หมุดหมาย ‘พักโทษ’ ที่มากกว่าชื่อ ‘ทักษิณ’
'ราชทัณฑ์’ ตั้งธง ‘ลดคนล้นคุก-คืนผู้ต้องขังสู่สังคม’
ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมต่อการปล่อยตัว ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับสิทธิพักโทษเป็นกรณีพิเศษตามกฎหมายราชทัณฑ์ มาตรา 52 ที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ทำให้มีการตั้งคำถามถึงการให้สิทธิอดีตนายกฯ เป็นไปตามเงื่อนไขตามกฎหมายหรือไม่
เมื่อเหลียวมองไปยังรายงานสถิติผู้ต้องขังจากทัณฑสถานทั่วประเทศ วันที่ 1 พ.ย. 2566 มีจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 271,967 คน โดยมีผู้ต้องขังคดียาเสพติดจำนวน 204,147 คน แบ่งเป็นนักโทษเด็ดขาด 166,309 คน เท่ากับว่ามีผู้ต้องขังที่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินคดีเฉพาะความผิดเรื่องยาเสพติดอยู่ที่ 37,888 คน ที่กำลังเป็นโจทย์ปัญหาคนล้นคุกที่กำลังรอวันแก้ไข
ต่อข้อสงสัยที่ประเด็นร้อน ‘วอยซ์’ ได้สอบถามไปยัง ‘สหการณ์ เพ็ชรนรินทร์’ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ถึงหมุดหมายของการพักโทษที่กำลังถูกตั้งคำถามว่ามีทิศทางและเป้าหมายอย่างไรในอนาคต
👉พักโทษไม่ใช่เรื่องใหม่
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ บอกว่าการพักโทษนั้นเป็นการบริหารที่ทางราชทัณฑ์ได้ทำต่อเนื่องมาอย่างยาวนานตั้งแต่ พ.ร.บ.ฉบับปี 2479 โดยที่ผ่านมาจะมีการเลื่อนชั้นของนักโทษ ในกรณีที่เข้ามาครั้งแรกจะได้รับ ‘ชั้นกลาง’ ส่วนการเลื่อนหรือลดระดับชั้นขึ้นอยู่กับความประพฤติของนักโทษ หากไม่เคยทำผิดจะถูกเลื่อนขึ้นไปถึงชั้นดีเยี่ยม ซึ่งจะทำให้ได้รับวันลดโทษเพิ่มขึ้นตามลำดับ ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ต้องขังได้เลื่อนชั้นเป็นดีเยี่ยม ก็จะได้วันลดโทษเดือนละ 5 วันเป็นต้น
ต่อมาการพักโทษในปัจจุบันได้พัฒนาต่อเนื่องมาใน พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ปี 2560 มาตรา 52 และกฎกระทรวงยุติธรรมปี 2562 ในการพิจารณากลุ่มนักโทษที่เข้าข่ายกรณีพิเศษเช่นพิการหรือเจ็บป่วยและมีอายุตั้งแต่ 70 ปี
ซึ่งประโยชน์ของการพักโทษไม่อยากให้ไปโฟกัสที่ตัวบุคคล เพราะหากใครเข้าข่ายก็ได้รับสิทธิในการพิจารณา ซึ่งผลลัทธ์ของการพักโทษก็จะเห็นว่าช่วยลดเรื่องความแออัดในเรือนจำ รวมถึงการคืนผู้ต้องขังที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะกระทำผิดซ้ำกลับสู่สังคมอีกครั้ง
“ที่ผ่านมาผลของการให้สิทธิพักโทษ สามารถลดจำนวนนักโทษในเรือนจำได้ถึงปีละประมาณ 10,000 คน ซึ่งแต่ละปีก็ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ต้องขัง สมมติปีนั้นมีนักโทษทั่วประเทศมากเท่าไหร่ ก็จะมีผู้ได้รับสิทธิเพิ่มขึ้น”
ในส่วนข้อถกเถียงในเรื่องการให้สิทธิอดีตนายกฯ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ยืนยันว่าผู้ต้องขังทุกคนที่มีคุณสมบัติที่ไม่มีข้อยกเว้นตามกฎหมายกำหนด เช่นผู้ต้องขังที่ไม่ได้กระทำผิดคดีความมั่นคง หรือไม่ได้กระทำผิดคดีร้ายแรงอย่างก่อการร้าย จะถูกพิจารณาเท่าเทียมกันหมด โดยการเสนอชื่อให้อนุกรรมการวินิจฉัยพักการลงโทษของกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
“สมมติกรณีผู้ต้องขังที่เข้าเงื่อนไขไม่มีผู้อุปการะหรือเป็นคนไร้บ้าน ก็อาจจะมีความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำหรือหลบหนีไม่ไปรายงานตัวกับกรมควบคุมการประพฤติ อนุกรรมการก็จะไม่อนุมัติคำสั่ง ในส่วนที่ได้รับการอนุมัติกรณีพักโทษทั่วไปที่ได้รับโทษจำคุกมาแล้ว 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ ก็จะให้ใส่กำไล EM เป็นหลัก แต่ในกรณีที่เป็นผู้ต้องขังที่มีอาการป่วย-พิการ-สูงอายุ ไม่ต้องใส่กำไล EM ซึ่งการยกเว้นในกรณีพิเศษถูกพิจารณากันมาหลายปีแล้ว”
สำหรับข้อสงสัยในการออกนอกประเทศ ในกรณีผู้ที่ได้รับสิทธิการพักโทษนั้น อธิบดีกรมราชทัณฑ์ยืนยันว่าผู้ที่ได้รับการพักโทษทุกคนไม่สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้อย่างแน่นอน เพราะมีกฎหมายราชทัณฑ์กำกับข้อห้ามไว้ ซึ่งหลังการพักโทษจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข อาทิ ห้ามออกนอกเขตพื้นที่ที่อาศัยโดยไม่ได้รับอนุญาต และให้ไปรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติเรือนจำ เจ้าพนักงานปกครอง หรือหัวหน้าสถานีตำรวจทุกเดือน
👉ใช้โปรแกรมบำบัด-คืนโอกาสผู้ต้องขัง
นอกจากการพักโทษของผู้ต้องขัง สิ่งที่มีการควบคู่กันไปด้วยคือโปรแกรมบำบัดการรักษา ‘อธิบดีกรมราชทัณฑ์’ ชี้แจงว่าในระหว่างอยู่ในเรือนจำของผู้ต้องขังทุกคน ต้องผ่านโปรแกรมบำบัดแก้ไขฟื้นฟูในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งการบำบัดฟื้นฟูในกลุ่มติดยาเสพติดหรือการให้ยาในกลุ่มจิตเวช สุดท้ายแล้วทุกกลุ่มที่เข้ามาในเรือนจำจะต้องผ่านการบำบัดในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการสร้างงานสร้างอาชีพ
“สิ่งสำคัญของการคืนผู้ต้องขังสู่สังคม หน้าที่ของกรมราชทัณฑ์คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสร้างอาชีพ แต่ในส่วนของสังคมเองก็ต้องให้อดีตผู้ต้องขังมีที่ยืนด้วย ถึงแม้ว่าเขาจะเคยทำความผิดไปแล้วก็ตาม แต่เราไม่สามรถปฏิเสธได้ว่าคนกลุ่มนี้วันหนึ่งก็ต้องออกมาอยู่ในสังคม สิ่งสำคัญคือโอกาสที่พวกเขาจะได้รับ แต่ถ้าเขาไม่มีที่ยืนก็มีโอกาสที่เขาจะกลับไปสู่วงจรเดิมๆและกระทำผิดซ้ำอีก”
หมุดหมาย ‘พักโทษ’ ที่มากกว่าชื่อ ‘ทักษิณ’'ราชทัณฑ์’ ตั้งธง ‘ลดคนล้นคุก-คืนผู้ต้องขังสู่สังคม’
'ราชทัณฑ์’ ตั้งธง ‘ลดคนล้นคุก-คืนผู้ต้องขังสู่สังคม’
ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมต่อการปล่อยตัว ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับสิทธิพักโทษเป็นกรณีพิเศษตามกฎหมายราชทัณฑ์ มาตรา 52 ที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ทำให้มีการตั้งคำถามถึงการให้สิทธิอดีตนายกฯ เป็นไปตามเงื่อนไขตามกฎหมายหรือไม่
เมื่อเหลียวมองไปยังรายงานสถิติผู้ต้องขังจากทัณฑสถานทั่วประเทศ วันที่ 1 พ.ย. 2566 มีจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 271,967 คน โดยมีผู้ต้องขังคดียาเสพติดจำนวน 204,147 คน แบ่งเป็นนักโทษเด็ดขาด 166,309 คน เท่ากับว่ามีผู้ต้องขังที่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินคดีเฉพาะความผิดเรื่องยาเสพติดอยู่ที่ 37,888 คน ที่กำลังเป็นโจทย์ปัญหาคนล้นคุกที่กำลังรอวันแก้ไข
ต่อข้อสงสัยที่ประเด็นร้อน ‘วอยซ์’ ได้สอบถามไปยัง ‘สหการณ์ เพ็ชรนรินทร์’ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ถึงหมุดหมายของการพักโทษที่กำลังถูกตั้งคำถามว่ามีทิศทางและเป้าหมายอย่างไรในอนาคต
👉พักโทษไม่ใช่เรื่องใหม่
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ บอกว่าการพักโทษนั้นเป็นการบริหารที่ทางราชทัณฑ์ได้ทำต่อเนื่องมาอย่างยาวนานตั้งแต่ พ.ร.บ.ฉบับปี 2479 โดยที่ผ่านมาจะมีการเลื่อนชั้นของนักโทษ ในกรณีที่เข้ามาครั้งแรกจะได้รับ ‘ชั้นกลาง’ ส่วนการเลื่อนหรือลดระดับชั้นขึ้นอยู่กับความประพฤติของนักโทษ หากไม่เคยทำผิดจะถูกเลื่อนขึ้นไปถึงชั้นดีเยี่ยม ซึ่งจะทำให้ได้รับวันลดโทษเพิ่มขึ้นตามลำดับ ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ต้องขังได้เลื่อนชั้นเป็นดีเยี่ยม ก็จะได้วันลดโทษเดือนละ 5 วันเป็นต้น
ต่อมาการพักโทษในปัจจุบันได้พัฒนาต่อเนื่องมาใน พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ปี 2560 มาตรา 52 และกฎกระทรวงยุติธรรมปี 2562 ในการพิจารณากลุ่มนักโทษที่เข้าข่ายกรณีพิเศษเช่นพิการหรือเจ็บป่วยและมีอายุตั้งแต่ 70 ปี
ซึ่งประโยชน์ของการพักโทษไม่อยากให้ไปโฟกัสที่ตัวบุคคล เพราะหากใครเข้าข่ายก็ได้รับสิทธิในการพิจารณา ซึ่งผลลัทธ์ของการพักโทษก็จะเห็นว่าช่วยลดเรื่องความแออัดในเรือนจำ รวมถึงการคืนผู้ต้องขังที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะกระทำผิดซ้ำกลับสู่สังคมอีกครั้ง
“ที่ผ่านมาผลของการให้สิทธิพักโทษ สามารถลดจำนวนนักโทษในเรือนจำได้ถึงปีละประมาณ 10,000 คน ซึ่งแต่ละปีก็ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ต้องขัง สมมติปีนั้นมีนักโทษทั่วประเทศมากเท่าไหร่ ก็จะมีผู้ได้รับสิทธิเพิ่มขึ้น”
ในส่วนข้อถกเถียงในเรื่องการให้สิทธิอดีตนายกฯ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ยืนยันว่าผู้ต้องขังทุกคนที่มีคุณสมบัติที่ไม่มีข้อยกเว้นตามกฎหมายกำหนด เช่นผู้ต้องขังที่ไม่ได้กระทำผิดคดีความมั่นคง หรือไม่ได้กระทำผิดคดีร้ายแรงอย่างก่อการร้าย จะถูกพิจารณาเท่าเทียมกันหมด โดยการเสนอชื่อให้อนุกรรมการวินิจฉัยพักการลงโทษของกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
“สมมติกรณีผู้ต้องขังที่เข้าเงื่อนไขไม่มีผู้อุปการะหรือเป็นคนไร้บ้าน ก็อาจจะมีความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำหรือหลบหนีไม่ไปรายงานตัวกับกรมควบคุมการประพฤติ อนุกรรมการก็จะไม่อนุมัติคำสั่ง ในส่วนที่ได้รับการอนุมัติกรณีพักโทษทั่วไปที่ได้รับโทษจำคุกมาแล้ว 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ ก็จะให้ใส่กำไล EM เป็นหลัก แต่ในกรณีที่เป็นผู้ต้องขังที่มีอาการป่วย-พิการ-สูงอายุ ไม่ต้องใส่กำไล EM ซึ่งการยกเว้นในกรณีพิเศษถูกพิจารณากันมาหลายปีแล้ว”
สำหรับข้อสงสัยในการออกนอกประเทศ ในกรณีผู้ที่ได้รับสิทธิการพักโทษนั้น อธิบดีกรมราชทัณฑ์ยืนยันว่าผู้ที่ได้รับการพักโทษทุกคนไม่สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้อย่างแน่นอน เพราะมีกฎหมายราชทัณฑ์กำกับข้อห้ามไว้ ซึ่งหลังการพักโทษจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข อาทิ ห้ามออกนอกเขตพื้นที่ที่อาศัยโดยไม่ได้รับอนุญาต และให้ไปรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติเรือนจำ เจ้าพนักงานปกครอง หรือหัวหน้าสถานีตำรวจทุกเดือน
👉ใช้โปรแกรมบำบัด-คืนโอกาสผู้ต้องขัง
นอกจากการพักโทษของผู้ต้องขัง สิ่งที่มีการควบคู่กันไปด้วยคือโปรแกรมบำบัดการรักษา ‘อธิบดีกรมราชทัณฑ์’ ชี้แจงว่าในระหว่างอยู่ในเรือนจำของผู้ต้องขังทุกคน ต้องผ่านโปรแกรมบำบัดแก้ไขฟื้นฟูในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งการบำบัดฟื้นฟูในกลุ่มติดยาเสพติดหรือการให้ยาในกลุ่มจิตเวช สุดท้ายแล้วทุกกลุ่มที่เข้ามาในเรือนจำจะต้องผ่านการบำบัดในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการสร้างงานสร้างอาชีพ
“สิ่งสำคัญของการคืนผู้ต้องขังสู่สังคม หน้าที่ของกรมราชทัณฑ์คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสร้างอาชีพ แต่ในส่วนของสังคมเองก็ต้องให้อดีตผู้ต้องขังมีที่ยืนด้วย ถึงแม้ว่าเขาจะเคยทำความผิดไปแล้วก็ตาม แต่เราไม่สามรถปฏิเสธได้ว่าคนกลุ่มนี้วันหนึ่งก็ต้องออกมาอยู่ในสังคม สิ่งสำคัญคือโอกาสที่พวกเขาจะได้รับ แต่ถ้าเขาไม่มีที่ยืนก็มีโอกาสที่เขาจะกลับไปสู่วงจรเดิมๆและกระทำผิดซ้ำอีก”