“คลัง-คปภ.” อลหม่านชี้ชะตา “สินมั่นคงประกันภัย” เผยบอร์ด คปภ.เคาะ “เพิกถอนไลเซนส์” ชงคลังเซ็นไฟเขียว หลังเจ้าหนี้โหวตคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการ-ศาลล้มละลายกลางยกเลิกคำสั่งฟื้นฟู คลังหวั่นซ้ำเติมภาระกองทุนประกันวินาศภัยหนี้ท่วม 8 หมื่นล้าน ใช้เวลาคืนหนี้ 80 ปี ขอ 2 สัปดาห์หาทางออก-ส่อปล่อยล้มละลาย จับตาเจ้าหนี้ 7 แสนรายเคว้ง “จุลพันธ์” ยันยังไม่มีคำตอบ ขอถกสมาคมประกันภัยก่อน กองทุนถังแตกรอรัฐบาลช่วยแก้ปม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ SMK ประสบปัญหาทางการเงินจากการรับประกันโควิด “เจอ-จ่าย-จบ” และได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง แต่เนื่องจากเจ้าหนี้โหวตคัดค้านแผนการฟื้นฟูกิจการของบริษัทสินมั่นคงฯ ดังนั้น เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ศาลล้มละลายกลาง ได้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท
ทำให้สิทธิในสภาวะพักการชำระหนี้ (Automatic Stay) สิ้นสุดลง และบริษัท สินมั่นคงประกันภัย ได้ประกาศการหยุดรับประกันภัยทุกประเภททันที ด้านคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) ก็ได้มีการเรียกประชุมบอร์ดนัดพิเศษฉุกเฉิน ถึงแนวทางดำเนินการต่อบริษัทสินมั่นคงฯ
คปภ.ชง “เพิกถอนใบอนุญาต”
แหล่งข่าววงการประกันภัยเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า บอร์ด คปภ.ได้ประชุมนัดพิเศษและมีมติเห็นชอบให้สำนักงาน คปภ.นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงนามคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากบริษัทประสบปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่สามารถฟื้นฟูกิจการได้ โดยที่ผ่านมาทางการได้ให้เวลาในการแก้ไขฐานะการเงินมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ
“บริษัทมีปัญหาเจ้าหนี้หลายส่วน โดยเฉพาะเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยโควิด 7 แสนราย มูลค่า 3.2 หมื่นล้านบาท และยังมีผู้เอาประกันตามสัญญาประกันภัยรถยนต์ที่มีผลบังคับอยู่อีก 1.87 ล้านกรมธรรม์ ทาง คปภ.เกรงว่าปัญหาจะยิ่งขยายวงกว้าง หากไม่รีบเพิกถอนใบอนุญาต”
คลังขอ 2 สัปดาห์เร่งหาทางออก
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ทางกระทรวงการคลังได้ขอเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อเร่งหาทางออกในการแก้ปัญหาสภาพคล่องของกองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) เนื่องจากขณะนี้กองทุนแบกหนี้อยู่แล้วสูงถึง 5.1 หมื่นล้านบาท หากมีภาระหนี้จากสินมั่นคงฯเพิ่มเข้ามาอีก จะทำให้ต้องแบกหนี้สูงกว่า 8 หมื่นล้านบาท
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวว่า การแก้ปัญหาเรื่องนี้มี 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือ ปัญหาเฉพาะหน้าที่มีบริษัทประกันที่กำลังมีปัญหา และอีกส่วนคือ ภาระหนี้ของกองทุนประกันวินาศภัยที่ต้องใช้เวลาแก้ไขนาน ซึ่งแม้ว่าอาจจะใช้วิธีการกู้เงินมาช่วยสภาพคล่องของกองทุน เพื่อให้สามารถจ่ายคืนหนี้ได้
แต่ก็ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน และต้นทุนดอกเบี้ยก็จะสูง ซึ่งขณะนี้กองทุนมีภาระที่ต้องชำระคืนนานถึง 60 ปี และหากมีบริษัทประกันล้มอีกแห่งก็จะส่งผลให้กองทุนมีภาระที่ต้องชำระคืนเพิ่มขึ้นเป็น 80 ปี
“ตอนนี้ยังตอบไม่ได้ว่าจะแก้ยังไง ต้องฟังจากหลาย ๆ ส่วน ซึ่งยังเหลือคุยกับทางสมาคมประกัน เรื่องนี้มีหลายความเห็น แต่เราจะพยายามเร่งหาข้อสรุปในเร็ว ๆ นี้” นายจุลพันธ์กล่าว
ฟื้นฟูไม่ผ่านต้อง “ล้มละลาย” ?
ด้านแหล่งข่าวจากผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กรณีการเพิกถอนใบอนุญาต บมจ.สินมั่นคงฯ ต้องพิจารณาอีกมุมหนึ่งด้วย ก็คือที่ผ่านมา ทางบริษัทเลือกแนวทางตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ภายใต้พระราชบัญญัติล้มละลายไปแล้ว ซึ่งเมื่อแผนฟื้นฟูกิจการไม่ผ่าน เนื่องจากเจ้าหนี้ไม่โหวตให้ ก็อาจจะต้องไปสู่การล้มละลาย
“มีข้อสังเกตว่า เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทไม่ผ่าน เพราะเจ้าหนี้ไม่โหวตให้ ดังนั้น ตามกระบวนการก็ต้องล้มละลายหรือไม่ ซึ่งคงต้องไปดูข้อกฎหมายให้ดี” แหล่งข่าวกล่าว
หวังปลดแอกหนี้กองทุน
แหล่งข่าวผู้บริหารวงการประกันภัยอธิบายว่า เนื่องจากตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2558) กรณีบริษัทประกันวินาศภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต กองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) จะเข้ามาเป็นผู้ชำระบัญชี รวมทั้งทำหน้าที่ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยที่ทำไว้กับบริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
หมายความว่า ถ้า รมว.คลังลงนาม “เพิกถอนใบอนุญาต” บริษัทสินมั่นคงฯ ทางกองทุนประกันฯ ก็ต้องเข้ามารับภาระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันของบริษัทสินมั่นคงฯ อีกประมาณ 30,000 ล้านบาท ขณะที่ปัจจุบันกองทุนประกันฯ ก็มีปัญหาสภาพคล่อง ไม่มีเงินมาจ่ายคืนหนี้อยู่แล้ว
ดังนั้น ในเมื่อบริษัทสินมั่นคงฯ ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้ยื่นศาลล้มละลายฯ เพื่อขอฟื้นฟูกิจการ แต่เมื่อเจ้าหนี้คัดค้านแผนฟื้นฟูไม่โหวตให้ เท่ากับว่าไม่ได้รับความเห็นชอบ ทำให้ศาลยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการ เท่ากับว่าบริษัทก็ต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย
แหล่งข่าวกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น รมว.คลังก็อาจไม่จำเป็นที่จะต้อง “เพิกถอนใบอนุญาต” เพื่อที่จะทำให้เกิดภาระหนี้กับกองทุนประกันฯ อีก อย่างไรก็ดี อีกด้านกระบวนการให้กองทุนประกันฯ เข้าไปรับภาระ ก็ถือเป็นการคุ้มครองผู้เอาประกันจากบริษัทที่ประสบปัญหาจนถูกเพิกถอนใบอนุญาต และช่วงที่เกิดปัญหาจากประกันโควิด “เจอ-จ่าย-จบ” รมว.คลังก็มีการลงนามเพิกถอนใบอนุญาตบริษัทประกันวินาศภัยไปแล้ว 4 ราย
ขณะที่กฎหมายกำหนดให้กองทุนประกันวินาศภัยสามารถกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งช่วงที่ผ่านมากองทุนก็พยายามเจรจาขอกู้เงินกับสถาบันการเงินต่าง ๆ รวมทั้งสถาบันการเงินของรัฐ แต่เนื่องจากกองทุนไม่มีความสามารถชำระหนี้คืนได้ ก็ไม่มีสถาบันการเงินรายไหนยอมปล่อยกู้ นอกจากว่ารัฐบาลจะค้ำประกัน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็หมายความว่าหนี้ก้อนนี้จะต้องถูกรวมเข้าไปอยู่ในหนี้สาธารณะด้วย
คปภ.ยืนยันเพิกถอนใบอนุญาต
ฟากแหล่งข่าวสำนักงาน คปภ.กล่าวว่า คปภ.ยืนยันความเห็นที่ให้รีบเพิกถอนใบอนุญาตสินมั่นคงฯ เว้นแต่กระทรวงการคลังจะให้ทบทวน โดย คปภ.เคยแจ้งทางบริษัทแล้วว่า ไม่ได้มีเจตนาอยากจะให้ปิดกิจการ แต่ถ้าอยากจะแก้ปัญหาจริงต้องเสนอแผนมา และต้องเป็นแผนที่เป็นไปได้
“อย่างเช่นบอกว่าเงิน 3 หมื่นล้าน คงไม่มีทันที อาจจะขอเพิ่มทุน 5 พันล้านบาทก่อน และเว้นช่วงระยะเวลาหนึ่งจะใส่เงินอีก 3 พันล้านบาท ถ้ามาแนว ๆ นี้ เราก็จะเสนอบอร์ด คปภ.ให้ได้ แต่ที่ผ่านมาไม่มีการยื่นแผนอะไรเข้ามาเลย ถามไปก็บอกแค่ว่ามีผู้สนใจเพิ่มทุน แต่ก็ไม่มีความชัดเจนอะไรเลย”
มูลค่าทรัพย์สินรวมตึก 6 พันล้าน
แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับมูลค่าทรัพย์สินของบริษัทสินมั่นคงประกันภัย ประเมินว่ามีอยู่ประมาณ 6 พันล้านบาท รวมตัวอาคารสำนักงานใหญ่บนถนนศรีนครินทร์ ส่วนสภาพคล่องที่เป็นเงินสดมีอยู่ประมาณ 2 พันล้านบาท ซึ่งเป็นข้อมูลการเงินก่อนที่ คปภ.จะมีคำสั่งหยุดรับประกันภัยชั่วคราว
โดยวันเดียวกันก่อนที่ศาลล้มละลายกลางประกาศยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการ ทางบริษัทสินมั่นคงประกันภัย มีการเลิกจ้างพนักงานเพื่อจ่ายเงินชดเชยแรงงาน ก่อนที่เจ้าหน้าที่ คปภ.จะเข้ามาควบคุม ดังนั้น เงินสดที่เหลือคงลดลงจากเดิมไปพอสมควร ซึ่ง คปภ.ไม่ได้ห้ามจ่ายเงินตามกฎหมายแรงงาน
กองทุนถังแตกใช้หนี้ 80 ปี
นายชนะพล มหาวงษ์ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กองทุนมีการเตรียมความพร้อมเรื่องระบบไว้อยู่แล้ว หาก รมว.คลังมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตสินมั่นคงประกันภัย จะมีการเรียกประชุมบอร์ดกองทุนทันที และจะรีบดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายในการเปิดให้ขอรับชำระหนี้
แต่ติดเรื่องเดียว คือไม่มีเงินที่จะนำมาจ่ายหนี้ 8 หมื่นล้านบาท เพราะไม่เหลือเงินสำหรับจ่ายหนี้แล้ว ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่กับรัฐบาลว่าจะหาทางออกอย่างไร แต่เข้าใจว่าคงจะหาโซลูชั่นที่เหมาะสมหลังจากเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว
โดยปีที่ผ่านมา กองทุนได้มีการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต รวมทั้งสิ้น 8 หมื่นกรมธรรม์ มูลค่าเกือบ 5 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจ่ายหนี้ให้กับเจ้าหนี้ 4 บริษัท ที่ปิดตัวจากขาดทุนจ่ายเคลมประกันภัยโควิด (เอเชียประกันภัย 1950, เดอะวันประกันภัย, อาคเนย์ประกันภัย, ไทยประกันภัย)
และในปี 2567 กองทุนจะมีเฉพาะเงินสมทบจากบริษัทประกันวินาศภัยนำส่งเข้ากองทุนตามกฎหมายกำหนดที่ 0.5% มูลค่า 1,200-1,300 ล้านบาทต่อปี เพื่อจ่ายหนี้ค้างจ่ายรวม 51,154 ล้านบาท จำนวน 599,767 กรมธรรม์ ซึ่งเห็นได้ชัดว่ารายได้กับหนี้ต่างกันมาก
“ยอมรับว่าปีนี้กองทุนจะจ่ายหนี้ได้ตามสภาพ คือตามวงเงินที่มี เพราะฉะนั้นคงจะขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ว่าจะเข้ามาช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง เพราะหากรายได้ที่กองทุนมีอยู่ 1,200 ล้านบาทต่อปี จะจ่ายหนี้หมดต้องใช้เวลา 40-50 ปี และหากบริษัทสินมั่นคงประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีก จะมีหนี้เข้ามาเพิ่มอีก 3 หมื่นล้านบาท จะยิ่งทำให้กองทุนแบกหนี้สูงกว่า 8 หมื่นล้านบาท ทำให้กว่าจะจ่ายหนี้หมดต้องใช้เวลา 70-80 ปี” ผู้จัดการกองทุนกล่าว
จ้าง FA วิเคราะห์แผนจ่ายหนี้
ด้านแหล่งข่าวจากคณะกรรมการกองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) กล่าวว่า กองทุนประกันวินาศภัยพยายามหาทางออกในการหาเงินมาชำระหนี้ ตอนนี้ได้มีการว่าจ้างที่ปรึกษาการเงิน (Financial Advisor) เพื่อวิเคราะห์สมมุติฐานการจ่ายหนี้ แยกเป็นกี่ก้อน ก้อนละเท่าใด มีความสามารถในการส่งคืนเงินจ่ายหนี้อย่างไร และรูปแบบการกู้เงินทำได้ด้วยวิธีการใด เช่น กู้โดยการออกพันธบัตร กู้ยืมธนาคารโดยมีผู้ค้ำประกัน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะแตกต่างกัน
“ตอนนี้อยู่ในช่วงระหว่างทำเปเปอร์กันอยู่ เรียกว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมประกันภัยก็พยายามช่วยกันดูทั้งหมด เพราะแนวทางที่ออกมาจะต้องเป็นไปได้”
รัฐต้องสนับสนุนงบประมาณ
แหล่งข่าวกล่าวว่า ตามข้อกฎหมายของกองทุนประกันวินาศภัยระบุไว้ชัดเจนว่า รัฐบาลจะคุ้มครองเจ้าหนี้กรณีบริษัทประกันภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท และหากกองทุนไม่มีเงินหรือทรัพย์สินเพียงพอ 1.ให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ 2.ปรับอัตราเงินสมทบ 3.กู้ยืม
“ที่ผ่านมากองทุนได้มีการปรับเพิ่มเงินสมทบเต็มเพดานไปแล้วที่ 0.5% และสถานการณ์ของกองทุนในการไปขอกู้เงินจากธนาคารก็ทำได้ยาก เพราะมีรายได้น้อย จ่ายดอกเบี้ยแพง เพราะรัฐบาลไม่ค้ำประกัน ดังนั้น จะเหลือทางออกเดียวคือ รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณ”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่มา https://www.prachachat.net/finance/news-1480751
คลังอลหม่าน ชี้ชะตาสินมั่นคง กองทุนถังแตก ขอเวลา 80 ปีคืนหนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ SMK ประสบปัญหาทางการเงินจากการรับประกันโควิด “เจอ-จ่าย-จบ” และได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง แต่เนื่องจากเจ้าหนี้โหวตคัดค้านแผนการฟื้นฟูกิจการของบริษัทสินมั่นคงฯ ดังนั้น เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ศาลล้มละลายกลาง ได้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท
ทำให้สิทธิในสภาวะพักการชำระหนี้ (Automatic Stay) สิ้นสุดลง และบริษัท สินมั่นคงประกันภัย ได้ประกาศการหยุดรับประกันภัยทุกประเภททันที ด้านคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) ก็ได้มีการเรียกประชุมบอร์ดนัดพิเศษฉุกเฉิน ถึงแนวทางดำเนินการต่อบริษัทสินมั่นคงฯ
คปภ.ชง “เพิกถอนใบอนุญาต”
แหล่งข่าววงการประกันภัยเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า บอร์ด คปภ.ได้ประชุมนัดพิเศษและมีมติเห็นชอบให้สำนักงาน คปภ.นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงนามคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากบริษัทประสบปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่สามารถฟื้นฟูกิจการได้ โดยที่ผ่านมาทางการได้ให้เวลาในการแก้ไขฐานะการเงินมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ
“บริษัทมีปัญหาเจ้าหนี้หลายส่วน โดยเฉพาะเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยโควิด 7 แสนราย มูลค่า 3.2 หมื่นล้านบาท และยังมีผู้เอาประกันตามสัญญาประกันภัยรถยนต์ที่มีผลบังคับอยู่อีก 1.87 ล้านกรมธรรม์ ทาง คปภ.เกรงว่าปัญหาจะยิ่งขยายวงกว้าง หากไม่รีบเพิกถอนใบอนุญาต”
คลังขอ 2 สัปดาห์เร่งหาทางออก
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ทางกระทรวงการคลังได้ขอเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อเร่งหาทางออกในการแก้ปัญหาสภาพคล่องของกองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) เนื่องจากขณะนี้กองทุนแบกหนี้อยู่แล้วสูงถึง 5.1 หมื่นล้านบาท หากมีภาระหนี้จากสินมั่นคงฯเพิ่มเข้ามาอีก จะทำให้ต้องแบกหนี้สูงกว่า 8 หมื่นล้านบาท
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวว่า การแก้ปัญหาเรื่องนี้มี 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือ ปัญหาเฉพาะหน้าที่มีบริษัทประกันที่กำลังมีปัญหา และอีกส่วนคือ ภาระหนี้ของกองทุนประกันวินาศภัยที่ต้องใช้เวลาแก้ไขนาน ซึ่งแม้ว่าอาจจะใช้วิธีการกู้เงินมาช่วยสภาพคล่องของกองทุน เพื่อให้สามารถจ่ายคืนหนี้ได้
แต่ก็ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน และต้นทุนดอกเบี้ยก็จะสูง ซึ่งขณะนี้กองทุนมีภาระที่ต้องชำระคืนนานถึง 60 ปี และหากมีบริษัทประกันล้มอีกแห่งก็จะส่งผลให้กองทุนมีภาระที่ต้องชำระคืนเพิ่มขึ้นเป็น 80 ปี
“ตอนนี้ยังตอบไม่ได้ว่าจะแก้ยังไง ต้องฟังจากหลาย ๆ ส่วน ซึ่งยังเหลือคุยกับทางสมาคมประกัน เรื่องนี้มีหลายความเห็น แต่เราจะพยายามเร่งหาข้อสรุปในเร็ว ๆ นี้” นายจุลพันธ์กล่าว
ฟื้นฟูไม่ผ่านต้อง “ล้มละลาย” ?
ด้านแหล่งข่าวจากผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กรณีการเพิกถอนใบอนุญาต บมจ.สินมั่นคงฯ ต้องพิจารณาอีกมุมหนึ่งด้วย ก็คือที่ผ่านมา ทางบริษัทเลือกแนวทางตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ภายใต้พระราชบัญญัติล้มละลายไปแล้ว ซึ่งเมื่อแผนฟื้นฟูกิจการไม่ผ่าน เนื่องจากเจ้าหนี้ไม่โหวตให้ ก็อาจจะต้องไปสู่การล้มละลาย
“มีข้อสังเกตว่า เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทไม่ผ่าน เพราะเจ้าหนี้ไม่โหวตให้ ดังนั้น ตามกระบวนการก็ต้องล้มละลายหรือไม่ ซึ่งคงต้องไปดูข้อกฎหมายให้ดี” แหล่งข่าวกล่าว
หวังปลดแอกหนี้กองทุน
แหล่งข่าวผู้บริหารวงการประกันภัยอธิบายว่า เนื่องจากตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2558) กรณีบริษัทประกันวินาศภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต กองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) จะเข้ามาเป็นผู้ชำระบัญชี รวมทั้งทำหน้าที่ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยที่ทำไว้กับบริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
หมายความว่า ถ้า รมว.คลังลงนาม “เพิกถอนใบอนุญาต” บริษัทสินมั่นคงฯ ทางกองทุนประกันฯ ก็ต้องเข้ามารับภาระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันของบริษัทสินมั่นคงฯ อีกประมาณ 30,000 ล้านบาท ขณะที่ปัจจุบันกองทุนประกันฯ ก็มีปัญหาสภาพคล่อง ไม่มีเงินมาจ่ายคืนหนี้อยู่แล้ว
ดังนั้น ในเมื่อบริษัทสินมั่นคงฯ ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้ยื่นศาลล้มละลายฯ เพื่อขอฟื้นฟูกิจการ แต่เมื่อเจ้าหนี้คัดค้านแผนฟื้นฟูไม่โหวตให้ เท่ากับว่าไม่ได้รับความเห็นชอบ ทำให้ศาลยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการ เท่ากับว่าบริษัทก็ต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย
แหล่งข่าวกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น รมว.คลังก็อาจไม่จำเป็นที่จะต้อง “เพิกถอนใบอนุญาต” เพื่อที่จะทำให้เกิดภาระหนี้กับกองทุนประกันฯ อีก อย่างไรก็ดี อีกด้านกระบวนการให้กองทุนประกันฯ เข้าไปรับภาระ ก็ถือเป็นการคุ้มครองผู้เอาประกันจากบริษัทที่ประสบปัญหาจนถูกเพิกถอนใบอนุญาต และช่วงที่เกิดปัญหาจากประกันโควิด “เจอ-จ่าย-จบ” รมว.คลังก็มีการลงนามเพิกถอนใบอนุญาตบริษัทประกันวินาศภัยไปแล้ว 4 ราย
ขณะที่กฎหมายกำหนดให้กองทุนประกันวินาศภัยสามารถกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งช่วงที่ผ่านมากองทุนก็พยายามเจรจาขอกู้เงินกับสถาบันการเงินต่าง ๆ รวมทั้งสถาบันการเงินของรัฐ แต่เนื่องจากกองทุนไม่มีความสามารถชำระหนี้คืนได้ ก็ไม่มีสถาบันการเงินรายไหนยอมปล่อยกู้ นอกจากว่ารัฐบาลจะค้ำประกัน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็หมายความว่าหนี้ก้อนนี้จะต้องถูกรวมเข้าไปอยู่ในหนี้สาธารณะด้วย
คปภ.ยืนยันเพิกถอนใบอนุญาต
ฟากแหล่งข่าวสำนักงาน คปภ.กล่าวว่า คปภ.ยืนยันความเห็นที่ให้รีบเพิกถอนใบอนุญาตสินมั่นคงฯ เว้นแต่กระทรวงการคลังจะให้ทบทวน โดย คปภ.เคยแจ้งทางบริษัทแล้วว่า ไม่ได้มีเจตนาอยากจะให้ปิดกิจการ แต่ถ้าอยากจะแก้ปัญหาจริงต้องเสนอแผนมา และต้องเป็นแผนที่เป็นไปได้
“อย่างเช่นบอกว่าเงิน 3 หมื่นล้าน คงไม่มีทันที อาจจะขอเพิ่มทุน 5 พันล้านบาทก่อน และเว้นช่วงระยะเวลาหนึ่งจะใส่เงินอีก 3 พันล้านบาท ถ้ามาแนว ๆ นี้ เราก็จะเสนอบอร์ด คปภ.ให้ได้ แต่ที่ผ่านมาไม่มีการยื่นแผนอะไรเข้ามาเลย ถามไปก็บอกแค่ว่ามีผู้สนใจเพิ่มทุน แต่ก็ไม่มีความชัดเจนอะไรเลย”
มูลค่าทรัพย์สินรวมตึก 6 พันล้าน
แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับมูลค่าทรัพย์สินของบริษัทสินมั่นคงประกันภัย ประเมินว่ามีอยู่ประมาณ 6 พันล้านบาท รวมตัวอาคารสำนักงานใหญ่บนถนนศรีนครินทร์ ส่วนสภาพคล่องที่เป็นเงินสดมีอยู่ประมาณ 2 พันล้านบาท ซึ่งเป็นข้อมูลการเงินก่อนที่ คปภ.จะมีคำสั่งหยุดรับประกันภัยชั่วคราว
โดยวันเดียวกันก่อนที่ศาลล้มละลายกลางประกาศยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการ ทางบริษัทสินมั่นคงประกันภัย มีการเลิกจ้างพนักงานเพื่อจ่ายเงินชดเชยแรงงาน ก่อนที่เจ้าหน้าที่ คปภ.จะเข้ามาควบคุม ดังนั้น เงินสดที่เหลือคงลดลงจากเดิมไปพอสมควร ซึ่ง คปภ.ไม่ได้ห้ามจ่ายเงินตามกฎหมายแรงงาน
กองทุนถังแตกใช้หนี้ 80 ปี
นายชนะพล มหาวงษ์ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กองทุนมีการเตรียมความพร้อมเรื่องระบบไว้อยู่แล้ว หาก รมว.คลังมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตสินมั่นคงประกันภัย จะมีการเรียกประชุมบอร์ดกองทุนทันที และจะรีบดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายในการเปิดให้ขอรับชำระหนี้
แต่ติดเรื่องเดียว คือไม่มีเงินที่จะนำมาจ่ายหนี้ 8 หมื่นล้านบาท เพราะไม่เหลือเงินสำหรับจ่ายหนี้แล้ว ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่กับรัฐบาลว่าจะหาทางออกอย่างไร แต่เข้าใจว่าคงจะหาโซลูชั่นที่เหมาะสมหลังจากเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว
โดยปีที่ผ่านมา กองทุนได้มีการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต รวมทั้งสิ้น 8 หมื่นกรมธรรม์ มูลค่าเกือบ 5 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจ่ายหนี้ให้กับเจ้าหนี้ 4 บริษัท ที่ปิดตัวจากขาดทุนจ่ายเคลมประกันภัยโควิด (เอเชียประกันภัย 1950, เดอะวันประกันภัย, อาคเนย์ประกันภัย, ไทยประกันภัย)
และในปี 2567 กองทุนจะมีเฉพาะเงินสมทบจากบริษัทประกันวินาศภัยนำส่งเข้ากองทุนตามกฎหมายกำหนดที่ 0.5% มูลค่า 1,200-1,300 ล้านบาทต่อปี เพื่อจ่ายหนี้ค้างจ่ายรวม 51,154 ล้านบาท จำนวน 599,767 กรมธรรม์ ซึ่งเห็นได้ชัดว่ารายได้กับหนี้ต่างกันมาก
“ยอมรับว่าปีนี้กองทุนจะจ่ายหนี้ได้ตามสภาพ คือตามวงเงินที่มี เพราะฉะนั้นคงจะขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ว่าจะเข้ามาช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง เพราะหากรายได้ที่กองทุนมีอยู่ 1,200 ล้านบาทต่อปี จะจ่ายหนี้หมดต้องใช้เวลา 40-50 ปี และหากบริษัทสินมั่นคงประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีก จะมีหนี้เข้ามาเพิ่มอีก 3 หมื่นล้านบาท จะยิ่งทำให้กองทุนแบกหนี้สูงกว่า 8 หมื่นล้านบาท ทำให้กว่าจะจ่ายหนี้หมดต้องใช้เวลา 70-80 ปี” ผู้จัดการกองทุนกล่าว
จ้าง FA วิเคราะห์แผนจ่ายหนี้
ด้านแหล่งข่าวจากคณะกรรมการกองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) กล่าวว่า กองทุนประกันวินาศภัยพยายามหาทางออกในการหาเงินมาชำระหนี้ ตอนนี้ได้มีการว่าจ้างที่ปรึกษาการเงิน (Financial Advisor) เพื่อวิเคราะห์สมมุติฐานการจ่ายหนี้ แยกเป็นกี่ก้อน ก้อนละเท่าใด มีความสามารถในการส่งคืนเงินจ่ายหนี้อย่างไร และรูปแบบการกู้เงินทำได้ด้วยวิธีการใด เช่น กู้โดยการออกพันธบัตร กู้ยืมธนาคารโดยมีผู้ค้ำประกัน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะแตกต่างกัน
“ตอนนี้อยู่ในช่วงระหว่างทำเปเปอร์กันอยู่ เรียกว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมประกันภัยก็พยายามช่วยกันดูทั้งหมด เพราะแนวทางที่ออกมาจะต้องเป็นไปได้”
รัฐต้องสนับสนุนงบประมาณ
แหล่งข่าวกล่าวว่า ตามข้อกฎหมายของกองทุนประกันวินาศภัยระบุไว้ชัดเจนว่า รัฐบาลจะคุ้มครองเจ้าหนี้กรณีบริษัทประกันภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท และหากกองทุนไม่มีเงินหรือทรัพย์สินเพียงพอ 1.ให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ 2.ปรับอัตราเงินสมทบ 3.กู้ยืม
“ที่ผ่านมากองทุนได้มีการปรับเพิ่มเงินสมทบเต็มเพดานไปแล้วที่ 0.5% และสถานการณ์ของกองทุนในการไปขอกู้เงินจากธนาคารก็ทำได้ยาก เพราะมีรายได้น้อย จ่ายดอกเบี้ยแพง เพราะรัฐบาลไม่ค้ำประกัน ดังนั้น จะเหลือทางออกเดียวคือ รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณ”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้