ก่อนที่งาน “เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม” (World Economic Forum : WEF) ในแต่ละปีจะเริ่มขึ้นในต้นปี ช่วงปลายปีก่อนหน้านั้นจะมีการจัดทำรายงานการสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากกว่า 1,000 คนจากทั่วโลก แล้วจัดทำรายงานสำหรับเผยแพร่ในการประชุม WEF เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้นำทางธุรกิจใช้ประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายและการบริหาร
สำหรับรายงาน “Global Risk Report 2024” ที่เผยแพร่ในปีนี้ชี้ว่า เศรษฐกิจโลกเผชิญกับแนวโน้มการเติบโตที่ลดลง เผชิญความไม่แน่นอนอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เงื่อนไขทางการเงินที่ตึงตัว และผลกระทบจากการเข้ามาเปลี่ยนโลกของปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ความเสี่ยง 5 อันดับแรกในปี 2024 ที่ผู้ตอบแบบสำรวจกังวลมากที่สุด คือ ภาวะสภาพอากาศสุดขั้ว, ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและข้อมูลที่บิดเบือนที่สร้างโดย AI, การแบ่งขั้วทางสังคม และ/หรือการเมือง, วิกฤตค่าครองชีพสูง และการโจมตีทางไซเบอร์
การสำรวจยังมองไปถึงปี 2034 หรืออีก 10 ปีข้างหน้าว่า ทศวรรษหน้าจะเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ซึ่งจะขยายความสามารถในการปรับตัวของโลกเราออกไปจนเกินขีดจำกัด
ผู้ตอบแบบสำรวจมีทัศนคติเชิงบวกต่อแนวโน้มของโลกในระยะยาวน้อยกว่าแนวโน้มของโลกในระยะสั้นมาก โดย 63% คาดการณ์ว่า แนวโน้มของโลกในระยะ 10 ปีข้างหน้าจะปั่นป่วน มีความวุ่นวาย และมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเกิดภัยพิบัติทั่วโลก โดยความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้นมากที่สุด
ความเสี่ยง 5 อันดับแรกใน 10 ปีข้างหน้า ที่ผู้ตอบแบบสำรวจกังวลมากที่สุด คือ
(1) ภาวะสภาพอากาศสุดขั้ว
(2) การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อโลกทั้งระบบ
(3) การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศล่มสลาย
(4) การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ และ
(5) ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและการบิดเบือนข้อมูล
ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก มีการสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลก 60 คน จัดทำรายงาน “Chief Economist Outlook” นักเศรษฐศาสตร์ 56% ของทั้งหมดที่ตอบแบบสำรวจคาดว่า ในปี 2024 นี้ ภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมจะอ่อนแอลงลง แต่จะมีความแตกต่างกันมากเมื่อเทียบระหว่างภูมิภาค
โดยภูมิภาคต่าง ๆ ส่วนใหญ่ของโลกจะได้เห็นการเติบโตในระดับปานกลางหรือแข็งแกร่งกว่าในประเทศจีนและประเทศสหรัฐอเมริกา และมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าเศรษฐกิจของทวีปยุโรปจะเติบโตอย่างอ่อนแอหรืออ่อนแอมาก ๆ
ส่วนเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และแปซิฟิก มีแนวโน้มที่การเติบโตจะเป็นบวกมากขึ้น โดยมีความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ตอบแบบสำรวจในสัดส่วนสูงมากที่คาดว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคเหล่านี้จะเติบโตในระดับปานกลางเป็นอย่างน้อยในปีนี้
การสำรวจยังสะท้อนความเห็นที่สอดคล้องกับความเห็นจากธนาคารกลางชั้นนำของโลกที่ชี้ว่าอัตราดอกเบี้ยถึงจุดสูงสุดแล้ว โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 70% คาดการณ์ว่าเงื่อนไขทางการเงินจะคลี่คลายลง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อลดลง และความตึงเครียดในตลาดแรงงานในปัจจุบันผ่อนคลายลงแล้ว
อีกทั้งการสำรวจยังพบความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าปัญญาประดิษฐ์ได้สร้างความไม่เท่าเทียมกันในเศรษฐกิจโลก โดยนักเศรษฐศาสตร์ 94% คาดว่า AI จะช่วยเพิ่มผลิตภาพอย่างมีนัยสำคัญในประเทศที่มีรายได้สูงในอีก 5 ปีข้างหน้า ห่างกันอย่างมากกับประเทศรายได้น้อย ซึ่งมีนักเศรษฐศาสตร์เพียง 53% เท่านั้นที่คาดว่า AI จะช่วยเพิ่มผลิตภาพได้อย่างมีนัยสำคัญในระยะเวลา 5 ปีเท่ากัน
นอกจากนั้น มีผลการศึกษาเกี่ยวกับ “คุณภาพ” ของการเติบโตทางเศรษฐกิจของ 107 ประเทศ ซึ่งสรุปว่า เศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่กำลังเติบโตในลักษณะที่ไม่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและไม่มีความครอบคลุมทางสังคม กล่าวคือ มีการทำลายสิ่งแวดล้อมและมีคนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ในระหว่างที่โลกกำลังพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโต
“การฟื้นคืนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะมีความสำคัญต่อการจัดการกับความท้าทายที่สำคัญ แต่การเติบโตเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ” ซาเดีย ซาฮิดี (Saadia Zahidi) กรรมการผู้จัดการ World Economic Forum กล่าว
https://www.prachachat.net/world-news/news-1480309
“ความเสี่ยงของโลก” ในปีนี้และ 10 ปีข้างหน้า จากรายงาน World Economic Forum
สำหรับรายงาน “Global Risk Report 2024” ที่เผยแพร่ในปีนี้ชี้ว่า เศรษฐกิจโลกเผชิญกับแนวโน้มการเติบโตที่ลดลง เผชิญความไม่แน่นอนอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เงื่อนไขทางการเงินที่ตึงตัว และผลกระทบจากการเข้ามาเปลี่ยนโลกของปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ความเสี่ยง 5 อันดับแรกในปี 2024 ที่ผู้ตอบแบบสำรวจกังวลมากที่สุด คือ ภาวะสภาพอากาศสุดขั้ว, ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและข้อมูลที่บิดเบือนที่สร้างโดย AI, การแบ่งขั้วทางสังคม และ/หรือการเมือง, วิกฤตค่าครองชีพสูง และการโจมตีทางไซเบอร์
การสำรวจยังมองไปถึงปี 2034 หรืออีก 10 ปีข้างหน้าว่า ทศวรรษหน้าจะเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ซึ่งจะขยายความสามารถในการปรับตัวของโลกเราออกไปจนเกินขีดจำกัด
ผู้ตอบแบบสำรวจมีทัศนคติเชิงบวกต่อแนวโน้มของโลกในระยะยาวน้อยกว่าแนวโน้มของโลกในระยะสั้นมาก โดย 63% คาดการณ์ว่า แนวโน้มของโลกในระยะ 10 ปีข้างหน้าจะปั่นป่วน มีความวุ่นวาย และมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเกิดภัยพิบัติทั่วโลก โดยความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้นมากที่สุด
ความเสี่ยง 5 อันดับแรกใน 10 ปีข้างหน้า ที่ผู้ตอบแบบสำรวจกังวลมากที่สุด คือ
(1) ภาวะสภาพอากาศสุดขั้ว
(2) การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อโลกทั้งระบบ
(3) การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศล่มสลาย
(4) การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ และ
(5) ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและการบิดเบือนข้อมูล
ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก มีการสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลก 60 คน จัดทำรายงาน “Chief Economist Outlook” นักเศรษฐศาสตร์ 56% ของทั้งหมดที่ตอบแบบสำรวจคาดว่า ในปี 2024 นี้ ภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมจะอ่อนแอลงลง แต่จะมีความแตกต่างกันมากเมื่อเทียบระหว่างภูมิภาค
โดยภูมิภาคต่าง ๆ ส่วนใหญ่ของโลกจะได้เห็นการเติบโตในระดับปานกลางหรือแข็งแกร่งกว่าในประเทศจีนและประเทศสหรัฐอเมริกา และมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าเศรษฐกิจของทวีปยุโรปจะเติบโตอย่างอ่อนแอหรืออ่อนแอมาก ๆ
ส่วนเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และแปซิฟิก มีแนวโน้มที่การเติบโตจะเป็นบวกมากขึ้น โดยมีความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ตอบแบบสำรวจในสัดส่วนสูงมากที่คาดว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคเหล่านี้จะเติบโตในระดับปานกลางเป็นอย่างน้อยในปีนี้
การสำรวจยังสะท้อนความเห็นที่สอดคล้องกับความเห็นจากธนาคารกลางชั้นนำของโลกที่ชี้ว่าอัตราดอกเบี้ยถึงจุดสูงสุดแล้ว โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 70% คาดการณ์ว่าเงื่อนไขทางการเงินจะคลี่คลายลง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อลดลง และความตึงเครียดในตลาดแรงงานในปัจจุบันผ่อนคลายลงแล้ว
อีกทั้งการสำรวจยังพบความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าปัญญาประดิษฐ์ได้สร้างความไม่เท่าเทียมกันในเศรษฐกิจโลก โดยนักเศรษฐศาสตร์ 94% คาดว่า AI จะช่วยเพิ่มผลิตภาพอย่างมีนัยสำคัญในประเทศที่มีรายได้สูงในอีก 5 ปีข้างหน้า ห่างกันอย่างมากกับประเทศรายได้น้อย ซึ่งมีนักเศรษฐศาสตร์เพียง 53% เท่านั้นที่คาดว่า AI จะช่วยเพิ่มผลิตภาพได้อย่างมีนัยสำคัญในระยะเวลา 5 ปีเท่ากัน
นอกจากนั้น มีผลการศึกษาเกี่ยวกับ “คุณภาพ” ของการเติบโตทางเศรษฐกิจของ 107 ประเทศ ซึ่งสรุปว่า เศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่กำลังเติบโตในลักษณะที่ไม่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและไม่มีความครอบคลุมทางสังคม กล่าวคือ มีการทำลายสิ่งแวดล้อมและมีคนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ในระหว่างที่โลกกำลังพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโต
“การฟื้นคืนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะมีความสำคัญต่อการจัดการกับความท้าทายที่สำคัญ แต่การเติบโตเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ” ซาเดีย ซาฮิดี (Saadia Zahidi) กรรมการผู้จัดการ World Economic Forum กล่าว
https://www.prachachat.net/world-news/news-1480309