สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เผย ความเห็นปชช.ต่อศาลรธน. ส่วนใหญ่เชื่อมั่นศาลที่สุด รองมารบ. และฝ่ายนิติฯ เกินครึ่งชี้ผลงานศาลรธน.ปานกลาง ส่วนมากรับไม่ได้แก๊งแดงโชว์กุ๊ยกดดันศาลและไม่รับฟัง พร้อมทั้งเห็นด้วยออก กม.ห้ามละเมิดอำนาจศาล "ดร.พิชาย" ยกผลชี้ ปชช.เชื่อมั่นตุลาการ ทำงานสุจริต มีประสิทธิภาพ จี้ ฝ่ายนิติฯสังวรพฤติกรรม และปชช.ไม่หนุนกดดันศาล เป็นเหตุแนะออกกม.ห้ามละเมิด
วันนี้ ( 2 พ.ค.) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความคิดเห็นของคนไทย ต่อศาลรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่
30 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2556 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ ทุกภูมิภาค จำนวน 1,254 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ เกี่ยวกับความเชื่อมั่นในการทำงานของอำนาจอธิปไตยและการออกกฎหมายการห้ามละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน ร้อยละ 1.4
จากผลการสำรวจ ถึงความไว้วางใจในการใช้อำนาจของอธิปไตยทั้ง 3 ฝ่าย พบว่า ประชาชน ร้อยละ 44.26 ระบุว่า ไว้วางใจฝ่าย ตุลาการ (ศาลยุติธรรม, ศาลปกครอง, ศาลรัฐธรรมนูญ) มากที่สุด เพราะ มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ รองลงมา ร้อยละ 20.89 ระบุว่า เป็นฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) เพราะน่าจะเข้าถึงประชาชนได้มากกว่า และทราบถึงความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน ร้อยละ 10.77 ระบุว่า เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ (ส.ส.,ส.ว.) เพราะ มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ร้อยละ 10.61 ระบุว่า ไม่มีฝ่ายใดเลย และร้อยละ 13.48 ไม่แน่ใจ โดยประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.80 มีความพึงพอใจต่อการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาอยู่ในระดับ ปานกลาง รองลงมา ร้อยละ 15.63 อยู่ในระดับมาก และ ร้อยละ 14.75 อยู่ในระดับน้อย
ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.64 ระบุว่า ความพยายามในการกดดันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ลาออกและการประกาศ ไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ของกลุ่ม นปช. และสมาชิกพรรคเพื่อไทยนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ถือว่าเป็นการละเมิดตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง และเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล รองลงมา ร้อยละ 13.40 เห็นว่า เหมาะสม เพราะ ถือว่าเป็นเสียงของประชาชน ควรรับฟังความคิดเห็นของประชาชนบ้าง และร้อยละ 24.96 ไม่แน่ใจ
ท้ายสุด เมื่อถามว่าควรออกกฎหมาย
ห้ามมิให้มีการละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับที่มีกฎหมายการห้ามละเมิดอำนาจ ศาลยุติธรรมหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.88 ระบุว่า ควรมีกฎหมายดังกล่าว เพราะ เป็นการปกป้องศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การตัดสินของศาลให้ถือเป็นที่สุด ร้อยละ 18.50 ระบุว่า ไม่ควร เพราะ เห็นว่าเป็นองค์กรคนละส่วนกัน มีหน้าที่พิจารณาตัดสินคดีคนละส่วนกันกับศาลยุติธรรม และ ร้อยละ 19.62 ไม่แน่ใจ
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000052566
ตลก แห่งสยามประเทศ
มาตามนัด นิด้าโพล ชี้ 3 เสาหลัก ปชช.ไว้ใจตุลาการ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เผย ความเห็นปชช.ต่อศาลรธน. ส่วนใหญ่เชื่อมั่นศาลที่สุด รองมารบ. และฝ่ายนิติฯ เกินครึ่งชี้ผลงานศาลรธน.ปานกลาง ส่วนมากรับไม่ได้แก๊งแดงโชว์กุ๊ยกดดันศาลและไม่รับฟัง พร้อมทั้งเห็นด้วยออก กม.ห้ามละเมิดอำนาจศาล "ดร.พิชาย" ยกผลชี้ ปชช.เชื่อมั่นตุลาการ ทำงานสุจริต มีประสิทธิภาพ จี้ ฝ่ายนิติฯสังวรพฤติกรรม และปชช.ไม่หนุนกดดันศาล เป็นเหตุแนะออกกม.ห้ามละเมิด
วันนี้ ( 2 พ.ค.) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความคิดเห็นของคนไทย ต่อศาลรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2556 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ ทุกภูมิภาค จำนวน 1,254 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ เกี่ยวกับความเชื่อมั่นในการทำงานของอำนาจอธิปไตยและการออกกฎหมายการห้ามละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน ร้อยละ 1.4
จากผลการสำรวจ ถึงความไว้วางใจในการใช้อำนาจของอธิปไตยทั้ง 3 ฝ่าย พบว่า ประชาชน ร้อยละ 44.26 ระบุว่า ไว้วางใจฝ่าย ตุลาการ (ศาลยุติธรรม, ศาลปกครอง, ศาลรัฐธรรมนูญ) มากที่สุด เพราะ มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ รองลงมา ร้อยละ 20.89 ระบุว่า เป็นฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) เพราะน่าจะเข้าถึงประชาชนได้มากกว่า และทราบถึงความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน ร้อยละ 10.77 ระบุว่า เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ (ส.ส.,ส.ว.) เพราะ มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ร้อยละ 10.61 ระบุว่า ไม่มีฝ่ายใดเลย และร้อยละ 13.48 ไม่แน่ใจ โดยประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.80 มีความพึงพอใจต่อการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาอยู่ในระดับ ปานกลาง รองลงมา ร้อยละ 15.63 อยู่ในระดับมาก และ ร้อยละ 14.75 อยู่ในระดับน้อย
ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.64 ระบุว่า ความพยายามในการกดดันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ลาออกและการประกาศ ไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ของกลุ่ม นปช. และสมาชิกพรรคเพื่อไทยนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ถือว่าเป็นการละเมิดตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง และเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล รองลงมา ร้อยละ 13.40 เห็นว่า เหมาะสม เพราะ ถือว่าเป็นเสียงของประชาชน ควรรับฟังความคิดเห็นของประชาชนบ้าง และร้อยละ 24.96 ไม่แน่ใจ
ท้ายสุด เมื่อถามว่าควรออกกฎหมายห้ามมิให้มีการละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับที่มีกฎหมายการห้ามละเมิดอำนาจ ศาลยุติธรรมหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.88 ระบุว่า ควรมีกฎหมายดังกล่าว เพราะ เป็นการปกป้องศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การตัดสินของศาลให้ถือเป็นที่สุด ร้อยละ 18.50 ระบุว่า ไม่ควร เพราะ เห็นว่าเป็นองค์กรคนละส่วนกัน มีหน้าที่พิจารณาตัดสินคดีคนละส่วนกันกับศาลยุติธรรม และ ร้อยละ 19.62 ไม่แน่ใจ
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000052566
ตลก แห่งสยามประเทศ