"อัจฉริยะ"แฉกระบวนการนำเข้าหมูเถื่อนต่อต่อ"รังสิมันต์ โรม"
https://siamrath.co.th/n/507863
วันที่ 18 มกราคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า นาย
อัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม นำหลักฐานกระบวนการนำเข้าหมูเถื่อน ยื่นและชี้เแจงต่อนาย
รังสิมันต์ โรม ในฐานะประธาน กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนยุทธศาสตร์ชาติและการปฎิรูป
โดยเนื้อหาสาระ 5 ข้อหลักดังนี้
1. ต่างประเทศนำสินค้าต้นทางจากต่างประเทศ โดยมีเอกสารระบุชนิดสินค้าให้กับสายการเดินเรือ
2. สายการเดินเรือ เมื่อรับบรรทุกสินค้าดังกล่าว(หมูเถื่อน) จะลงบันทึกในบัญชีสินค้าสำหรับเรือ MANIFEST สินค้าที่รับบรรทุกมาเป็นอะไร
3. เมื่อเรือมาถึงท่าเรือประเทศไทย ทางผู้นำเข้าจะให้ชิบปิ้งไปผ่านพิธีการศุลกากรเพื่อออกของการมอบอำนาจให้ชิปปิ้ง (ขนส่งเอกชน) ไปดำเนินการ หากเกิดความผิดพลาดขึ้นชิปปิ้งจะต้องรับโทษเสมือนผู้นำเข้าเช่นกัน
4. สินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนการนำเข้า หากได้รับอนุญาตหลังการนำเข้าแล้ว จะต้องถูกปรับตามเกณฑ์ ที่รัฐสภา
‘สส.ชัชวาล’จี้ถาม ‘ศธ.’แก้ปัญหา ร.ร.ขนาดเล็ก กำลังเผชิญวิกฤตทรัพยากรมนุษย์
https://www.dailynews.co.th/news/3094013/
”สส.ชัชวาล“จี้ถามมาตรการของกระทรวงศึกษาธิการ ในการแก้ปัญหา ร.ร.ขนาดเล็ก ที่กำลังเผชิญวิกฤตทรัพยากรมนุษย์.
เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ที่รัฐสภา นาย
ชัชวาล แพทยาไทย สส.ร้อยเอ็ด พรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา ตนได้เข้าร่วมกิจกรรมวันครูใน อ.เกษตรวิสัย อ.ปทุมรัตต์ และอ.เมืองสรวง จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งครูหลายท่านได้สะท้อนปัญหาด้านการศึกษา โดยเฉพาะปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก จากข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ มีโรงเรียนประถมในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั้งสิ้น 30,000 กว่าแห่ง ในจำนวนนี้มีโรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน หรือที่เรียกว่าโรงเรียนขนาดเล็กประมาณ 15,000 และให้บริการนักเรียนกว่า 1,000,000 คน
นาย
ชัชวาล กล่าว่า ที่สำคัญเรามีโรงเรียนขนาดเล็กที่วิกฤติ โดยมีนักเรียนไม่ถึง 40 คน กว่า 3,000 แห่ง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ ตั้งเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณ และสนับสนุนบุคลากรให้โรงเรียนในสังกัดตามจำนวนรายหัวของนักเรียน โดยโรงเรียนที่มีนักเรียนมากจะได้งบประมาณและบุคลากรเยอะ ส่วนโรงเรียนที่เล็ก มีนักเรียนน้อยก็จะได้งบประมาณและบุคลากรก็น้อยตามไปด้วย ด้วยงบประมาณที่จำกัดทำให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความลำบาก และยังมีปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย เช่น ปัญหาเรื่องอาคารเรียนที่ชำรุดทรุดโทรม ปัญหาของครูที่ต้องทำหน้าที่มากกว่าครูผู้สอน ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ เป็นต้น
“
โรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้กำลังถูกบีบให้หมดลมหายใจ กระทรวงศึกษาธิการจะมีมาตรการใดบ้างในการแก้ปัญหาให้โรงเรียนขนาดเล็กที่เผชิญอวิกฤตเรื่องทรัพยากรมนุษย์“นาย
ชัชวาล กล่าว.
ส.อ.ท.ประเมินแนวโน้มอุตฯไทยปี 67 มีโอกาสโต-ห่วงค่าไฟ,ค่าแรง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_666085/
ส.อ.ท.ประเมินแนวโน้มอุตฯไทย ปี 67 มีโอกาสเติบโต แต่ยังห่วงค่าแรง ค่าไฟ สงครามฉุด
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท. ได้สรุปผลการประเมินแนวโน้ม 46 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 5 ภูมิภาค ในปี 2567 พบว่า แนวโน้ม 46 กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นมีทั้งหมด 22 กลุ่มอุตสาหกรรม,กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะทรงตัวมีทั้งหมด 11 กลุ่มอุตสาหกรรม, และกลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะหดตัวลงมีทั้งหมด 13 กลุ่มอุตสาหกรรม
ซึ่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา และสำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรม 5 ภูมิภาค โดยอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกคาดว่าจะขยายตัวได้ ส่วนอุตสาหกรรมในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ คาดว่าจะทรงตัว ขณะที่อุตสาหกรรมในภาคกลาง คาดว่าจะหดตัวลง
โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่คาดว่าจะส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้แก่ อานิสงส์จากความต้องการสินค้าและบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวเป้าหมายการบรรลุความตกลงการค้าเสรี (FTA) ได้ภายในปี 2567 เช่น ไทย-ศรีลังกา, ไทย-สมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) และไทย-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) รวมถึงการเร่งเจรจา FTA ไทย-อียู (EU) และไทย-กลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) ให้สำเร็จโดยเร็ว
จะช่วยเพิ่มแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการไทยอย่างมาก ความผันผวนของค่าเงินบาทที่อยู่ในระดับต่ำ และมีอัตราเหมาะสมทั้งผู้ส่งออก/ผู้นำเข้า แนวโน้มคำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป จีน เพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มอ่าวอาหรับ GCC ผู้ประกอบการได้มีการลงทุนใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เนื่องจากมีราคาที่ถูกลงโดยเฉพาะโซลาร์เซลล์ เพื่อลดต้นทุนด้านค่าไฟฟ้า
โดยปัจจัยห่วงกังวลที่คาดว่าจะกระทบต่ออุตสาหกรรม ได้แก่ ทิศทางค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่อยู่ในระดับสูงและปัญหาหนี้ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ปัญหาความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์และสงครามในรัสเซีย-ยูเครน, อิสราเอล-กลุ่มฮามาส ยืดเยื้อกระทบต่อราคาพลังงานโลกเพิ่มขึ้น การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราที่สูงเกินไป ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ต้นทุนทางการเงินยังอยู่ในระดับสูงจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น และความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ ปัญหามาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTM/NTB) เช่น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM)
สำหรับปี 2567 ส.อ.ท. ยังคงให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นเป้าหมายสำคัญภายใต้ข้อเสนอ ส.อ.ท. ทั้งการปรับปรุงกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ การเร่งเจรจา FTA เช่น ไทย-EU และไทย-GCC การส่งเสริมการลงทุนและการยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมาย การส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการ SME รวมถึงการมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) เพื่อเสริมสร้างรากฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าต่อไป
JJNY : "อัจฉริยะ"แฉหมูเถื่อน│‘สส.ชัชวาล’จี้ถาม ‘ศธ.│ส.อ.ท.ประเมินแนวโน้มอุตฯปี 67│จีนส่งบินรบ 24 ลำตระเวนใกล้ไต้หวัน
https://siamrath.co.th/n/507863
วันที่ 18 มกราคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม นำหลักฐานกระบวนการนำเข้าหมูเถื่อน ยื่นและชี้เแจงต่อนายรังสิมันต์ โรม ในฐานะประธาน กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนยุทธศาสตร์ชาติและการปฎิรูป
โดยเนื้อหาสาระ 5 ข้อหลักดังนี้
1. ต่างประเทศนำสินค้าต้นทางจากต่างประเทศ โดยมีเอกสารระบุชนิดสินค้าให้กับสายการเดินเรือ
2. สายการเดินเรือ เมื่อรับบรรทุกสินค้าดังกล่าว(หมูเถื่อน) จะลงบันทึกในบัญชีสินค้าสำหรับเรือ MANIFEST สินค้าที่รับบรรทุกมาเป็นอะไร
3. เมื่อเรือมาถึงท่าเรือประเทศไทย ทางผู้นำเข้าจะให้ชิบปิ้งไปผ่านพิธีการศุลกากรเพื่อออกของการมอบอำนาจให้ชิปปิ้ง (ขนส่งเอกชน) ไปดำเนินการ หากเกิดความผิดพลาดขึ้นชิปปิ้งจะต้องรับโทษเสมือนผู้นำเข้าเช่นกัน
4. สินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนการนำเข้า หากได้รับอนุญาตหลังการนำเข้าแล้ว จะต้องถูกปรับตามเกณฑ์ ที่รัฐสภา
‘สส.ชัชวาล’จี้ถาม ‘ศธ.’แก้ปัญหา ร.ร.ขนาดเล็ก กำลังเผชิญวิกฤตทรัพยากรมนุษย์
https://www.dailynews.co.th/news/3094013/
”สส.ชัชวาล“จี้ถามมาตรการของกระทรวงศึกษาธิการ ในการแก้ปัญหา ร.ร.ขนาดเล็ก ที่กำลังเผชิญวิกฤตทรัพยากรมนุษย์.
เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ที่รัฐสภา นายชัชวาล แพทยาไทย สส.ร้อยเอ็ด พรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา ตนได้เข้าร่วมกิจกรรมวันครูใน อ.เกษตรวิสัย อ.ปทุมรัตต์ และอ.เมืองสรวง จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งครูหลายท่านได้สะท้อนปัญหาด้านการศึกษา โดยเฉพาะปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก จากข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ มีโรงเรียนประถมในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั้งสิ้น 30,000 กว่าแห่ง ในจำนวนนี้มีโรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน หรือที่เรียกว่าโรงเรียนขนาดเล็กประมาณ 15,000 และให้บริการนักเรียนกว่า 1,000,000 คน
นายชัชวาล กล่าว่า ที่สำคัญเรามีโรงเรียนขนาดเล็กที่วิกฤติ โดยมีนักเรียนไม่ถึง 40 คน กว่า 3,000 แห่ง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ ตั้งเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณ และสนับสนุนบุคลากรให้โรงเรียนในสังกัดตามจำนวนรายหัวของนักเรียน โดยโรงเรียนที่มีนักเรียนมากจะได้งบประมาณและบุคลากรเยอะ ส่วนโรงเรียนที่เล็ก มีนักเรียนน้อยก็จะได้งบประมาณและบุคลากรก็น้อยตามไปด้วย ด้วยงบประมาณที่จำกัดทำให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความลำบาก และยังมีปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย เช่น ปัญหาเรื่องอาคารเรียนที่ชำรุดทรุดโทรม ปัญหาของครูที่ต้องทำหน้าที่มากกว่าครูผู้สอน ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ เป็นต้น
“โรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้กำลังถูกบีบให้หมดลมหายใจ กระทรวงศึกษาธิการจะมีมาตรการใดบ้างในการแก้ปัญหาให้โรงเรียนขนาดเล็กที่เผชิญอวิกฤตเรื่องทรัพยากรมนุษย์“นายชัชวาล กล่าว.
ส.อ.ท.ประเมินแนวโน้มอุตฯไทยปี 67 มีโอกาสโต-ห่วงค่าไฟ,ค่าแรง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_666085/
ส.อ.ท.ประเมินแนวโน้มอุตฯไทย ปี 67 มีโอกาสเติบโต แต่ยังห่วงค่าแรง ค่าไฟ สงครามฉุด
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท. ได้สรุปผลการประเมินแนวโน้ม 46 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 5 ภูมิภาค ในปี 2567 พบว่า แนวโน้ม 46 กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นมีทั้งหมด 22 กลุ่มอุตสาหกรรม,กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะทรงตัวมีทั้งหมด 11 กลุ่มอุตสาหกรรม, และกลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะหดตัวลงมีทั้งหมด 13 กลุ่มอุตสาหกรรม
ซึ่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา และสำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรม 5 ภูมิภาค โดยอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกคาดว่าจะขยายตัวได้ ส่วนอุตสาหกรรมในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ คาดว่าจะทรงตัว ขณะที่อุตสาหกรรมในภาคกลาง คาดว่าจะหดตัวลง
โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่คาดว่าจะส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้แก่ อานิสงส์จากความต้องการสินค้าและบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวเป้าหมายการบรรลุความตกลงการค้าเสรี (FTA) ได้ภายในปี 2567 เช่น ไทย-ศรีลังกา, ไทย-สมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) และไทย-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) รวมถึงการเร่งเจรจา FTA ไทย-อียู (EU) และไทย-กลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) ให้สำเร็จโดยเร็ว
จะช่วยเพิ่มแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการไทยอย่างมาก ความผันผวนของค่าเงินบาทที่อยู่ในระดับต่ำ และมีอัตราเหมาะสมทั้งผู้ส่งออก/ผู้นำเข้า แนวโน้มคำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป จีน เพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มอ่าวอาหรับ GCC ผู้ประกอบการได้มีการลงทุนใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เนื่องจากมีราคาที่ถูกลงโดยเฉพาะโซลาร์เซลล์ เพื่อลดต้นทุนด้านค่าไฟฟ้า
โดยปัจจัยห่วงกังวลที่คาดว่าจะกระทบต่ออุตสาหกรรม ได้แก่ ทิศทางค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่อยู่ในระดับสูงและปัญหาหนี้ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ปัญหาความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์และสงครามในรัสเซีย-ยูเครน, อิสราเอล-กลุ่มฮามาส ยืดเยื้อกระทบต่อราคาพลังงานโลกเพิ่มขึ้น การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราที่สูงเกินไป ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ต้นทุนทางการเงินยังอยู่ในระดับสูงจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น และความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ ปัญหามาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTM/NTB) เช่น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM)
สำหรับปี 2567 ส.อ.ท. ยังคงให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นเป้าหมายสำคัญภายใต้ข้อเสนอ ส.อ.ท. ทั้งการปรับปรุงกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ การเร่งเจรจา FTA เช่น ไทย-EU และไทย-GCC การส่งเสริมการลงทุนและการยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมาย การส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการ SME รวมถึงการมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) เพื่อเสริมสร้างรากฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าต่อไป