JP Morgan คาด GDP ไทยโต 3.7% ขยายตัวชนะการเติบโตของค่าเฉลี่ยโลกเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี

JP Morgan คาด GDP ไทยโต 3.7% ขยายตัวชนะการเติบโตของค่าเฉลี่ยโลกเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี อานิสงส์ท่องเที่ยวพุ่ง ต่างชาติขนเงินลงทุน และการบริโภคภายในประเทศฟื้น เชื่อแบงก์ชาติลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่ตลาดคาดหากเงินเฟ้อเริ่มย่อตัว พร้อมคาดดัชนี SET ปีนี้ 1,700 จุด 
 
การคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2567 หลายสำนักวิจัยมองภาพบวกมากขึ้น โดยคาดว่า GDP มีโอกาสกลับมาขยายตัวได้ราว 2.8-4.4% โดยได้รับปัจจัยบวกมาจากภาคการท่องเที่ยว ส่งออก และการลงทุนทั้งของรัฐและการลงทุนต่างชาติ รวมถึงแรงกระตุ้นจากดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งสอดคล้องกับบริษัทหลักทรัพย์ เจพีมอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด ที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัว 3.7% 
 
มาร์โค สุจริตกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ เจพีมอร์แกน (ประเทศไทย) กล่าวว่า หาก GDP ของไทยขยายตัว 3.7% ตามที่คาดการณ์ จะเป็นการเติบโตที่สูงกว่าการเติบโตของค่าเฉลี่ยโลกเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี 
 
ทั้งนี้ คาดการณ์ GDP ที่โต 3.7% ได้รับอานิสงส์จากการเติบโตของการท่องเที่ยวที่จะเป็นเครื่องจักรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการฟรีวีซ่าที่จะหนุนให้นักท่องเที่ยวจีนและอินเดียเข้ามาเพิ่มขึ้น 
 
ไม่เพียงเท่านั้น ยังเห็นแนวโน้มการเข้ามาลงทุนของต่างชาติที่จะเข้ามาไทยมากขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม EV ที่มีโอกาสย้ายฐานการผลิตมาไทยมากขึ้น รวมถึงด้านเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งจะหนุนให้ภาพระยะยาวของเศรษฐกิจไทยดีต่อเนื่อง
 
ขณะที่ภาคการส่งออกปีนี้คาดว่าจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้จากติดลบปีก่อน เช่นเดียวกับการบริโภคในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่องตามอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว เหล่านี้จะเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตได้สู่ระดับศักยภาพได้อีกครั้ง
 
คาด ธปท. ลดดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด
 
มาร์โคกล่าวว่า แนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงิน (กนง.) มองว่า ปีนี้อาจเห็น กนง. ลดดอกเบี้ยเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าน่าจะดำเนินการลดอัตราดอกเบี้ยในครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ มุมมองดังกล่าวอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า เงินเฟ้อจะลดลงต่อเนื่องและไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ 
 
นอกจากนี้แนวโน้มหนี้ครัวเรือนที่อยู่ระดับสูงอาจเป็นปัจจัยหนุนให้ กนง. ลดดอกเบี้ยเร็วขึ้นเพื่อลดภาระลูกหนี้ ไม่ใช่ลดเพราะแรงกดดันจากทางการเมือง
 
ลุ้น SET ปีนี้ 1,700 จุด
 
มาร์โคกล่าวต่อว่า สำหรับมุมมองตลาดหุ้นไทย คาดว่าดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1,700 จุดได้ ปัจจัยสนับสนุนมาจากดัชนีที่ปรับลงไปลึกมากจนต่ำกว่า 1,400 จุด จึงจะเห็นการ Rebound ขึ้นมา 
 
นอกจากนี้ยังมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่กลับมาเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทยมากขึ้น หลังจากภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีทิศทางขยายตัวจากภาคการท่องเที่ยวที่จะกลับมาขยายตัวต่อเนื่อง จากการฟรีวีซ่าจีนและอินเดียที่จะเข้ามาหนุนให้ธุรกิจไทยปรับตัวดีขึ้น เพราะหากดูมาร์เก็ตแชร์ของนักท่องเที่ยวจีนปัจจุบันถือว่าขยายตัวมากขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 13% ในช่วง 9 เดือนของปี 2566 เพิ่มขึ้นหากเทียบกับอดีตที่มาร์เก็ตแชร์นักท่องเที่ยวจีนอยู่ที่ 11%
 
ขณะเดียวกันโอกาสการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปีนี้จะเป็นตัวหนุนให้มีเม็ดเงินต่างชาติกลับมาลงทุนในสินทรัพย์ในประเทศอื่นๆ มากขึ้น โดยเฉพาะเอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย 
 
นอกจากนี้หาก โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจทำให้ประเด็นกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนกลับมาดุเดือดอีกครั้ง ซึ่งอาจกระทบทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิตและย้ายการลงทุนไปประเทศอื่นๆ มากขึ้น ซึ่งประเทศไทยถือว่าเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่นักลงทุนจะเข้ามามากขึ้น
 
กลุ่มที่น่าสนใจลงทุนคือ กลุ่มธนาคารที่มีทิศทางปรับตัวอยู่ในระดับที่ดี รวมถึงหุ้นที่เกี่ยวกับการบริโภคที่จะได้อานิสงส์จากการบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยว
 
“สำหรับปัจจัยต่างประเทศ หากทรัมป์ชนะการเลือกตั้งก็จะดีกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพราะทุกครั้งที่ทรัมป์มาตลาดสหรัฐฯ จะปรับตัวดีขึ้น แต่แน่นอนว่าสงครามการค้าน่าจะตึงเครียดมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งคาดว่าเราอาจได้เงินทุนไหลออกจากจีนไปสู่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เพราะไทยถือเป็นประเทศกลางๆ ในสายตานักลงทุน และมีความเกี่ยวข้องกับทั้งจีนและสหรัฐฯ”

https://thestandard.co/jp-morgan-expects-thai-gdp-2024/

ถ้าย้อนกลับไป ช่วงปลายๆ โควิด ต่างชาติมองเราอีกแบบ อ้างอิงจากสำนักข่าว บลูมเบิร์ก
(บลูมเบิร์ก) -- การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยชะลอตัวอย่างไม่คาดคิดในไตรมาสที่สาม เนื่องจากภาคการผลิตตกต่ำเนื่องจากการส่งออกที่อ่อนแอ การท่องเที่ยวไม่ฟื้น ส่งผลให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการตามแผนแจกเงินสดมูลค่า 14 พันล้านดอลลาร์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในช่วงสามเดือนถึงเดือนกันยายนเพิ่มขึ้น 1.5% จากปีก่อนหน้า สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุเมื่อวันจันทร์ ซึ่งต่ำกว่าค่าประมาณเฉลี่ย 2.2% ในการสำรวจของ Bloomberg และการเติบโต 1.8% ในไตรมาสที่สอง เศรษฐกิจขยายตัว 0.8% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส เทียบกับค่ามัธยฐานการเติบโต 1.3% ในช่วงเก้าเดือนแรก เศรษฐกิจดีขึ้นเพียง 1.9%

รายละเอียดเพิ่มเติมจากการพิมพ์ GDP ไตรมาสสาม:
การบริโภคภาคเอกชน +8.1%
การใช้จ่ายภาครัฐ -4.9%
การส่งออกในแง่มูลค่า -2%
การนำเข้าในแง่มูลค่า -10.7%

*
*
*



ตอนนี้ ตัวเลขการส่งออก + นักท่องเที่ยว กับมาแล้ว !!!!
อัศวินขี่ม้าขาว

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่