เปิดเรื่องราวลวงโลกสุดอื้อฉาวของ “ชาร์ลี เจวิซ” (Charlie Javice) หญิงวัยไม่ถึง 30 ปี แต่สามารถหลอกธนาคาร “JPMorgan” ให้ซื้อ “Frank” กิจการลวงโลกได้ในราคาที่แสนแพงถึง 6,200 ล้านบาท
https://www.bangkokbiznews.com/business/1109307
นิตยสารด้านธุรกิจชื่อดังอย่าง Forbes ถึงขั้นจัดให้ “เจวิซ” ติดอันดับ “นักธุรกิจอายุน้อยกว่า 30 ปีที่มาแรง”
ธนาคาร JPMorgan ตกลงซื้อกิจการ Frank ในเดือน ก.ย. 2564 ด้วยกว่า 6,000 ล้านบาท
JPMorgan ทดสอบระบบ Frank โดยลองส่งข้อมูลประชาสัมพันธ์ไปถึงอีเมลลูกค้า 4 แสนคน ปรากฏว่า 70% ของอีเมลที่ส่งไปนั้นถูกตีกลับ
175 ล้านดอลลาร์ หรือราว 6,200 ล้านบาท คือจำนวนเงินที่ “JPMorgan Chase” ธนาคารใหญ่ที่สุดของสหรัฐ สูญเสียไปกับการซื้อกิจการลวงโลกเมื่อปี 2564 ที่ชื่อว่า “Frank” แพลตฟอร์มให้บริการด้านการศึกษาของ “ชาร์ลี เจวิซ” (Charlie Javice) หญิงสาวที่ขณะนั้นยังอายุไม่ถึง 30 ปี
หลายคนอาจเคยได้ยินเรื่องราวของ เอลิซาเบธ โฮล์มส (Elizabeth Holmes) ผู้ก่อตั้งบริษัท Theranos ที่ผลิตเครื่องตรวจเลือดโดยอ้างว่าตรวจโรคได้สารพัด แต่ผลปรากฏว่าใช้ไม่ได้จริง และทำให้เหล่านักลงทุนสูญเงินไปเป็นจำนวนมาก ไม่นึกว่าเรื่องราวดังกล่าวดูเหมือนจะซ้ำรอย และเกิดขึ้นกับธนาคารยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง JPMorgan
อะไรทำให้ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของสหรัฐและมีนักวิเคราะห์ระดับเทพจำนวนมาก ตัดสินใจซื้อกิจการลวงโลกของเจวิซได้
“เจวิซ” ติดโผนักธุรกิจมาแรงของ Forbes
เรื่องราวเริ่มต้นจาก “เจวิซ” ที่เพิ่งจบสาขาการเงิน จาก Wharton School (วอร์ตันสคูล) หนึ่งในคณะด้านธุรกิจของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐ ได้เห็นปัญหาของเหล่านักศึกษาอเมริกัน ใฝ่ฝันเรียนต่อในมหาวิทยาลัย แต่ติดปัญหาเรื่องเงิน อีกทั้งขั้นตอนการขอเงินทุนต่าง ๆ ก็ยุ่งยากด้วย
ด้วยเหตุนี้ เจวิซจึงก่อตั้งสตาร์ทอัพที่ชื่อ “Frank” ขึ้นมา แพลตฟอร์มที่ช่วยให้นักศึกษาเข้าถึงทุนการศึกษาจากภาครัฐและเอกชนได้ง่ายขึ้น พร้อมมีคอร์สสอนออนไลน์ที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ Frank เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 2560 ไม่นึกว่าเวลาผ่านไปเกือบ 4 ปีจนถึงปี 2564 สตาร์ทอัพนี้จะมีลูกค้ามากถึง 4 ล้านคน จากกว่า 6,000 สถาบันการศึกษา
นิตยสารด้านธุรกิจชื่อดังอย่าง Forbes ถึงขั้นจัดให้ “เจวิซ” ติดอันดับ “นักธุรกิจอายุน้อยกว่า 30 ปีที่มาแรง” รวมถึงสำนักข่าวต่าง ๆ ต่างพากันสัมภาษณ์เธอถึงความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย
จนกระทั่งความโด่งดังของเจวิซไปเข้าตาธนาคาร JPMorgan ที่ต้องการขยายการเติบโต โดยมองว่า เจวิซมีฐานข้อมูลนักศึกษาหลายล้านคน ถ้าทำให้นักศึกษาและผู้ปกครองเหล่านี้กลายเป็นลูกค้าใหม่ของธนาคาร ก็จะช่วยสร้างกำไรให้ธนาคารไม่น้อย
ดังนั้น JPMorgan จึงเข้าเจรจากับเจวิซ เพื่อขอซื้อกิจการ โดยดีลนี้จะทำให้บริษัท Frank อยู่ภายใต้เครือธนาคารยักษ์ใหญ่รายนี้ แต่เจวิซยังคงเป็นหัวหน้างานในการดูแลแพลตฟอร์มดังกล่าว สุดท้ายปรากฏว่าดีลนี้สำเร็จ JPMorgan ตกลงซื้อกิจการ Frank ในเดือน ก.ย. 2564 ด้วยราคา 6,200 ล้านบาท ส่งผลให้เจวิซเป็นเศรษฐีในชั่วข้ามคืน
เจนนิเฟอร์ โรเบิร์ตส (Jennifer Roberts) หัวหน้าฝ่ายลูกค้าของธนาคาร JPMorgan กล่าวว่า “เราปรารถนาที่จะมีความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า เจวิซและทีมของเธอได้สร้างความสัมพันธ์อันวิเศษกับนักศึกษาแล้ว ขณะนี้เรามีเครือข่ายมหาวิทยาลัยมากกว่า 300 แห่ง ดังนั้น บริษัท Frank จะช่วยให้เราเข้าถึงกลุ่มนักศึกษาในวงกว้างขึ้นได้”
ความแตก! กลายเป็นสตาร์ทอัพลวงโลก
เวลาผ่านไปเป็นเดือน เรื่องก็แดงขึ้นเมื่อธนาคารทดสอบระบบ Frank โดยลองส่งข้อมูลประชาสัมพันธ์ไปถึงอีเมลลูกค้า 4 แสนคน ปรากฏว่า 70% ของอีเมลที่ส่งไปนั้นถูกตีกลับ นั่นหมายความว่า กรอกที่อยู่อีเมลผิด หรืออีกเหตุผลหนึ่งคือ อีเมลเหล่านั้นไม่มีอยู่จริง!
เมื่อ JPMorgan รู้แล้วว่าตัวเองถูกหลอก จึงเข้าตรวจสอบเชิงลึกก็พบว่า บริษัท Frank ของเจวิซที่อ้างว่ามีลูกค้า 4 ล้านราย แท้ที่จริงแล้วมีไม่ถึง 3 แสนราย ธนาคารจึงปิดแพลตฟอร์ม Frank แม้จะเสียเงินซื้อไปแล้ว 6,200 ล้านบาท และยื่นฟ้องเจวิซในฐานฉ้อโกงธนาคาร
JPMorgan ระบุอีกว่า เจวิซจ่ายเงินให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) เพื่อปลอมแปลงรายละเอียดข้อมูลลูกค้า ซึ่งสิ่งนี้ก็กลายเป็นคำถามของใครหลาย ๆ คนว่า ธนาคารมีทีมตรวจสอบมูลค่าและสถานะกิจการ (Due Diligence Team) แต่เหตุใดถึงปล่อยให้หลุดรอดไปได้จนกระทั่งซื้อขายกิจการกันสำเร็จ
เจมี ไดมอน (Jamie Dimon) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของ JPMorgan เอ่ยถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า การซื้อกิจการ Frank นับเป็น “ข้อผิดพลาดครั้งใหญ่” ของธนาคาร
ด้านเจวิซ ปฏิเสธข้อกล่าวหาและได้จ้างทนายฟ้องกลับธนาคาร JPMorgan โดยอ้างว่า ธนาคารปั้นเรื่องเพื่อไล่เธอออก และทำให้เธอเสียชื่อเสียง
สำหรับตอนนี้ นอกจากธนาคาร JPMorgan เป็นโจทก์ฟ้องเจวิซแล้ว ยังมีอัยการสหรัฐร่วมยื่นฟ้องด้วย ซึ่งเมื่อรวมคดีทั้งหมดของเธอแล้ว มี 4 ข้อหาดังนี้
1. การฉ้อโกงหลักทรัพย์ (Securities Fraud)
2. การฉ้อโกงผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ (Wire Fraud)
3. การฉ้อโกงธนาคาร (Bank Fraud)
4. การสมรู้ร่วมคิดเพื่อก่ออาชญากรรม (Conspiracy)
ขณะนี้คดีกำลังอยู่ในช่วงการต่อสู้กัน ถ้าเจวิซถูกตัดสินว่ามีความผิดตามข้อกล่าวหาทั้งหมด จะต้องโทษจำคุกนานสูงสุดถึง 30 ปี
JPMorgan ไม่ใช่เหยื่อรายเดียวของเจวิซ
ก่อนหน้าการขายกิจการ Frank เจวิซเคยมีประวัติแอบอ้างชื่อหน่วยงานรัฐบนเว็บไซต์ตัวเอง โดยในช่วงปี 2560 กระทรวงศึกษาธิการสหรัฐได้ยื่นเรื่องให้เจวิซนำชื่อ “FAFSA” (Free Application for Federal Student Aid) ที่พ่วงในเว็บไซต์ธุรกิจของเธอเป็น frankfafsa.com ออก เพราะหน่วยงานรัฐกับธุรกิจของเธอไม่ได้มีความร่วมมือกัน เกรงว่าผู้พบเห็นจะเข้าใจผิดได้ ซึ่งเจวิซก็ตกลงเอาคำว่า FAFSA ออกตามคำขอจากทางการ
นอกจากนี้ บริษัท Frank มีการเสนอบริการ 448 คอร์สเรียนจากมหาวิทยาลัย Keiser University ในรัฐฟลอริดา และ 317 คอร์สเรียนจากมหาวิทยาลัย Lee University ในรัฐเทนเนสซี แต่ปรากฏว่าเมื่อสอบถามถึงต้นทาง มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งชี้แจงว่า ไม่ได้มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับบริษัท Frank และแปลกใจที่คอร์สเรียนของสถาบันถูกลิสต์อยู่ในแพลตฟอร์มของเธอ
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้กลายเป็นอุทาหรณ์ว่า การลงทุนในบริษัทใด ๆ ก็ตาม ต่อให้บริษัทนั้นมีนวัตกรรมสุดวิเศษ เป็นที่รู้จักจากผู้มีชื่อเสียงอย่าง เอลิซาเบธ โฮล์มส เคยนั่งเสวนาร่วมกับบิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ เจวิซเคยติดอันดับนักธุรกิจอายุน้อยที่มาแรงของ Forbes หรือมีนักวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือมาชี้เป้าหมายราคาสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ ก็อย่าเพิ่งรีบลงทุนตาม แต่ควรศึกษาด้วยตัวเองอย่างรอบคอบก่อน เพราะหากเกิดความเสี่ยงหรือกรณีอื้อฉาวขึ้นมา คนที่จะเสียหายอาจไม่ใช่คนที่ชี้แนะ แต่เป็นตัวนักลงทุนเอง
อ้างอิง: apnews, bloomberg, bloomberg(2), cnbc, nytimes, fastcompany
เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย กรุงเทพธุรกิจ
ติดตามข่าวสารต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่
https://www.bangkokbiznews.com
JPMorgan ถูกหลอกซื้อกิจการลวงโลก กว่า 6 พันล้าน
https://www.bangkokbiznews.com/business/1109307
นิตยสารด้านธุรกิจชื่อดังอย่าง Forbes ถึงขั้นจัดให้ “เจวิซ” ติดอันดับ “นักธุรกิจอายุน้อยกว่า 30 ปีที่มาแรง”
ธนาคาร JPMorgan ตกลงซื้อกิจการ Frank ในเดือน ก.ย. 2564 ด้วยกว่า 6,000 ล้านบาท
JPMorgan ทดสอบระบบ Frank โดยลองส่งข้อมูลประชาสัมพันธ์ไปถึงอีเมลลูกค้า 4 แสนคน ปรากฏว่า 70% ของอีเมลที่ส่งไปนั้นถูกตีกลับ
175 ล้านดอลลาร์ หรือราว 6,200 ล้านบาท คือจำนวนเงินที่ “JPMorgan Chase” ธนาคารใหญ่ที่สุดของสหรัฐ สูญเสียไปกับการซื้อกิจการลวงโลกเมื่อปี 2564 ที่ชื่อว่า “Frank” แพลตฟอร์มให้บริการด้านการศึกษาของ “ชาร์ลี เจวิซ” (Charlie Javice) หญิงสาวที่ขณะนั้นยังอายุไม่ถึง 30 ปี
หลายคนอาจเคยได้ยินเรื่องราวของ เอลิซาเบธ โฮล์มส (Elizabeth Holmes) ผู้ก่อตั้งบริษัท Theranos ที่ผลิตเครื่องตรวจเลือดโดยอ้างว่าตรวจโรคได้สารพัด แต่ผลปรากฏว่าใช้ไม่ได้จริง และทำให้เหล่านักลงทุนสูญเงินไปเป็นจำนวนมาก ไม่นึกว่าเรื่องราวดังกล่าวดูเหมือนจะซ้ำรอย และเกิดขึ้นกับธนาคารยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง JPMorgan
อะไรทำให้ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของสหรัฐและมีนักวิเคราะห์ระดับเทพจำนวนมาก ตัดสินใจซื้อกิจการลวงโลกของเจวิซได้
“เจวิซ” ติดโผนักธุรกิจมาแรงของ Forbes
เรื่องราวเริ่มต้นจาก “เจวิซ” ที่เพิ่งจบสาขาการเงิน จาก Wharton School (วอร์ตันสคูล) หนึ่งในคณะด้านธุรกิจของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐ ได้เห็นปัญหาของเหล่านักศึกษาอเมริกัน ใฝ่ฝันเรียนต่อในมหาวิทยาลัย แต่ติดปัญหาเรื่องเงิน อีกทั้งขั้นตอนการขอเงินทุนต่าง ๆ ก็ยุ่งยากด้วย
ด้วยเหตุนี้ เจวิซจึงก่อตั้งสตาร์ทอัพที่ชื่อ “Frank” ขึ้นมา แพลตฟอร์มที่ช่วยให้นักศึกษาเข้าถึงทุนการศึกษาจากภาครัฐและเอกชนได้ง่ายขึ้น พร้อมมีคอร์สสอนออนไลน์ที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ Frank เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 2560 ไม่นึกว่าเวลาผ่านไปเกือบ 4 ปีจนถึงปี 2564 สตาร์ทอัพนี้จะมีลูกค้ามากถึง 4 ล้านคน จากกว่า 6,000 สถาบันการศึกษา
นิตยสารด้านธุรกิจชื่อดังอย่าง Forbes ถึงขั้นจัดให้ “เจวิซ” ติดอันดับ “นักธุรกิจอายุน้อยกว่า 30 ปีที่มาแรง” รวมถึงสำนักข่าวต่าง ๆ ต่างพากันสัมภาษณ์เธอถึงความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย
จนกระทั่งความโด่งดังของเจวิซไปเข้าตาธนาคาร JPMorgan ที่ต้องการขยายการเติบโต โดยมองว่า เจวิซมีฐานข้อมูลนักศึกษาหลายล้านคน ถ้าทำให้นักศึกษาและผู้ปกครองเหล่านี้กลายเป็นลูกค้าใหม่ของธนาคาร ก็จะช่วยสร้างกำไรให้ธนาคารไม่น้อย
ดังนั้น JPMorgan จึงเข้าเจรจากับเจวิซ เพื่อขอซื้อกิจการ โดยดีลนี้จะทำให้บริษัท Frank อยู่ภายใต้เครือธนาคารยักษ์ใหญ่รายนี้ แต่เจวิซยังคงเป็นหัวหน้างานในการดูแลแพลตฟอร์มดังกล่าว สุดท้ายปรากฏว่าดีลนี้สำเร็จ JPMorgan ตกลงซื้อกิจการ Frank ในเดือน ก.ย. 2564 ด้วยราคา 6,200 ล้านบาท ส่งผลให้เจวิซเป็นเศรษฐีในชั่วข้ามคืน
เจนนิเฟอร์ โรเบิร์ตส (Jennifer Roberts) หัวหน้าฝ่ายลูกค้าของธนาคาร JPMorgan กล่าวว่า “เราปรารถนาที่จะมีความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า เจวิซและทีมของเธอได้สร้างความสัมพันธ์อันวิเศษกับนักศึกษาแล้ว ขณะนี้เรามีเครือข่ายมหาวิทยาลัยมากกว่า 300 แห่ง ดังนั้น บริษัท Frank จะช่วยให้เราเข้าถึงกลุ่มนักศึกษาในวงกว้างขึ้นได้”
ความแตก! กลายเป็นสตาร์ทอัพลวงโลก
เวลาผ่านไปเป็นเดือน เรื่องก็แดงขึ้นเมื่อธนาคารทดสอบระบบ Frank โดยลองส่งข้อมูลประชาสัมพันธ์ไปถึงอีเมลลูกค้า 4 แสนคน ปรากฏว่า 70% ของอีเมลที่ส่งไปนั้นถูกตีกลับ นั่นหมายความว่า กรอกที่อยู่อีเมลผิด หรืออีกเหตุผลหนึ่งคือ อีเมลเหล่านั้นไม่มีอยู่จริง!
เมื่อ JPMorgan รู้แล้วว่าตัวเองถูกหลอก จึงเข้าตรวจสอบเชิงลึกก็พบว่า บริษัท Frank ของเจวิซที่อ้างว่ามีลูกค้า 4 ล้านราย แท้ที่จริงแล้วมีไม่ถึง 3 แสนราย ธนาคารจึงปิดแพลตฟอร์ม Frank แม้จะเสียเงินซื้อไปแล้ว 6,200 ล้านบาท และยื่นฟ้องเจวิซในฐานฉ้อโกงธนาคาร
JPMorgan ระบุอีกว่า เจวิซจ่ายเงินให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) เพื่อปลอมแปลงรายละเอียดข้อมูลลูกค้า ซึ่งสิ่งนี้ก็กลายเป็นคำถามของใครหลาย ๆ คนว่า ธนาคารมีทีมตรวจสอบมูลค่าและสถานะกิจการ (Due Diligence Team) แต่เหตุใดถึงปล่อยให้หลุดรอดไปได้จนกระทั่งซื้อขายกิจการกันสำเร็จ
เจมี ไดมอน (Jamie Dimon) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของ JPMorgan เอ่ยถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า การซื้อกิจการ Frank นับเป็น “ข้อผิดพลาดครั้งใหญ่” ของธนาคาร
ด้านเจวิซ ปฏิเสธข้อกล่าวหาและได้จ้างทนายฟ้องกลับธนาคาร JPMorgan โดยอ้างว่า ธนาคารปั้นเรื่องเพื่อไล่เธอออก และทำให้เธอเสียชื่อเสียง
สำหรับตอนนี้ นอกจากธนาคาร JPMorgan เป็นโจทก์ฟ้องเจวิซแล้ว ยังมีอัยการสหรัฐร่วมยื่นฟ้องด้วย ซึ่งเมื่อรวมคดีทั้งหมดของเธอแล้ว มี 4 ข้อหาดังนี้
1. การฉ้อโกงหลักทรัพย์ (Securities Fraud)
2. การฉ้อโกงผ่านการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ (Wire Fraud)
3. การฉ้อโกงธนาคาร (Bank Fraud)
4. การสมรู้ร่วมคิดเพื่อก่ออาชญากรรม (Conspiracy)
ขณะนี้คดีกำลังอยู่ในช่วงการต่อสู้กัน ถ้าเจวิซถูกตัดสินว่ามีความผิดตามข้อกล่าวหาทั้งหมด จะต้องโทษจำคุกนานสูงสุดถึง 30 ปี
JPMorgan ไม่ใช่เหยื่อรายเดียวของเจวิซ
ก่อนหน้าการขายกิจการ Frank เจวิซเคยมีประวัติแอบอ้างชื่อหน่วยงานรัฐบนเว็บไซต์ตัวเอง โดยในช่วงปี 2560 กระทรวงศึกษาธิการสหรัฐได้ยื่นเรื่องให้เจวิซนำชื่อ “FAFSA” (Free Application for Federal Student Aid) ที่พ่วงในเว็บไซต์ธุรกิจของเธอเป็น frankfafsa.com ออก เพราะหน่วยงานรัฐกับธุรกิจของเธอไม่ได้มีความร่วมมือกัน เกรงว่าผู้พบเห็นจะเข้าใจผิดได้ ซึ่งเจวิซก็ตกลงเอาคำว่า FAFSA ออกตามคำขอจากทางการ
นอกจากนี้ บริษัท Frank มีการเสนอบริการ 448 คอร์สเรียนจากมหาวิทยาลัย Keiser University ในรัฐฟลอริดา และ 317 คอร์สเรียนจากมหาวิทยาลัย Lee University ในรัฐเทนเนสซี แต่ปรากฏว่าเมื่อสอบถามถึงต้นทาง มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งชี้แจงว่า ไม่ได้มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับบริษัท Frank และแปลกใจที่คอร์สเรียนของสถาบันถูกลิสต์อยู่ในแพลตฟอร์มของเธอ
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้กลายเป็นอุทาหรณ์ว่า การลงทุนในบริษัทใด ๆ ก็ตาม ต่อให้บริษัทนั้นมีนวัตกรรมสุดวิเศษ เป็นที่รู้จักจากผู้มีชื่อเสียงอย่าง เอลิซาเบธ โฮล์มส เคยนั่งเสวนาร่วมกับบิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ เจวิซเคยติดอันดับนักธุรกิจอายุน้อยที่มาแรงของ Forbes หรือมีนักวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือมาชี้เป้าหมายราคาสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ ก็อย่าเพิ่งรีบลงทุนตาม แต่ควรศึกษาด้วยตัวเองอย่างรอบคอบก่อน เพราะหากเกิดความเสี่ยงหรือกรณีอื้อฉาวขึ้นมา คนที่จะเสียหายอาจไม่ใช่คนที่ชี้แนะ แต่เป็นตัวนักลงทุนเอง
อ้างอิง: apnews, bloomberg, bloomberg(2), cnbc, nytimes, fastcompany
เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย กรุงเทพธุรกิจ
ติดตามข่าวสารต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.bangkokbiznews.com