มีข่าวว่ามีบุคคลภายนอกเข้าเรือนจำ ด้วยความที่อาจไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้ระเบียบ เลยจะนำข้อมูลมาฝากจากกรมราชทัณฑ์นะครับ
บางคนอาจเข้าใจว่าด้วยความที่เป็นสื่อ หรือเป็นนักเคลื่อนไหว เป็นมูลนิธิอะไรจะเข้าเรือนจำกันได้ง่าย ๆ
ไม่ได้นะครับ จะตำรวจ ทนายก็ไม่ได้ … มีความผิดนะครับ และเจ้าหน้าที่ที่ผิดพลาดละเลยก็มีความผิดทางวินัยเหมือนกัน อาจถูกคาดโทษจากผู้บัญชาการ
-และอย่าเข้าใจว่าญาติเยี่ยม หรือทนายเยี่ยม คือเข้าภายในเรือนจำ ไม่ใช่นะครับ มันคือบริเวณภายนอกเรือนจำ และคุยผ่านส่วนที่มีกระจกปิดกั้นที่เรือนจำจัดไว้ให้- ผู้ต้องขังอยู่ส่วนภายใน ญาติหรือทนาย อยู่ส่วนภายนอก
เรือนจำเป็นเขตต้องห้าม เป็นงานควบคุมไม่ให้ผู้ต้องขังหลบหนี หรือนำเข้า-ออกซึ่งสิ่งของข้อมูล
มีเฉพาะเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เท่านั้นที่เข้าได้ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เจ้าหน้าที่ที่จะเข้าออกเรือนจำได้คือ เจ้าหน้าที่เรือนจำนั้น ๆ ไม่ว่าจะข้าราชการราชทัณฑ์ ผู้ช่วยพนักงานราชทัณฑ์ และเจ้าหน้าที่ฝึกหัด นอกเหนือจากนั้นคือต้องสูงกว่าผู้บัญชาการ คืออธิบดี, รองอธิบดี สามารถเข้าตรวจความเรียบร้อยได้ทุกเมื่อ
ส่วน
บุคคลภายนอก จะเป็นข้าราชการยศไหนก็แล้วแต่ รวมถึงบุคคลทั่วไป คือเท่าเทียมกัน
จะเข้าเรือนจำได้ต่อเมื่อ ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการเรือนจำ หรืออธิบดีกรมราชทัณฑ์ เท่านั้น โดยทำหนังสือขออนุญาต
. . .
* การเยี่ยมญาติ ผู้ต้องขังต้องลงรายชื่อไว้ตามจำนวนที่เรือนจำกำหนด และเยี่ยมได้เฉพาะคนที่มีรายชื่อ โดยจะคุยผ่านเครื่องฟังคือโทรศัพท์ ผู้ต้องขังจะอยู่ส่วนภายในเรือนจำแต่มีกระจกกั้น
* ทนาย ต้องมีในรายชื่อว่าเป็นทนายของผู้ต้องขัง ไม่ใช่ว่าทนายที่ไหนก็ได้ในประเทศ แจ้งขอเยี่ยมหรือเข้าไปหาใครบ้างอยากเป็นลูกความ แบบนั้นไม่ได้
. . .
การควบคุมบุคคลเข้าออก, ยานพาหนะเข้าออก, สิ่งของเข้าออก จะมีระเบียบเข้มงวด แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่เรือนจำก็ต้องผ่านการตรวจค้น
เล่มนี้มีครบ
. . .
ในทุกวันก็มี
บุคคลภายนอกเข้าเรือนจำเป็นปกตินะครับ ไม่ใช่เรื่องแปลก
แต่ต้องขออนุญาต และมีการตรวจค้นตามขั้นตอน
- ช่างเข้าไปซ่อมบำรุง เทศบาล อบต. อบจ. เข้าไปฉีดยุง หรือปรับปรุงพื้นที่
- เจ้าหน้าที่หน่วยงานสาธารณสุขเข้าตรวจงาน
- ครูสอนวิชาชีพหรือวิทยากรเข้าไปอบรมบรรยายประจำสัปดาห์/เดือน รวมถึงพระหรือผู้สอนศาสนาแต่ละศาสนา
- แพทย์เข้าตรวจรักษา (ภายในเรือนจำไม่มีหมอ มีแต่พยาบาลวิชาชีพ แต่จะมีตารางเวลาที่หมอเข้าตรวจประจำทุกสัปดาห์)
- คณะกรรมการดูตัวพักโทษ/คัดเลือกผู้ต้องขังทำงานสาธารณะ ประจำเดือน (มีบุคคลภายนอกเป็นกรรมการด้วยเช่น ตำรวจ, ปปส, สนง.คุมประพฤติ)
- ตำรวจเข้าเก็บ DNA ประจำเดือน กับผู้ต้องขังใกล้ปล่อย
*โดยไม่ว่าจะกี่คนก็ตาม ต้องมีรายชื่อพร้อมเอกสาร ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือและมีการตรวจสอบทุกคน*
. . .
ส่วนกิจกรรมเข้าเยี่ยมเรือนจำนาน ๆ ที เช่น
- คณะนักศึกษาเข้าศึกษาดูงานในเรือนจำ
- หน่วยงานข้าราชการอื่น ๆ หรือองค์กรอิสระ สื่อมวลชน เข้าศึกษาดูงาน หรือขออนุญาตใช้สถานที่ถ่ายทำ
- นักร้องนักแสดงและแวดวงบันเทิง เข้าไปจัดกิจกรรมบันเทิงให้ผู้ต้องขัง
- งานเยี่ยมญาติใกล้ชิด กิจกรรมประจำปีให้ญาติเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังได้ถึงภายในเรือนจำ
*ทั้งหมด จะกี่ร้อยคนก็ตาม ต้องมีรายชื่อตรงตามที่ขออนุญาต เกินมาจากรายชื่อก็เข้าไม่ได้ รวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ ปกติถือเป็นสิ่งของห้ามเข้า ก็ต้องได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะคอมพิวเตอร์ เครื่องดนตรี เครื่องเสียง ทุกชิ้นต้องระบุ*
ขออนุญาตเข้าแสดงหรือจัดกิจกกรรมให้ผู้ต้องขังได้ เรือนจำจะประสานจัดเตรียมพื้นที่และคัดเลือกผู้ต้องขังไว้ให้
. . .
และเช่นกัน
ในทุกวันก็มีผู้ต้องขังออกภายนอกเรือนจำเป็นปกติ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการ หรือกรมราชทัณฑ์
- ผู้ต้องขังป่วยที่ไม่สามารถรักษาโรคนั้นได้ภายในเรือนจำ หรือแพทย์ได้ทำการนัดรักษาโรคร้ายแรงนั้นเป็นระยะ (โดยโรงพยาบาลเหล่านั้นเป็นโรงพยาบาลที่รองรับผู้ต้องขังอยู่แล้ว และรถที่ใช้ก็เป็นรถเรือนจำที่มีเจ้าหน้าที่ควบคุม) ในแต่ละครั้งที่ออกรักษาต้องมีหนังสืออนุญาตทุกครั้ง
- ผู้ต้องขังกองนอก ออกทำงานภายนอกบริเวณรอบเรือนจำ ทำความสะอาดหรือฝึกวิชาชีพขายของขายอาหาร และกลับเข้าเรือนจำทุกเย็น
- ผู้ต้องขังงานสาธารณะ ไปขุดลอกท่อระบายน้ำ ทำความสะอาดตามที่ต่าง ๆ และกลับเข้าเรือนจำทุกเย็น
- ผู้ต้องขังฝึกวิชาชีพตามโรงงานภายนอกเรือนจำ (ที่ผูกกับเรือนจำโดยเฉพาะ) และกลับเรือนจำทุกเย็น
- ผู้ต้องขังออกแสดงความสามารถนอกเรือนจำ แสดงดนตรี ศิลปะ ชกมวย ขายสินค้าเรือนจำ และกลับเข้าเรือนจำทุกเย็น หรือเข้าขังเรือนจำอื่นใกล้เคียงชั่วคราว
{สำหรับผู้ต้องขังกองนอก งานสาธารณะและโรงงาน ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ และทุกรายชื่อจะต้องได้รับอนุญาตจากกรมราชทัณฑ์}
บุคคลภายนอกห้ามเข้า ‘ภายในเรือนจำ’ ไม่ว่าจะตำรวจ ทนาย กระทั่งนายกรัฐมนตรี [เว้นแต่ได้รับอนุญาต]
มีข่าวว่ามีบุคคลภายนอกเข้าเรือนจำ ด้วยความที่อาจไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้ระเบียบ เลยจะนำข้อมูลมาฝากจากกรมราชทัณฑ์นะครับ
บางคนอาจเข้าใจว่าด้วยความที่เป็นสื่อ หรือเป็นนักเคลื่อนไหว เป็นมูลนิธิอะไรจะเข้าเรือนจำกันได้ง่าย ๆ ไม่ได้นะครับ จะตำรวจ ทนายก็ไม่ได้ … มีความผิดนะครับ และเจ้าหน้าที่ที่ผิดพลาดละเลยก็มีความผิดทางวินัยเหมือนกัน อาจถูกคาดโทษจากผู้บัญชาการ
-และอย่าเข้าใจว่าญาติเยี่ยม หรือทนายเยี่ยม คือเข้าภายในเรือนจำ ไม่ใช่นะครับ มันคือบริเวณภายนอกเรือนจำ และคุยผ่านส่วนที่มีกระจกปิดกั้นที่เรือนจำจัดไว้ให้- ผู้ต้องขังอยู่ส่วนภายใน ญาติหรือทนาย อยู่ส่วนภายนอก
เรือนจำเป็นเขตต้องห้าม เป็นงานควบคุมไม่ให้ผู้ต้องขังหลบหนี หรือนำเข้า-ออกซึ่งสิ่งของข้อมูล
มีเฉพาะเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เท่านั้นที่เข้าได้ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เจ้าหน้าที่ที่จะเข้าออกเรือนจำได้คือ เจ้าหน้าที่เรือนจำนั้น ๆ ไม่ว่าจะข้าราชการราชทัณฑ์ ผู้ช่วยพนักงานราชทัณฑ์ และเจ้าหน้าที่ฝึกหัด นอกเหนือจากนั้นคือต้องสูงกว่าผู้บัญชาการ คืออธิบดี, รองอธิบดี สามารถเข้าตรวจความเรียบร้อยได้ทุกเมื่อ
ส่วนบุคคลภายนอก จะเป็นข้าราชการยศไหนก็แล้วแต่ รวมถึงบุคคลทั่วไป คือเท่าเทียมกัน จะเข้าเรือนจำได้ต่อเมื่อ ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการเรือนจำ หรืออธิบดีกรมราชทัณฑ์ เท่านั้น โดยทำหนังสือขออนุญาต
. . .
* การเยี่ยมญาติ ผู้ต้องขังต้องลงรายชื่อไว้ตามจำนวนที่เรือนจำกำหนด และเยี่ยมได้เฉพาะคนที่มีรายชื่อ โดยจะคุยผ่านเครื่องฟังคือโทรศัพท์ ผู้ต้องขังจะอยู่ส่วนภายในเรือนจำแต่มีกระจกกั้น
* ทนาย ต้องมีในรายชื่อว่าเป็นทนายของผู้ต้องขัง ไม่ใช่ว่าทนายที่ไหนก็ได้ในประเทศ แจ้งขอเยี่ยมหรือเข้าไปหาใครบ้างอยากเป็นลูกความ แบบนั้นไม่ได้
. . .
การควบคุมบุคคลเข้าออก, ยานพาหนะเข้าออก, สิ่งของเข้าออก จะมีระเบียบเข้มงวด แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่เรือนจำก็ต้องผ่านการตรวจค้น
เล่มนี้มีครบ
. . .
ในทุกวันก็มีบุคคลภายนอกเข้าเรือนจำเป็นปกตินะครับ ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ต้องขออนุญาต และมีการตรวจค้นตามขั้นตอน
- ช่างเข้าไปซ่อมบำรุง เทศบาล อบต. อบจ. เข้าไปฉีดยุง หรือปรับปรุงพื้นที่
- เจ้าหน้าที่หน่วยงานสาธารณสุขเข้าตรวจงาน
- ครูสอนวิชาชีพหรือวิทยากรเข้าไปอบรมบรรยายประจำสัปดาห์/เดือน รวมถึงพระหรือผู้สอนศาสนาแต่ละศาสนา
- แพทย์เข้าตรวจรักษา (ภายในเรือนจำไม่มีหมอ มีแต่พยาบาลวิชาชีพ แต่จะมีตารางเวลาที่หมอเข้าตรวจประจำทุกสัปดาห์)
- คณะกรรมการดูตัวพักโทษ/คัดเลือกผู้ต้องขังทำงานสาธารณะ ประจำเดือน (มีบุคคลภายนอกเป็นกรรมการด้วยเช่น ตำรวจ, ปปส, สนง.คุมประพฤติ)
- ตำรวจเข้าเก็บ DNA ประจำเดือน กับผู้ต้องขังใกล้ปล่อย
*โดยไม่ว่าจะกี่คนก็ตาม ต้องมีรายชื่อพร้อมเอกสาร ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือและมีการตรวจสอบทุกคน*
. . .
ส่วนกิจกรรมเข้าเยี่ยมเรือนจำนาน ๆ ที เช่น
- คณะนักศึกษาเข้าศึกษาดูงานในเรือนจำ
- หน่วยงานข้าราชการอื่น ๆ หรือองค์กรอิสระ สื่อมวลชน เข้าศึกษาดูงาน หรือขออนุญาตใช้สถานที่ถ่ายทำ
- นักร้องนักแสดงและแวดวงบันเทิง เข้าไปจัดกิจกรรมบันเทิงให้ผู้ต้องขัง
- งานเยี่ยมญาติใกล้ชิด กิจกรรมประจำปีให้ญาติเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังได้ถึงภายในเรือนจำ
*ทั้งหมด จะกี่ร้อยคนก็ตาม ต้องมีรายชื่อตรงตามที่ขออนุญาต เกินมาจากรายชื่อก็เข้าไม่ได้ รวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ ปกติถือเป็นสิ่งของห้ามเข้า ก็ต้องได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะคอมพิวเตอร์ เครื่องดนตรี เครื่องเสียง ทุกชิ้นต้องระบุ*
ขออนุญาตเข้าแสดงหรือจัดกิจกกรรมให้ผู้ต้องขังได้ เรือนจำจะประสานจัดเตรียมพื้นที่และคัดเลือกผู้ต้องขังไว้ให้
. . .
และเช่นกัน ในทุกวันก็มีผู้ต้องขังออกภายนอกเรือนจำเป็นปกติ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการ หรือกรมราชทัณฑ์
- ผู้ต้องขังป่วยที่ไม่สามารถรักษาโรคนั้นได้ภายในเรือนจำ หรือแพทย์ได้ทำการนัดรักษาโรคร้ายแรงนั้นเป็นระยะ (โดยโรงพยาบาลเหล่านั้นเป็นโรงพยาบาลที่รองรับผู้ต้องขังอยู่แล้ว และรถที่ใช้ก็เป็นรถเรือนจำที่มีเจ้าหน้าที่ควบคุม) ในแต่ละครั้งที่ออกรักษาต้องมีหนังสืออนุญาตทุกครั้ง
- ผู้ต้องขังกองนอก ออกทำงานภายนอกบริเวณรอบเรือนจำ ทำความสะอาดหรือฝึกวิชาชีพขายของขายอาหาร และกลับเข้าเรือนจำทุกเย็น
- ผู้ต้องขังงานสาธารณะ ไปขุดลอกท่อระบายน้ำ ทำความสะอาดตามที่ต่าง ๆ และกลับเข้าเรือนจำทุกเย็น
- ผู้ต้องขังฝึกวิชาชีพตามโรงงานภายนอกเรือนจำ (ที่ผูกกับเรือนจำโดยเฉพาะ) และกลับเรือนจำทุกเย็น
- ผู้ต้องขังออกแสดงความสามารถนอกเรือนจำ แสดงดนตรี ศิลปะ ชกมวย ขายสินค้าเรือนจำ และกลับเข้าเรือนจำทุกเย็น หรือเข้าขังเรือนจำอื่นใกล้เคียงชั่วคราว
{สำหรับผู้ต้องขังกองนอก งานสาธารณะและโรงงาน ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ และทุกรายชื่อจะต้องได้รับอนุญาตจากกรมราชทัณฑ์}