'เวียงหนองหล่ม' พื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงราย มีตำนานเล่าขานว่าตั้งแต่ราว 1,500 ปีก่อน ที่นี่คือเมืองโยนกนาคพันธุ์ แต่ต่อมาถูกพญานาคถล่มเมืองจนทรุดตัวจมลงไปในหนองน้ำ ขณะที่ทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่าเกิดจากเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ จนเมืองล่มสลาย .. ผ่านมาจนปัจจุบัน เวียงหนองหล่มกำลังเผชิญหายนะอีกครั้งหนึ่ง ทว่าการพังทลายครั้งนี้เกิดจากน้ำมือของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า 'มนุษย์' ด้วยกันเอง
.
เดิมที เวียงหนองหล่มมีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติให้คนและสัตว์แบ่งปันกันหากินโดยแทบไม่ต้องหาซื้ออาหารจากข้างนอก ที่นี่ยังถือเป็นแหล่งเลี้ยงควายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย อันนับได้ว่าเป็นเส้นเลือกหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวบ้านนับพันครัวเรือน และยังถูกยกเป็นพื้นที่อนุรักษ์ควายอีกด้วย การเลี้ยงควายที่นี่เป็นการเลี้ยงตามธรรมชาติ โดยแต่ละวัน ชาวบ้านจะเปิดคอกให้ควายพากันเดินออกไปลงหนองน้ำหาหญ้ากินเอง และเดินกลับเข้าคอกเองเมื่อกินอิ่ม...แต่ ณ วันนี้ สภาพเช่นนี้ได้หมดสิ้นไป เมื่อโครงการขนาดใหญ่ของรัฐคืบคลานเข้ามาในพื้นที่
.
โครงการใหญ่ล่าสุดเริ่มต้นขึ้นจริงจังราวปี 2563 ภายใต้แผนระยะสั้นการพัฒนาเวียงหนองหล่ม ก่อนยกระดับเป็นแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูเวียงหนองหล่ม จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีหน่วยงานขับเคลื่อนหลักหน่วยงานหนึ่งคือสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ด้วยวงเงินทั้งสิ้นราว 3,880 ล้านบาท ภายใต้แผนนี้มีโครงการทั้งสิ้น 65 โครงการ โดยระบุว่าทำเพื่อช่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งส่งเสริมอาชีพและคุณภาพชีวิตให้ชาวบ้าน นอกจากนี้โครงการยังบอกกับชาวบ้านว่าจะไม่กระทบกับวิถีทำมาหากินของชุมชน คนอยู่ได้ ควายก็อยู่ได้ แต่ชาวบ้านบอกว่าความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น
.
“ตอนนั้นเขาบอกว่ามีโครงการเข้ามาขุดบ่อ เราก็ถามไปว่าจะขุดลึกไหม เขาก็บอกว่าไม่ลึก เราบอกไปว่าถ้ามาขุดอย่างนี้ ที่กินของควายจะหมดนะ เขาก็ว่าไม่หมด จะอนุรักษ์ควายไว้เหมือนเดิม ที่กินของควายจะมีอยู่ เขาว่าอย่างนี้ แต่ไปมาก็มาขุดตรงหน้านี้เลย 200 ไร่ ป๊าดโท๊ะ! ขุดลึกมาก ตอนหน้าแล้งก่อนหน้ายังบอกว่าจะขุดแค่เมตรครึ่ง ป๊าดโท๊ะ! พอขุดจริง 3-4 เมตร ทีนี้ควายลงไปหากินไม่ได้แล้ว” ป้าตอม อินต๊ะ เกษตรกรเลี้ยงควายคนหนึ่งเล่า
.
ชาวบ้านบอกว่าโครงการดังกล่าวเข้ามาทำลายระบบนิเวศของเวียงหนองหล่ม แหล่งอาหารธรรมชาติสูญหาย หญ้าในหนองน้ำที่เป็นอาหารหลักของควายขาดแคลนจนควายผอมโซขาดสารอาหาร ชาวบ้านแทบไม่อาจเก็บเกี่ยวรายได้จากการเลี้ยงควายได้อีก แถมเงินยังไหลออกต่อเนื่อง เพราะต้องคอยหาซื้ออาหารข้างนอกมาประทังชีวิตให้ควายทุกวัน รวมกันตกเป็นหมื่นต่อเดือน เงินชดเชยและความช่วยเหลือจากรัฐก็ยังไม่ได้รับอย่างเพียงพอ คนเลี้ยงควายเวียงหนองหล่มจึงไม่เห็นแสงสว่างบนทางข้างหน้าว่าชีวิตตัวเองและควายจะไปต่ออย่างไร ขณะที่โครงการก็กำลังเดินหน้าขยายพื้นที่ขึ้นเรื่อยๆ
.
"ปีนี้อัตคัดที่สุดแล้ว ไม่รู้จะทำไง บางคืนก็นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นมาก็คิดว่าวันนี้ควายจะกินอะไร จะเอามันไปหากินทางไหน” ป้าสมศรี ทายะนา เกษตรกรเลี้ยงควายอีกคนหนึ่งเล่า
.
101 ชวนอ่านเรื่องราวของเวียงหนองหล่ม ในวันที่เมกะโปรเจกต์ 'พัฒนาพื้นที่' ของรัฐ รุกล้ำระบบนิเวศ ทำลายวิถีชีวิตและวิถีหากินของชาวบ้านและควาย จนทำให้ปางควายใหญ่แห่งนี้กำลังตายลงอย่างช้าๆ
.
อ่านบทความได้ที่
https://www.the101.world/wiang-nong-lom-changes/
.
เรื่อง: วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา
ภาพถ่าย: กอบบุญ บูรโชควิวัฒน์
'เวียงหนองหล่ม' มีตำนานเล่าขานว่าตั้งแต่ราว 1,500 ปีก่อน ที่นี่คือเมืองโยนกนาคพันธ์
'เวียงหนองหล่ม' พื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงราย มีตำนานเล่าขานว่าตั้งแต่ราว 1,500 ปีก่อน ที่นี่คือเมืองโยนกนาคพันธุ์ แต่ต่อมาถูกพญานาคถล่มเมืองจนทรุดตัวจมลงไปในหนองน้ำ ขณะที่ทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่าเกิดจากเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ จนเมืองล่มสลาย .. ผ่านมาจนปัจจุบัน เวียงหนองหล่มกำลังเผชิญหายนะอีกครั้งหนึ่ง ทว่าการพังทลายครั้งนี้เกิดจากน้ำมือของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า 'มนุษย์' ด้วยกันเอง
.
เดิมที เวียงหนองหล่มมีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติให้คนและสัตว์แบ่งปันกันหากินโดยแทบไม่ต้องหาซื้ออาหารจากข้างนอก ที่นี่ยังถือเป็นแหล่งเลี้ยงควายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย อันนับได้ว่าเป็นเส้นเลือกหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวบ้านนับพันครัวเรือน และยังถูกยกเป็นพื้นที่อนุรักษ์ควายอีกด้วย การเลี้ยงควายที่นี่เป็นการเลี้ยงตามธรรมชาติ โดยแต่ละวัน ชาวบ้านจะเปิดคอกให้ควายพากันเดินออกไปลงหนองน้ำหาหญ้ากินเอง และเดินกลับเข้าคอกเองเมื่อกินอิ่ม...แต่ ณ วันนี้ สภาพเช่นนี้ได้หมดสิ้นไป เมื่อโครงการขนาดใหญ่ของรัฐคืบคลานเข้ามาในพื้นที่
.
โครงการใหญ่ล่าสุดเริ่มต้นขึ้นจริงจังราวปี 2563 ภายใต้แผนระยะสั้นการพัฒนาเวียงหนองหล่ม ก่อนยกระดับเป็นแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูเวียงหนองหล่ม จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีหน่วยงานขับเคลื่อนหลักหน่วยงานหนึ่งคือสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ด้วยวงเงินทั้งสิ้นราว 3,880 ล้านบาท ภายใต้แผนนี้มีโครงการทั้งสิ้น 65 โครงการ โดยระบุว่าทำเพื่อช่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งส่งเสริมอาชีพและคุณภาพชีวิตให้ชาวบ้าน นอกจากนี้โครงการยังบอกกับชาวบ้านว่าจะไม่กระทบกับวิถีทำมาหากินของชุมชน คนอยู่ได้ ควายก็อยู่ได้ แต่ชาวบ้านบอกว่าความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น
.
“ตอนนั้นเขาบอกว่ามีโครงการเข้ามาขุดบ่อ เราก็ถามไปว่าจะขุดลึกไหม เขาก็บอกว่าไม่ลึก เราบอกไปว่าถ้ามาขุดอย่างนี้ ที่กินของควายจะหมดนะ เขาก็ว่าไม่หมด จะอนุรักษ์ควายไว้เหมือนเดิม ที่กินของควายจะมีอยู่ เขาว่าอย่างนี้ แต่ไปมาก็มาขุดตรงหน้านี้เลย 200 ไร่ ป๊าดโท๊ะ! ขุดลึกมาก ตอนหน้าแล้งก่อนหน้ายังบอกว่าจะขุดแค่เมตรครึ่ง ป๊าดโท๊ะ! พอขุดจริง 3-4 เมตร ทีนี้ควายลงไปหากินไม่ได้แล้ว” ป้าตอม อินต๊ะ เกษตรกรเลี้ยงควายคนหนึ่งเล่า
.
ชาวบ้านบอกว่าโครงการดังกล่าวเข้ามาทำลายระบบนิเวศของเวียงหนองหล่ม แหล่งอาหารธรรมชาติสูญหาย หญ้าในหนองน้ำที่เป็นอาหารหลักของควายขาดแคลนจนควายผอมโซขาดสารอาหาร ชาวบ้านแทบไม่อาจเก็บเกี่ยวรายได้จากการเลี้ยงควายได้อีก แถมเงินยังไหลออกต่อเนื่อง เพราะต้องคอยหาซื้ออาหารข้างนอกมาประทังชีวิตให้ควายทุกวัน รวมกันตกเป็นหมื่นต่อเดือน เงินชดเชยและความช่วยเหลือจากรัฐก็ยังไม่ได้รับอย่างเพียงพอ คนเลี้ยงควายเวียงหนองหล่มจึงไม่เห็นแสงสว่างบนทางข้างหน้าว่าชีวิตตัวเองและควายจะไปต่ออย่างไร ขณะที่โครงการก็กำลังเดินหน้าขยายพื้นที่ขึ้นเรื่อยๆ
.
"ปีนี้อัตคัดที่สุดแล้ว ไม่รู้จะทำไง บางคืนก็นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นมาก็คิดว่าวันนี้ควายจะกินอะไร จะเอามันไปหากินทางไหน” ป้าสมศรี ทายะนา เกษตรกรเลี้ยงควายอีกคนหนึ่งเล่า
.
101 ชวนอ่านเรื่องราวของเวียงหนองหล่ม ในวันที่เมกะโปรเจกต์ 'พัฒนาพื้นที่' ของรัฐ รุกล้ำระบบนิเวศ ทำลายวิถีชีวิตและวิถีหากินของชาวบ้านและควาย จนทำให้ปางควายใหญ่แห่งนี้กำลังตายลงอย่างช้าๆ
.
อ่านบทความได้ที่ https://www.the101.world/wiang-nong-lom-changes/
.
เรื่อง: วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา
ภาพถ่าย: กอบบุญ บูรโชควิวัฒน์