อานาปานสติ

มุมเบาๆ 

พอดีว่าได้ไปตอบกระทู้เพื่อนสมาชิกท่านหนึ่ง
เลยนึกขึ้นมาได้ว่า เอ๊ะ  ฝึกเขียนแบบนี้มันจะถูกรึป่าวนะ 
จึง revise เรียบเรียงใหม่
ฝากส่ง E-แมว ให้เพื่อนๆห้องศาสนาช่วยกันพิจารณาพิสูจน์อักษรจะดีกว่ามั้ย  
(E-แมว นี้ส่งก่อนลาพักร้อน)

คำนำ
เรามักจะได้ยิน
ผู้ที่ปฏิบัติสมถะ จะพิจารณาว่าการทำอานาปานสติคือสมถะ
และจะ“ถอย”มาพิจารณาธรรมในภายหลัง
คือสมถถะ + วิปัสสนา ที่เรามักจะคุ้นเคย

แต่ถ้าเราพลิกเอา อานาปานสติ 
พลิกมองไปที่อีกแง่มุมหนึ่ง คือต้องรู้เหตุแห่งผัสสะ เกิดเวทนา เกิดอุปทาน การปรุงแต่ง(ปฏิจจสมุปบาท)
ว่าผัสสะทั้งหลายแหล่นั้นคือ”กรรม“(สมุทัย)  (หรือ สิ่งต่อเนื่องในสายปฏิจจสมุปบาท)
ซึ่งแม้แต่ความคิดก็เป็นกรรม เป็นส่วนหนึ่งของ สุจริต/ทุจริต 3
การเกิดขึ้นของ มโนทุจริต เป็นเหตุให้เกิด วจีทุจริต และ กายทุจริต

ซึ่งตรงกับพระดำรัส มนุษย์และเทวดาเป็นส่วนน้อยที่ตายแล้วไปสู่สุขคติภูมิมีเพียงเศษดินปลายเล็บ
เพราะ มโนทุจริต/มโนสุจริต  คือต้นเหตุหลักๆให้เกิดภพต่อเนื่องไปเรื่อยๆ 
และพอลองมองโยนิโสมนสิการเพิ่มไปอีกสักหน่อย ในหนึ่งวันพวกเราคิดต่อเนื่องๆไปเรื่อยๆไม่จบไม่สิ้น
ถ้านับเป็นภพจัดได้ว่านับกรรมไม่ถ้วน ที่สำคัญจิตถ้าไม่ฝึก ไม่ได้สดับก็มักจะใฝ่ไปทางเบื้องต่ำอกุศล
อบายทุคติ วินิบาต นั่นหมายถึงที่ตำราว่าไว้ว่าอยู่กันเป็นกัปๆ หรือ หลายกัปแปลว่าก็ไม่เกินจริงธรรมไม่ขัดแย้งกันเลย
วนเวียนชดใช้ผุดเกิด โอปปาติกะ อยู่แบบนั้น การจะได้มาซึ่งอัตภาพมนุษย์ที่ว่ายากก็เป็นเรื่องจริง

ในการที่เราจะพึงพิจารณาดังนี้
แม้แต่ความคิดก็เป็นกรรม สังสารวัฏน่ากลัวหนอ แม้แต่ความคิดก็เป็นตัวสร้างภพที่นำพาไปสู่อบายภูมิ

เราหนอพึงรู้เหตุนี้(ทุกข์) จึงใคร่หาทาง(มรรค) เพื่อถึงคราดับแห่งกรรมนั้น(นิโรธ)
เราจึงพึงตั้งจิตไว้กับกายคตาสติ อานาปานสติ เพื่อเป็นเหตุให้ความคิดอกุศลทั้งหลายขมวดลงที่ลมที่เดียว(กายคตาสติ)
ภพจึงขมวดสั้นลงไปที่ลม และดับกรรมดับความคิดทั้งหลาย (ชั่วคราว) จึงสำรวมอายตนะแห่งผัสสะทั้ง ๖ คืออินทรีย์สังวร

เราจึงพึงตั้งสมาธิไว้ที่อารมณ์เดียวคือลมหายใจ เพียรละความคิด ทั้งกุศล และ อกุศลทั้งหลาย
มิให้เกิดการปรุงแต่งใดๆขึ้นมา แม้ว่าจะเป็น วิตก วิจารณ์ ปิติ หรือ สุข เพียรละทิ้งสิ่งเหล่านี้
เหตุที่เราหนอพึงทิ้งแม้แต่กุศล ก็เพราะภพที่เป็นกุศลก็ยังไม่เที่ยง มีเกิด มีเสื่อม มีตายยังไม่พ้นภัยนี้

สามารถแก้วาทะของผู้ปฏิบัติสมถะได้ว่า ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อทิ้งดิ่ง จมฌาน
ทำไมอาวุโส จึงดับความคิดแบบโง่ๆไม่ยอมวิปัสสนากันเล่า?

แต่เพราะโยนิโสมนสิการ กระทำไว้ในใจโดยแยบคายไว้อย่างดีก่อน
และผู้ปฏิบัติที่แยบคายไว้ในใจอย่างดี มีแต่จะพึงปรารถว่า 
เราจะบำเพ็ญเพื่อให้จิตตั้งมั่นยิ่งๆขึ้นไป เราจะพึงดับความคิดที่เป็นเหตุแห่งอกุศลทั้งหลาย
ผู้ปฏิบัติจึงไม่กลัวฌานลึก  ฌานที่ปราณีตยิ่งๆขึ้นไป เพราะมีความเข้าใจเหตุด้วยดี

ด้วยเหตุนี้จึงเข้าใจได้ว่าเหตุใดตถาคต จึงสรรเสริญอานาปานสติว่าคือมรรควิธี(ทั้ง4มรรค)
เพราะเป็นมรรควิธีดับกรรมที่แยบคาย และเป็นวิหารธรรมของมหาบุรุษ เป็นที่หลบภัยของอกุศล เป็นปฏิปทาเพื่อถึงความเป็นอรหันต์

แต่ก็ไม่ใช่นิ่งอยู่แค่มุมดับความคิด ดับผัสสะอยู่มุมเดียว
เพราะจิตมีเคลื่อน(แน่ๆ)
เพราะฌานมีดับ สมาธิมีเกิด  ความคิดมีขึ้น ปรุงแต่งแล้วดับ
เวทนาสุขดับ เวทนาทุกข์เกิด เห็นจิตไม่เป็นสมาธิ เห็นจิตฟุ้งซ่าน
เห็นธรรมไม่เป็นธรรมารมณ์อันเดียว ๆลๆ
เหล่านี้คือสติปัฐฐานทั้ง ๔

อาการเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนประกอบในการภาวนาทั้งสิ้น
เพียงแต่จุดมุ่งหมายหลักชัยคือการดับกรรม ดับความคิดทั้งหลาย  มุ่งมีสติ เอกัคคตา อันเป็นอารมณ์อันเดียว
ด้วยการกระทำไว้ในใจอย่างแยบคายด้วยดีมาก่อนว่ากระทำเหตุแบบนี้เพื่อปฏิปทาใด
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
พาพันขยันพาพันไฟท์ติ้ง

พาพันขอบคุณ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่