การกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ของคุณพ่อสุขวิช รังสิตพล เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบการศึกษาเป็นเลิศ ปี 2550

กระทู้สนทนา
การกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ด้วยความเชื่อว่าผู้ปกครอง และ คนในท้องถิ่น รักหวังดี และเข้าใจ ความต้องการของลูกหลาน ในยุคการอภิวัฒน์การศึกษาไทย 2538

ที่มา https://drive.google.com/file/d/1koBrisaqUuQy33QBcQWKHNMe-VMFGrr7/view


4)การปฏิรูประบบบริหารการศึกษามุ่งกระจายอำนาจ เพื่อเอื้อให้สถานศึกษามีอำนาจตัดสินใจด้านการบริหาร และการจัดบริการทางการศึกษาที่
เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในท้องถิ่นมากที่สุด พัฒนาองค์กรรองรับการกระจายอำนาจในระดับจังหวัดให้เข้มแข็ง พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และเอกชนโดย

1. กำหนดหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการจัดบริการทางการศึกษาและองค์กรประสานงานในระดับจังหวัดสำหรับบริหารการศึกษาในท้องถิ่น และในการจัดบริการทางการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท เพื่อให้เกิดความชัดเจนในด้านภารกิจ พื้นที่บริการ งบประมาณ และบุคลากร ตลอดจนจัดแบ่งสัดส่วนความรับผิดชอบการจัดบริการทั้งสถานศึกษาของรัฐบาลและเอกชนทุกสังกัด รวมทั้งวางระบบเครือข่ายการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้อยู่ภายใต้นโยบาย การบริหาร มาตรฐาน และการประเมินผลที่เป็นเอกภาพในแต่ละระดับและแต่ละประเภท โดยกำหนด
หน่วยงานรับผิดชอบหลักไว้ดังนี้

1.1 ระดับก่อนประถมศึกษา ขยายการบริการศึกษา เด็กอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป และมุ่งเตรียมความพร้อมให้เด็กอย่างน้อย 1 ปี ก่อนเข้าเรียนระดับประถมศึกษา พร้อมทั้งให้บริการความรู้และทักษะการอบรมเลี้ยงดูเด็กแก่ ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก ตลอดจนสนับสนุนการจัดตั้งและ
ดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในท้องถิ่น การบริการการศึกษาระดับนี้อาจแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่

ช่วงอายุ 2 – 3 ขวบ มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน โดยเน้นการพัฒนาด้านอารมณ์ และสังคม 

ให้โรงเรียนเอกชนในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน รวมทั้งศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของหน่วยงานสังกัดต่างๆ สำนักงานคณะ กรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมการพัฒนาชุมชน กรมอนามัย กรมประชาสงเคราะห์ กรมตำรวจ เทศบาล กรุงเทพมหานคร องค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานอื่นๆ ร่วมกันรับผิดชอบ โดยมีสำเร็จนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็น หน่วยประสานงานกลางในระดับจังหวัด

ช่วงอายุ 4 – 5 ขวบ มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อนวัยเข้าเรียนระดับประถมศึกษา 

ให้โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลัก และโรงเรียนเอกชนในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน รวมทั้งศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของหน่วยงานสังกัดต่างๆอาทิ กรมการศาสนา สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กรมสามัญศึกษา กรมพลศึกษา กรมการพัฒนาชุมชน กรมอนามัย กรมตำรวจ กรมประชาสงเคราะห์ เทศบาล กรุงเทพมหานคร องค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงาน อื่นๆ ร่วมกันรับผิดชอบ

1.2 ระดับประถมศึกษา

ให้โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลัก โดยโรงเรียนเอกชนในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และสถานศึกษาของหน่วยงาน สังกัดต่างๆ อาทิ กรมสามัญศึกษา กรมการศาสนา สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ กรมศิลปากร กรมพลศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมตำรวจ กรมประชาสงเคราะห์ เทศบาล กรุงเทพมหานคร องค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานอื่นๆ ร่วมกันรับผิดชอบ

1.3 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ให้โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาเป็นหน่วยงานหลัก โดยมีโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานเสริม รวมทั้งให้โรงเรียนเอกชนในความดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และสถานศึกษาของหน่วยงานสังกัดต่างๆ อาทิ กรมการศาสนา สำนักบานสภาสถาบันราชภัฏ กรมศิลปากร กรมพลศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมตำรวจ กรมประชาสงเคราะห์ เทศบาลกรุงเทพมหานคร องค์การพัฒนาเอกชน และหน่วยงานอื่น ๆร่วมกัน รับผิดชอบ

สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา ที่มีพื้นที่บริการซ้ำซ้อนกันให้คณะกรรมการระดับจังหวัดพิจารณาแก้ไขเป็นรายกรณี หากในพื้นที่ใดโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด
กรมสามัญศึกษาไม่สามารถจัดบริการได้อย่างทั่วถึง ให้โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ พิจาณาเพิ่มจำนวนห้องเรียนหรือตั้งโรงเรียนเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

1.4 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ให้โรงเรียนมัธยมศึกษากรมสามัญศึกษาเป็นหน่วยงานหลักสายสามัญศึกษา และให้สถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาเป็นหน่วยงานหลักสายวิชาชีพ โดยมี
สถานศึกษาเอกชนในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และสถานศึกษาของหน่วยงานสังกัดต่างๆ อาทิ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กรมการศาสนา สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กรมสามัญศึกษา กรมพลศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน องค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงาน
อื่นๆ ร่วมกันรับผิดชอบ

1.5 ระดับอุดมศึกษา

ให้สถานศึกษาสังกัดกรมพลศึกษา กรมอาชีวศึกษา กรมศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยมีสถานศึกษาของเอกชนที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนร่วมดำเนินการ ทั้งนี้ ให้แต่ละหน่วยงานดำเนินการจัดการศึกษาให้ครบถ้วนตามบทบาทหน้าที่และภารกิจที่รับผิดชอบของแต่ละสังกัด โดยมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่ประสานแผนการผลิตนักศึกษา ทั้งในด้านพื้นที่ การจัดสาขาวิชา และความร่วมมือทางวิชาการรวมทั้งการประสานแผนการผลิตร่วมกับทบวงมหาวิยาลัย

2. มุ่งพัฒนาองค์กรในทุกระดับ ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อประสิทธิภาพการบริหาร การปรับรื้อโครงสร้างระบบบริหารงานเพื่อรองรับการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ภูมิภาคและสถานศึกษา โดยให้องค์คณะบุคคลระดับจังหวัดสามารถกำหนดนโยบายการศึกษาสนับสนุนความก้าวหน้าของบุคลากร และจัดสรรงบฯประมาณที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น รวมทั้งให้สถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาสามารถบริหารงานได้อย่างคล่องตัว และมีประสิทธิภาพสูงสุด

3. มุ่งส่งเสริมบทบาทของครอบครัว ชุมชน และเอกชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา โดยพัฒนาศักยภาพของครอบครัวให้เข้มแข็งด้วยมิติทางวัฒนธรรม ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายด้านการศึกษาในแต่ละระดับ สนับสนุนเอกชนที่ลงทุนด้วยการศึกษาให้กู้เงิน
ทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำ เร่งรัดการจัดตั้งสถานศึกษาและสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพสาขาขาดแคลน ในเขตพัฒนาอุตสาหกรรม นอกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนลงทุน พัฒนาการศึกษาตลอดจนผ่อนคลายกฎระเบียบที่ควบคุมสถานศึกษา และกำหนดมาตรการจูงใจที่เหมาะสมอื่นๆ สำหรับการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และเอกชน

4. พัฒนาการบริหารบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการให้อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติองค์กรบริหารงานบุคคลเดียวกัน เพื่อความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างความมั่นคงในอาชีพ

5. พัฒนาระบบการตรวจ ติดตาม และประเมินผลให้เข้มแข็ง และประสานสอดคล้องกันทุกระดับ

6. ดำเนินการช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายแก่ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในทุกระดับ ทุกประเภทด้วยรูปแบบที่หลากหลายเพื่อมุ่งแก้ไขความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนที่มาจากครอบครัวรายได้น้อย ทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน อาทิ การยกเว้นเงินค่าบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียมการเรียน และค่าธรรมเนียมต่างๆ การดำเนินงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา การจัดบัตรอุดหนุนค่าเล่าเรียน จัดหาทุนการศึกษาจากแหล่งทุนภาครัฐ ภาคเอกชน
และประชาชน

7. มุ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายทางการศึกษาให้ได้ระหว่าง ร้อยละ 6 – 7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) เพื่อให้ทัดเทียมกับระดับมาตรฐานสากลและมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศทางการศึกษาในปี 2550 โดย

7.1 เพิ่มงบประมาณทางการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยรวม

7.2 นำมาตรการด้านภาษีทางการศึกษามาใช้

7.3 ส่งเสริม สนับสนุน ให้ภาคเอกชนดำเนินการจัดบริการทางการศึกษาไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 40 ของ สัดส่วนการจัดบริการในภาพรวมทั้งประเทศ

7.4 ให้ภาคเอกชนมีโอกาสเข้าร่วมลงทุนดำเนินกิจการโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยระบบการบริหารที่ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ ภายใต้ข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐกับเอกชน เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาวะด้านงบประมาณของรัฐในการจัดการศึกษาที่มีความหลากหลาย รวมทั้งให้บังเกิดคุณภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครอง

7.5 ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมรับผิดชอบการจักบริการทางการศึกษามากขึ้น ด้วยการผ่อนคลายกฎระเบียบที่ควบคุมสถานศึกษา และกำหนดมาตรการจูงใจที่
เหมาะสมอื่นๆ

7.6 ให้นำข้อมูลค่าใช้จ่ายในการจัดบริการทางการศึกษาของโรงเรียนและสถานศึกษาทั้งที่สังกัด และที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงศึกษาธิการทุกระดับทุกประเภทมาพิจารณาปรับปรุง

บันทึกโดย
ลูกสาว คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล
พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล - ผู้พันปราง
ผู้หญิงคนแรกในรอบ 77 ปี 
ผู้กล้าท้าชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่ 9 
โฆษกกระทรวงกลาโหมคนแรก
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี 2545
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่