ขอวิธีคำนวนดอกเบี้ยนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้าง 15% ต่อปี

ตอนนี้ได้ยื่นเรื่องให้กรมแรงงานเรียบร้อยแล้วครับ แต่ยังสงสัยเรื่องดอกเบี้ยว่าผมจะได้เท่าไหร่


เงินตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มี 2 อย่าง คือ
1. ดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัด อัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามวรรคหนึ่ง ซึ่งจะนับตั้งแต่วันที่ผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
2. เงินเพิ่ม อัตราร้อยละ 15 ทุกระยะเวลา 7 วัน ตามวรรคสอง ซึ่งจะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่านายจ้างจงใจไม่จ่ายเงินโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร

ทางนายจ้างค้างจ่ายผมอยู่จำนวน 15,000 บาท ตั้งแต่ 31 ตุลาคม 2565 โดยในแบบที่ 1 และ 2 มีการคำนวนต่างกันอย่างไรบ้างครับ ถ้ายกตัวอย่างให้ดูทั้ง 2 แบบ จะเป็นพระคุณมากเลยครับ ขอบคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
สมมติต้นเงิน 15,000 บาท มีกำหนดชำระวันที่ 31 ตุลาคม 2566
แต่นายจ้างไม่ชำระตามกำหนด จึงถือว่านายจ้างผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป
ต่อมานายจ้างจ่ายเงิน 15,000 บาท ในวันที่ 12 มกราคม 2567
ผิดนัด 73 วัน

กรณีดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี
ใช้ต้นเงิน x อัตราดอกเบี้ยต่อปี หารด้วย 365 วัน  ได้เป็นดอกเบี้ยรายวัน  แล้วคูณด้วยจำนวนวันที่ผิดนัด
15,000  x   (15/100)/365 วัน  =  ดอกเบี้ยวันละ 6.16 บาท
ผิดนัด 73 วัน = ดอกเบี้ย 450 บาท


กรณีเงินเพิ่มร้อยละ 15 ทุกระยะเจ็ดวัน
นายจ้างผิดนัด 73 วัน หารด้วย 7  = ผิดนัด 10 รอบ
ใช้ต้นเงิน x 15% x  10 รอบ
15,000 x 15% x 10   =  เงินเพิ่ม 22,500 บาท
ทั้งนี้ กรณีเงินเพิ่มจะต้องได้ข้อเท็จจริงว่านายจ้างจงใจไม่จ่ายเงินโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่