พอดีผมสนใจศึกษา เกี่ยวกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจของไทย พอจับใจความได้ประมาณว่า ตั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่แล้วรัฐบาลไทยไม่ได้ไปบงการหรือชี้นำวงการอุตสาหกรรมของประเทศมากนัก คือปล่อยให้เป็นอิสระไปตามกลไกตลาด ซึ่งโมเดลการพัฒนาแบบนี้ก็ได้รับคำชมจากธนาคารโลกและ IMF ในสมัยจอมพลสฤษดิ์เองท่านก็ให้อิสระแก่ภาคเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยที่ท่านมุ่งเน้นไปที่การปกครองและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามชนบท ก็นับเป็นการสกัดกั้นอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ในรูปแบบนึง ซึ่งต่างไปจากประเทศเสือเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกที่รัฐค่อนข้างจะมีบทบาทชี้นำการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยตรงมากกว่า (state-led industrialization) อย่างเช่นเกาหลีใต้ที่มีนโยบาย Heavy- Chemical Industrialization ซึ่งก็เป็นหนึ่งใน Industrial Policy สมัยนายพล Park Chung-Hee
จะเห็นได้ว่าประเทศเอเชียตะวันออกที่ใช้นโยบายแบบ State-led ล้วนแล้วแต่กลายเป็นประเทศรายได้สูงแล้วทั้งสิ้น ส่วนไทยยังติดกับดักรายได้ปานกลางอยู่ โมเดลการพัฒนาแบบที่รัฐดูแลอยู่ห่างๆแบบนี้จะช่วยให้เราหลุดพ้นสถานะประเทศกำลังพัฒนาได้จริงหรือ? การที่รัฐมี โครงการอย่าง EEC ที่มุ่งเน้นอุตสาหกรรม S-Curve นี่นับว่าเป็น state-led หรือ industrial policy อย่างนึงที่รัฐพยายามจะหาทางหลุดรายได้ปานกลางใช่ไหมครับ?
นี่คือความแตกต่างระหว่าง Industrial Policy ของประเทศไทยกับประเทศพัฒนาแล้วในเอเชียตะวันออก?
จะเห็นได้ว่าประเทศเอเชียตะวันออกที่ใช้นโยบายแบบ State-led ล้วนแล้วแต่กลายเป็นประเทศรายได้สูงแล้วทั้งสิ้น ส่วนไทยยังติดกับดักรายได้ปานกลางอยู่ โมเดลการพัฒนาแบบที่รัฐดูแลอยู่ห่างๆแบบนี้จะช่วยให้เราหลุดพ้นสถานะประเทศกำลังพัฒนาได้จริงหรือ? การที่รัฐมี โครงการอย่าง EEC ที่มุ่งเน้นอุตสาหกรรม S-Curve นี่นับว่าเป็น state-led หรือ industrial policy อย่างนึงที่รัฐพยายามจะหาทางหลุดรายได้ปานกลางใช่ไหมครับ?