมาย ทั้งชอบธรรม และชอบด้วยกฎหมาย
“
1. ให้ตั้งคณะกรรมการและทำงาน ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายรัฐบาลที่มีอำนาจสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ตัวแทนฝ่ายผู้สูญเสีย นักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน นักกฎหมาย เพื่อตรวจสอบคดีความที่ถูกแช่แข็ง บิดเบือนไม่ปฏิบัติตามตามหลักนิติรัฐนิติธรรม หมายความรวมคดีที่ปฏิบัติต่อประชาชนตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา
2. แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิรัฐธรรมนูญศาลทหาร รัฐธรรมศาลยุติธรรม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย วิธีการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใน ในกรณีที่ทหารหรือนักการเมือง ทำความผิดทางอาญาต่อประชาชน ให้ขึ้นศาลพลเรือน ไม่ใช่ทหารขึ้นศาลทหาร ดั่งที่เป็นอยู่นี่
3. ในจดหมายฉบับนี้ขอให้ลงนามรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ
4. แก้ไขรัฐธรรมนูญ
5. แก้ไขกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง
6. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และปฏิรูปกองทัพ
7. กระจายอำนาจแก้ระบอบอุปถัมภ์
8. แก้ปัญหาวุฒิสมาชิก ” นาง
ธิดากล่าว
นาง
ธิดา กล่าวต่อว่า นอกจากการทวงความยุติธรรม เราต้องทวงการเมืองให้อยู่ในระบอบประชาธิปไตย เพราะว่ายุติธรรมในระบอบอื่น หรือจารีต ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่งในการบังคับใช้กฎหมาย แต่ถ้าเป็นความยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตย นั่นก็คือ ความขัดแย้งประชาชนกับผู้ปกครองจะหมดไป
ดังนั้น กระบวนการทวงคืนความยุติธรรม มันต้องผนวกเข้ากับการเรียกร้องประชาธิปไตย และทำให้ประเทศนี่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทาง การปฏิรูปและแก้ไขรัฐธรรมนูญ
“
เราต้องปฏิรูปโครงสร้างของประเทศไทย ให้อยู่ในระบอบประชาธิปไตย หาไม่แล้วความยุติธรรมของประชาชนจะไม่ได้ และสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาอีก ข้อเรียกร้องทั้งหมดคือการทวงความยุติธรรม และทวงอำนาจประชาชน เพื่อให้อนาคตของประเทศสามารถเดินหน้าไปได้
ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่พรรคเพื่อไทย และ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา เราต้องการไปแปลให้ข้อเรียกร้อง ให้คำมั่นสัญญาเป็นการปฏิบัติ เราจึงจำเป็นต้องมาแถลงข่าวในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นพรรคฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายค้าน เราจึงจำเป็นต้องขอความร่วมมือ เราต้องเดินไปข้างหน้า” นาง
ธิดา กล่าว
นาง
ธิดา กล่าวว่า แกนนำของ นปช. คนอื่น ตนคิดว่าส่วนลึกในหัวใจ เขาต้องการทวงคืนความยุติธรรม แต่เนื่องด้วยภารกิจของเขา บางคนก็ไปตั้งคณะประชาชนหลอมรวม หรือคณะต่างๆ เราได้ดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง เพราะเราคิดว่านี่คือช่วงเวลาที่ขอคำมั่นสัญญาจากพรรคการเมือง
“
เรามีหัวใจที่จะทำ เป็นภารกิจที่เรายังทำไม่เสร็จ และเป็นภารกิจที่เกี่ยวข้องกับอนาคต เราทำด้วยจิตสำนึก ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะมีผลประโยชน์ หรือหนุนพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง เรามาทวงความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียชีวิตในอดีต ในปัจจุบัน และอนาคต” นางธิดากล่าว
เครดิตภาพ : สำนักข่าวราษฎร – Ratsadon News
ก้าวไกล มองเศรษฐาพบทักษิณ ทำสังคมตั้งคำถามแล้ว แนะสร้างความเชื่อมั่นมีนายกฯคนเดียว
https://www.matichon.co.th/politics/news_4442309
ก้าวไกล มองเศรษฐาพบทักษิณ ทำสังคมตั้งคำถามแล้ว แนะสร้างความเชื่อมั่นมีนายกฯ คนเดียว
‘ภคมน หนุนอนันต์’ รองโฆษกก้าวไกล มอง ‘เศรษฐา’ พบ ‘ทักษิณ’ ด้วยรถประจำตำแหน่งก็สื่อนัย ทำสังคมตั้งคำถามแล้ว แนะให้สร้างความเชื่อมั่นประชาชนว่ามีนายกฯ คนเดียว ปฏิเสธไม่ได้ อดีตนักการเมือง-รมต.เข้าเยี่ยมเยียนไร้เอี่ยวการเมือง
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ น.ส.
ภคมน หนุนอนันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางเข้าพบ นาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สามารถสื่อถึงนัยทางการเมืองได้อย่างไรบ้าง แม้นายกฯ จะระบุว่าเป็นการมาเยี่ยมเพื่อให้กำลังใจและขอคำปรึกษา ว่า สื่อนัยตั้งแต่การที่นายเศรษฐาเดินทางมาด้วยรถยนต์ประจำตำแหน่ง เพราะหากบอกว่านี่เป็นครั้งแรกที่นาย
เศรษฐาเข้าเยี่ยมนาย
ทักษิณ ตั้งแต่เริ่มมีอาการป่วย และเข้ารับการรักษา สังคมก็คงตั้งคำถาม และไม่มีใครเชื่อแน่ๆ การปรากฏตัวต่อสื่อมวลชน และการเดินทางไปด้วยรถประจำตำแหน่งนั้น ก็น่าคิดว่าอาจเป็นการส่งสัญญาณ หรือตอกย้ำคำตอบหรือไม่ ว่านายกฯ ประเทศไทยคือใครกันแน่
ส่วนหลังจากที่นาย
ทักษิณออกจากโรงพยาบาล และนาย
เศรษฐาเดินทางเข้าพบ เพื่อขอคำปรึกษาต่างๆ เป็นสิ่งที่ประชาชนคงจะตั้งตารอว่า นาย
เศรษฐาสามารถยืนยันได้หรือไม่ว่า ตนเองมีเอกภาพในการบริหารประเทศ และจะสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้หรือไม่ ว่านายกฯ ประเทศไทยคือนาย
เศรษฐาคนเดียว เราคาดหวังว่านายเศรษฐาจะสามารถยืนยัน และดำเนินงานโดยสังคมไม่ต้องตั้งคำถาม มีศักยภาพมากพอ ที่จะพิสูจน์ผลงานให้ประชาชนเห็น สุดท้ายต้องอยู่ที่นาย
เศรษฐาเอง ว่าจะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นแบบนั้นได้หรือไม่ และตนในฐานะตัวแทนพรรค ก.ก. ก็เชื่อมั่นว่านาย
เศรษฐามีศักยภาพ และจะกล้าหาญมากพอในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้วยตัวเอง
น.ส.
ภคมนกล่าวต่อว่า หากจะมีคณะรัฐมนตรี หรืออดีตนักการเมืองเข้าเยี่ยม ก็คงปฏิเสธไม่ได้ ต่อให้มีการยืนยันว่าเป็นการเข้าเยี่ยมผู้ป่วยก็ตาม เพราะนายทักษิณเองคือบุคคลสำคัญ ซึ่งก่อนที่นายทักษิณจะกลับประเทศไทย ก็มีบุคคลสำคัญในประเทศไทยมากมาย ที่เดินทางเข้าไปพบปะเยี่ยมนายทักษิณเป็นปกติอยู่แล้ว และวันนี้นายทักษิณก็อยู่ในประเทศไทยแล้ว คงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีบุคคลสำคัญเข้าเยี่ยม ซึ่งก็อาจจะเป็นการเยี่ยมเยียนด้วยกัลยาณมิตรจริงๆ
“
แต่อย่างที่บอกตอนต้น ว่าปฏิเสธไม่ได้ว่านายทักษิณ เป็นบุคคลที่มีบทบาทกับการเมืองไทยมาโดยตลอด ดังนั้นไม่ว่าใครที่เดินทางเข้าพบนายทักษิณในครั้งนี้ คงไม่สามารถไม่เชื่อมโยงเข้ากับการเมืองได้ แต่ก็ยังยืนยันว่า นายเศรษฐาก็จะพิสูจน์ให้ได้ว่า ต่อให้คณะรัฐมนตรี พรรคร่วมอื่นๆ เข้าเยี่ยมนายทักษิณ นายเศรษฐาก็ต้องสามารถยืนย
JJNY : 5in1 พิธาลุยพิษณุโลก│‘ธิดา’ทวงคำสัญญา│ก้าวไกลมองเศรษฐาพบทักษิณ│ก้าวไกลจ่อล็อกเป้างบ’68│จี7จะเข้มงวดน้ำมันรัสเซีย
https://www.matichon.co.th/politics/news_4442508
พิธา ลุยพิษณุโลก รับฟังปัญหาที่ดิน ก่อนร่วมเสวนานักธุรกิจรุ่นใหม่ มองศก. 5 ปีข้างหน้า
เมื่อเวลา 14.00 น วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ณ ห้องคอนเวนชั่นฮอล โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าจังหวัดพิษณุโลก (YEC Phitsanulok) ได้จัดงาน PED TALK โลกธุรกิจ ใน 5 ปี ข้างหน้า โดยมี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล บรรยายพิเศษ หัวข้อเรื่อง ธุรกิจโลก ธุรกิจไทย ในอีก 5 ปี ข้างหน้า
นายพิธา กล่าวว่า วันนี้ได้เดินทางมาจังหวัดพิษณุโลก เพื่อปฏิบัติภารกิจ 2 อำเภอ 2 เรื่องด้วยกัน ภารกิจแรกที่อำเภอวัดโบสถ์ เป็นปัญหาที่ดิน ทำมาหากินของประชาชน เป็นเรื่องป่าทับที่ติดอยู่ในป่าสงวน แต่เป็นป่าสงวนที่เสื่อมโทรมแล้ว แต่ประชาชนเข้าถึงสาธารณูปโภคไม่ได้ เสร็จจากอำเภอห้วยโบสถ์แล้วเดินทางสู่อำเภอเมืองพิษณุโลก มาพบเครือข่าย YEC พิษณุโลก เพื่อมาพูดคุยเรื่องเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก ในอีก 5 ปีข้างหน้า
นางสาวกนกนาถ ลิขิตไพรวัลย์ ประธาน YEC Phitsanulok กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า การจัดงาน PED TALK โลกธุรกิจ ใน 5 ปี ข้างหน้า เป็นการเสวนา จากผู้ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจ ในเรื่องเศรษฐกิจ การตลาด วัฒนธรรม ของไทยในอนาคต ให้แก่สมาชิกYEC Phitsanulok กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนำความรู้ไปใช้กับธุรกิจตนเองในอนาคต
‘ธิดา’ ทวงคำสัญญา 8 ข้อ รออีก 4 ปีไม่ไหว คดีใกล้หมดอายุความ ขอคืนยุติธรรมวีรชนเสื้อแดง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4442196
‘ธิดา’ ทวงคำสัญญา 8 ข้อ รออีก 4 ปีไม่ไหว คดีใกล้หมดอายุความ ขอคืนยุติธรรมวีรชนเสื้อแดง
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณ 10.00 น. ที่สำนักงานกฎหมายธนา เบญจาทิกุล หมู่บ้านชวนชื่นโมดัช วิภาวดี เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ คณะประชาชนทวงคืนความยุติธรรม (คปช.53) ร่วมกันแถลงข่าว ‘การทวงความยุติธรรมให้วีรชนคนเสื้อแดง 2553’ ต่อพรรคการเมืองทั้งพรรคฝ่ายค้านและพรรคฝ่ายรัฐบาล โดยมีนางธิดา ถาวรเศรษฐ, นายแพทย์เหวง โตจิราการ และญาติวีรชน ร่วมแถลง
โดยนางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แกนนำคนเสื้อแดง กล่าวว่า ในวันนี้เราต้องจัดแสดงข่าวในนาม คปช. 53 หรือคณะประชาชนทวงความยุติธรรม 2553 ซึ่งเป็นคณะที่ปฎิติภารกิจต่อเนื่องจาก นปช. การปราบปรามเสื้อแดงในปี 2553 เรื่องราวต่างๆถูกแช่แข็งยุติตั้งแต่มีการรัฐประหารเป็นต้นมา บัดนี้เป็นระยะเวลาอีกไม่นานที่จะหมดอายุความแล้ว แม้ว่า ผลการเลือกตั้งพรรคการเมืองฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตย รวมกันแล้ว เป็น 64 % ของผู้มาออกเสียง ซึ่งน่าจะได้เป็นรัฐบาลร่วมกัน ถึงอย่างไรก็ตามแม้จะมีรัฐบาลผสม และฝ่ายเสรีประชาธิปไตยเป็นฝ่ายค้าน แต่เราไม่สามารถผ่านเวลาให้เฉยๆ 4 ปีได้” นางธิดา กล่าว
นางธิดา กล่าวต่อว่า นี่เป็นสิ่งที่เราต้องขับเคลื่อนภารกิจจาก นปช. ซึ่งยังไม่เสร็จสิ้น องค์กรนำ นปช. ต่างฝ่ายต่างแยกย้ายไปทำภารกิจของตนเอง เราเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2565 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ จากนั้นเราได้ดำเนินการมาเป็นลำดับ จนมาเป็นองค์กร คปช. เพราะเราไม่สามารถทำงานในนำ นปช. ได้ เนื่องจากองค์กรเหล่านั้นแยกย้ายกันไปอยู่คนละส่วน เรามองว่า เราได้เสียเวลามากมาย ในการทำรัฐประหาร และการสืบทอดอำนาจ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ดังนั้นเราจึงเริ่มต้น ในช่วงปี 2565 ก่อนจะมีการเลือกตั้งในปี 2566 เราจำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อน เพราะมีพรรคการเมือง ที่อ้างตนเองว่าเป็นพรรคฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ไม่เอาคนสืบทอดอำนาจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีต่อประชาชน ผล 64 % เลือกพรรคฝ่ายเสรีประชาธิปไตย แม้รัฐบาลที่ได้มาจะเป็นรัฐบาลผสม แต่เราไม่สามารถปล่อยเวลาไปได้
“เราขอแจ้งคนเสื้อแดงว่า เราเหลือเวลาไม่นาน ที่คดีจะหมดอายุความ เราจะรอรัฐบาลที่เป็นเสรีประชาธิปไตยทั้งหมดเราก็รอไม่ได้ ดังนั้น คปช. เราตั้งขึ้นเพื่อทำภารกิจที่ยังค้างอยู่ ในฐานะที่ตนเป็นอดีตประธานนปช. และเป็นแกนนำที่อยู่มาถึงการทำรัฐประหาร ถือว่าเป็นภารกิจที่ขับเคลื่อนร่วมกับทนาย เราทวงความยุติธรรมในอดีตให้กับผู้เสียชีวิต ประชาชนในปัจจุบัน และลูกหลานในอนาคต” นางธิดา กล่าว
นางธิดา กล่าวต่อว่า เมื่อในอดีตไม่ได้ถูกสะสาง ก็ไม่เป็นหลักประกันเลยว่าลูกหลานเราในอนาคตจะถูกฆ่าตายมือเปล่าอย่างโหดเหี้ยม ทั้งหมดร่วม 100 ศพ ผ่านการไต่สวนไป 33 ศพ ยังเหลือไม่ได้ทำการใดๆ อีก 62 ศพ และคดีต่างๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าคนเสื้อแดงเป็นคนมีระเบิด เป็นพวกก่อการรุนแรง แต่ศาลก็ยกฟ้องหมด ในบรรดาทั้งหมดนั้น 17 ศพที่ผ่านการไต่สวน ศาลบอกว่า ผู้ที่กระทำให้แก่ความตาย ก็คือเจ้าหน้าที่รัฐ อีก 15 ศพ บอกไม่รู้มาจากที่ไหน แต่คือช่วงเวลาเดียวกัน ยกตัวอย่าง ฮิโรยูกิ
ดังนั้นเราจึงมีการขับเคลื่อน 23 กุมภาพันธ์ 2566 ในตอนนี้เราครบ 1 ปีพอดี เราคิดว่าสมควรแก่เวลาพรรคการเมืองฝ่ายค้าน และรัฐบาล ต้องพิจารณาในสิ่งที่ให้คำมั่นสัญญา ทั้งในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 และวันที่ 10 เมษายน 2566 ก่อนการเลือกตั้ง เราถอดทุกคำพูด ทุกคำมั่นสัญญา แม้กระทั้งพรรคเพื่อไทย แต่ยกเว้นเรื่องไอซีซี
เราจะนำเอกสารทวงคำมั่นสัญญาเป็นจดหมายเปิดผนึกต่อพรรคการเมืองเพื่อถาม ว่าสิ่งที่คุณให้คำมั่นสัญญาในวันที่ 10 เมษายน 2566 เราจะไปมอบในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่พรรคเพื่อไทย และ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา ในจดหมายเปิดผนึก มี 8 ข้อ ซึ่งข้อเสนอเราเป็นข้อเสนอตามกฏหมาย ทั้งชอบธรรม และชอบด้วยกฎหมาย
“1. ให้ตั้งคณะกรรมการและทำงาน ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายรัฐบาลที่มีอำนาจสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ตัวแทนฝ่ายผู้สูญเสีย นักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน นักกฎหมาย เพื่อตรวจสอบคดีความที่ถูกแช่แข็ง บิดเบือนไม่ปฏิบัติตามตามหลักนิติรัฐนิติธรรม หมายความรวมคดีที่ปฏิบัติต่อประชาชนตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา
2. แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิรัฐธรรมนูญศาลทหาร รัฐธรรมศาลยุติธรรม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย วิธีการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใน ในกรณีที่ทหารหรือนักการเมือง ทำความผิดทางอาญาต่อประชาชน ให้ขึ้นศาลพลเรือน ไม่ใช่ทหารขึ้นศาลทหาร ดั่งที่เป็นอยู่นี่
3. ในจดหมายฉบับนี้ขอให้ลงนามรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ
4. แก้ไขรัฐธรรมนูญ
5. แก้ไขกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง
6. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และปฏิรูปกองทัพ
7. กระจายอำนาจแก้ระบอบอุปถัมภ์
8. แก้ปัญหาวุฒิสมาชิก ” นางธิดากล่าว
นางธิดา กล่าวต่อว่า นอกจากการทวงความยุติธรรม เราต้องทวงการเมืองให้อยู่ในระบอบประชาธิปไตย เพราะว่ายุติธรรมในระบอบอื่น หรือจารีต ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่งในการบังคับใช้กฎหมาย แต่ถ้าเป็นความยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตย นั่นก็คือ ความขัดแย้งประชาชนกับผู้ปกครองจะหมดไป
ดังนั้น กระบวนการทวงคืนความยุติธรรม มันต้องผนวกเข้ากับการเรียกร้องประชาธิปไตย และทำให้ประเทศนี่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทาง การปฏิรูปและแก้ไขรัฐธรรมนูญ
“เราต้องปฏิรูปโครงสร้างของประเทศไทย ให้อยู่ในระบอบประชาธิปไตย หาไม่แล้วความยุติธรรมของประชาชนจะไม่ได้ และสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาอีก ข้อเรียกร้องทั้งหมดคือการทวงความยุติธรรม และทวงอำนาจประชาชน เพื่อให้อนาคตของประเทศสามารถเดินหน้าไปได้
ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่พรรคเพื่อไทย และ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา เราต้องการไปแปลให้ข้อเรียกร้อง ให้คำมั่นสัญญาเป็นการปฏิบัติ เราจึงจำเป็นต้องมาแถลงข่าวในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นพรรคฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายค้าน เราจึงจำเป็นต้องขอความร่วมมือ เราต้องเดินไปข้างหน้า” นางธิดา กล่าว
นางธิดา กล่าวว่า แกนนำของ นปช. คนอื่น ตนคิดว่าส่วนลึกในหัวใจ เขาต้องการทวงคืนความยุติธรรม แต่เนื่องด้วยภารกิจของเขา บางคนก็ไปตั้งคณะประชาชนหลอมรวม หรือคณะต่างๆ เราได้ดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง เพราะเราคิดว่านี่คือช่วงเวลาที่ขอคำมั่นสัญญาจากพรรคการเมือง
“เรามีหัวใจที่จะทำ เป็นภารกิจที่เรายังทำไม่เสร็จ และเป็นภารกิจที่เกี่ยวข้องกับอนาคต เราทำด้วยจิตสำนึก ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะมีผลประโยชน์ หรือหนุนพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง เรามาทวงความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียชีวิตในอดีต ในปัจจุบัน และอนาคต” นางธิดากล่าว
เครดิตภาพ : สำนักข่าวราษฎร – Ratsadon News
ก้าวไกล มองเศรษฐาพบทักษิณ ทำสังคมตั้งคำถามแล้ว แนะสร้างความเชื่อมั่นมีนายกฯคนเดียว
https://www.matichon.co.th/politics/news_4442309
ก้าวไกล มองเศรษฐาพบทักษิณ ทำสังคมตั้งคำถามแล้ว แนะสร้างความเชื่อมั่นมีนายกฯ คนเดียว
‘ภคมน หนุนอนันต์’ รองโฆษกก้าวไกล มอง ‘เศรษฐา’ พบ ‘ทักษิณ’ ด้วยรถประจำตำแหน่งก็สื่อนัย ทำสังคมตั้งคำถามแล้ว แนะให้สร้างความเชื่อมั่นประชาชนว่ามีนายกฯ คนเดียว ปฏิเสธไม่ได้ อดีตนักการเมือง-รมต.เข้าเยี่ยมเยียนไร้เอี่ยวการเมือง
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ น.ส.ภคมน หนุนอนันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางเข้าพบ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สามารถสื่อถึงนัยทางการเมืองได้อย่างไรบ้าง แม้นายกฯ จะระบุว่าเป็นการมาเยี่ยมเพื่อให้กำลังใจและขอคำปรึกษา ว่า สื่อนัยตั้งแต่การที่นายเศรษฐาเดินทางมาด้วยรถยนต์ประจำตำแหน่ง เพราะหากบอกว่านี่เป็นครั้งแรกที่นายเศรษฐาเข้าเยี่ยมนายทักษิณ ตั้งแต่เริ่มมีอาการป่วย และเข้ารับการรักษา สังคมก็คงตั้งคำถาม และไม่มีใครเชื่อแน่ๆ การปรากฏตัวต่อสื่อมวลชน และการเดินทางไปด้วยรถประจำตำแหน่งนั้น ก็น่าคิดว่าอาจเป็นการส่งสัญญาณ หรือตอกย้ำคำตอบหรือไม่ ว่านายกฯ ประเทศไทยคือใครกันแน่
ส่วนหลังจากที่นายทักษิณออกจากโรงพยาบาล และนายเศรษฐาเดินทางเข้าพบ เพื่อขอคำปรึกษาต่างๆ เป็นสิ่งที่ประชาชนคงจะตั้งตารอว่า นายเศรษฐาสามารถยืนยันได้หรือไม่ว่า ตนเองมีเอกภาพในการบริหารประเทศ และจะสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้หรือไม่ ว่านายกฯ ประเทศไทยคือนายเศรษฐาคนเดียว เราคาดหวังว่านายเศรษฐาจะสามารถยืนยัน และดำเนินงานโดยสังคมไม่ต้องตั้งคำถาม มีศักยภาพมากพอ ที่จะพิสูจน์ผลงานให้ประชาชนเห็น สุดท้ายต้องอยู่ที่นายเศรษฐาเอง ว่าจะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นแบบนั้นได้หรือไม่ และตนในฐานะตัวแทนพรรค ก.ก. ก็เชื่อมั่นว่านายเศรษฐามีศักยภาพ และจะกล้าหาญมากพอในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้วยตัวเอง
น.ส.ภคมนกล่าวต่อว่า หากจะมีคณะรัฐมนตรี หรืออดีตนักการเมืองเข้าเยี่ยม ก็คงปฏิเสธไม่ได้ ต่อให้มีการยืนยันว่าเป็นการเข้าเยี่ยมผู้ป่วยก็ตาม เพราะนายทักษิณเองคือบุคคลสำคัญ ซึ่งก่อนที่นายทักษิณจะกลับประเทศไทย ก็มีบุคคลสำคัญในประเทศไทยมากมาย ที่เดินทางเข้าไปพบปะเยี่ยมนายทักษิณเป็นปกติอยู่แล้ว และวันนี้นายทักษิณก็อยู่ในประเทศไทยแล้ว คงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีบุคคลสำคัญเข้าเยี่ยม ซึ่งก็อาจจะเป็นการเยี่ยมเยียนด้วยกัลยาณมิตรจริงๆ
“แต่อย่างที่บอกตอนต้น ว่าปฏิเสธไม่ได้ว่านายทักษิณ เป็นบุคคลที่มีบทบาทกับการเมืองไทยมาโดยตลอด ดังนั้นไม่ว่าใครที่เดินทางเข้าพบนายทักษิณในครั้งนี้ คงไม่สามารถไม่เชื่อมโยงเข้ากับการเมืองได้ แต่ก็ยังยืนยันว่า นายเศรษฐาก็จะพิสูจน์ให้ได้ว่า ต่อให้คณะรัฐมนตรี พรรคร่วมอื่นๆ เข้าเยี่ยมนายทักษิณ นายเศรษฐาก็ต้องสามารถยืนย