นายกสมาคมทนายฯ หนุนตั้งสสร.ลุยแก้รัฐธรรมนูญ เอาอำนาจคืนประชาชน
https://www.dailynews.co.th/news/3060730/
"นายกฯสมาคมทนาย"หนุนตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ เดินหน้าสร้างกติกาทางการเมืองใหม่ นำความยุติธรรมคืนสู่ประชาชน
เมื่อวันที่ 7 ม.ค.สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ได้โพสต์ข้อความระบุว่า
สารนายกสมาคมทนายความฯ 2567
ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยการเลือกตั้งจะถูกใช้เป็นเครื่องมือยุติความขัดแย้งหรือแก้ไขปัญหาทางการเมือง เมื่อใดก็ตามที่ประชาชนในประเทศเผชิญความขัดแย้ง หรือเกิดทางตัน (Deadlock) ทางการเมืองซึ่งต้องการการตัดสินใจไปในทางใดทางหนึ่งเพื่อหาทางออก รัฐบาลจะคืนอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจผ่านการเลือกตั้ง อันเป็นวิธีการยุติความขัดแย้งทางการเมืองอย่างสันติแบบอารยะที่ทุกฝ่ายยอมรับ
สถานการณ์ดังกล่าวตรงกันข้ามกับที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างสิ้นเชิงเพราะแม้ประเทศไทยจะผ่านการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาแล้วสองครั้ง แต่ความขัดแย้งทางการเมืองยังดำรงอยู่และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศ แสดงให้เห็นว่าการเลือกตั้งของไทยไม่ได้เป็นเครื่องมือในการยุติความขัดแย้งหรือเป็นทางออกทางการเมืองให้กับประเทศ สาเหตุเกิดจากกฎกติกาทางการเมืองไม่เป็นธรรม มิได้อยู่บนหลักนิติธรรมและไม่เป็นประชาธิปไตย
ปัญหาของประเทศจึงเกิดจากรัฐธรรมนูญที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ฝ่ายอำนาจนิยมหรือรัฐราชการได้ควบคุมการบริหารประเทศ มีอำนาจเหนือฝ่ายการเมืองที่มาจากประชาชน โดยใช้องค์กรอิสระและศาลซึ่งรัฐธรรมนูญได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งต้องมาจากระบบราชการแทบทั้งสิ้น เช่น คุณสมบัติของกรรมการ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 232 (1) – (7) ทำให้องค์กรอิสระ เช่น ป.ป.ช. ที่มีแนวคิดแบบรัฐราชการอนุรักษ์นิยมและเป็นฝ่ายตรวจสอบ แต่กลับมีอำนาจแทรกแซงหรือควบคุมการทำงานของฝ่ายการเมืองที่มาจากประชาชนได้ เพราะผู้ร่างรัฐธรรมนูญได้เบียดบังอำนาจให้ไว้ หรือบางครั้งก็เพิ่มอำนาจให้ผ่านกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมฝ่ายการเมือง
รัฐบาลซึ่งมีหน้าที่แก้ไขความขัดแย้งของคนในชาติจึงควรเร่งคืนอำนาจให้ประชาชน เพื่อให้เป็นผู้กำหนดกติกาทางการเมืองใหม่ผ่านตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้ง (สสร.) เพราะ หากกฎกติกาเป็นธรรมและอำนาจกลับคืนมาเป็นของประชาชน ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไรทุกฝ่ายจะยอมรับ คล้ายกับการชกมวยไทยที่ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันอย่างดุเดือดถึงเลือด แต่ไม่มีใคร โกรธใครและเมื่อครบยกจะยอมรับผลที่กรรมการชูมือให้เป็นฝ่ายชนะ ทั้งสองฝ่ายจะไม่ลงมาต่อสู้กันข้างล่างเวทีอีกเพราะมีกติกาที่เป็นธรรม ความขัดแย้งทางการเมืองก็จะยุติลงทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้ รัฐบาลต้องไม่ปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแสวงหาประโยชน์จากความขัดแย้งเพราะเป็นต้นทุนของประเทศชาติ
นรินท์พงศ์ จินาภักดิ์
นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย
5 มกราคม 2567
https://www.facebook.com/lawyerassn/posts/pfbid02Bi9FgAsp5HDKL1qgMQ2jrL1LuQpKmGb6h1Xvzwo9ahJ5WWLVJhgp9YNqJkoRHm3Cl
“นิด้าโพล” เชื่อ “นายกเศรษฐา” อยู่ยาวตลอดปี ศก.ดีขึ้น
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_661835/
“นิด้าโพล” มองการเมืองไทย 67 วุ่นวายเหมือนเดิม เชื่อ “นายกเศรษฐา” อยู่ยาวตลอดปี เศรษฐกิจ-คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้นกว่าเดิม
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “
การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตในปี 2567” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-20 ธันวาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง
โดยเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองไทยโดยทั่วไป ในปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2566 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.65 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายเหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 28.40 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมืองจะวุ่นวายมากขึ้น ร้อยละ 14.34 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายน้อยลง และร้อยละ 6.95 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะไม่วุ่นวายเลย
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับรัฐบาลนายกเ
ศรษฐา ทวีสิน ในปี 2567 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.16 ระบุว่า นายกรัฐมนตรี
เศรษฐา ทวีสิน จะอยู่ยาวตลอดทั้งปี รองลงมา ร้อยละ 20.46 ระบุว่า รัฐบาลนายก
เศรษฐา ทวีสินจะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 10.61 ระบุว่า จะมีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 8.40 ระบุว่า นายกรัฐมนตรี
เศรษฐา ทวีสินจะลาออก
ร้อยละ 7.86 ระบุว่า นายกรัฐมนตรี
เศรษฐา ทวีสิน จะเปิดทางให้น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ร้อยละ 6.79 ระบุว่า จะเกิดความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาล และทำให้รัฐบาลล่ม ร้อยละ 4.20 ระบุว่า นายกรัฐมนตรี
เศรษฐา ทวีสินจะโดนชุมนุมขับไล่ ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 2.14 ระบุว่า นายก
เศรษฐา ทวีสิน จะโดนคดีความทางการเมืองจนต้องหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 1.83 ระบุว่า รัฐบาลนายก
เศรษฐา ทวีสิน จะโดนรัฐประหาร
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทย ในปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2566 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.65 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 31.22 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะแย่เหมือนเดิม ร้อยละ 17.33 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะแย่ลง และร้อยละ 13.66 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะดีเหมือนเดิม
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตโดยทั่วไปในสังคมไทย ในปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2566 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.98 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 31.76 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะแย่เหมือนเดิม ร้อยละ 18.17 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะแย่ลง ร้อยละ 16.18 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะดีเหมือนเดิม
จ่านิว ซัดรบ.เพื่อไทย เปลี่ยนสายรถเมล์ เกรงใจมาเฟีย
https://www.matichon.co.th/politics/news_4363009
จ่านิว ซัดรบ.เพื่อไทย เปลี่ยนสายรถเมล์ เกรงใจมาเฟีย
จากกรณีองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ทำการเปลี่ยนสายรถเมล์ใหม่ ให้เป็นเส้นทางปฏิรูป ตามคำสั่งของกรมการขนส่งทางบก โดยได้ติดสติ๊กเกอร์เลขสายรถเมล์ใหม่ ควบคู่กับสายรถเมล์เดิมแล้วบางเส้นทาง ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา อาทิ สาย 45 สำโรง-สี่พระยา เปลี่ยนเป็นสาย 3-9E และเปลี่ยนเส้นทางเป็น หนามแดง-ท่าเรือสี่พระยา (ทางด่วน), สาย 59 รังสิต-สนามหลวง เปลี่ยนเป็นสาย 1-8, สาย 129 บางเขน-สำโรง (ทางด่วน) เปลี่ยนเป็นสาย 1-14E, สาย 134 บัวทองเคหะ-หมอชิตใหม่ เปลี่ยนเป็นสาย 2-20, สาย 168 สวนสยาม-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เปลี่ยนเป็นสาย 1-50 และเปลี่ยนเส้นทางเป็น เคหะร่มเกล้า-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, สาย 510 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เปลี่ยนเป็นสาย 1-20E, สาย 522 รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) เปลี่ยนเป็นสาย 1-22E และสาย 543 อู่บางเขน-ตลาดลำลูกกา เปลี่ยนเป็นสาย 1-25 มีผลตั้งแต่วันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ประชาชนผู้โดยสารเกิดความสับสน จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างหนัก
ล่าสุด นาย
สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ ‘จ่านิว’ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง สมาชิกพรรคเพื่อไทย (พท.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sirawith Seritiwat ระบุว่า
ความบ้าจี้ดันทุรังของ ขสมก. กระทรวงคมนาคม รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่ไม่สนใจเสียงของประชาชน ขนาดผมที่ใครๆ ก็บอกเป็นเซียนสายรถเมล์ ยังงง
รถเมล์สาย 129 บางเขน-สำโรง ถูกเปลี่ยนเลขเป็น 1-14E เส้นทางเหมือนเดิมทุกประการ ก็ไม่รู้จะเปลี่ยนทำไม
ในขณะรถเมล์ สาย 114 นนทบุรี-ลำลูกกา ยังใช้เลขเดิมอยู่ และเส้นทางซ้อนทับตั้งแต่ อู่บางเขนจนถึงแยกเกษตร
การจัดการเรื่องระบบขนส่งมวลชนอย่างรถเมล์ ตั้งแต่เพื่อไทยมาเป็นรัฐบาล เละเทะ มั่วซั่ว สร้างความสับสนงุนงง และสร้างค่าใช้จ่ายให้สูง ยิ่งกว่าสมัย คสช. สมัยประยุทธอีก
ตอนไปหาเสียงก็ป่าวประกาศว่า เพื่อไทย เป็นรัฐบาล รายจ่ายลดลงแน่
แต่พอชีวิตจริง ผมต้องเสียค่าใช้จ่ายกับค่ารถเมล์สูงขึ้น จากเดิมใช้บัตรรายเดือน 1,025 บาท เดินทางได้ทั่ว ทุกวันนี้ทำไม่ได้
บอกหัวใจคือประชาชน แต่เกรงใจ #มาเฟียขนส่ง มากกว่า
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1750397092039304&id=100012070904218&ref=embed_post
JJNY : นายกส.ทนายฯ หนุนตั้งสสร.│“นิด้าโพล”เชื่อ“เศรษฐา”อยู่ยาว ศก.ดีขึ้น│จ่านิวซัดรบ.เพื่อไทย│
https://www.dailynews.co.th/news/3060730/
"นายกฯสมาคมทนาย"หนุนตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ เดินหน้าสร้างกติกาทางการเมืองใหม่ นำความยุติธรรมคืนสู่ประชาชน
เมื่อวันที่ 7 ม.ค.สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ได้โพสต์ข้อความระบุว่า
สารนายกสมาคมทนายความฯ 2567
ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยการเลือกตั้งจะถูกใช้เป็นเครื่องมือยุติความขัดแย้งหรือแก้ไขปัญหาทางการเมือง เมื่อใดก็ตามที่ประชาชนในประเทศเผชิญความขัดแย้ง หรือเกิดทางตัน (Deadlock) ทางการเมืองซึ่งต้องการการตัดสินใจไปในทางใดทางหนึ่งเพื่อหาทางออก รัฐบาลจะคืนอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจผ่านการเลือกตั้ง อันเป็นวิธีการยุติความขัดแย้งทางการเมืองอย่างสันติแบบอารยะที่ทุกฝ่ายยอมรับ
สถานการณ์ดังกล่าวตรงกันข้ามกับที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างสิ้นเชิงเพราะแม้ประเทศไทยจะผ่านการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาแล้วสองครั้ง แต่ความขัดแย้งทางการเมืองยังดำรงอยู่และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศ แสดงให้เห็นว่าการเลือกตั้งของไทยไม่ได้เป็นเครื่องมือในการยุติความขัดแย้งหรือเป็นทางออกทางการเมืองให้กับประเทศ สาเหตุเกิดจากกฎกติกาทางการเมืองไม่เป็นธรรม มิได้อยู่บนหลักนิติธรรมและไม่เป็นประชาธิปไตย
ปัญหาของประเทศจึงเกิดจากรัฐธรรมนูญที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ฝ่ายอำนาจนิยมหรือรัฐราชการได้ควบคุมการบริหารประเทศ มีอำนาจเหนือฝ่ายการเมืองที่มาจากประชาชน โดยใช้องค์กรอิสระและศาลซึ่งรัฐธรรมนูญได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งต้องมาจากระบบราชการแทบทั้งสิ้น เช่น คุณสมบัติของกรรมการ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 232 (1) – (7) ทำให้องค์กรอิสระ เช่น ป.ป.ช. ที่มีแนวคิดแบบรัฐราชการอนุรักษ์นิยมและเป็นฝ่ายตรวจสอบ แต่กลับมีอำนาจแทรกแซงหรือควบคุมการทำงานของฝ่ายการเมืองที่มาจากประชาชนได้ เพราะผู้ร่างรัฐธรรมนูญได้เบียดบังอำนาจให้ไว้ หรือบางครั้งก็เพิ่มอำนาจให้ผ่านกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมฝ่ายการเมือง
รัฐบาลซึ่งมีหน้าที่แก้ไขความขัดแย้งของคนในชาติจึงควรเร่งคืนอำนาจให้ประชาชน เพื่อให้เป็นผู้กำหนดกติกาทางการเมืองใหม่ผ่านตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้ง (สสร.) เพราะ หากกฎกติกาเป็นธรรมและอำนาจกลับคืนมาเป็นของประชาชน ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไรทุกฝ่ายจะยอมรับ คล้ายกับการชกมวยไทยที่ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันอย่างดุเดือดถึงเลือด แต่ไม่มีใคร โกรธใครและเมื่อครบยกจะยอมรับผลที่กรรมการชูมือให้เป็นฝ่ายชนะ ทั้งสองฝ่ายจะไม่ลงมาต่อสู้กันข้างล่างเวทีอีกเพราะมีกติกาที่เป็นธรรม ความขัดแย้งทางการเมืองก็จะยุติลงทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้ รัฐบาลต้องไม่ปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแสวงหาประโยชน์จากความขัดแย้งเพราะเป็นต้นทุนของประเทศชาติ
นรินท์พงศ์ จินาภักดิ์
นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย
5 มกราคม 2567
https://www.facebook.com/lawyerassn/posts/pfbid02Bi9FgAsp5HDKL1qgMQ2jrL1LuQpKmGb6h1Xvzwo9ahJ5WWLVJhgp9YNqJkoRHm3Cl
“นิด้าโพล” เชื่อ “นายกเศรษฐา” อยู่ยาวตลอดปี ศก.ดีขึ้น
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_661835/
“นิด้าโพล” มองการเมืองไทย 67 วุ่นวายเหมือนเดิม เชื่อ “นายกเศรษฐา” อยู่ยาวตลอดปี เศรษฐกิจ-คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้นกว่าเดิม
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตในปี 2567” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-20 ธันวาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง
โดยเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองไทยโดยทั่วไป ในปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2566 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.65 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายเหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 28.40 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมืองจะวุ่นวายมากขึ้น ร้อยละ 14.34 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายน้อยลง และร้อยละ 6.95 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะไม่วุ่นวายเลย
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับรัฐบาลนายกเศรษฐา ทวีสิน ในปี 2567 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.16 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน จะอยู่ยาวตลอดทั้งปี รองลงมา ร้อยละ 20.46 ระบุว่า รัฐบาลนายกเศรษฐา ทวีสินจะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 10.61 ระบุว่า จะมีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 8.40 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสินจะลาออก
ร้อยละ 7.86 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน จะเปิดทางให้น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ร้อยละ 6.79 ระบุว่า จะเกิดความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาล และทำให้รัฐบาลล่ม ร้อยละ 4.20 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสินจะโดนชุมนุมขับไล่ ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 2.14 ระบุว่า นายกเศรษฐา ทวีสิน จะโดนคดีความทางการเมืองจนต้องหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 1.83 ระบุว่า รัฐบาลนายกเศรษฐา ทวีสิน จะโดนรัฐประหาร
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทย ในปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2566 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.65 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 31.22 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะแย่เหมือนเดิม ร้อยละ 17.33 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะแย่ลง และร้อยละ 13.66 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะดีเหมือนเดิม
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตโดยทั่วไปในสังคมไทย ในปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2566 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.98 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 31.76 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะแย่เหมือนเดิม ร้อยละ 18.17 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะแย่ลง ร้อยละ 16.18 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะดีเหมือนเดิม
จ่านิว ซัดรบ.เพื่อไทย เปลี่ยนสายรถเมล์ เกรงใจมาเฟีย
https://www.matichon.co.th/politics/news_4363009
จ่านิว ซัดรบ.เพื่อไทย เปลี่ยนสายรถเมล์ เกรงใจมาเฟีย
จากกรณีองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ทำการเปลี่ยนสายรถเมล์ใหม่ ให้เป็นเส้นทางปฏิรูป ตามคำสั่งของกรมการขนส่งทางบก โดยได้ติดสติ๊กเกอร์เลขสายรถเมล์ใหม่ ควบคู่กับสายรถเมล์เดิมแล้วบางเส้นทาง ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา อาทิ สาย 45 สำโรง-สี่พระยา เปลี่ยนเป็นสาย 3-9E และเปลี่ยนเส้นทางเป็น หนามแดง-ท่าเรือสี่พระยา (ทางด่วน), สาย 59 รังสิต-สนามหลวง เปลี่ยนเป็นสาย 1-8, สาย 129 บางเขน-สำโรง (ทางด่วน) เปลี่ยนเป็นสาย 1-14E, สาย 134 บัวทองเคหะ-หมอชิตใหม่ เปลี่ยนเป็นสาย 2-20, สาย 168 สวนสยาม-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เปลี่ยนเป็นสาย 1-50 และเปลี่ยนเส้นทางเป็น เคหะร่มเกล้า-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, สาย 510 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เปลี่ยนเป็นสาย 1-20E, สาย 522 รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) เปลี่ยนเป็นสาย 1-22E และสาย 543 อู่บางเขน-ตลาดลำลูกกา เปลี่ยนเป็นสาย 1-25 มีผลตั้งแต่วันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ประชาชนผู้โดยสารเกิดความสับสน จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างหนัก
ล่าสุด นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ ‘จ่านิว’ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง สมาชิกพรรคเพื่อไทย (พท.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sirawith Seritiwat ระบุว่า
ความบ้าจี้ดันทุรังของ ขสมก. กระทรวงคมนาคม รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่ไม่สนใจเสียงของประชาชน ขนาดผมที่ใครๆ ก็บอกเป็นเซียนสายรถเมล์ ยังงง
รถเมล์สาย 129 บางเขน-สำโรง ถูกเปลี่ยนเลขเป็น 1-14E เส้นทางเหมือนเดิมทุกประการ ก็ไม่รู้จะเปลี่ยนทำไม
ในขณะรถเมล์ สาย 114 นนทบุรี-ลำลูกกา ยังใช้เลขเดิมอยู่ และเส้นทางซ้อนทับตั้งแต่ อู่บางเขนจนถึงแยกเกษตร
การจัดการเรื่องระบบขนส่งมวลชนอย่างรถเมล์ ตั้งแต่เพื่อไทยมาเป็นรัฐบาล เละเทะ มั่วซั่ว สร้างความสับสนงุนงง และสร้างค่าใช้จ่ายให้สูง ยิ่งกว่าสมัย คสช. สมัยประยุทธอีก
ตอนไปหาเสียงก็ป่าวประกาศว่า เพื่อไทย เป็นรัฐบาล รายจ่ายลดลงแน่
แต่พอชีวิตจริง ผมต้องเสียค่าใช้จ่ายกับค่ารถเมล์สูงขึ้น จากเดิมใช้บัตรรายเดือน 1,025 บาท เดินทางได้ทั่ว ทุกวันนี้ทำไม่ได้
บอกหัวใจคือประชาชน แต่เกรงใจ #มาเฟียขนส่ง มากกว่า
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1750397092039304&id=100012070904218&ref=embed_post