"ธรรมะ" คือ สมมุติบัญญัติ ทางด้านภาษา ที่ "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ท่านทรงนำมาสั่งสอน นำมาบอกต่อ นำมาชี้ทางเดิน ให้กับ "เวไนยสัตว์" ทั้งหลายได้ฟังได้รับรู้กัน ทั้งเทพและเทวา และมนุษย์ ให้ได้มี "วิชชา" มี "ปัญญา" มี "ดวงตาเห็นธรรม" มี "ฌาน" จนสามารถทำให้ บรรลุธรรม เข้าถึง "นิพพาน" ได้ในที่สุด
** หมายเหตุ: ข้อความที่พิมพ์พูดคุยกันทั้งหมดเหล่านี้ เป็นเพียงแค่การนำเอาภาษาสมมุติมาปรุงแต่ง เพื่ออธิบายให้กับบุคคลธรรมดาๆ ในระดับชาวบ้านพื้นๆ และบุคคลทั่วไป ที่ไม่ได้เก่งเรื่องธรรมะ หรือไม่เคยเรียนรู้ศึกษาด้านธรรมะมาก่อนเลย เป็นหลัก โดย..ไม่ได้มีเจตนา ไปเน้นสอนหรือพูดคุยเพื่อบอกกล่าว แก่ผู้ที่ทรงปัญญาในด้านตำหรับตำรา ทรงคัมภีร์ ใดๆ นำมาเป็นหลักยึดในการพูดคุยเลย เพราะมนุษย์แต่ละคนก็มีระดับการเข้าใจที่แตกต่างกันไป
"ธรรมะ" หมายถึง "นัยยะ"ทางสภาวธรรมะ สภาพจิตที่เป็น "พุทธะ" โดยสภาพธรรม
"ธรรม" คือ สิ่งดังกล่าวเหล่านี้: .-
- จิตรู้จิต (1)
- สภาวะของธรรมชาติ (2)
- การเรียนรู้สภาวะธรรม (3)
- จิตผู้รู้ ไปรู้"จิต" (4)
- การเรียนรู้เรื่องราวของจิต (5)
- ธรรมชาติรู้ธรรมชาติ (6)
- คือธาตุรู้ ที่ไป(รับ)รู้สิ่งประกอบกับจิต (ก็คือ รู้"รูป" รู้"นาม") (7)
- การรู้สิ่งประกอบของจิต (8)
- คือพุทธะ (รู้ ตื่น เบิกบาน)... (9)
- คือธาตุรู้ (10)
- "ธรรมะ" คือ การเห็นกายในกาย เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา("อวิชชา"ความไม่รู้)
และโทมนัส(ความโศกเศร้า เสียใจ รำพึง รำพัน พิรี้พิไร คับแค้นใจ หดหู่ใจ ไม่พอใจ ความรู้สึกที่ไม่สมปรารถนา) ในโลกเสียได้ (11)
- "ธรรมะ" คือวิธีสร้างปัญญาให้อยู่เหนือปัญญา (12)
(ที่มีอยู่ก่อนหน้าดั่งเดิม ให้มียิ่งๆ ขึ้นไปอีก)
ก็คือ รู้ความคิดตัวเองจนเกิด"วิชชา"เพื่อการบรรลุธรรม สู่ "นิพพาน"
"ธรรมะ" คือ การรับรู้ขบวนการทำงานของธรรมชาติ การรู้-ธาตุรู้ ที่มีอยู่จริงของธรรมชาติ
ว่ามันทำงานของมันอย่างไร โดยไม่มีบุคคล ตัวตน คน สัตว์ สิ่งของ เป็นผู้รับรู้ ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆ มาเกี่ยวข้องแต่อย่างไร เลยทั้งสิ้น (13)
"ธรรมะ" คือ ความเข้าใจในธรรมชาติ ล้วนๆ ที่บริสุทธิ์ ที่ไม่มีอาการปรุงแต่งเจือปนใดๆ อยู่ด้วย เป็น "สภาวะธรรม" เท่านั้น (14)
"ธรรมะ" คือ สภาวะธรรมทางธรรมชาติ ที่ "บริสุทธิ์" ไร้ความนึกคิด ไร้การปรุงแต่งในทางสมองใดๆ มาปรุงแต่งเพิ่มเติมให้กับธรรมะ
เห็นเพียงแค่รู้สภาวะเห็นที่เกิดขึ้น เมื่อเห็นแล้วก็จบทันทีเดี๋ยวนั้น เห็นเพียงสภาวะธรรมอันบริสุทธิ์ไร้สิ่งเจือปน ไม่ตัวตน คน สัตว์ สิ่งของ เจือปน
"รู้แบบรู้" เป็นสภาวะรู้ เสมือนเดียวกับอากาศ ที่ว่างเปล่าที่ไร้ขอบเขต ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ปรากฏขึ้นมาเฉยๆ แล้วก็หายไป ไร้การปรุงแต่งใดๆ แบบบริสุทธิ์ เพียวๆ ล้วนๆ (15)
By... ศิษย์: อริยบุคคล
......................+++++++++++++++........................++++++++++++++.....................++++++++++++......................
//////////
**การเรียนรู้ วิชา "พระอภิธรรม" ก็คือ การเรียนเพื่อให้ รู้ว่า ตัวตนนั้น ไม่มีอยู่จริง ในความหมายของ "โลกุตรธรรม" ไม่ใช่ในความหมาย "โลกียธรรม"
บนโลกนี้ และในจักรวาล จะมีก็แต่เพียง "รูปและนาม" เท่าน้น ไม่มีร่ายกาย ไม่มีตัวตนของเราเลย ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีคน สัตว์ ไม่มีสิ่งของใดเลย
เพียงแต่เราไปหลงว่า เรามีตัวตน ไปเท่านั้นเอง
สังขารธรรม คือ อาการปรุงแต่ง(ของจิต), การปรุงแต่งของ"ขัณฑ์๕" ทำให้คิดว่าเป็น"เรา" , ความนึกคิดปรุงแต่ง(ทางอารมณ์) คือ ความปรุงแต่ง เป็นเรื่องของมายาทาง"จิต" เป็นสิ่งจอมปลอมทั้งหมด), (เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่ความเป็นจริง ที่ไปปิดบ้งไม่ให้รู้ความจริงของ "สภาวะธรรม" ที่เป็น "ธรรมชาติ"ล้วนๆ ธรรมชาติแท้ๆ ดั่งเดิม ที่แท้จริง ไม่ให้จิตเห็น)
สังขารธรรม คือ การยืมเอาภาษาสมมุติ(ในทางโลก)นำมาปรุงแต่ง ให้มาเป็นคำพูด(คำบรรยาย)เพื่อใช้พูดคุยและติดต่อสื่อสารกันในสาระพัดเรื่อง ที่ปารถนาตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เมื่องปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดมีความวิปลาสเกิดเข้ามาผสมปิดบังความรู้อันบริสุทธิ์ของ"จิต"จนเลอะเปรอะเปื้อน เช่น ใช้พูดคุยกัน ใช้สนทนาค้าขายกัน ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของต่างๆ เพื่อจะได้แยกแยะ ทำให้จดจำเรื่องราวต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ในทางโลก ของ"โลกียธรรมะ" ของเหล่ามนุษย์ เทวดา สัตว์เดรฉาน รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ใน 31 ภพภูมิ
"รูป" คือ สิ่งรู้ของจิต, รูป ก็คือ รูปอันหนึ่ง
"รูป" มีคุณสมบัติ เป็นคู่คู่ อย่างเช่น เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตรึง-ไหว เจ็บ ป่วย ตาย, มืด-สว่าง, สั้น-ยาว ใกล้-ไกล เป็นต้น
"รูป" หมายถึง อาการประกอบของจิต สิ่งที่มองเห็น สิ่งที่สัมผัสได้ทางใจได้
เช่น ร่างกายหรือ ตัวตน คน สัตว์ สิ่งของ กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย มโนสัมผัส
อันเกิดขึ้นจาก การรวมตัวของธาตุ 4 : คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม, สรุปคือ ธาตุทั้ง 4 ก็
จัดว่า.. เป็นหนึ่งใน ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ขัณฑ์๕: ที่มี สภาวะ เกิด-ดับ หมายถึง การเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เช่น การได้เกิดมาเป็น คน เทวดา ยักษ์ สัมภะเวสี สัตว์เดรฉาน สัตว์นรก เป็นต้น
ล้วนแล้ว ก็มีการ: เกิด แก่ เจ็บ และ ตาย ไปในที่สุดทุกตัวตน (การเกิด(ตั้งอยู่แล้ว) - การดับ(ดับไปทั้งสิ้น) ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่สามารถที่จะมีสภาวะที่คงทนถาวร ได้ทั้งหมดทั้งสิ้นเลยทั้งนั้น นี่แหละคือ ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่ง ตามธรรมชาติ ที่หลีกพ้นไม่ได้ ไม่มีความยั่งยืนใดๆ เลย
บุญ แปลว่า อะไร? ศิล แปลว่า อะไร? 2 สิ่งนี้ มันมีอยู่จริง แต่มันก็ไม่มีตัวตน เป็นเพียง "นามธรรม"
คำว่า.. "บุญ" แปลตามภาษาสมมุติทางธรรมะแท้ๆ ก็คือ เครื่องฟอกจิตให้สะอาด ให้สว่าง ให้สงบ
จนไม่ไปยึดถือกับสิ่งใดๆ ยอมสละบริจาคทานออกไปโดยไม่หวังสิ่งใดๆ ให้ตอบแทนกลับคืนมาเลย ด้วยใจ(จิต)ที่บริสุทธิ์อันล้วนๆ
จนทำให้หมดความเป็นต้วตน บนโลกใบนี้ กระทั่งทำให้ ได้เข้าถึง "นิพพาน" หรือการไม่เกิดในชาตินี้ได้
("ทำบุญ" ไม่ได้หมายถึงทำไปแล้ว ก็ขอให้ได้ การได้เกิดมาเป็นเศรษฐี การได้เกิดในวงศ์กษัตริย์ ในวงศ์คฤหบดีชั้นสูง การได้ไปเกิดเป็นเทวดาที่มีวิมานมานที่อยู่บนสวรรค์ การได้รวยแบบไวๆ ขอในชาตินี้เลย เพราะผลบุญ แค่หมายถึงการได้เข้าถึง สภาวะของ "พระนิพพาน" ให้ได้อย่างไวที่สุด ต่างหาก)
แต่..ก็ยังมีผู้ที่สอนธรรมะ หลายท่านกับไม่ยอมแปล คำว่า "บุญ" ให้ครบตรงความหมายที่แท้จริง
แบบที่ข้อความ "ธรรมะ" ข้างบนดังกล่าวได้แปลไว้ แล้ว
** จึง..ทำให้ ผู้คนที่ชอบทำบุญ และบริจาคทาน บริจาคข้าวของ เงินทอง ก็จะไม่ค่อยชอบฟังความหมายคำอธิบาย แบบข้างบนนี้กันซะเท่าไร ฟังแล้วเหมือนการสอนให้หยุดการ กลับมาเกิดอีกเลย(แบบนี้ฉันไม่เอาหรอก) เพราะเหมือนได้ไปรู้ว่าคำอธิบายจริงของธรรมะ ก็คือการให้ละตัวตน การหาหนทางบรรลุธรรม ไม่ใช่เป็นการเรื่องสั่งสมบุญสะสมเสบียงเพื่อเป็นการเตรียมตัวไปเกิดอีกในชาติต่อๆ ไป เพราะหวังที่จะได้กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งในอนาคต ก็เพื่อจะได้เป็นคนรวย(บ้างกับเค้าสักที) หรือได้ไปเกิดเป็นเทวดา(เพื่อไปเสวยสุขบนสวรรค์ได้อาศัยอยู่ในวินานอันสวยงามวิจิตพิศดาร) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มันก็ยังเป็นแต่เรื่องของโลกียะ ที่ต้องเวียนว่ายเกิดตายอยู่อย่างเดิมไปเรื่อยๆ อีก นั้นแล..
**ดังนั้น ผู้บอกสอนธรรมะแบบมั่วๆ แบบผิดๆ ก็เลยต้องหาคำมาพูด(หรือกลยุทธอุบายในการจูงใจ)แบบใหม่ หาวิธีการสร้างบัญญัติคำใหม่ๆ แล้วนำบอกสอนไปว่า การหมั่นไปทำบุญเพื่อบริจาคเงินและทองกันให้มากๆ การบริจาคเงินทองให้เต็มที่ไปเลย นี่แหละดีที่สุด ยิ่งถ้าใครนั้นกล้า ที่จะบริจาคเงินทองให้หมดตัวหมด ให้หมดเงินในบัญชีเงินฝากทางโลกกันไปเลย ปิดบัญชีทางโลกไปเลย แล้วเปลี่ยนมาเปิดบัญชีทางธรรม ด้วยการบริจาคสละเงินทองเพื่อนำมาบริจากให้หมดตัวไปเลย(ใจต้องถึงๆ กันหน่อยนะ) ก็ยิ่งจะได้บุญที่ใหญ่สูงสุด แล้วท่านก็จะได้บุญกลับมา(ตอบแทน) ได้มีบุญเพิ่มยิ่งขึ้นกลับมาคืนอีกหลายๆ เท่าตัวเลยนะ (จนดูเสมือนเป็นธุรกิจต่างตอบแทนการลงทุนที่ยิ่งใหญ่ไปซะ) เน้นสอน: ว่าใครที่ทำบุญให้ได้มากๆ ก็จะได้มีวิมานมาปรากฏขึ้นมาเองรออยู่บนช้นสวรรค์ล่วงหน้า มาตั้งรอเราอยู่บนสวรรค์ ก่อนที่เราจะตายไปอยู๋ในนั้นด้วยนะ อะไรทำนองนี้(สร้างภาพให้เกิดมโนจิตนาการ ปั่นตัวกิเลสให้ดูไว้ล่วงหน้ากันยกใหญ่) เป็นต้น
แล้วถ้าถามว่า.. แล้วจะต้องทำบุญ อย่างไร? ถึงจะเรียกว่า..ทำบุญ แบบคนมีที่ปัญญา? ละ
**ตอบ(คำถามนี้ดีมาก)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานนิดหน่อย
(หมายถึง: การบุญบริจาคทาน ให้พอเหมาะพอประมาณแก่ฐานะของตัวเองนั่นแหละ ไม่ใช่เชื่อคำหลอกสอน จนเกิดอาการบ้าบุญ เกิดกิเลส หวังได้ผลตอบแทนกลับคืนมาเป็นร้อยเท่า เป็นพันเท่า เป็นแสนเท่า เป็นล้านเท่า อะไรแบบนี้ ไม่เอานะ แต่..ให้ไปเน้นที่ การหมั่นภาวนา(การหมั่นตรึกพิจารณาธรรมะ)ให้มากๆ ร่วมกันด้วย ก็ได้เกิดเป็น"ปัญญา" เข้ามาประกอบกัน, และก็ให้เน้นการรักษาศิล๕ อย่างมั่นคงร่วมกันไปด้วย
**ทั้ง 3 สิ่งเหล่านี้ ก็คือการสะสมบุญ ที่เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ ไงละ
1. การให้ทาน (การให้ทาน การบริจาคทาน ด้วยความคิดที่ว่าจะฝึกฝนลดละความโลภ ฝีกจิตให้เป็นผู้ให้
เพื่อให้ถึงซึ่ง "นิพพาน" เพียงเท่านั้น โดยไม่คิดหวังได้อะไรกลับคืนมาตอบแทนสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว)
2. การรักษาศิล (ให้มั่นคงและหนักแน่อยู่ตลอดเวลาทุกขณะจิต)
3. การภาวนา (อยู่เป็นประจำ)
**ใน "ธรรมะ" สิ่งจริง เรื่องจริง ที่ "พระพุทธเจ้า" ทรงสอนไว้ว่า การทำความดีทุกๆ อย่าง
ก็คือ การสะสมบุญ เพื่อมุ่งตรงไปสู่ "นิพพาน" เพียงเรื่องเดียวตรงๆ เท่านั้น การที่มนุษย์ทำการบริจาคทาน เพื่อเป็นการสะสมบุญ
ก็เพื่อฝึกการเป็นผู้ให้ ลดความตระหนี่ ลดความหวงแหน ฝึกความมีเมตตา เพื่อนำพา"ดวงจิต" ไปสู่ "นิพพาน" ให้จงได้โดยเร็ววัน ก็เพื่อสิ่งนี้
กิเลส และโลภะ ความโลภหลงมั่วเมาในตัวตน ว่าเราเป็นเรา ก็จะทำให้ธรรมะในใจของผู้ฟังมีแต่ความเสื่อมลงๆ(จากธรรมะ) แต่เพียงอย่างเดียว
การที่ผู้สอนธรรมะ(บางท่านที่เป็นมิฉาทิฐิ) ทำการหลอกสอนธรรมะแบบผิดๆ เพื่อทำให้ ผู้คนเกิดความศรัทธาและหลงไหล จนไร้ปัญญา จนเกิดความอยากมีอยากได้ เกิดมีกิเลส ที่รุนแรงยิ่งขึ้นมาในใจ(จนหลงลืมตัว) ลืมการละกิเลส เมื่อความโลภเกิดขึ้นมา ก็จะไปตัดลอนโอกาสที่จะมีดวงตาเห็นธรรม ก็จะยิ่งห่างไกล "นิพพาน" เข้าไปอีก (พระอรหัต์ ท่านกล่าวไว้ว่า กรณีกรทำนองนี้ ก็จะเห็นผลทั้งผู้สอนธรรมะแบบผิดและผู้ที่ชื่นชอบคำสอนธรรมะแบบผิดๆ ทั้งอาจารย์ ทั้งศิษย์ กำลังจุงมือก้น นำพาไปสู่ "มหานรก" อเวจี กันแน่นอน แบบไม่รู้ตัวเลย ก็ด้วยเหตุ เพราะ "ความด้อยปัญญาในทางธรรม" นี่เอง
จากกรณีศึกษานี้ **ทำให้ได้เห็นว่า เดี๋ยวนี้มีหลายวัด(แค่บ้างวัด) ที่มีเหตุการณ์ พระทะเลากันในวัด เพื่อแย่งอำนาจแข่งขันกัน แย่งชิงปัจจัยแย่งกันอยากให้คาราวาสที่รวยๆ เงินทอง ได้เข้ามาสนทนากับตนเองบ่อยๆ ได้เห็นพระแบ่งพรรคแบ่งพวกกัน พระกับคารวาสขัดแย่งกันอยู่บ่อยๆ เพราะเรื่องธุรกิจกิจการของวัดที่นำมาด้วยเงินทอง ในข่าวทีวี ในข่าวยูทุป ในข่าววิทยุ ก็เพราะปัญหาจาก "เงิน" รายได้ของวัด ที่มีมากมายหลายล้าน หลายร้อยล้าน หลายพันล้านต่อเดือน ที่หลั่งไหลเข้ามาในวัด ต้นเหตุก็เพียงเรื่องเงินๆ ทองๆ แค่เพียงเรื่องเดียว
วัดที่จนๆ เน้นคำว่า"วัดที่จน วัดที่ยากจนข้นแค้น" ก็ยังไม่เคยเห็นมีชาวบ้านที่ขัดแย้งกับพระเลยสักครั้ง หรือพระขัดแย้งกับพระให้เป็นข่าวให้เห็นสักครั้งก็ไม่เคยมี ก็เพราะวัดที่จนๆ ไม่ใช่แหล่งที่มีเงินทองมากมาย ที่หลั่งไหลเข้ามามากๆ ไงละ
เมื่อมีเงินทองหลั่งไหลเข้ามาทุกวันตลอดเวลามากๆ การก่อสร้างสารพัด "วัตถุ" ต่างๆ การนำเงินและทอง ไปซื้อโน่นซื้อนี่ นำเงินทองมาสร้างวัดเพิ่มขึ้นไปอีกเรื่อยๆ นำเงินมาขยายอณาเขตที่ดินของวัด สร้างโบสถ สร้างศาล สร้างตลาดนัดในวัด จัดกิจกรรมบันเทิงในวัด สร้างพระเครื่อง สร้างรูปปั้นพระ รู้ปั้นเทพและเทวดา สร้างรูปปั้นพญานาค รูปปั้นพระแม่กวนอิน พระแม่ลักษหมี รูปปั้นพระอินทร์ พระพรม และสร้างรูปปั้นอื่นๆ อีกมากมาย ไม่สิ้นสุด ตามค่านิยม
ธรรมะ คืออะไร?, บุญ คืออะไร?, พระพุทธเจ้า ท่านสอนอะไร? บ้าง, นิพพาน คืออะไร?
** หมายเหตุ: ข้อความที่พิมพ์พูดคุยกันทั้งหมดเหล่านี้ เป็นเพียงแค่การนำเอาภาษาสมมุติมาปรุงแต่ง เพื่ออธิบายให้กับบุคคลธรรมดาๆ ในระดับชาวบ้านพื้นๆ และบุคคลทั่วไป ที่ไม่ได้เก่งเรื่องธรรมะ หรือไม่เคยเรียนรู้ศึกษาด้านธรรมะมาก่อนเลย เป็นหลัก โดย..ไม่ได้มีเจตนา ไปเน้นสอนหรือพูดคุยเพื่อบอกกล่าว แก่ผู้ที่ทรงปัญญาในด้านตำหรับตำรา ทรงคัมภีร์ ใดๆ นำมาเป็นหลักยึดในการพูดคุยเลย เพราะมนุษย์แต่ละคนก็มีระดับการเข้าใจที่แตกต่างกันไป
"ธรรมะ" หมายถึง "นัยยะ"ทางสภาวธรรมะ สภาพจิตที่เป็น "พุทธะ" โดยสภาพธรรม
"ธรรม" คือ สิ่งดังกล่าวเหล่านี้: .-
- จิตรู้จิต (1)
- สภาวะของธรรมชาติ (2)
- การเรียนรู้สภาวะธรรม (3)
- จิตผู้รู้ ไปรู้"จิต" (4)
- การเรียนรู้เรื่องราวของจิต (5)
- ธรรมชาติรู้ธรรมชาติ (6)
- คือธาตุรู้ ที่ไป(รับ)รู้สิ่งประกอบกับจิต (ก็คือ รู้"รูป" รู้"นาม") (7)
- การรู้สิ่งประกอบของจิต (8)
- คือพุทธะ (รู้ ตื่น เบิกบาน)... (9)
- คือธาตุรู้ (10)
- "ธรรมะ" คือ การเห็นกายในกาย เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา("อวิชชา"ความไม่รู้)
และโทมนัส(ความโศกเศร้า เสียใจ รำพึง รำพัน พิรี้พิไร คับแค้นใจ หดหู่ใจ ไม่พอใจ ความรู้สึกที่ไม่สมปรารถนา) ในโลกเสียได้ (11)
- "ธรรมะ" คือวิธีสร้างปัญญาให้อยู่เหนือปัญญา (12)
(ที่มีอยู่ก่อนหน้าดั่งเดิม ให้มียิ่งๆ ขึ้นไปอีก)
ก็คือ รู้ความคิดตัวเองจนเกิด"วิชชา"เพื่อการบรรลุธรรม สู่ "นิพพาน"
"ธรรมะ" คือ การรับรู้ขบวนการทำงานของธรรมชาติ การรู้-ธาตุรู้ ที่มีอยู่จริงของธรรมชาติ
ว่ามันทำงานของมันอย่างไร โดยไม่มีบุคคล ตัวตน คน สัตว์ สิ่งของ เป็นผู้รับรู้ ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆ มาเกี่ยวข้องแต่อย่างไร เลยทั้งสิ้น (13)
"ธรรมะ" คือ ความเข้าใจในธรรมชาติ ล้วนๆ ที่บริสุทธิ์ ที่ไม่มีอาการปรุงแต่งเจือปนใดๆ อยู่ด้วย เป็น "สภาวะธรรม" เท่านั้น (14)
"ธรรมะ" คือ สภาวะธรรมทางธรรมชาติ ที่ "บริสุทธิ์" ไร้ความนึกคิด ไร้การปรุงแต่งในทางสมองใดๆ มาปรุงแต่งเพิ่มเติมให้กับธรรมะ
เห็นเพียงแค่รู้สภาวะเห็นที่เกิดขึ้น เมื่อเห็นแล้วก็จบทันทีเดี๋ยวนั้น เห็นเพียงสภาวะธรรมอันบริสุทธิ์ไร้สิ่งเจือปน ไม่ตัวตน คน สัตว์ สิ่งของ เจือปน
"รู้แบบรู้" เป็นสภาวะรู้ เสมือนเดียวกับอากาศ ที่ว่างเปล่าที่ไร้ขอบเขต ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ปรากฏขึ้นมาเฉยๆ แล้วก็หายไป ไร้การปรุงแต่งใดๆ แบบบริสุทธิ์ เพียวๆ ล้วนๆ (15)
By... ศิษย์: อริยบุคคล
......................+++++++++++++++........................++++++++++++++.....................++++++++++++......................
//////////
**การเรียนรู้ วิชา "พระอภิธรรม" ก็คือ การเรียนเพื่อให้ รู้ว่า ตัวตนนั้น ไม่มีอยู่จริง ในความหมายของ "โลกุตรธรรม" ไม่ใช่ในความหมาย "โลกียธรรม"
บนโลกนี้ และในจักรวาล จะมีก็แต่เพียง "รูปและนาม" เท่าน้น ไม่มีร่ายกาย ไม่มีตัวตนของเราเลย ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีคน สัตว์ ไม่มีสิ่งของใดเลย
เพียงแต่เราไปหลงว่า เรามีตัวตน ไปเท่านั้นเอง
สังขารธรรม คือ อาการปรุงแต่ง(ของจิต), การปรุงแต่งของ"ขัณฑ์๕" ทำให้คิดว่าเป็น"เรา" , ความนึกคิดปรุงแต่ง(ทางอารมณ์) คือ ความปรุงแต่ง เป็นเรื่องของมายาทาง"จิต" เป็นสิ่งจอมปลอมทั้งหมด), (เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่ความเป็นจริง ที่ไปปิดบ้งไม่ให้รู้ความจริงของ "สภาวะธรรม" ที่เป็น "ธรรมชาติ"ล้วนๆ ธรรมชาติแท้ๆ ดั่งเดิม ที่แท้จริง ไม่ให้จิตเห็น)
สังขารธรรม คือ การยืมเอาภาษาสมมุติ(ในทางโลก)นำมาปรุงแต่ง ให้มาเป็นคำพูด(คำบรรยาย)เพื่อใช้พูดคุยและติดต่อสื่อสารกันในสาระพัดเรื่อง ที่ปารถนาตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เมื่องปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดมีความวิปลาสเกิดเข้ามาผสมปิดบังความรู้อันบริสุทธิ์ของ"จิต"จนเลอะเปรอะเปื้อน เช่น ใช้พูดคุยกัน ใช้สนทนาค้าขายกัน ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของต่างๆ เพื่อจะได้แยกแยะ ทำให้จดจำเรื่องราวต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ในทางโลก ของ"โลกียธรรมะ" ของเหล่ามนุษย์ เทวดา สัตว์เดรฉาน รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ใน 31 ภพภูมิ
"รูป" คือ สิ่งรู้ของจิต, รูป ก็คือ รูปอันหนึ่ง
"รูป" มีคุณสมบัติ เป็นคู่คู่ อย่างเช่น เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตรึง-ไหว เจ็บ ป่วย ตาย, มืด-สว่าง, สั้น-ยาว ใกล้-ไกล เป็นต้น
"รูป" หมายถึง อาการประกอบของจิต สิ่งที่มองเห็น สิ่งที่สัมผัสได้ทางใจได้
เช่น ร่างกายหรือ ตัวตน คน สัตว์ สิ่งของ กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย มโนสัมผัส
อันเกิดขึ้นจาก การรวมตัวของธาตุ 4 : คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม, สรุปคือ ธาตุทั้ง 4 ก็
จัดว่า.. เป็นหนึ่งใน ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ขัณฑ์๕: ที่มี สภาวะ เกิด-ดับ หมายถึง การเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เช่น การได้เกิดมาเป็น คน เทวดา ยักษ์ สัมภะเวสี สัตว์เดรฉาน สัตว์นรก เป็นต้น
ล้วนแล้ว ก็มีการ: เกิด แก่ เจ็บ และ ตาย ไปในที่สุดทุกตัวตน (การเกิด(ตั้งอยู่แล้ว) - การดับ(ดับไปทั้งสิ้น) ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่สามารถที่จะมีสภาวะที่คงทนถาวร ได้ทั้งหมดทั้งสิ้นเลยทั้งนั้น นี่แหละคือ ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่ง ตามธรรมชาติ ที่หลีกพ้นไม่ได้ ไม่มีความยั่งยืนใดๆ เลย
บุญ แปลว่า อะไร? ศิล แปลว่า อะไร? 2 สิ่งนี้ มันมีอยู่จริง แต่มันก็ไม่มีตัวตน เป็นเพียง "นามธรรม"
คำว่า.. "บุญ" แปลตามภาษาสมมุติทางธรรมะแท้ๆ ก็คือ เครื่องฟอกจิตให้สะอาด ให้สว่าง ให้สงบ
จนไม่ไปยึดถือกับสิ่งใดๆ ยอมสละบริจาคทานออกไปโดยไม่หวังสิ่งใดๆ ให้ตอบแทนกลับคืนมาเลย ด้วยใจ(จิต)ที่บริสุทธิ์อันล้วนๆ
จนทำให้หมดความเป็นต้วตน บนโลกใบนี้ กระทั่งทำให้ ได้เข้าถึง "นิพพาน" หรือการไม่เกิดในชาตินี้ได้
("ทำบุญ" ไม่ได้หมายถึงทำไปแล้ว ก็ขอให้ได้ การได้เกิดมาเป็นเศรษฐี การได้เกิดในวงศ์กษัตริย์ ในวงศ์คฤหบดีชั้นสูง การได้ไปเกิดเป็นเทวดาที่มีวิมานมานที่อยู่บนสวรรค์ การได้รวยแบบไวๆ ขอในชาตินี้เลย เพราะผลบุญ แค่หมายถึงการได้เข้าถึง สภาวะของ "พระนิพพาน" ให้ได้อย่างไวที่สุด ต่างหาก)
แต่..ก็ยังมีผู้ที่สอนธรรมะ หลายท่านกับไม่ยอมแปล คำว่า "บุญ" ให้ครบตรงความหมายที่แท้จริง
แบบที่ข้อความ "ธรรมะ" ข้างบนดังกล่าวได้แปลไว้ แล้ว
** จึง..ทำให้ ผู้คนที่ชอบทำบุญ และบริจาคทาน บริจาคข้าวของ เงินทอง ก็จะไม่ค่อยชอบฟังความหมายคำอธิบาย แบบข้างบนนี้กันซะเท่าไร ฟังแล้วเหมือนการสอนให้หยุดการ กลับมาเกิดอีกเลย(แบบนี้ฉันไม่เอาหรอก) เพราะเหมือนได้ไปรู้ว่าคำอธิบายจริงของธรรมะ ก็คือการให้ละตัวตน การหาหนทางบรรลุธรรม ไม่ใช่เป็นการเรื่องสั่งสมบุญสะสมเสบียงเพื่อเป็นการเตรียมตัวไปเกิดอีกในชาติต่อๆ ไป เพราะหวังที่จะได้กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งในอนาคต ก็เพื่อจะได้เป็นคนรวย(บ้างกับเค้าสักที) หรือได้ไปเกิดเป็นเทวดา(เพื่อไปเสวยสุขบนสวรรค์ได้อาศัยอยู่ในวินานอันสวยงามวิจิตพิศดาร) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มันก็ยังเป็นแต่เรื่องของโลกียะ ที่ต้องเวียนว่ายเกิดตายอยู่อย่างเดิมไปเรื่อยๆ อีก นั้นแล..
**ดังนั้น ผู้บอกสอนธรรมะแบบมั่วๆ แบบผิดๆ ก็เลยต้องหาคำมาพูด(หรือกลยุทธอุบายในการจูงใจ)แบบใหม่ หาวิธีการสร้างบัญญัติคำใหม่ๆ แล้วนำบอกสอนไปว่า การหมั่นไปทำบุญเพื่อบริจาคเงินและทองกันให้มากๆ การบริจาคเงินทองให้เต็มที่ไปเลย นี่แหละดีที่สุด ยิ่งถ้าใครนั้นกล้า ที่จะบริจาคเงินทองให้หมดตัวหมด ให้หมดเงินในบัญชีเงินฝากทางโลกกันไปเลย ปิดบัญชีทางโลกไปเลย แล้วเปลี่ยนมาเปิดบัญชีทางธรรม ด้วยการบริจาคสละเงินทองเพื่อนำมาบริจากให้หมดตัวไปเลย(ใจต้องถึงๆ กันหน่อยนะ) ก็ยิ่งจะได้บุญที่ใหญ่สูงสุด แล้วท่านก็จะได้บุญกลับมา(ตอบแทน) ได้มีบุญเพิ่มยิ่งขึ้นกลับมาคืนอีกหลายๆ เท่าตัวเลยนะ (จนดูเสมือนเป็นธุรกิจต่างตอบแทนการลงทุนที่ยิ่งใหญ่ไปซะ) เน้นสอน: ว่าใครที่ทำบุญให้ได้มากๆ ก็จะได้มีวิมานมาปรากฏขึ้นมาเองรออยู่บนช้นสวรรค์ล่วงหน้า มาตั้งรอเราอยู่บนสวรรค์ ก่อนที่เราจะตายไปอยู๋ในนั้นด้วยนะ อะไรทำนองนี้(สร้างภาพให้เกิดมโนจิตนาการ ปั่นตัวกิเลสให้ดูไว้ล่วงหน้ากันยกใหญ่) เป็นต้น
แล้วถ้าถามว่า.. แล้วจะต้องทำบุญ อย่างไร? ถึงจะเรียกว่า..ทำบุญ แบบคนมีที่ปัญญา? ละ
**ตอบ(คำถามนี้ดีมาก)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานนิดหน่อย
(หมายถึง: การบุญบริจาคทาน ให้พอเหมาะพอประมาณแก่ฐานะของตัวเองนั่นแหละ ไม่ใช่เชื่อคำหลอกสอน จนเกิดอาการบ้าบุญ เกิดกิเลส หวังได้ผลตอบแทนกลับคืนมาเป็นร้อยเท่า เป็นพันเท่า เป็นแสนเท่า เป็นล้านเท่า อะไรแบบนี้ ไม่เอานะ แต่..ให้ไปเน้นที่ การหมั่นภาวนา(การหมั่นตรึกพิจารณาธรรมะ)ให้มากๆ ร่วมกันด้วย ก็ได้เกิดเป็น"ปัญญา" เข้ามาประกอบกัน, และก็ให้เน้นการรักษาศิล๕ อย่างมั่นคงร่วมกันไปด้วย
**ทั้ง 3 สิ่งเหล่านี้ ก็คือการสะสมบุญ ที่เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ ไงละ
1. การให้ทาน (การให้ทาน การบริจาคทาน ด้วยความคิดที่ว่าจะฝึกฝนลดละความโลภ ฝีกจิตให้เป็นผู้ให้
เพื่อให้ถึงซึ่ง "นิพพาน" เพียงเท่านั้น โดยไม่คิดหวังได้อะไรกลับคืนมาตอบแทนสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว)
2. การรักษาศิล (ให้มั่นคงและหนักแน่อยู่ตลอดเวลาทุกขณะจิต)
3. การภาวนา (อยู่เป็นประจำ)
**ใน "ธรรมะ" สิ่งจริง เรื่องจริง ที่ "พระพุทธเจ้า" ทรงสอนไว้ว่า การทำความดีทุกๆ อย่าง
ก็คือ การสะสมบุญ เพื่อมุ่งตรงไปสู่ "นิพพาน" เพียงเรื่องเดียวตรงๆ เท่านั้น การที่มนุษย์ทำการบริจาคทาน เพื่อเป็นการสะสมบุญ
ก็เพื่อฝึกการเป็นผู้ให้ ลดความตระหนี่ ลดความหวงแหน ฝึกความมีเมตตา เพื่อนำพา"ดวงจิต" ไปสู่ "นิพพาน" ให้จงได้โดยเร็ววัน ก็เพื่อสิ่งนี้
กิเลส และโลภะ ความโลภหลงมั่วเมาในตัวตน ว่าเราเป็นเรา ก็จะทำให้ธรรมะในใจของผู้ฟังมีแต่ความเสื่อมลงๆ(จากธรรมะ) แต่เพียงอย่างเดียว
การที่ผู้สอนธรรมะ(บางท่านที่เป็นมิฉาทิฐิ) ทำการหลอกสอนธรรมะแบบผิดๆ เพื่อทำให้ ผู้คนเกิดความศรัทธาและหลงไหล จนไร้ปัญญา จนเกิดความอยากมีอยากได้ เกิดมีกิเลส ที่รุนแรงยิ่งขึ้นมาในใจ(จนหลงลืมตัว) ลืมการละกิเลส เมื่อความโลภเกิดขึ้นมา ก็จะไปตัดลอนโอกาสที่จะมีดวงตาเห็นธรรม ก็จะยิ่งห่างไกล "นิพพาน" เข้าไปอีก (พระอรหัต์ ท่านกล่าวไว้ว่า กรณีกรทำนองนี้ ก็จะเห็นผลทั้งผู้สอนธรรมะแบบผิดและผู้ที่ชื่นชอบคำสอนธรรมะแบบผิดๆ ทั้งอาจารย์ ทั้งศิษย์ กำลังจุงมือก้น นำพาไปสู่ "มหานรก" อเวจี กันแน่นอน แบบไม่รู้ตัวเลย ก็ด้วยเหตุ เพราะ "ความด้อยปัญญาในทางธรรม" นี่เอง
จากกรณีศึกษานี้ **ทำให้ได้เห็นว่า เดี๋ยวนี้มีหลายวัด(แค่บ้างวัด) ที่มีเหตุการณ์ พระทะเลากันในวัด เพื่อแย่งอำนาจแข่งขันกัน แย่งชิงปัจจัยแย่งกันอยากให้คาราวาสที่รวยๆ เงินทอง ได้เข้ามาสนทนากับตนเองบ่อยๆ ได้เห็นพระแบ่งพรรคแบ่งพวกกัน พระกับคารวาสขัดแย่งกันอยู่บ่อยๆ เพราะเรื่องธุรกิจกิจการของวัดที่นำมาด้วยเงินทอง ในข่าวทีวี ในข่าวยูทุป ในข่าววิทยุ ก็เพราะปัญหาจาก "เงิน" รายได้ของวัด ที่มีมากมายหลายล้าน หลายร้อยล้าน หลายพันล้านต่อเดือน ที่หลั่งไหลเข้ามาในวัด ต้นเหตุก็เพียงเรื่องเงินๆ ทองๆ แค่เพียงเรื่องเดียว
วัดที่จนๆ เน้นคำว่า"วัดที่จน วัดที่ยากจนข้นแค้น" ก็ยังไม่เคยเห็นมีชาวบ้านที่ขัดแย้งกับพระเลยสักครั้ง หรือพระขัดแย้งกับพระให้เป็นข่าวให้เห็นสักครั้งก็ไม่เคยมี ก็เพราะวัดที่จนๆ ไม่ใช่แหล่งที่มีเงินทองมากมาย ที่หลั่งไหลเข้ามามากๆ ไงละ
เมื่อมีเงินทองหลั่งไหลเข้ามาทุกวันตลอดเวลามากๆ การก่อสร้างสารพัด "วัตถุ" ต่างๆ การนำเงินและทอง ไปซื้อโน่นซื้อนี่ นำเงินทองมาสร้างวัดเพิ่มขึ้นไปอีกเรื่อยๆ นำเงินมาขยายอณาเขตที่ดินของวัด สร้างโบสถ สร้างศาล สร้างตลาดนัดในวัด จัดกิจกรรมบันเทิงในวัด สร้างพระเครื่อง สร้างรูปปั้นพระ รู้ปั้นเทพและเทวดา สร้างรูปปั้นพญานาค รูปปั้นพระแม่กวนอิน พระแม่ลักษหมี รูปปั้นพระอินทร์ พระพรม และสร้างรูปปั้นอื่นๆ อีกมากมาย ไม่สิ้นสุด ตามค่านิยม