ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 6
๑. ถ้าพอรอไหว แนะนำให้รอจนครบกำหนดเวลาที่ยับยั้ง ( อีก ๓ เดือน ก็ถือว่าเป็นเวลาเตรียมตัวที่จะออก หรือ เวลาที่ให้เราทบทวน?)
๒. แต่ถ้า รอไม่ไหว จะต้องออกเลย ก็มีสองทางเลือกคือ
๒.๑ ออกเลย ไม่สนใจคำสั่ง ซึ่งอาจกลายเป็น ให้ออก หรือ ไล่ออก (ไม่แนะนำ วิธีนี้ ยกเว้น ชีวิตนี้จะไม่รับราชการ หรือเกี่ยวข้องกันอีก)
๒.๒ ระบุเหตุผลไปว่า " ประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรง ตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง "
มาตรา 113 นอกจากกรณีตามวรรคสี่ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะ ลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 52 เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรง ตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้น ขอลาออก
..........................................
ข้อแนะนำ ถ้าต้อง ลาออกจากราชการ มีขั้นตอนอย่างไร? ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-02-2008&group=27&gblog=19
ข้อแนะนำ ถ้าต้องลาออกจากราชการ
ที่ผมเรียบเรียงเรื่องนี้ ไม่ได้เป็นการสนับสนุนให้พวกเราลาออกจากราชการ นะครับ เพียงแต่อยากให้เป็นข้อคิด แนวทางในการตัดสินใจ ว่าจะทำอย่างไรดี ...... เรียบเรียงจากประสบการณ์ตรง ซึ่งอาจต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกหน่อยนะครับ
การตัดสินใจที่จะทำอะไรสักอย่าง ผมเชื่อว่า ต้องมีเหตุผลเบื้องหลังพอสมควร ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ อาจไม่เหมือนกัน แต่ไม่ได้บอกว่า เหตุผลนั้นดีหรือไม่ดี ถ้าเราคิดว่า สิ่งที่เราตัดสินใจนั้นเราได้คิดอย่างรอบคอบ คิดอย่างดีแล้ว คนอื่น ๆ จะว่าอย่างไร ก็อย่าไปคิดให้รกสมองเลยครับ เพราะเวลามีปัญหาอะไรขึ้นมา คนอื่นเขาไม่ได้มาพบเจอกับเราด้วย เราเองเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดชอบผลที่เกิดจากการตัดสินใจนั้น ๆ แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ไม่ว่า ผลจะดีหรือร้าย ก็คงต้องรับไปเต็ม ๆ ดังนั้น ก่อนที่จะคิดลาออก ก็ต้องคิดให้รอบคอบไว้ด้วย
คิดก่อน
1. เขียนข้อดีข้อเสีย ของการอยู่ หรือ ออกจากราชการ ปัญหามันคืออะไร มีทางแก้ไขได้หรือไม่ อย่างไร ค่อย ๆ เขียนไปเรื่อย ๆ คิดได้ ก็เติมไป สัก 2 อาทิตย์ แล้วค่อยกลับมาอ่านทบทวน
2. คุยปรึกษาเพื่อน ๆ พี่ๆ คุยกับพ่อแม่พี่น้อง เป็นการหาข้อมูล ความคิดเห็น แล้วก็ถือว่า เป็นการเกริ่นไว้คร่าว ๆ ก่อน จะได้มีเวลาเตรียมใจ เผื่อเราออกจริง ๆ
3. วางแผนว่า ถ้าออกแล้วจะไปทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แล้วก็ลองหาข้อมูล ติดต่อไว้ก่อน เผื่อถ้ามีปัญหาติดขัดอะไร ก็จะได้แก้ไขก่อน เตรียมตัวให้พร้อมไว้ดีกว่า
แล้วอย่าลืมว่าแผนด้านการเงินด้วยว่า ระหว่างที่ออกไป จะเอาเงินที่ไหนใช้จ่าย เงินที่เก็บไว้มีเพียงพอหรือเปล่า
4. ติดต่อที่ ธุรการ รพ. หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (งานบุคลากร) ว่าถ้าจะลาออกจะต้องดำเนินการอย่างไร มีเอกสารอะไรบ้าง
แล้วให้เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบเรื่องวันลาว่ายังมีสิทธ์ลาพักร้อน ลากิจ เหลืออีก กี่วัน จะได้วางแผนเรื่องเวลาได้ถูก รวมถึง ตรวจสอบสิทธิบำเหน็จ บำนาญ เงินตกเบิก เงินที่ต้องใช้คืนในกรณีติดทุน
5. ถ้าลาออก พ่อแม่ ครอบครัว จะใช้สิทธิการรักษาอะไร ต้องใช้สิทธิบัตรสุขภาพ (บัตรทอง) หรือไม่ จะได้เตรียมเอกสารและสถานที่ติดต่อให้พร้อม ซึ่งเท่าที่สอบถาม นำเอกสาร(หนังสือให้ออกจากราชการ +สำเนาทะเบียนบ้าน +สำเนาบัตรประชาชน) ไปติดต่อได้ที่ สถานีอนามัย หรือ รพ.ในภูมิลำเนาที่อยู่ หลังจากที่ได้รับหนังสือให้ออกจากราชการแล้ว
ตัดสินใจแน่นอน
1. ติดต่อที่ ธุรการ รพ. หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (งานบุคลากร) ขอหนังสือลาออกจากราชการ ( เป็นใบคำร้อง ขอลาออกจากราชการ ) แล้วก็กรอกรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบ โดยเฉพาะ เหตุผลที่ขอลาออก ซึ่งอยากจะเน้นว่า อย่าให้เป็นเหตุผลที่อาจกระทบต่อคนอื่น ๆ มากนัก ไหน ๆ จะออกแล้วก็อย่าให้มีเรื่อง ด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องดีกว่า
2. เสนอ ผู้อำนวยการ ซึ่งผู้อำนวยการอาจอนุมัติเลย หรือ อาจยับยั้งไว้ก็ได้ แต่ตามระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 113 ถ้าผู้อำนวยการแจ้งเหตุผลให้ทราบก็ยับยั้งได้ 90 วัน
ส่วนกรณีที่อาจเป็นปัญหา ก็คือตามระเบียบ ถ้า ผู้อำนวยการ เฉย ๆ ไม่แจ้งยับยั้ง แต่ก็ไม่เซนต์อนุมัติ ให้ถือว่า ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ยื่น ซึ่งข้อนี้ ค่อนข้างเสี่ยงเพราะไม่ได้ระบุว่า ต้องใช้เวลาเท่าไหร่ ถ้าเกิดเราไม่มาทำงาน แล้วเกิดการเล่นแง่ว่า เราขาดราชการโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ แบบนี้ก็อาจมีปัญหาได้ ซึ่งอาจไม่มาทำงาน โดยใช้วันลากิจ แต่ต้องทำเป็นหนังสือลาให้ถูกต้องด้วยนะครับ
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ก็น่าจะขอให้เป็นหนังสือราชการว่า ให้ออกตามคำขอ หรือ ยับยั้ง ดีกว่า
3. ใบลาจะมีผลบังคับเมื่อได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น ถ้ายังไม่มีหนังสือแล้วหยุดเอง โดยที่ไม่ได้ทำตามระเบียนวันลาราชการ จะถือว่า ขาดราชการ ซึ่งอาจกลายเป็นถูกสั่งให้ออกจากราชการ (ปลดออก ไล่ออก) ทำให้ไม่ได้ สิทธิบำเหน็จบำนาญราชการ รวมถึงการขอเข้ารับราชการใหม่ด้วย
4. ควรทำให้ถูกต้องตามระเบียบ อาจช้าหน่อย แต่ก็ต้องเผื่อไว้ด้วยว่า เราอาจจะกลับเข้ารับราชการใหม่ เพราะถ้าเป็นการออกจากราชการด้วยเหตุผลว่า “ ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก “ อยากจะเข้ามารับราชการใหม่ ไม่ว่าที่ไหน ตำแหน่งอะไร ก็มีปัญหาแน่นอน อ้อ รวมถึงตำแหน่งทางการเมืองด้วยนะครับ
[color=blue]:: พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตราที่ 112-123 [/color]
:: หมวด 6 การออกจากราชการ
มาตรา 112 ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเมื่อ
(1) ตาย
(2) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(3) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตาม มาตรา 113
(4) ถูกสั่งให้ออกตาม มาตรา 54 มาตรา 67 มาตรา 107 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 มาตรา 117 มาตรา 118 หรือ มาตรา 123 หรือ
(5) ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก
วันออกจากราชการตาม (4) และ (5) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้
การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ต้องออกจากราชการตาม (2) รับราชการต่อไป จะกระทำมิได้
มาตรา 113 นอกจากกรณีตามวรรคสี่ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะ ลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 52 เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 52 พิจารณาเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ ราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันขอลาออกก็ได้ แต่ ต้องแจ้งการยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ขอลาออกทราบ และเมื่อครบกำหนด เวลาที่ยับยั้งแล้วให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาที่ยับยั้ง
ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 52 ไม่ได้อนุญาตให้ลาออกตามวรรคหนึ่งและไม่ได้ยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกตามวรรคสอง ให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรง ตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้น ขอลาออก
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและการยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ให้เป็นไปตามระเบียบ ที่ ก.พ. วางไว้
๑. ถ้าพอรอไหว แนะนำให้รอจนครบกำหนดเวลาที่ยับยั้ง ( อีก ๓ เดือน ก็ถือว่าเป็นเวลาเตรียมตัวที่จะออก หรือ เวลาที่ให้เราทบทวน?)
๒. แต่ถ้า รอไม่ไหว จะต้องออกเลย ก็มีสองทางเลือกคือ
๒.๑ ออกเลย ไม่สนใจคำสั่ง ซึ่งอาจกลายเป็น ให้ออก หรือ ไล่ออก (ไม่แนะนำ วิธีนี้ ยกเว้น ชีวิตนี้จะไม่รับราชการ หรือเกี่ยวข้องกันอีก)
๒.๒ ระบุเหตุผลไปว่า " ประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรง ตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง "
มาตรา 113 นอกจากกรณีตามวรรคสี่ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะ ลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 52 เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรง ตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้น ขอลาออก
..........................................
ข้อแนะนำ ถ้าต้อง ลาออกจากราชการ มีขั้นตอนอย่างไร? ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-02-2008&group=27&gblog=19
ข้อแนะนำ ถ้าต้องลาออกจากราชการ
ที่ผมเรียบเรียงเรื่องนี้ ไม่ได้เป็นการสนับสนุนให้พวกเราลาออกจากราชการ นะครับ เพียงแต่อยากให้เป็นข้อคิด แนวทางในการตัดสินใจ ว่าจะทำอย่างไรดี ...... เรียบเรียงจากประสบการณ์ตรง ซึ่งอาจต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกหน่อยนะครับ
การตัดสินใจที่จะทำอะไรสักอย่าง ผมเชื่อว่า ต้องมีเหตุผลเบื้องหลังพอสมควร ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ อาจไม่เหมือนกัน แต่ไม่ได้บอกว่า เหตุผลนั้นดีหรือไม่ดี ถ้าเราคิดว่า สิ่งที่เราตัดสินใจนั้นเราได้คิดอย่างรอบคอบ คิดอย่างดีแล้ว คนอื่น ๆ จะว่าอย่างไร ก็อย่าไปคิดให้รกสมองเลยครับ เพราะเวลามีปัญหาอะไรขึ้นมา คนอื่นเขาไม่ได้มาพบเจอกับเราด้วย เราเองเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดชอบผลที่เกิดจากการตัดสินใจนั้น ๆ แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ไม่ว่า ผลจะดีหรือร้าย ก็คงต้องรับไปเต็ม ๆ ดังนั้น ก่อนที่จะคิดลาออก ก็ต้องคิดให้รอบคอบไว้ด้วย
คิดก่อน
1. เขียนข้อดีข้อเสีย ของการอยู่ หรือ ออกจากราชการ ปัญหามันคืออะไร มีทางแก้ไขได้หรือไม่ อย่างไร ค่อย ๆ เขียนไปเรื่อย ๆ คิดได้ ก็เติมไป สัก 2 อาทิตย์ แล้วค่อยกลับมาอ่านทบทวน
2. คุยปรึกษาเพื่อน ๆ พี่ๆ คุยกับพ่อแม่พี่น้อง เป็นการหาข้อมูล ความคิดเห็น แล้วก็ถือว่า เป็นการเกริ่นไว้คร่าว ๆ ก่อน จะได้มีเวลาเตรียมใจ เผื่อเราออกจริง ๆ
3. วางแผนว่า ถ้าออกแล้วจะไปทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แล้วก็ลองหาข้อมูล ติดต่อไว้ก่อน เผื่อถ้ามีปัญหาติดขัดอะไร ก็จะได้แก้ไขก่อน เตรียมตัวให้พร้อมไว้ดีกว่า
แล้วอย่าลืมว่าแผนด้านการเงินด้วยว่า ระหว่างที่ออกไป จะเอาเงินที่ไหนใช้จ่าย เงินที่เก็บไว้มีเพียงพอหรือเปล่า
4. ติดต่อที่ ธุรการ รพ. หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (งานบุคลากร) ว่าถ้าจะลาออกจะต้องดำเนินการอย่างไร มีเอกสารอะไรบ้าง
แล้วให้เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบเรื่องวันลาว่ายังมีสิทธ์ลาพักร้อน ลากิจ เหลืออีก กี่วัน จะได้วางแผนเรื่องเวลาได้ถูก รวมถึง ตรวจสอบสิทธิบำเหน็จ บำนาญ เงินตกเบิก เงินที่ต้องใช้คืนในกรณีติดทุน
5. ถ้าลาออก พ่อแม่ ครอบครัว จะใช้สิทธิการรักษาอะไร ต้องใช้สิทธิบัตรสุขภาพ (บัตรทอง) หรือไม่ จะได้เตรียมเอกสารและสถานที่ติดต่อให้พร้อม ซึ่งเท่าที่สอบถาม นำเอกสาร(หนังสือให้ออกจากราชการ +สำเนาทะเบียนบ้าน +สำเนาบัตรประชาชน) ไปติดต่อได้ที่ สถานีอนามัย หรือ รพ.ในภูมิลำเนาที่อยู่ หลังจากที่ได้รับหนังสือให้ออกจากราชการแล้ว
ตัดสินใจแน่นอน
1. ติดต่อที่ ธุรการ รพ. หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (งานบุคลากร) ขอหนังสือลาออกจากราชการ ( เป็นใบคำร้อง ขอลาออกจากราชการ ) แล้วก็กรอกรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบ โดยเฉพาะ เหตุผลที่ขอลาออก ซึ่งอยากจะเน้นว่า อย่าให้เป็นเหตุผลที่อาจกระทบต่อคนอื่น ๆ มากนัก ไหน ๆ จะออกแล้วก็อย่าให้มีเรื่อง ด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องดีกว่า
2. เสนอ ผู้อำนวยการ ซึ่งผู้อำนวยการอาจอนุมัติเลย หรือ อาจยับยั้งไว้ก็ได้ แต่ตามระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 113 ถ้าผู้อำนวยการแจ้งเหตุผลให้ทราบก็ยับยั้งได้ 90 วัน
ส่วนกรณีที่อาจเป็นปัญหา ก็คือตามระเบียบ ถ้า ผู้อำนวยการ เฉย ๆ ไม่แจ้งยับยั้ง แต่ก็ไม่เซนต์อนุมัติ ให้ถือว่า ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ยื่น ซึ่งข้อนี้ ค่อนข้างเสี่ยงเพราะไม่ได้ระบุว่า ต้องใช้เวลาเท่าไหร่ ถ้าเกิดเราไม่มาทำงาน แล้วเกิดการเล่นแง่ว่า เราขาดราชการโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ แบบนี้ก็อาจมีปัญหาได้ ซึ่งอาจไม่มาทำงาน โดยใช้วันลากิจ แต่ต้องทำเป็นหนังสือลาให้ถูกต้องด้วยนะครับ
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ก็น่าจะขอให้เป็นหนังสือราชการว่า ให้ออกตามคำขอ หรือ ยับยั้ง ดีกว่า
3. ใบลาจะมีผลบังคับเมื่อได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น ถ้ายังไม่มีหนังสือแล้วหยุดเอง โดยที่ไม่ได้ทำตามระเบียนวันลาราชการ จะถือว่า ขาดราชการ ซึ่งอาจกลายเป็นถูกสั่งให้ออกจากราชการ (ปลดออก ไล่ออก) ทำให้ไม่ได้ สิทธิบำเหน็จบำนาญราชการ รวมถึงการขอเข้ารับราชการใหม่ด้วย
4. ควรทำให้ถูกต้องตามระเบียบ อาจช้าหน่อย แต่ก็ต้องเผื่อไว้ด้วยว่า เราอาจจะกลับเข้ารับราชการใหม่ เพราะถ้าเป็นการออกจากราชการด้วยเหตุผลว่า “ ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก “ อยากจะเข้ามารับราชการใหม่ ไม่ว่าที่ไหน ตำแหน่งอะไร ก็มีปัญหาแน่นอน อ้อ รวมถึงตำแหน่งทางการเมืองด้วยนะครับ
[color=blue]:: พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตราที่ 112-123 [/color]
:: หมวด 6 การออกจากราชการ
มาตรา 112 ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเมื่อ
(1) ตาย
(2) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(3) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตาม มาตรา 113
(4) ถูกสั่งให้ออกตาม มาตรา 54 มาตรา 67 มาตรา 107 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 มาตรา 117 มาตรา 118 หรือ มาตรา 123 หรือ
(5) ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก
วันออกจากราชการตาม (4) และ (5) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้
การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ต้องออกจากราชการตาม (2) รับราชการต่อไป จะกระทำมิได้
มาตรา 113 นอกจากกรณีตามวรรคสี่ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะ ลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 52 เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 52 พิจารณาเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ ราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันขอลาออกก็ได้ แต่ ต้องแจ้งการยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ขอลาออกทราบ และเมื่อครบกำหนด เวลาที่ยับยั้งแล้วให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาที่ยับยั้ง
ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 52 ไม่ได้อนุญาตให้ลาออกตามวรรคหนึ่งและไม่ได้ยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกตามวรรคสอง ให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรง ตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้น ขอลาออก
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและการยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ให้เป็นไปตามระเบียบ ที่ ก.พ. วางไว้
แสดงความคิดเห็น
เเพทย์จะลาออกจาก รพ.รัฐ แต่ถูกสั่งห้าม
เข้าใจว่าระเบียบทั่วไปของข้าราชการคือ ยื่นลาออก ล่วงหน้า 1 เดือน แต่พอเรายื่นเรื่องไป ทาง นายแพทย์ สสจ. สั่งห้ามการลาออกของเรา โดยอ้างว่า คนไม่พอ ให้อยู่ต่ออีก 3 เดือน
ลักษณะนี้นับเป็นการละเมิดสิทธิรึเปล่า
มีกฏหมายแรงงานอะไรคุ้มครองเราบ้าง
แล้วถ้าเราดื้อไม่ไปทำงานดื้อๆเลย แย่สุดมันคือผิดระเบียบข้าราชการ แค่โดนไล่ออกอย่างที่เราต้องการรึเปล่า