อนุสาวรีย์บันทึก ผมกับแขมร์
โดย : ละเว้
บทที่๙ แรกประทับใจในทรงจำ
‘จ็อมการ์ละมุต’ (ចម្ការល្មុត) แปลว่าสวน (หรือไร่) ละมุด ภูมิจ็อมการ์ละมุด (ភូមិចម្ការល្មុត) จึงแปลว่า ‘บ้านสวนละมุด’ (ภูมิแปลว่าหมู่บ้าน)
และเหตุที่ทำให้ที่นี่ได้ชื่อว่าบ้านสวนละมุดนั้นก็เพราะที่นี่มีสวนละมุดจริง ๆ และน่าจะเป็นสวนที่มีมาก่อนสงครามอีกด้วย เพราะแต่ละต้นสูงใหญ่มาก นอกจากลำต้นแล้วผลของมันยังใหญ่กว่าละมุดบ้านเราเช่นกัน แถมรสชาติยังหวานกรอบดีเสียด้วย และสวนละมุดที่ว่านี้มักถูกใช้เป็นสถานที่จัดงานอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากมีความร่มรื่นเหมาะสมนั่นเอง
บ้านจ็อมการ์ละมุตคือปลายทางที่เรามาส่งยายกันตามที่ได้กล่าวมาแล้ว หมู่บ้านนี้จะอยู่ในตำบลสะเดา หรือคุ้มสะเดา (ឃុំស្ដៅ) อำเภอระตะนะม็อณฎ็อล (ស្រុករតនមណ្ឌល) จังหวัดบัตด็อมบอง (ខេត្តបាត់ដំបង)
.
ภาพจำแรกของที่นี่สำหรับผมมันเหมือนย้อนอดีตไปสมัยก่อนสงคราม หรือตอนผมเป็นเด็กได้เลยจริง ๆ เหมือนว่าวันคืนของที่นี่จะถูกหยุดอยู่แค่นี้ จะบอกว่านี่เป็นข้อดีของสงครามจะได้ไหมหนอ เพราะอย่างน้อยมันยังได้เก็บคืนวันเก่า ๆ ที่ผมอยากเห็นตอนเป็นเด็กไว้ให้ได้มาสัมผัสในวันนี้ (ยี่สิบกว่าปีกันเลยทีเดียว) มันมีความเป็นขแมร์ดั้งเดิมทั้งสภาพบ้านเรือนและแม้แต่วิถีชีวิตของผู้ฅน
บ้านเรือนนั้นดูจะเป็นสิ่งสะดุดตากับความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากบ้านเรา เริ่มจากเสา เสาบ้านของที่นี่จะนิยมใช้เสาปูนเป็นตอม่อส่วนฐานหรือโคนเสา โดยเสาปูนนี้จะไม่ขุดหลุมฝังแบบบ้านเรา แต่จะแค่วางไว้บนดิน เสาไม้ที่ต่อก็เอามาวางบนเสาปูน โดยมีเดือยเหล็กที่โผล่จากเสาปูนสวมเข้ากับรูตรงโคนเสาไม้ด้านล่างเท่านั้น
บันไดก็ดูแตกต่างเช่นกัน โดยบันไดของที่นี่จะต้องอยู่นอกตัวบ้านซึ่งจะมีหลังคาครอบอีกที เท่าที่ได้ทราบข้อมูลมาเขาบอกว่าการนำบันไดไว้ในบ้านเหมือนเป็นการนำสิ่งไม่ดีเข้าบ้านอะไรประมาณนั้น
ชายคาก็เห็นชัดถึงความแตกต่างได้เช่นกัน บ้านเรือนที่นี่จะมีชายคาสั้นกว่าบ้านเรามาก ยังมีลวดลายจากการสลักฉลุทั้งแต่งแต้มสีสันสวยงาม ลวดลายที่ว่านี้ยังเห็นได้ตามส่วนต่าง ๆ ของบ้านอีกเช่นราวระเบียงและที่อื่น ๆ
และที่บอกว่าวิถีชีวิตยังเป็นแบบดั้งเดิมเหมือนสมัยก่อนสงครามนั้นก็เช่นว่า รถยนต์ยังเป็นสิ่งหายาก มอเตอร์ไซค์ดูจะมีแต่บ้านฅนรวย จักรยานยังเป็นสิ่งที่ยากที่จะขอหยิบยืมกันได้ การเดินเท้าระยะไกลไปไหนต่อไหนยังคงเป็นเรื่องปกติ และเชื่อไหมว่าการนั่งเกวียนมาตลาดยังคงเห็นได้ที่นี่เช่นกัน บ้านเรานั้นแต่เกิดมาผมก็ไม่เคยได้เห็นใครใช้เกวียนกันแล้ว
และวิถีชีวิตที่บ้านเราเลือนหายจนหลายฅนอาจไม่รู้จัก หรือลืมเลือนกันไปแล้วแต่ยังหาได้ที่นี่อีกอย่างก็คือ
'เขาว่าจีบแม่ค้า เขาว่าบ้ารำวง'
แฮ่ จากเนื้อร้องเพลงลูกทุ่งเพลงโปรดของผมสมัยยังเด็กเลยนะครับ ซึ่งเพลงที่ว่านี้ถือได้ว่าเป็นสมุดบันทึก หรือภาพสะท้อนวิถีชีวิตเก่า ๆ ได้เป็นอย่างดี
สังคมในอดีตเมื่อผมเป็นเด็กนั้น รำวงถือว่าเป็นมหรสพชูโรงตามงานวัดเลยทีเดียว ตอนนั้นหนังกลางแปลงยังหาได้ยาก และเมื่อมีงานวัดมีรำวง ก็ต้องมีแม่ค้ามานั่งขายอ้อยควั่นถั่วต้มหรือขนมและผลไม้อื่น ๆ แม่ค้าตามงานวัดในสมัยก่อนส่วนใหญ่ต้องเป็นสาวโสดเท่านั้นนะครับ และเรื่องของแม่ค้านี้จะเห็นได้จากเพลง ‘แตงเถาตาย’ ของ ‘ไวพจน์ เพชรสุพรรณ’ ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวการจีบแม่ค้าของหนุ่มสมัยนั้นออกมาเช่นกัน เนื้อเพลงจะกล่าวถึงไอ้หนุ่มที่หลงจีบแม่ค้าที่คิดว่าโสดแต่กลับเจอฅนมีเจ้าของอะไรประมาณนั้นครับ
ครับ วิถีชีวิตการเล่นรำวงจีบแม่ค้าอะไรแบบนี้บ้านเราเลือนหายไปนานแล้ว แต่ที่นี่ยังคงเห็นได้ไม่ยาก ทั้งจีบแม่ค้าทั้งบ้ารำวงเลยทีเดียว
ช่วงหลังสงครามแบบนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่จะค่อนข้างว่างงาน แม้เงินทองจะหายาก แต่นั่นก็ทำให้พวกเขามีเวลาสนุกกับวิถีชีวิตแบบเดิม ๆ อย่างเช่นรำวงตามที่กล่าว ช่วงที่ผมได้มานี้ครั้งแรกนี้การเล่นรำวงมีให้ดูแทบทุกคืน (เพียงแต่ต้องขยันเดินกันหน่อยเท่านั้น)
รำวงที่นี่จะไม่มีเวทียกพื้นแบบบ้านเรา แต่จะรำกันบนลานดิน ตรงกลางลานจะมีผลไม้วางไว้ให้หนุ่มสาวที่มาเล่นรำได้หยิบกินกัน และท่ารำวงของเขานั้นก็มีหลายท่าทางกันเลยทีเดียว แน่นอนว่าโดยรอบลานรำวงนั้นที่ขาดไม่ได้ก็คือ แม่ค้าสาวโสดมานั่งรอลูกค้าหนุ่ม ๆ นั่นเอง เหมือนได้ย้อนยุคมาสมัยก่อนสงครามอย่างไรอย่างนั่นเลยจริง ๆ
สถานบันเทิงที่ดูทันสมัยอย่างคาราโอเกะของที่นี่ก็มีบ้าง แต่จะไม่ได้เป็นร้านเหล้ามีน้องหนูมานั่งแนบข้างแบบบ้านเรานะครับ คาราโอเกะที่นี่จะเป็นบ้านฅนรวยที่มีเครื่องปั่นไฟ มีทีวี มีเครื่องเล่นวิดีโอซีดี มีเครื่องขยายเสียง แค่นี้ก็เปิดร้านคาราโอเกะเก็บเงินจากผู้ที่มาร้องเพลงกันได้แล้วครับ แล้วพวกเขาก็สนุกกันไปโดยไม่ต้องมีทั้งสุราและนารีเลยนั่นแหละ ผมยังพลอยสนุกกับการไปนั่งฟังพวกเขาร้องเพลงแทบทุกคืนด้วยเช่นกัน แฮ่
.
การใช้ชีวิตที่นี่เราสามารถใช้เงินไทยหาซื้อสินค้าได้เลย อัตราแลกเปลี่ยนจะคิดกันง่าย ๆ ร้อยเรียลเท่ากับหนึ่งบาท (ปัจจุบันยึดตามอัตราแลกเปลี่ยนจริง) สินค้าที่นี่ยังถูกมากเช่นกัน (ถูกเพราะสินค้าไทยยังไม่ค่อยมีเข้ามา) และส่วนมากจะขายกันไม่เกินบาท (ร้อยเรียล) ไม่ว่าจะกะปิ น้ำตาล น้ำปลา ผงชูรส และอื่น ๆ มันจะถูกแบ่งขายถุงละร้อยเรียลแทบทั้งหมด
สำหรับอาหารการกินนั้น ข้าวต้มญวนชามละห้าบาทก็ยังมีขาย ก๋วยเตี๋ยวแม้จะแพงหน่อย (สิบบาท) แต่ก็ยังถูกกว่าบ้านเราอยู่ดี
มีอย่างหนึ่งที่ผมเพิ่งทราบก็คือ ผมคิดว่าฅนแขมร์จะนิยมรับประทานอาหารที่มีรสจัดจ้านหรือเผ็ดแบบบ้านเรา แต่ผิดคาดครับ ที่นี่ส่วนใหญ่จะไม่นิยมกินเผ็ดกัน แม้แต่ก๋วยเตี๋ยวบางร้านยังไม่มีพริกป่นให้เลยด้วยซ้ำ บางทีแม้แต่น้ำปลายังหาไม่ได้เช่นกัน ฅนที่นี่ส่วนใหญ่จะกินก๋วยเตี๋ยวกับซอสพริกและซีอิ๊วขาว หรือซอสปรุงรส ครับฟังไม่ผิดหรอก ปัจจุบันถึงแม้ตามร้านจะมีพวงเครื่องปรุงพริกป่นน้ำตาลน้ำปลาวางไว้แล้วก็ตาม แต่ยังคงขาดซอสพริกกับซอสปรุงรสไม่ได้เหมือนเดิม
.
สภาพพื้นที่ก็เป็นอะไรที่ผมคาดการณ์ผิดอีกเช่นเคย ผมคิดแต่ว่าเมืองแขมร์คงไม่ต่างจากบ้านผมมากนักหรอก และจากที่ได้เข้าป่าทำไม้มันก็ดูไม่ต่างกันจริง ๆ แต่ความเหมือนมันมีแค่ชายแดนไทยเท่านั้นเอง พอลึกเข้ามาในนี้สภาพภูมิประเทศจะคล้ายกับทางอีสานเสียมากกว่า ผืนนาราบเรียบ พุ่มไม้ตามโคก ภูเขาหินปูนที่อยู่ ๆ ก็โผล่มา จะมีแตกต่างจากทางอีสานสักหน่อยก็ตรงต้นตาลที่จะเห็นได้ทั่วไปตามท้องทุ่ง (ปันจุบุนแทบไม่เหลือแล้ว)
น้ำจากแหล่งธรรมชาติ หรือน้ำบ่อจะเป็นน้ำกร่อยแบบอีสานเช่นกัน บ้านเรือนที่นี่จึงต้องมีตุ่มเก็บน้ำฝนไว้ดื่มกิน
ผืนดินที่นี่ (เฉพาะบางส่วนของบัตด็อมบอง) จะเป็นดินดำที่แม้ไม่ใช่ดินเหนียว แต่หากโดนฝนหรือเปียกน้ำมันจะเหนียวยิ่งกว่าดินเหนียวเสียอีก ติดหนึบหนับจนไม่อยากเดินไปไหนหลังฝนตกกันเลยนั่นแหละ...
แฮ่ บทนี้ขอเกริ่นที่มาที่ไปสภาพความเป็นอยู่ของผู้ฅนให้พอได้ทราบกันก่อนนะครับ ส่วนสภาพความเป็นอยู่ของผมที่นี่จะเป็นอย่างไร จะได้เจออะไรบ้าง และมาลาเรียมันจะมีลูกเล่นอะไรกับผมอีก คงต้องขอให้ติดตามตอนต่อไปกันนั่นแหละครับ.
อนุสาวรีย์บันทึก ผมกับแขมร์ (ตอนที่๙)
โดย : ละเว้
บทที่๙ แรกประทับใจในทรงจำ
‘จ็อมการ์ละมุต’ (ចម្ការល្មុត) แปลว่าสวน (หรือไร่) ละมุด ภูมิจ็อมการ์ละมุด (ភូមិចម្ការល្មុត) จึงแปลว่า ‘บ้านสวนละมุด’ (ภูมิแปลว่าหมู่บ้าน)
และเหตุที่ทำให้ที่นี่ได้ชื่อว่าบ้านสวนละมุดนั้นก็เพราะที่นี่มีสวนละมุดจริง ๆ และน่าจะเป็นสวนที่มีมาก่อนสงครามอีกด้วย เพราะแต่ละต้นสูงใหญ่มาก นอกจากลำต้นแล้วผลของมันยังใหญ่กว่าละมุดบ้านเราเช่นกัน แถมรสชาติยังหวานกรอบดีเสียด้วย และสวนละมุดที่ว่านี้มักถูกใช้เป็นสถานที่จัดงานอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากมีความร่มรื่นเหมาะสมนั่นเอง
บ้านจ็อมการ์ละมุตคือปลายทางที่เรามาส่งยายกันตามที่ได้กล่าวมาแล้ว หมู่บ้านนี้จะอยู่ในตำบลสะเดา หรือคุ้มสะเดา (ឃុំស្ដៅ) อำเภอระตะนะม็อณฎ็อล (ស្រុករតនមណ្ឌល) จังหวัดบัตด็อมบอง (ខេត្តបាត់ដំបង)
.
ภาพจำแรกของที่นี่สำหรับผมมันเหมือนย้อนอดีตไปสมัยก่อนสงคราม หรือตอนผมเป็นเด็กได้เลยจริง ๆ เหมือนว่าวันคืนของที่นี่จะถูกหยุดอยู่แค่นี้ จะบอกว่านี่เป็นข้อดีของสงครามจะได้ไหมหนอ เพราะอย่างน้อยมันยังได้เก็บคืนวันเก่า ๆ ที่ผมอยากเห็นตอนเป็นเด็กไว้ให้ได้มาสัมผัสในวันนี้ (ยี่สิบกว่าปีกันเลยทีเดียว) มันมีความเป็นขแมร์ดั้งเดิมทั้งสภาพบ้านเรือนและแม้แต่วิถีชีวิตของผู้ฅน
บ้านเรือนนั้นดูจะเป็นสิ่งสะดุดตากับความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากบ้านเรา เริ่มจากเสา เสาบ้านของที่นี่จะนิยมใช้เสาปูนเป็นตอม่อส่วนฐานหรือโคนเสา โดยเสาปูนนี้จะไม่ขุดหลุมฝังแบบบ้านเรา แต่จะแค่วางไว้บนดิน เสาไม้ที่ต่อก็เอามาวางบนเสาปูน โดยมีเดือยเหล็กที่โผล่จากเสาปูนสวมเข้ากับรูตรงโคนเสาไม้ด้านล่างเท่านั้น
บันไดก็ดูแตกต่างเช่นกัน โดยบันไดของที่นี่จะต้องอยู่นอกตัวบ้านซึ่งจะมีหลังคาครอบอีกที เท่าที่ได้ทราบข้อมูลมาเขาบอกว่าการนำบันไดไว้ในบ้านเหมือนเป็นการนำสิ่งไม่ดีเข้าบ้านอะไรประมาณนั้น
ชายคาก็เห็นชัดถึงความแตกต่างได้เช่นกัน บ้านเรือนที่นี่จะมีชายคาสั้นกว่าบ้านเรามาก ยังมีลวดลายจากการสลักฉลุทั้งแต่งแต้มสีสันสวยงาม ลวดลายที่ว่านี้ยังเห็นได้ตามส่วนต่าง ๆ ของบ้านอีกเช่นราวระเบียงและที่อื่น ๆ
และที่บอกว่าวิถีชีวิตยังเป็นแบบดั้งเดิมเหมือนสมัยก่อนสงครามนั้นก็เช่นว่า รถยนต์ยังเป็นสิ่งหายาก มอเตอร์ไซค์ดูจะมีแต่บ้านฅนรวย จักรยานยังเป็นสิ่งที่ยากที่จะขอหยิบยืมกันได้ การเดินเท้าระยะไกลไปไหนต่อไหนยังคงเป็นเรื่องปกติ และเชื่อไหมว่าการนั่งเกวียนมาตลาดยังคงเห็นได้ที่นี่เช่นกัน บ้านเรานั้นแต่เกิดมาผมก็ไม่เคยได้เห็นใครใช้เกวียนกันแล้ว
และวิถีชีวิตที่บ้านเราเลือนหายจนหลายฅนอาจไม่รู้จัก หรือลืมเลือนกันไปแล้วแต่ยังหาได้ที่นี่อีกอย่างก็คือ
'เขาว่าจีบแม่ค้า เขาว่าบ้ารำวง'
แฮ่ จากเนื้อร้องเพลงลูกทุ่งเพลงโปรดของผมสมัยยังเด็กเลยนะครับ ซึ่งเพลงที่ว่านี้ถือได้ว่าเป็นสมุดบันทึก หรือภาพสะท้อนวิถีชีวิตเก่า ๆ ได้เป็นอย่างดี
สังคมในอดีตเมื่อผมเป็นเด็กนั้น รำวงถือว่าเป็นมหรสพชูโรงตามงานวัดเลยทีเดียว ตอนนั้นหนังกลางแปลงยังหาได้ยาก และเมื่อมีงานวัดมีรำวง ก็ต้องมีแม่ค้ามานั่งขายอ้อยควั่นถั่วต้มหรือขนมและผลไม้อื่น ๆ แม่ค้าตามงานวัดในสมัยก่อนส่วนใหญ่ต้องเป็นสาวโสดเท่านั้นนะครับ และเรื่องของแม่ค้านี้จะเห็นได้จากเพลง ‘แตงเถาตาย’ ของ ‘ไวพจน์ เพชรสุพรรณ’ ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวการจีบแม่ค้าของหนุ่มสมัยนั้นออกมาเช่นกัน เนื้อเพลงจะกล่าวถึงไอ้หนุ่มที่หลงจีบแม่ค้าที่คิดว่าโสดแต่กลับเจอฅนมีเจ้าของอะไรประมาณนั้นครับ
ครับ วิถีชีวิตการเล่นรำวงจีบแม่ค้าอะไรแบบนี้บ้านเราเลือนหายไปนานแล้ว แต่ที่นี่ยังคงเห็นได้ไม่ยาก ทั้งจีบแม่ค้าทั้งบ้ารำวงเลยทีเดียว
ช่วงหลังสงครามแบบนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่จะค่อนข้างว่างงาน แม้เงินทองจะหายาก แต่นั่นก็ทำให้พวกเขามีเวลาสนุกกับวิถีชีวิตแบบเดิม ๆ อย่างเช่นรำวงตามที่กล่าว ช่วงที่ผมได้มานี้ครั้งแรกนี้การเล่นรำวงมีให้ดูแทบทุกคืน (เพียงแต่ต้องขยันเดินกันหน่อยเท่านั้น)
รำวงที่นี่จะไม่มีเวทียกพื้นแบบบ้านเรา แต่จะรำกันบนลานดิน ตรงกลางลานจะมีผลไม้วางไว้ให้หนุ่มสาวที่มาเล่นรำได้หยิบกินกัน และท่ารำวงของเขานั้นก็มีหลายท่าทางกันเลยทีเดียว แน่นอนว่าโดยรอบลานรำวงนั้นที่ขาดไม่ได้ก็คือ แม่ค้าสาวโสดมานั่งรอลูกค้าหนุ่ม ๆ นั่นเอง เหมือนได้ย้อนยุคมาสมัยก่อนสงครามอย่างไรอย่างนั่นเลยจริง ๆ
สถานบันเทิงที่ดูทันสมัยอย่างคาราโอเกะของที่นี่ก็มีบ้าง แต่จะไม่ได้เป็นร้านเหล้ามีน้องหนูมานั่งแนบข้างแบบบ้านเรานะครับ คาราโอเกะที่นี่จะเป็นบ้านฅนรวยที่มีเครื่องปั่นไฟ มีทีวี มีเครื่องเล่นวิดีโอซีดี มีเครื่องขยายเสียง แค่นี้ก็เปิดร้านคาราโอเกะเก็บเงินจากผู้ที่มาร้องเพลงกันได้แล้วครับ แล้วพวกเขาก็สนุกกันไปโดยไม่ต้องมีทั้งสุราและนารีเลยนั่นแหละ ผมยังพลอยสนุกกับการไปนั่งฟังพวกเขาร้องเพลงแทบทุกคืนด้วยเช่นกัน แฮ่
.
การใช้ชีวิตที่นี่เราสามารถใช้เงินไทยหาซื้อสินค้าได้เลย อัตราแลกเปลี่ยนจะคิดกันง่าย ๆ ร้อยเรียลเท่ากับหนึ่งบาท (ปัจจุบันยึดตามอัตราแลกเปลี่ยนจริง) สินค้าที่นี่ยังถูกมากเช่นกัน (ถูกเพราะสินค้าไทยยังไม่ค่อยมีเข้ามา) และส่วนมากจะขายกันไม่เกินบาท (ร้อยเรียล) ไม่ว่าจะกะปิ น้ำตาล น้ำปลา ผงชูรส และอื่น ๆ มันจะถูกแบ่งขายถุงละร้อยเรียลแทบทั้งหมด
สำหรับอาหารการกินนั้น ข้าวต้มญวนชามละห้าบาทก็ยังมีขาย ก๋วยเตี๋ยวแม้จะแพงหน่อย (สิบบาท) แต่ก็ยังถูกกว่าบ้านเราอยู่ดี
มีอย่างหนึ่งที่ผมเพิ่งทราบก็คือ ผมคิดว่าฅนแขมร์จะนิยมรับประทานอาหารที่มีรสจัดจ้านหรือเผ็ดแบบบ้านเรา แต่ผิดคาดครับ ที่นี่ส่วนใหญ่จะไม่นิยมกินเผ็ดกัน แม้แต่ก๋วยเตี๋ยวบางร้านยังไม่มีพริกป่นให้เลยด้วยซ้ำ บางทีแม้แต่น้ำปลายังหาไม่ได้เช่นกัน ฅนที่นี่ส่วนใหญ่จะกินก๋วยเตี๋ยวกับซอสพริกและซีอิ๊วขาว หรือซอสปรุงรส ครับฟังไม่ผิดหรอก ปัจจุบันถึงแม้ตามร้านจะมีพวงเครื่องปรุงพริกป่นน้ำตาลน้ำปลาวางไว้แล้วก็ตาม แต่ยังคงขาดซอสพริกกับซอสปรุงรสไม่ได้เหมือนเดิม
.
สภาพพื้นที่ก็เป็นอะไรที่ผมคาดการณ์ผิดอีกเช่นเคย ผมคิดแต่ว่าเมืองแขมร์คงไม่ต่างจากบ้านผมมากนักหรอก และจากที่ได้เข้าป่าทำไม้มันก็ดูไม่ต่างกันจริง ๆ แต่ความเหมือนมันมีแค่ชายแดนไทยเท่านั้นเอง พอลึกเข้ามาในนี้สภาพภูมิประเทศจะคล้ายกับทางอีสานเสียมากกว่า ผืนนาราบเรียบ พุ่มไม้ตามโคก ภูเขาหินปูนที่อยู่ ๆ ก็โผล่มา จะมีแตกต่างจากทางอีสานสักหน่อยก็ตรงต้นตาลที่จะเห็นได้ทั่วไปตามท้องทุ่ง (ปันจุบุนแทบไม่เหลือแล้ว)
น้ำจากแหล่งธรรมชาติ หรือน้ำบ่อจะเป็นน้ำกร่อยแบบอีสานเช่นกัน บ้านเรือนที่นี่จึงต้องมีตุ่มเก็บน้ำฝนไว้ดื่มกิน
ผืนดินที่นี่ (เฉพาะบางส่วนของบัตด็อมบอง) จะเป็นดินดำที่แม้ไม่ใช่ดินเหนียว แต่หากโดนฝนหรือเปียกน้ำมันจะเหนียวยิ่งกว่าดินเหนียวเสียอีก ติดหนึบหนับจนไม่อยากเดินไปไหนหลังฝนตกกันเลยนั่นแหละ...
แฮ่ บทนี้ขอเกริ่นที่มาที่ไปสภาพความเป็นอยู่ของผู้ฅนให้พอได้ทราบกันก่อนนะครับ ส่วนสภาพความเป็นอยู่ของผมที่นี่จะเป็นอย่างไร จะได้เจออะไรบ้าง และมาลาเรียมันจะมีลูกเล่นอะไรกับผมอีก คงต้องขอให้ติดตามตอนต่อไปกันนั่นแหละครับ.