คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
การลาออกจากงาน เป็นสิทธิของลูกจ้าง
จะออกเมื่อใดก็ได้ เป็นการแจ้งให้ทราบ ไม่ต้องขออนุมัติจากนายจ้าง..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6020/2545
โจทก์ยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2540 โดยขอลาออกตั้งแต่วันที่ 16เมษายน 2540 เป็นต้นไป การที่โจทก์ยื่นใบลาออกต่อจำเลยย่อมเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้าง ซึ่งการเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้น นายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานได้แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงหรืออนุมัติแต่อย่างใด
ไม่ต้องใช้ใบลาออกของบริษัท ส่งอีเมล์หรือเขียนเอง แสดงให้ชัดเจนว่า ต้องการจะออกจากงานวันไหน ?...พอ.
แต่
ว่ากันตามหลักกฎหมาย ต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้อีกฝ่ายทราบ
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 17วรรค 2 และประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 582 ก็กำหนดให้สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลา ลูกจ้างสามารถแสดงเจตนา บอกล่วงหน้า 1 งวดค่าจ้าง หมายความว่า บอกก่อนหรือในวันจ่ายค่าจ้างคราวใดคราวหนึ่ง แล้วออกจากงานในวันจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป
แต่ถ้านายจ้างกำหนดไว้เป็น 1 เดือน หรือ 30 วัน ก็ให้ถือตามนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1661/2557
การกระทำชองจำเลย เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 อันเป็นเหตุให้โจทก์ มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้
จะออกเมื่อใดก็ได้ เป็นการแจ้งให้ทราบ ไม่ต้องขออนุมัติจากนายจ้าง..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6020/2545
โจทก์ยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2540 โดยขอลาออกตั้งแต่วันที่ 16เมษายน 2540 เป็นต้นไป การที่โจทก์ยื่นใบลาออกต่อจำเลยย่อมเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้าง ซึ่งการเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้น นายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานได้แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงหรืออนุมัติแต่อย่างใด
ไม่ต้องใช้ใบลาออกของบริษัท ส่งอีเมล์หรือเขียนเอง แสดงให้ชัดเจนว่า ต้องการจะออกจากงานวันไหน ?...พอ.
แต่
ว่ากันตามหลักกฎหมาย ต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้อีกฝ่ายทราบ
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 17วรรค 2 และประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 582 ก็กำหนดให้สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลา ลูกจ้างสามารถแสดงเจตนา บอกล่วงหน้า 1 งวดค่าจ้าง หมายความว่า บอกก่อนหรือในวันจ่ายค่าจ้างคราวใดคราวหนึ่ง แล้วออกจากงานในวันจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป
แต่ถ้านายจ้างกำหนดไว้เป็น 1 เดือน หรือ 30 วัน ก็ให้ถือตามนั้นได้
*ถ้าอยากจะลาออกเร็วกว่านั้น ก็ต้องคุยกับนายจ้าง
*การลาออกผิดระเบียบ เป็น "การผิดสัญญาจ้าง" หากนายจ้างได้รับความเสียหาย ฟ้องศาลแรงงานฯได้
*การลาออกผิดระเบียบ เป็น "การผิดสัญญาจ้าง" หากนายจ้างได้รับความเสียหาย ฟ้องศาลแรงงานฯได้
คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1661/2557
การกระทำชองจำเลย เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 อันเป็นเหตุให้โจทก์ มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้
แสดงความคิดเห็น
ใบลาออกแบบนี้ มันปกติไหมครับ