คลังมึนแก้ปัญหา “สินมั่นคงประกันภัย” ยื้อเซ็นเพิกถอนไลเซนส์ ถกภาคธุรกิจประกันหาทางออก “อดีตนายกประกันวินาศภัย” ชี้ถึงปล่อยล้มละลาย ก็ต้องเพิกถอนใบอนุญาต สุดท้ายกองทุนประกันรับภาระอยู่ดี แนะ 2 แนวทางแก้ปัญหาสภาพคล่องกองทุน ลุ้นทางออกสุดท้ายดัน “สินมั่นคงฯ” ขอฟื้นฟูกิจการอีกรอบ-ปรับแผนจ่ายคืนหนี้เป็นเงินสดมากขึ้น
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ ยังไม่ได้ข้อสรุปการแก้ปัญหากรณี บมจ.สินมั่นคงประกันภัย และกองทุนประกันวินาศภัยไทย โดยที่ผ่านมา ได้หารือกับหลายฝ่าย ล่าสุด มีการประชุมร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย แต่ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ทั้งนี้ ยอมรับว่า การแก้ไขปัญหาค่อนข้างยาก ซึ่งไม่ได้กำหนดเป็นไทม์ไลน์ว่าจะต้องจบเมื่อไหร่ แต่ก็ต้องพยายามเร่งหาข้อสรุป
“เรื่องนี้ ก็มีความคืบหน้าอยู่ คุยกับสมาคมแล้ว แต่ยังไม่จบ ยอมรับว่าค่อนข้างยาก เพราะถ้าจะเพิกถอนใบอนุญาตแล้วไปเป็นภาระกองทุนเพิ่มเติม กองทุนก็รับไม่ไหว แต่จะปล่อยล้มละลายก็ไม่ได้อีก” นายจุลพันธ์กล่าว
กองทุนประกันเข้าข่ายล้มละลาย
นายอานนท์ วังวสุ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร สมาคมประกันวินาศภัยไทย และอดีตนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ต้องยอมรับว่าตอนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ดำเนินการสั่งปิด 4 บริษัทประกัน ขาดทุนจ่ายเคลมประกันภัยโควิด (เอเชียประกันภัย 1950, เดอะวันประกันภัย, อาคเนย์ประกันภัย, ไทยประกันภัย) ตอนนั้นกองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) มีเงินในมือ 6,000 ล้านบาท ขณะที่มีภาระหนี้ 60,000 ล้านบาท ซึ่งตามหลักการแล้ว เมื่อมี “หนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน” ถ้าเป็นบริษัทเอกชน ต้องล้มละลายแล้ว ต้องหยุดจ่ายหนี้ 100% เพื่อมาเฉลี่ยใหม่เหมือนการจัดหนี้ แต่กองทุนก็ไม่ได้ทำ
“ที่ผ่านมากองทุนไม่ได้ดำเนินการในลักษณะนั้นเลย แต่ดำเนินการจ่ายหนี้ 100% ตามคิวปกติ จนกระทั่งปัจจุบันเงินสภาพคล่องในมือเหลือไม่กี่ร้อยล้านบาท แต่ยังมีหนี้ค้างจ่ายสูงถึง 51,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมหนี้ของสินมั่นคงประกันภัยอีก 3 หมื่นล้านบาท แล้วตอนนี้กองทุนก็จ่ายคืนหนี้ได้เท่าที่บริษัทประกันวินาศภัยจ่ายเงินสมทบเข้ามาให้ปีละ 1,300 ล้านบาทเท่านั้น”
เกือบ 1 ล้านคน ยังไม่ได้เงินคืน
นายอานนท์กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้มีการเรียกภาคธุรกิจประกันภัยเข้าไปร่วมพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ ซึ่งมีความยากอยู่มาก เพราะกองทุนจะไปขอกู้เแบงก์ก็ยาก ไม่มีใครกล้าปล่อยกู้ ขณะที่รัฐบาลจะค้ำประกันก็ไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นหนี้สาธารณะ
ส่วนฝั่งเจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยโควิดของสินมั่นคงฯ ก็ไม่โหวตอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการ เพราะเห็นแล้วว่าหากสินมั่นคงฯถูกเพิกถอนใบอนุญาต จะได้รับเงินคืนจากกองทุน 100%
“ตอนนี้คนยังไม่ได้เงินคืนเกือบ 1 ล้านคน จาก 4 บริษัทปิดตัวไปเกือบ 7 แสนราย รวมถึงเจ้าหนี้สินมั่นคงประกันภัยอีก 3 แสนราย”
ชง 2 แนวทางแก้ปัญหา
นายอานนท์กล่าวว่า ตนมีข้อเสนอทางออก 2 แนวทาง คือ 1.แก้กฎหมายโดยการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เพื่อปรับเงินสมทบบริษัทประกันต้องใส่เข้ากองทุน จากระดับ 0.5% ต่อปี ขยับเป็น 1% ต่อปี ซึ่งจะทำให้กองทุนมีเงินสมทบเข้ามาปีละ 2,600-2,700 ล้านบาท จากปัจจุบันมีเงินสมทบเข้าประมาณ 1,300 ล้านบาท ซึ่งอาจทำให้ใช้เวลาคืนหนี้เหลือ 30-40 ปี ลดจากเดิมที่นานถึง 60-80 ปี แต่กรณีนี้จะทำได้ ก็ต่อเมื่อภาคธุรกิจประกันไม่คัดค้าน
จากนั้นกองทุนต้องเจรจากับเจ้าหนี้ ขอผ่อนชำระคืนปีละ 2.5% ของมูลหนี้ เช่น หนี้ 100,000 บาท จ่ายคืนปีละ 2,500 บาท เป็นต้น ซึ่งรอประมาณ 40 ปี ถึงจะได้เงินครบ 100% ในกรณีรัฐบาลไม่เข้ามาช่วย ปล่อยกองทุนจัดการเอง
ผุดไอเดียตั้ง “กองทุน”
2.กองทุนต้องหารือสมาคมประกันวินาศภัยไทยหรือรัฐบาล จัดตั้ง “กองทุนเสริมสภาพคล่องบริษัทประกันภัยล้ม” เพื่อมาระดมทุนโดยการออกตราสารทางการเงิน ขายให้กับบริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต และสำนักงาน คปภ.
“เรื่องปัญหาทั้งหมดที่กำลังเกิดขึ้น เอกชนผิดส่วนหนึ่ง และรัฐบาลเองก็ผิดส่วนหนึ่งที่เข้ามาแทรกแซง ในช่วงที่เกิดโรคระบาดที่ออกประกาศห้ามบริษัทยกเลิกกรมธรรม์ ซึ่งทำให้ความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งตอนนี้สำนักงาน คปภ. มีเงินอยู่ 7,000-8,000 ล้านบาท ก็มองว่าจะต้องเข้ามาช่วยซื้อตราสารทางการเงินตรงนี้ด้วย”
โดยกองทุนที่จัดตั้งขึ้นจะรับซื้อหนี้กับ กปว. แต่มีเงื่อนไขจะจ่ายคืนหนี้ก้อนเดียวเลยในสัดส่วน 20% ของมูลหนี้ทั้งหมด เพื่อให้เจ้าหนี้ไม่ต้องรอผ่อนชำระคืนปีละ 2.5% เป็นเวลา 40 ปี
“สมมุติเจ้าหนี้เลือกออปชั่นที่ 2 รับเงินคืนก้อนเดียว 20% ทั้งหมด 100% กองทุนที่จัดตั้งขึ้นก็จะระดมทุนด้วยเงินประมาณ 16,000 ล้านบาท (คำนวณจากมูลหนี้ 8 หมื่นล้านบาท) แต่ถ้าเจ้าหนี้เลือกแค่ 50% ก็จะระดมทุนแค่ 8,000 ล้านบาทเท่านั้น และกองทุนนี้ก็ไปรับชำระหนี้คืนจาก กปว. แต่ไม่ใช่รับ 100% เลย เช่น อาจคิดดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 ต่อปี โดยกองทุนประกันวินาศภัยนำเงินมาผ่อนชำระคืน รวมเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่ง กปว.ก็จะตั้งตัวได้เร็ว นี่คือการแก้ปัญหาที่มองไว้ว่าทำได้”
นายอานนท์กล่าวอีกว่า เข้าใจว่าการพูดคุยระหว่างคณะกรรมการสมาคมประกันวินาศภัยไทยและกระทรวงการคลัง มีแนวทางคล้ายคลึงกัน แต่อาจไม่เหมือนที่เสนอทั้งหมด 100% โดยภาคธุรกิจก็มองว่าควรจะลดเงินสมทบที่นำส่งเข้าสำนักงาน คปภ. หรือเงินจ่าย พ.ร.บ.เข้ากองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ฯลฯ ซึ่งตอนนี้มีเงินสภาพคล่องเหลืออยู่พอสมควร
แนะ “สินมั่นคง” ยื่นแผนฟื้นฟูใหม่
อดีตนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทยกล่าวอีกว่า สุดท้าย หาก 2 แนวทางข้างต้นไม่มีหน่วยงานใดต้องการ มองว่าสินมั่นคงประกันภัย ก็ยังสามารถจะยื่นขอแก้แผนฟื้นฟูกิจการใหม่ได้ ภายในเวลา 6 เดือน โดยอาจปรับแผนการจ่ายหนี้เป็นเงินสดให้มากขึ้นกว่าเดิมที่จ่าย 15% และทางการก็อย่าเพิ่งไปเพิกถอนใบอนุญาต เนื่องจากเดิมที่เจ้าหนี้ไม่โหวตอนุมัติแผนฟื้นฟู เพราะหวังจะได้เงินจากกองทุน 100% ซึ่งรอแค่ 3-5 ปี แต่ตอนนี้อาจต้องรอ 40 ปี และถ้าจะได้คืนหนี้ก้อนเดียวก็จะได้แค่สัดส่วน 20% ซึ่งหากแผนฟื้นฟูใหม่ผ่านกองทุนก็จะลดภาระหนี้ตรงนี้ไปได้ 3 หมื่นล้านบาท
“จะปล่อยให้บริษัทสินมั่นคงประกันภัยล้มละลายไปเองก็ได้ แต่ด้วยกลไกของกฎหมายประกันวินาศภัย ในกระบวนการก่อนการล้มละลาย จะต้องมีการเพิกถอนใบอนุญาตก่อนเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย และให้กองทุนประกันวินาศภัยเข้าไปเป็นผู้ชำระบัญชี ซึ่งตอนนี้สภาพของบริษัทสินมั่นคงประกันภัยเหมือนเป็นการปิดชั่วคราวไปแล้ว ถ้าไม่เพิกถอน ก็ประกาศแนวทางให้ชัดเจนว่าจะให้โอกาสบริษัทสินมั่นคงประกันภัยปรับแผนใหม่”
ที่มา:
https://www.prachachat.net/finance/news-1491273
คลังไร้ข้อสรุปแก้สินมั่นคง ลุ้นทางออกยื่น “แผนฟื้นฟู” รอบใหม่
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ ยังไม่ได้ข้อสรุปการแก้ปัญหากรณี บมจ.สินมั่นคงประกันภัย และกองทุนประกันวินาศภัยไทย โดยที่ผ่านมา ได้หารือกับหลายฝ่าย ล่าสุด มีการประชุมร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย แต่ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ทั้งนี้ ยอมรับว่า การแก้ไขปัญหาค่อนข้างยาก ซึ่งไม่ได้กำหนดเป็นไทม์ไลน์ว่าจะต้องจบเมื่อไหร่ แต่ก็ต้องพยายามเร่งหาข้อสรุป
“เรื่องนี้ ก็มีความคืบหน้าอยู่ คุยกับสมาคมแล้ว แต่ยังไม่จบ ยอมรับว่าค่อนข้างยาก เพราะถ้าจะเพิกถอนใบอนุญาตแล้วไปเป็นภาระกองทุนเพิ่มเติม กองทุนก็รับไม่ไหว แต่จะปล่อยล้มละลายก็ไม่ได้อีก” นายจุลพันธ์กล่าว
กองทุนประกันเข้าข่ายล้มละลาย
นายอานนท์ วังวสุ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร สมาคมประกันวินาศภัยไทย และอดีตนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ต้องยอมรับว่าตอนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ดำเนินการสั่งปิด 4 บริษัทประกัน ขาดทุนจ่ายเคลมประกันภัยโควิด (เอเชียประกันภัย 1950, เดอะวันประกันภัย, อาคเนย์ประกันภัย, ไทยประกันภัย) ตอนนั้นกองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) มีเงินในมือ 6,000 ล้านบาท ขณะที่มีภาระหนี้ 60,000 ล้านบาท ซึ่งตามหลักการแล้ว เมื่อมี “หนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน” ถ้าเป็นบริษัทเอกชน ต้องล้มละลายแล้ว ต้องหยุดจ่ายหนี้ 100% เพื่อมาเฉลี่ยใหม่เหมือนการจัดหนี้ แต่กองทุนก็ไม่ได้ทำ
“ที่ผ่านมากองทุนไม่ได้ดำเนินการในลักษณะนั้นเลย แต่ดำเนินการจ่ายหนี้ 100% ตามคิวปกติ จนกระทั่งปัจจุบันเงินสภาพคล่องในมือเหลือไม่กี่ร้อยล้านบาท แต่ยังมีหนี้ค้างจ่ายสูงถึง 51,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมหนี้ของสินมั่นคงประกันภัยอีก 3 หมื่นล้านบาท แล้วตอนนี้กองทุนก็จ่ายคืนหนี้ได้เท่าที่บริษัทประกันวินาศภัยจ่ายเงินสมทบเข้ามาให้ปีละ 1,300 ล้านบาทเท่านั้น”
เกือบ 1 ล้านคน ยังไม่ได้เงินคืน
นายอานนท์กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้มีการเรียกภาคธุรกิจประกันภัยเข้าไปร่วมพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ ซึ่งมีความยากอยู่มาก เพราะกองทุนจะไปขอกู้เแบงก์ก็ยาก ไม่มีใครกล้าปล่อยกู้ ขณะที่รัฐบาลจะค้ำประกันก็ไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นหนี้สาธารณะ
ส่วนฝั่งเจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยโควิดของสินมั่นคงฯ ก็ไม่โหวตอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการ เพราะเห็นแล้วว่าหากสินมั่นคงฯถูกเพิกถอนใบอนุญาต จะได้รับเงินคืนจากกองทุน 100%
“ตอนนี้คนยังไม่ได้เงินคืนเกือบ 1 ล้านคน จาก 4 บริษัทปิดตัวไปเกือบ 7 แสนราย รวมถึงเจ้าหนี้สินมั่นคงประกันภัยอีก 3 แสนราย”
ชง 2 แนวทางแก้ปัญหา
นายอานนท์กล่าวว่า ตนมีข้อเสนอทางออก 2 แนวทาง คือ 1.แก้กฎหมายโดยการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เพื่อปรับเงินสมทบบริษัทประกันต้องใส่เข้ากองทุน จากระดับ 0.5% ต่อปี ขยับเป็น 1% ต่อปี ซึ่งจะทำให้กองทุนมีเงินสมทบเข้ามาปีละ 2,600-2,700 ล้านบาท จากปัจจุบันมีเงินสมทบเข้าประมาณ 1,300 ล้านบาท ซึ่งอาจทำให้ใช้เวลาคืนหนี้เหลือ 30-40 ปี ลดจากเดิมที่นานถึง 60-80 ปี แต่กรณีนี้จะทำได้ ก็ต่อเมื่อภาคธุรกิจประกันไม่คัดค้าน
จากนั้นกองทุนต้องเจรจากับเจ้าหนี้ ขอผ่อนชำระคืนปีละ 2.5% ของมูลหนี้ เช่น หนี้ 100,000 บาท จ่ายคืนปีละ 2,500 บาท เป็นต้น ซึ่งรอประมาณ 40 ปี ถึงจะได้เงินครบ 100% ในกรณีรัฐบาลไม่เข้ามาช่วย ปล่อยกองทุนจัดการเอง
ผุดไอเดียตั้ง “กองทุน”
2.กองทุนต้องหารือสมาคมประกันวินาศภัยไทยหรือรัฐบาล จัดตั้ง “กองทุนเสริมสภาพคล่องบริษัทประกันภัยล้ม” เพื่อมาระดมทุนโดยการออกตราสารทางการเงิน ขายให้กับบริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต และสำนักงาน คปภ.
“เรื่องปัญหาทั้งหมดที่กำลังเกิดขึ้น เอกชนผิดส่วนหนึ่ง และรัฐบาลเองก็ผิดส่วนหนึ่งที่เข้ามาแทรกแซง ในช่วงที่เกิดโรคระบาดที่ออกประกาศห้ามบริษัทยกเลิกกรมธรรม์ ซึ่งทำให้ความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งตอนนี้สำนักงาน คปภ. มีเงินอยู่ 7,000-8,000 ล้านบาท ก็มองว่าจะต้องเข้ามาช่วยซื้อตราสารทางการเงินตรงนี้ด้วย”
โดยกองทุนที่จัดตั้งขึ้นจะรับซื้อหนี้กับ กปว. แต่มีเงื่อนไขจะจ่ายคืนหนี้ก้อนเดียวเลยในสัดส่วน 20% ของมูลหนี้ทั้งหมด เพื่อให้เจ้าหนี้ไม่ต้องรอผ่อนชำระคืนปีละ 2.5% เป็นเวลา 40 ปี
“สมมุติเจ้าหนี้เลือกออปชั่นที่ 2 รับเงินคืนก้อนเดียว 20% ทั้งหมด 100% กองทุนที่จัดตั้งขึ้นก็จะระดมทุนด้วยเงินประมาณ 16,000 ล้านบาท (คำนวณจากมูลหนี้ 8 หมื่นล้านบาท) แต่ถ้าเจ้าหนี้เลือกแค่ 50% ก็จะระดมทุนแค่ 8,000 ล้านบาทเท่านั้น และกองทุนนี้ก็ไปรับชำระหนี้คืนจาก กปว. แต่ไม่ใช่รับ 100% เลย เช่น อาจคิดดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 ต่อปี โดยกองทุนประกันวินาศภัยนำเงินมาผ่อนชำระคืน รวมเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่ง กปว.ก็จะตั้งตัวได้เร็ว นี่คือการแก้ปัญหาที่มองไว้ว่าทำได้”
นายอานนท์กล่าวอีกว่า เข้าใจว่าการพูดคุยระหว่างคณะกรรมการสมาคมประกันวินาศภัยไทยและกระทรวงการคลัง มีแนวทางคล้ายคลึงกัน แต่อาจไม่เหมือนที่เสนอทั้งหมด 100% โดยภาคธุรกิจก็มองว่าควรจะลดเงินสมทบที่นำส่งเข้าสำนักงาน คปภ. หรือเงินจ่าย พ.ร.บ.เข้ากองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ฯลฯ ซึ่งตอนนี้มีเงินสภาพคล่องเหลืออยู่พอสมควร
แนะ “สินมั่นคง” ยื่นแผนฟื้นฟูใหม่
อดีตนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทยกล่าวอีกว่า สุดท้าย หาก 2 แนวทางข้างต้นไม่มีหน่วยงานใดต้องการ มองว่าสินมั่นคงประกันภัย ก็ยังสามารถจะยื่นขอแก้แผนฟื้นฟูกิจการใหม่ได้ ภายในเวลา 6 เดือน โดยอาจปรับแผนการจ่ายหนี้เป็นเงินสดให้มากขึ้นกว่าเดิมที่จ่าย 15% และทางการก็อย่าเพิ่งไปเพิกถอนใบอนุญาต เนื่องจากเดิมที่เจ้าหนี้ไม่โหวตอนุมัติแผนฟื้นฟู เพราะหวังจะได้เงินจากกองทุน 100% ซึ่งรอแค่ 3-5 ปี แต่ตอนนี้อาจต้องรอ 40 ปี และถ้าจะได้คืนหนี้ก้อนเดียวก็จะได้แค่สัดส่วน 20% ซึ่งหากแผนฟื้นฟูใหม่ผ่านกองทุนก็จะลดภาระหนี้ตรงนี้ไปได้ 3 หมื่นล้านบาท
“จะปล่อยให้บริษัทสินมั่นคงประกันภัยล้มละลายไปเองก็ได้ แต่ด้วยกลไกของกฎหมายประกันวินาศภัย ในกระบวนการก่อนการล้มละลาย จะต้องมีการเพิกถอนใบอนุญาตก่อนเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย และให้กองทุนประกันวินาศภัยเข้าไปเป็นผู้ชำระบัญชี ซึ่งตอนนี้สภาพของบริษัทสินมั่นคงประกันภัยเหมือนเป็นการปิดชั่วคราวไปแล้ว ถ้าไม่เพิกถอน ก็ประกาศแนวทางให้ชัดเจนว่าจะให้โอกาสบริษัทสินมั่นคงประกันภัยปรับแผนใหม่”
ที่มา: https://www.prachachat.net/finance/news-1491273