- หลังจากที่ได้รับเชิญไปดูในงานเปิดตัวหนังสารคดีเรื่องนี้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ที่ร้าน Lorem Ipsum ภาพรวมผมชอบการตั้งชื่อเรื่อง นับถือความตั้งใจของทีมงานและผู้กำกับที่หาญกล้าบุกป่าว่ายน้ำลุยไฟลงพื้นที่หาข้อมูลประหนึ่งทำโครงการวิจัยจบปี 4 แล้วนำมาย่อยเพื่อ Present หน้าห้องในความยาว 1 ชั่วโมงครึ่ง ให้เราได้นั่งตากแอร์ชมกันสบาย ๆ แล้วสวมวิญญาณเป็น Commentator หลังจากดูจบ ถึงแม้จะมีช่วงเนิบนาบตามสไตล์หนังสารคดีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่หนังสามารถทำหน้าที่บันทึกเรื่องราวความเป็นมาทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชุมชนบ้านสะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา ที่เป็น Unseen อีกแห่งได้น่าสนใจและน่าติดตามไปตั้งแต่ต้นจนจบแบบรวบยอดว่าเป็นอย่างไร จากนั้นก็เชื่อมโยงเข้าสู่ Main หลักก็คือ กลุ่มนักรบผ้าถุง บอกให้รู้ว่าเกิดขึ้นยังไง ใครเป็นคนตั้ง สมาชิกในกลุ่มมีกี่คน บลา ๆ ซึ่งตรงนี้ผมว่าผู้กำกับให้คำนิยามจนเห็นถึงความหลากหลายดีแต่ให้มามากไปหน่อยนึงจนทำให้เรื่องอื่นที่ถูกแตกออกมา อย่างเช่น วิถีชีวิต , วัฒนธรรม , ความเชื่อ , อาหาร , ทรัพยากร , อากาศ หรือ ทะเล กลายเป็นตัวเลือกให้เกิดความหลากหลายแต่ไม่รู้ว่าอันไหนคือเสน่ห์คือความโดดเด่นที่แท้จริงที่เป็นจุดเด่นของกลุ่มนี้
- ระหว่างดูรู้สึกว่าเนื้อเรื่องแอบยืดเยื้อไปถึงกับขอตัววูบหลับกลางทางแล้วตื่นขึ้นมาอีกทีตอนที่กล้องจับภาพตัวผู้กำกับสาวกำลังขับรถแล้วหันไปพูดกับกล้อง บอกจุดประสงค์โน้นนั่นนี่แล้วก็ไม่หลับอีก คือ ด้วยความที่ใช้เวลาถ่ายทำ 1 เดือน อารมณ์เหมือนนัดเพื่อนไปถ่ายหนังสั้นกันในวันหยุด โทนในเรื่องจึงดูไม่เร่งรีบหรือรีบร้อนอะไร ปล่อยให้ไหลไปตามภาพ ไม่มีจุดพีคให้กระตุ้นอารมณ์ เห็นอะไรชักกล้องมาถ่าย เดินสวนกับใครก็เรียกให้ไปสัมภาษณ์โดยใช้วิธีการเลี้ยงกาแฟไปดื่มนั่งบนเก้าอี้หินอ่อนแล้วนั่งประชุมทำประชาคมเม้ามอยหอยสังข์ไปพร้อมกับดูทะเลไปพอเสร็จแล้วจึงค่อยมาสุมหัวหารืออีกทีว่าจะเอาภาพไหนเป็นอันดับแรกเรียงไปจนถึงอันดับสุดท้าย แต่ปรากฎว่าทุกภาพมันดันสำคัญหมด โดยเฉพาะ Dialogue ของผู้ถูกสัมภาษณ์หลายคนมีปมที่น่าสนใจ อย่างเช่น สาวมาจากที่อื่นแล้วมาแต่งงานกับคนในชุมชนจนกลายมาเป็นคนในชุมชน , สาวที่เคยทำงานจากกรุงเทพ แล้วย้ายกลับมาอยู่ที่นี่ หรือ สาวที่เคยนับถือศาสนาพุทธแล้วเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้ แม้กระทั่งตัวผู้กำกับที่ปรากฎเป็นระยะก็ตาม ก็เลยใส่ลงไปอย่างที่เราเห็น ยังดีที่ภาพสวยบวกกับ Sound ประกอบแนวคันทรี่แทรกเข้ามาช่วยกระตุ้นบรรยากาศรอบข้างที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ให้เราอยากไปเที่ยวดูให้เห็นกับตาสักครั้งจริง ๆ
- สิ่งที่ชอบที่สุดในเรื่องคือการโยงเข้าประเด็นทางการเมืองอย่างเหตุการณ์การประท้วงการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมอาณานิคมใน อ.จะนะ ที่เคยเกิดขึ้น 2 ช่วงเวลา ในปี 2545 กับ ช่วงโควิดที่หน้าสภา เป็น Point สำคัญอีกอย่างที่ควรนำเสนออย่างจริงจังแต่กลับถูกเล่าเป็นส่วนประกอบของการส่งเสริมการรวมตัวกลุ่มนักรบผ้าถุงเท่านั้น เอาจริงหนังนำเสนอด้วยภาพ Footage หรือบทสนทนามาดีแล้วแต่อยากให้ขยี้ให้มากกว่านี้จะได้รู้ต้นสายปลายเหตุลงไปอีกแล้วจะช่วยเข้าใจ Timeline ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อีกอย่างควรใส่ Sub ภาษาไทยและชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์ลงไปด้วยว่าใครเป็นใครจะดีมาก ด้วยความที่สำเนียงทางใต้พูดเร็วและใช้คำสั้น ๆ ห้วน ๆ อยู่แล้ว บางคำบางประโยคที่ผู้ถูกสัมภาษณ์แต่ละคนในเรื่องพูดมาฟังไม่ทัน ขนาดว่าผมเป็นคนใต้เองยังฟังลำบากเลย
- ถึงแม้จะไม่ได้เลือกจบตามสูตรสำเร็จที่บอกคนดูทั่วไปว่าบทสรุปเป็นแบบไหนแต่ให้ข้อคิดให้ทางเลือกบางอย่างแก่เราเข้าใจความเป็นอยู่ของกลุ่มนักรบผ้าถุงในวันข้างหน้าต่อไปให้ไปคิดกันเองว่าจะไปทางไหน ถึงแม้ภาพรวมหนังจะเน้นวิถีชีวิตของชุมชนทั่วไปแบบ Slow Life มากกว่าแต่ไม่ปฏิเสธว่าเนื้อในของมันก็พูดถึงปัญหาจากภายนอกเหมือนกัน โดยเฉพาะการแทรกแซงอำนาจนิยมของระบอบชนชั้นที่เอื้อให้ผู้มีอำนาจในมืออย่างนายทุนเข้ามาหากินและฉกฉวยพื้นที่โดยไม่ถามและไม่สนใจว่าคนในชุมชนที่เป็นคนในพื้นที่จะเอาหรือได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน มีเงินซะอย่างพร้อมฟาดหัวได้เสมอ แถมรัฐยังช่วยส่งเสริมระบบและไม่สนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นขนาดว่าคนในชุมชนอุตส่าห์เดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียนถึงที่แล้วกลับเมินเฉย หูทวนลม ไม่เสนอหน้ามาเจรจาตรง ๆ เพื่อเสนอแนะหรือชี้หาทางออกเพื่อเคลียร์ปัญหากันแต่ปล่อยให้เป็นเรื่องที่พวกเขาต้องจัดการกันเองไม่พอไปยัดข้อหาฝ่าฝืนกฎ พรบ ข้อก่อรวมชุมนุมเนื่องในสถานการณ์โควิดแถมให้อีก
- ประเด็นคือชุมชนต้องการคงสภาพอยู่อย่างนี้ไปโดยไม่ต้องการให้นายทุนมาแทรกแซงหรือครอบงำตามอำเภอใจ มีได้เพื่อให้ปรับตามยุคสมัย เช่น สวัสดิการ , การศึกษา หรือ การรักษา แต่อย่าทำถ้าวเอาพวกโรงงานหรือสิ่งปลูกสร้างมาปู้ยี้ปู้ยำทำลายภูมิปัญญาเปลี่ยนอัตลักษณ์ตามความต้องการของใครหลายคน มันเลยทำให้เราเห็นว่าไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัยปัญหาก็ยังหมกเม็ดต่อไปเหมือนเดิมแถมยังถูกส่งต่อไปเพื่อให้เหล่านายทุนกอบโกยเข้ากระเป๋าไปเรื่อย ๆ แล้วเข้าใจความรู้สึกของคนในชุมชนที่กำลังพอเจอมาโดยตลอดได้ไม่ยาก ชอบประโยคที่ผู้ถูกสัมภาษณ์คนหนึ่งกล่าวว่า วัฒนธรรมจับต้องได้ มี มัสยิด , วัด , ศาลเจ้า ส่วน วัฒนธรรมจับต้องไม่ได้ ก็คือ ภาษา นี่แหล่ะคือ Signature ที่เขาต้องการจะสื่อ รู้สาบ้างมั้ยนิโหม๋สู ?
ภาพยนตร์สารคดี "นักรบผ้าถุง : เริน เล และแสงตุหวัน" (Sarong Warrior Documentary) จัดฉายให้ชมกันในวันที่ 22,23,24 ธ.ค. 66 ณ อาคารสงครามโลก และ ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา เวลา 17:00-19 :00 น.
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม และ Facebook : EM Pascal เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
[CR] No.74 นักรบผ้าถุง : เริน เล และ แสงตุหวัน” (Sarong Warrior Documentary)
- หลังจากที่ได้รับเชิญไปดูในงานเปิดตัวหนังสารคดีเรื่องนี้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ที่ร้าน Lorem Ipsum ภาพรวมผมชอบการตั้งชื่อเรื่อง นับถือความตั้งใจของทีมงานและผู้กำกับที่หาญกล้าบุกป่าว่ายน้ำลุยไฟลงพื้นที่หาข้อมูลประหนึ่งทำโครงการวิจัยจบปี 4 แล้วนำมาย่อยเพื่อ Present หน้าห้องในความยาว 1 ชั่วโมงครึ่ง ให้เราได้นั่งตากแอร์ชมกันสบาย ๆ แล้วสวมวิญญาณเป็น Commentator หลังจากดูจบ ถึงแม้จะมีช่วงเนิบนาบตามสไตล์หนังสารคดีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่หนังสามารถทำหน้าที่บันทึกเรื่องราวความเป็นมาทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชุมชนบ้านสะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา ที่เป็น Unseen อีกแห่งได้น่าสนใจและน่าติดตามไปตั้งแต่ต้นจนจบแบบรวบยอดว่าเป็นอย่างไร จากนั้นก็เชื่อมโยงเข้าสู่ Main หลักก็คือ กลุ่มนักรบผ้าถุง บอกให้รู้ว่าเกิดขึ้นยังไง ใครเป็นคนตั้ง สมาชิกในกลุ่มมีกี่คน บลา ๆ ซึ่งตรงนี้ผมว่าผู้กำกับให้คำนิยามจนเห็นถึงความหลากหลายดีแต่ให้มามากไปหน่อยนึงจนทำให้เรื่องอื่นที่ถูกแตกออกมา อย่างเช่น วิถีชีวิต , วัฒนธรรม , ความเชื่อ , อาหาร , ทรัพยากร , อากาศ หรือ ทะเล กลายเป็นตัวเลือกให้เกิดความหลากหลายแต่ไม่รู้ว่าอันไหนคือเสน่ห์คือความโดดเด่นที่แท้จริงที่เป็นจุดเด่นของกลุ่มนี้
- ระหว่างดูรู้สึกว่าเนื้อเรื่องแอบยืดเยื้อไปถึงกับขอตัววูบหลับกลางทางแล้วตื่นขึ้นมาอีกทีตอนที่กล้องจับภาพตัวผู้กำกับสาวกำลังขับรถแล้วหันไปพูดกับกล้อง บอกจุดประสงค์โน้นนั่นนี่แล้วก็ไม่หลับอีก คือ ด้วยความที่ใช้เวลาถ่ายทำ 1 เดือน อารมณ์เหมือนนัดเพื่อนไปถ่ายหนังสั้นกันในวันหยุด โทนในเรื่องจึงดูไม่เร่งรีบหรือรีบร้อนอะไร ปล่อยให้ไหลไปตามภาพ ไม่มีจุดพีคให้กระตุ้นอารมณ์ เห็นอะไรชักกล้องมาถ่าย เดินสวนกับใครก็เรียกให้ไปสัมภาษณ์โดยใช้วิธีการเลี้ยงกาแฟไปดื่มนั่งบนเก้าอี้หินอ่อนแล้วนั่งประชุมทำประชาคมเม้ามอยหอยสังข์ไปพร้อมกับดูทะเลไปพอเสร็จแล้วจึงค่อยมาสุมหัวหารืออีกทีว่าจะเอาภาพไหนเป็นอันดับแรกเรียงไปจนถึงอันดับสุดท้าย แต่ปรากฎว่าทุกภาพมันดันสำคัญหมด โดยเฉพาะ Dialogue ของผู้ถูกสัมภาษณ์หลายคนมีปมที่น่าสนใจ อย่างเช่น สาวมาจากที่อื่นแล้วมาแต่งงานกับคนในชุมชนจนกลายมาเป็นคนในชุมชน , สาวที่เคยทำงานจากกรุงเทพ แล้วย้ายกลับมาอยู่ที่นี่ หรือ สาวที่เคยนับถือศาสนาพุทธแล้วเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้ แม้กระทั่งตัวผู้กำกับที่ปรากฎเป็นระยะก็ตาม ก็เลยใส่ลงไปอย่างที่เราเห็น ยังดีที่ภาพสวยบวกกับ Sound ประกอบแนวคันทรี่แทรกเข้ามาช่วยกระตุ้นบรรยากาศรอบข้างที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ให้เราอยากไปเที่ยวดูให้เห็นกับตาสักครั้งจริง ๆ
- สิ่งที่ชอบที่สุดในเรื่องคือการโยงเข้าประเด็นทางการเมืองอย่างเหตุการณ์การประท้วงการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมอาณานิคมใน อ.จะนะ ที่เคยเกิดขึ้น 2 ช่วงเวลา ในปี 2545 กับ ช่วงโควิดที่หน้าสภา เป็น Point สำคัญอีกอย่างที่ควรนำเสนออย่างจริงจังแต่กลับถูกเล่าเป็นส่วนประกอบของการส่งเสริมการรวมตัวกลุ่มนักรบผ้าถุงเท่านั้น เอาจริงหนังนำเสนอด้วยภาพ Footage หรือบทสนทนามาดีแล้วแต่อยากให้ขยี้ให้มากกว่านี้จะได้รู้ต้นสายปลายเหตุลงไปอีกแล้วจะช่วยเข้าใจ Timeline ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อีกอย่างควรใส่ Sub ภาษาไทยและชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์ลงไปด้วยว่าใครเป็นใครจะดีมาก ด้วยความที่สำเนียงทางใต้พูดเร็วและใช้คำสั้น ๆ ห้วน ๆ อยู่แล้ว บางคำบางประโยคที่ผู้ถูกสัมภาษณ์แต่ละคนในเรื่องพูดมาฟังไม่ทัน ขนาดว่าผมเป็นคนใต้เองยังฟังลำบากเลย
- ถึงแม้จะไม่ได้เลือกจบตามสูตรสำเร็จที่บอกคนดูทั่วไปว่าบทสรุปเป็นแบบไหนแต่ให้ข้อคิดให้ทางเลือกบางอย่างแก่เราเข้าใจความเป็นอยู่ของกลุ่มนักรบผ้าถุงในวันข้างหน้าต่อไปให้ไปคิดกันเองว่าจะไปทางไหน ถึงแม้ภาพรวมหนังจะเน้นวิถีชีวิตของชุมชนทั่วไปแบบ Slow Life มากกว่าแต่ไม่ปฏิเสธว่าเนื้อในของมันก็พูดถึงปัญหาจากภายนอกเหมือนกัน โดยเฉพาะการแทรกแซงอำนาจนิยมของระบอบชนชั้นที่เอื้อให้ผู้มีอำนาจในมืออย่างนายทุนเข้ามาหากินและฉกฉวยพื้นที่โดยไม่ถามและไม่สนใจว่าคนในชุมชนที่เป็นคนในพื้นที่จะเอาหรือได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน มีเงินซะอย่างพร้อมฟาดหัวได้เสมอ แถมรัฐยังช่วยส่งเสริมระบบและไม่สนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นขนาดว่าคนในชุมชนอุตส่าห์เดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียนถึงที่แล้วกลับเมินเฉย หูทวนลม ไม่เสนอหน้ามาเจรจาตรง ๆ เพื่อเสนอแนะหรือชี้หาทางออกเพื่อเคลียร์ปัญหากันแต่ปล่อยให้เป็นเรื่องที่พวกเขาต้องจัดการกันเองไม่พอไปยัดข้อหาฝ่าฝืนกฎ พรบ ข้อก่อรวมชุมนุมเนื่องในสถานการณ์โควิดแถมให้อีก
- ประเด็นคือชุมชนต้องการคงสภาพอยู่อย่างนี้ไปโดยไม่ต้องการให้นายทุนมาแทรกแซงหรือครอบงำตามอำเภอใจ มีได้เพื่อให้ปรับตามยุคสมัย เช่น สวัสดิการ , การศึกษา หรือ การรักษา แต่อย่าทำถ้าวเอาพวกโรงงานหรือสิ่งปลูกสร้างมาปู้ยี้ปู้ยำทำลายภูมิปัญญาเปลี่ยนอัตลักษณ์ตามความต้องการของใครหลายคน มันเลยทำให้เราเห็นว่าไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัยปัญหาก็ยังหมกเม็ดต่อไปเหมือนเดิมแถมยังถูกส่งต่อไปเพื่อให้เหล่านายทุนกอบโกยเข้ากระเป๋าไปเรื่อย ๆ แล้วเข้าใจความรู้สึกของคนในชุมชนที่กำลังพอเจอมาโดยตลอดได้ไม่ยาก ชอบประโยคที่ผู้ถูกสัมภาษณ์คนหนึ่งกล่าวว่า วัฒนธรรมจับต้องได้ มี มัสยิด , วัด , ศาลเจ้า ส่วน วัฒนธรรมจับต้องไม่ได้ ก็คือ ภาษา นี่แหล่ะคือ Signature ที่เขาต้องการจะสื่อ รู้สาบ้างมั้ยนิโหม๋สู ?
ภาพยนตร์สารคดี "นักรบผ้าถุง : เริน เล และแสงตุหวัน" (Sarong Warrior Documentary) จัดฉายให้ชมกันในวันที่ 22,23,24 ธ.ค. 66 ณ อาคารสงครามโลก และ ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา เวลา 17:00-19 :00 น.
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม และ Facebook : EM Pascal เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้