ฝรั่งแจม ‘รำวงคนจน’ ชาวมุสลิมใฝ่ฝัน รธน.โอบรับ ‘พหุวัฒนธรรม’ ยืนกรานไม่คิดแบ่งแยกดินแดน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4337268
ฝรั่งแจม ‘รำวงคนจน’ ชาวมุสลิมใฝ่ฝัน รธน.โอบรับ ‘พหุวัฒนธรรม’ ยืนกรานไม่คิดแบ่งแยกดินแดน
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่บริเวณลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ถนนดินสอ เขตพระนคร เครือข่ายสมัชชาคนจน จัดงาน “
เบิกฟ้ารัฐธรรมนูญใหม่” โดยภายในงานมี “
ตลาดบ้าน-ป่า” จำหน่ายสินค้าจากชาวบ้าน อาทิ ผักและผลไม้ตามฤดูกาล อาหารสด ไปจนถึงสินค้าแปรรูป นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการ “
เส้นทางสู่รัฐธรรมนูญคนจน” บอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของเครือข่ายที่ร่วมรณรงค์ ให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่เอื้อต่อสิทธิเสรีภาพของคนจน คนรากหญ้า
บรรยากาศเวลา 18.10 น. ตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ร่วมเสวนา ในหัวข้อ “
การกระจายอำนาจ กับการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่” อาทิ นาย
ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ กทม., นาย
อาหะหมัด เบนโน ที่ปรึกษาเครือข่ายประชาชนปกป้องสิทธิในที่ดินรอบพื้นที่เตรียมประกาศเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป, นาย
บุญยืน สุขใหม่ กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก ดำเนินรายการโดย นาย
ทศ ลิ้มสดใส The Reporters
เวลา 18.35 น. นาย
อาหะหมัด กล่าวถึงพื้นที่ของตน ซึ่งเตรียมประกาศเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป ว่า ถ้ามีการกระจายอำนาจตั้งแต่ต้น ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน เพราะเป็นการรับฟังปัญหาแทบทุกพื้นที่ของประเทศ มาประมวลผลร่วมกัน
โดยที่ ‘
น้ำตกซีโป’ ความจริงเป็นแหล่งของลองกองของประเทศ ลองกองเก่าแก่ที่สุด 200 ปี อยู่ที่นั่น บรรพบุรุษปลูกไว้ มีการครอบครองที่ดิน 200 กว่าปี ตอนหลังทางอุทยานจะประกาศเป็น วนอุทยานน้ำตกซีโป เนื้อที่ 60,000 กว่าไร่ ตนเริ่มต่อสู้ ปี 2543 มีการเว้นที่ประกาศไว้ 66,000 ไร่ เราสู้เพราะไม่ได้ก้าวก่ายพื้นที่รัฐ แต่รัฐมาทับที่เรา ซึ่งเราครอบครองมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
“
อยู่ดีๆ รัฐไปวงเพื่อทับที่ของเรา ปี 2543 ผมรวบรวมคนที่เดือดร้อน ประมาณ 5,000 กว่าครอบครัว มานำเสนอรัฐมนตรี มีการสอบสวน ทางสภาฯ กรรมาธิการ ส.ว. ก็ลงไปดู มาจนถึงตอนนี้เหลืออยู่ 40,000 กว่าไร่ ผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่าถอยอย่างไร เอาอะไรมาวัด จาก 66,000
เหลือ 40,000 กว่าไร่ ที่จะประกาศวนอุทยาน รอ ครม.ประกาศ ตอนนั้นพวกเราประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เลยลุกขึ้นต่อสู้
แต่เขาบอกว่า ได้ทำประชาพิจารณ์เรียบร้อยหมดแล้ว ช่วงนั้นโควิด เขาบอกทำผ่านเน็ต แต่เจ้าของที่ พูด-เขียนภาษาไทยยังไม่เป็น จะใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างไร เมื่อสมัชชาคนจนมาข่วย ทำให้การต่อสู้ของเรามีระบบขึ้น มีหนังสือโต้ตอบ กระทรวง ทำให้การประกาศของเขาต้องชะลอ สถานะตอนนี้ ยังชะลออยู่” นาย
อาหะหมัดเผย
เมื่อถาม ถ้าได้ออกแบบชุมชนตัวเอง เชื่อว่า เรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้น ?
นาย
อาหะหมัดกล่าวว่า ถ้าจำได้ บุคคลแรกที่นำเสนอการกระจายอำนาจอย่าง เป็นรูปธรรม คือ หะยีสุหลง โต๊ะมีนา ที่รู้ว่าถ้าไม่กระจายอำนาจภาคใต้จะมีปัญหา เพราะ ‘อิสลาม’ คือวิถีดำเนินชีวิตของชาวมุสลิม ถ้าไม่กระจายอำนาจ จะกระทบกับวิถีใช้ชีวิต เพราะคนละศาสนา และวัฒนธรรม ยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องของการแบ่งแยกดินแดน
“
ถ้าอยากให้ทุกเชื้อชาติในสังคม อยู่อย่างเป็นสุข ต้องกระจายอำนาจ ผมอยากเห็นการกระจายอำนาจเกิดขึ้น หวังตั้งแต่ต้น เมื่อเลือกรัฐบาลประชาธิปไตยมา เราคงจะได้เห็นประชาธิปไตยบ้าน เพราะบ้านผมไม่ได้ใช้รัฐธรรมนูญ ใช้กฎอัยการศึก”
“ที่บ้านผมก็พิเศษเหมือนกัน เกือบ 200 ศพ ที่ตากใบ จนตอนนี้คดีไม่คืบหน้า เกือบ 20 ปีแล้ว จะไม่พิเศษอย่างไร ไปจ่อยิงหัวเข่า กี่ปีแล้ว ไม่มีคืบ”
เราต้องมีสิทธิกำหนดชะตาชีวิตของเรา ไม่ใช่แบ่งแยกดินแดน ถ้าต้องการให้เราอยู่กับคุณ ต้องดูแลดีๆทไม่ใช่มาเหยียบหัว การพัฒนาต้องสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของคนที่นั่น ไม่ใช่ไปสร้างปัญหาให้กับเขา” นาย
อาหะหมัดกล่าว
เมื่อถามต่อว่า มีรัฐธรรมนูญในฝันที่อยากเห็น ที่ทำให้คนไทยมุสลิม มีโอกาสออกแบบพื้นถิ่นของตัวเอง ตามวัฒนธรรมของเราอย่างไรบ้าง ?
นาย
อาหะหมัดกล่าวว่า ตนอยากจะเรียกร้อง คนที่จะมาเป็น ส.ส.ร. ที่จะมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ว่า
1. หา
คนที่ฉีกรัฐธรรมนูญ มาลงโทษ ฉีกมาตลอด ไม่มีบทลงโทษใดๆ ทั้งสิ้น หากจะแก้ไขต้องผ่านรัฐสภาอย่างเดียว และต้องมีบทลงโทษที่ชัดเจน
2. อยากได้รัฐธรรมนูญ ที่ทุกส่วนของสังคม ทุกเชื้อชาติในสังคมไทย มีส่วนร่วมร่าง
3. อยากให้มีรัฐธรรมนูญ ที่ท้องถิ่นสามารถดูแลตัวเองได้ ในบริบทของแต่ละส่วน
“
ผมเชื่อว่า ทางล้านนา ก็มีของดีของเขา ที่อยากใช้เพื่อปรับสภาพของเขา เหมือนอีสานและใต้ ที่พร้อมใช้เพื่อดูแลสังคมของผม คงไม่มีใครอยากเผาสังคมของตัวเอง ทำไมเราไม่ไว้ใจเขา ให้ดูแลเอง ผมว่าเขารักสังคมของเขามากกว่าผู้บริหารบางคน ผมอยากได้รัฐธรรมนูญที่อำนวย ประชาชน เพื่อประชาชน สร้างกติกาที่อยู่ร่วมกันของสังคมพหุวัฒนธรรม ทุกวันนี้ไม่ได้เพื่อประชาชน แต่บีบประชาชน รัฐธรรมนูญเป็นหัวใจที่จะทำให้ปัญหาชายแดนใต้หมดไป” นาย
อาหะหมัดกล่าว
นาย
อาหะหมัดกล่าวอีกว่า กรณีตากใบ ถ้าไม่มีการพูดในสภาฯ คดีจะไม่คืบไปไหน
“
ล่าสุด สำนวนคดีหาย เราจะยอมให้บ้านเราเป็นอย่างนี้ อยู่กันอย่างนี้หรือ อยากเห็นประชาธิปไตยที่เคารพ ให้เกียรติ เสมอภาคสำหรับประชาชน”
“รัฐไทยเป็นรัฐเดี่ยว แต่ปกครองตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นนั้นๆ ถ้ามีรัฐธรรมนูญที่ตอบสนองทุกหมู่ชน ข้อนี้น่าจะเปลี่ยนให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่เราใฝ่ฝัน” นายอาหะหมัดกล่าว
บรรยากาศเวลา 20.30 น. ระหว่างการแสดงดนตรีของ ‘วงสะเลเต’ มีต่างชาติเข้ามาร่วมฟ้อน
รำด้วยความครึกครื้น ท่ามกลางชาวบ้านที่ร่วมออกบูธรณรงค์รัฐธรรมนูญฉบับคนจน ร่วมฟ้อนด้วยความสนุกสนาน
ในช่วงท้าย ‘
น้ำ คีตาญชลี’ อธิบายถึงการรำวงดังกล่าว ว่ามีจุดประสงค์เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ที่เห็นความสำคัญของคน ก่อนยุติกิจกรรมในเวลา 21.00 น.
นักวิชาการดังชี้รบ.แก้หนี้ไม่ได้-ปชช.รับปัญหาภายหลัง
https://www.innnews.co.th/news/local/news_655285/
นักวิชาการดัง ระบุ รัฐบาลแก้หนี้นอกระบบไม่ได้ คาดประชาชนอาจแบกรับปัญหาภายหลัง ขณะรัฐฯควรจัดการเจ้าหนี้ดอกเบี้ยสูง
รศ.ดร.
โอฬาร ถิ่นบางเตียว อ.ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่านโยบายแก้หนี้นอกระบบนั้นคาดว่ารัฐบาลจะทำไม่สำเร็จ เพราะกลุ่มคนเหล่านั้นอาจจะต้องแบกรับปัญหาในภายหลังเนื่องจากประชาชนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ดังนั้นจึง
จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาหนี้นอกระบบ
แต่จากข้อมูลจำนวนคนลงทะเบียนคิดว่าคงจะไม่ใช่ตัวเลขที่แท้จริงอย่างแน่นอน ประกอบกับไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา ในเชิงระบบอีกด้วย ทั้งนี้รัฐบาลควรจะไปจัดการกลุ่มผู้ประกอบการหรือเจ้าหนี้ที่เก็บดอกเบี้ยสูง รวมถึงให้องค์กรส่วนท้องถิ่นสร้างกองทุน ธนาคาร เพื่อดูแลเงินกู้ของประชาชนจะดีกว่า
โฆษณาปี’67 ส่อแตะไม่ถึงแสนล้าน เทรนด์อินฟลูเอนเซอร์แรง ธุรกิจแห่ใช้ดันยอด
https://www.matichon.co.th/economy/news_4337359
โฆษณาปี’67 ส่อแตะไม่ถึงแสนล้าน เทรนด์อินฟลูเอนเซอร์แรง ธุรกิจแห่ใช้ดันยอด
มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ คาดเม็ดเงินอุตฯ โฆษณาปี 67 โตแค่ 4% หรือป 87,960 ล้านบาท หลังภาวะเศรษฐกิจ หนี้ครัวเรือน-หนี้บุคคลสูง ทำกำลังซื้อลดลง
นาย
ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานและกรรมการบริหาร บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ กรุ๊ป จำกัด หรือเอ็มไอ กรุ๊ป เปิดเผยว่า ในปี 2567 ที่จะถึงนี้ แม้เม็ดเงินโฆษณามีแนวโน้มเติบโต แต่จะเป็นการเติบโตในอัตราน้อยกว่าปี 2566 จากหลายปัจจัยท้าทายทั้งในและนอกประเทศที่ส่งผลต่อความสามารถในการจับจ่ายของผู้บริโภค และการใช้งบฯการตลาดของภาคธุรกิจ
โดยจากการประเมินของทีม MI Learn Lab ของบริษัท คาดว่าเม็ดเงินโฆษณาในปี 2567 จะมีมูลค่าประมาณ 87,960 ล้านบาท หรือเท่ากับการเติบโต 4% จากปี 2566 นี้ ซึ่งจากข้อมูลช่วง 11 เดือน เชื่อว่าสิ้นปี 2566 มูลค่าเม็ดเงินโฆษณาจะอยู่ที่ 84,500 ล้านบาท และเติบโต 4.4% จากปีก่อนหน้า ตัวเลขนี้น้อยกว่าการเติบโตในปี 2565 ที่เม็ดเงินเพิ่มขึ้น 6.3%
สำหรับปัจจัยท้าทายที่ส่งผลต่อการเติบโต ประกอบด้วยจีดีพีโลก ที่จะเติบโตเพียง 2.3% สถานการณ์การเมืองโลกที่ยังคงมีหลายปัญหาเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ขณะเดียวกัน ขณะที่ผู้บริโภคจะแยกเป็นกลุ่มย่อย ๆ มากยิ่งขึ้นกว่าปัจจุบัน พร้อมสภาพสังคมสูงวัยที่เข้มข้นขึ้นหลังอัตราการเกิดของปี 2566 ทำสถิติต่ำสุดอีกครั้ง ปัจจัยเหล่านี้สร้างความท้าทายให้กับภาคธุรกิจในการตัดสินใจใช้งบฯ และวางกลยุทธ์ตลาด
ในส่วนของผู้บริโภคนั้น ระดับหนี้ครัวเรือนและหนี้บุคคลที่สูงต่อเนื่องในปี 2566 จะส่งผลให้ปี 2567 ผู้บริโภคมีความสามารถจับจ่ายสินค้าลดลง เนื่องจากขาดทั้งเงินสดและเครดิต ส่วนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างดิจิทัลวอลเลต 1 หมื่นบาท หรือนโยบายช้อปลดหย่อนภาษี แม้จะมีผลบวก แต่อาจไม่มากนัก ผู้บริโภคจึงยังขาดความเชื่อมั่นจนชะลอการจับจ่ายลง
อย่างไรก็ตาม ช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 อาจยังไม่สามารถสะท้อนสภาพกำลังซื้อได้ชัดเจน เนื่องจากช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังหยุดปีใหม่ ผู้บริโภคมักชะลอการจับจ่าย ก่อนจะเริ่มคึกคักในไตรมาส 3 ด้วยแรงหนุนจากเทศกาลตรุษจีนในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ และต่อด้วยเทศกาลสงกรานต์ในช่วงกลางเดือนเมษายน ทำให้อาจต้องรอถึงช่วงหลังสงกรานต์จึงจะสามารถเห็นสภาพกำลังซื้อที่แท้จริงได้
“
นอกจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมแล้ว การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีเป็นอีกปัจจัยท้าทายของทั้งธุรกิจและผู้บริโภค เนื่องจากช่องว่างระหว่างผู้ที่มีและไม่มีความรู้ในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI จะถ่างกว้างขึ้น ส่งผลต่อความได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขัน และความสามารถในการหารายได้ของผู้บริโภค”
ขณะเดียวกันแม้เม็ดเงินจะเติบโต 4% แต่การเติบโตนี้จะกระจุกอยู่ในกลุ่มสื่อออนไลน์ และสื่อนอกบ้าน ขณะที่สื่ออื่น ๆ ทั้งทีวี สิ่งพิมพ์ ยังหดตัวต่อเนื่องโดยเป็นผลจากฟังก์ชั่ันใหม่อย่าง Affiliate หรือการแบ่งรายได้จากการขายสินค้า-บริการให้กับ KOL (Key Opinion Leader) หรืออินฟลูเอนเซอร์ เมื่อผู้บริโภคซื้อผ่านลิงก์ในโพสต์หรือวิดีโอ ร่วมกับพฤติกรรมการรับสื่อของผู้บริโภคที่ย้ายไปออนไลน์อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าในปี 2567 สื่อทีวีจะมีเม็ดเงินโฆษณาลดจาก 36,199 ล้านบาทในปี 2566 เป็น 35,475 ล้านบาท ขณะที่เม็ดเงินในสื่อออนไลน์ จะเพิ่มจาก 28,999 ล้านบาทเป็น 31,899 ล้านบาท เช่นเดียวกับสื่อนอกบ้านที่จะได้เม็ดเงินเพิ่มจาก 12,101 ล้านบาทเป็น 13,311 ล้านบาท ความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ส่วนแบ่งของสื่อออนไลน์กับทีวีขยับเข้าใกล้กันเป็น 36.3% และ 40.3% ตามลำดับ
สำหรับในกลุ่มสื่อออนไลน์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในด้านสัดส่วนเม็ดเงินของแต่ละแพลตฟอร์ม โดยแพลตฟอร์มเครือเมต้า อย่างเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม จะยังครองอันดับต้น ๆ แต่สัดส่วนจะลดลงเนื่องจากเม็ดเงินเริ่มไหลไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ มากขึ้น เนื่องจากความนิยมแบ่งรายได้แบบ Affiliate ทำให้ KOL กระจายตัวไปหลายแพลตฟอร์ม
เมื่อฝั่งอุตสาหกรรมสื่อออนไลน์เติบโตแรงติดจรวด แต่สื่อดั้งเดิมแทบไม่กระเตื้อง ทำให้สื่อทีวี ถูกแบ่งเม็ดเงินไปยังแพลตฟอร์มอื่นมากขึ้น เช่น ยูทูบและสตรีมมิ่ง ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์การลงโฆษณาได้ใกล้เคียงกับสื่อทีวีมากที่สุด รวมถึงยังมีความยืดหยุ่น สามารถส่งสารออกไปได้มากกว่า ทำให้การเติบโตของ YouTube, Streaming Platforms และ TikTok รวมไปถึงบรรดา Digital Content Creator เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของสื่อออนไลน์ในปี 2567
JJNY : มุสลิม ยืนกรานไม่คิดแบ่งแยกดินแดน│ชี้รบ.แก้หนี้ไม่ได้│โฆษณาปี’67 ส่อแตะไม่ถึงแสนล้าน│แผ่นดินไหวขนาด 6.2 กานซู
https://www.matichon.co.th/politics/news_4337268
ฝรั่งแจม ‘รำวงคนจน’ ชาวมุสลิมใฝ่ฝัน รธน.โอบรับ ‘พหุวัฒนธรรม’ ยืนกรานไม่คิดแบ่งแยกดินแดน
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่บริเวณลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ถนนดินสอ เขตพระนคร เครือข่ายสมัชชาคนจน จัดงาน “เบิกฟ้ารัฐธรรมนูญใหม่” โดยภายในงานมี “ตลาดบ้าน-ป่า” จำหน่ายสินค้าจากชาวบ้าน อาทิ ผักและผลไม้ตามฤดูกาล อาหารสด ไปจนถึงสินค้าแปรรูป นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการ “เส้นทางสู่รัฐธรรมนูญคนจน” บอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของเครือข่ายที่ร่วมรณรงค์ ให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่เอื้อต่อสิทธิเสรีภาพของคนจน คนรากหญ้า
บรรยากาศเวลา 18.10 น. ตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ร่วมเสวนา ในหัวข้อ “การกระจายอำนาจ กับการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่” อาทิ นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ กทม., นายอาหะหมัด เบนโน ที่ปรึกษาเครือข่ายประชาชนปกป้องสิทธิในที่ดินรอบพื้นที่เตรียมประกาศเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป, นายบุญยืน สุขใหม่ กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก ดำเนินรายการโดย นายทศ ลิ้มสดใส The Reporters
เวลา 18.35 น. นายอาหะหมัด กล่าวถึงพื้นที่ของตน ซึ่งเตรียมประกาศเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป ว่า ถ้ามีการกระจายอำนาจตั้งแต่ต้น ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน เพราะเป็นการรับฟังปัญหาแทบทุกพื้นที่ของประเทศ มาประมวลผลร่วมกัน
โดยที่ ‘น้ำตกซีโป’ ความจริงเป็นแหล่งของลองกองของประเทศ ลองกองเก่าแก่ที่สุด 200 ปี อยู่ที่นั่น บรรพบุรุษปลูกไว้ มีการครอบครองที่ดิน 200 กว่าปี ตอนหลังทางอุทยานจะประกาศเป็น วนอุทยานน้ำตกซีโป เนื้อที่ 60,000 กว่าไร่ ตนเริ่มต่อสู้ ปี 2543 มีการเว้นที่ประกาศไว้ 66,000 ไร่ เราสู้เพราะไม่ได้ก้าวก่ายพื้นที่รัฐ แต่รัฐมาทับที่เรา ซึ่งเราครอบครองมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
“อยู่ดีๆ รัฐไปวงเพื่อทับที่ของเรา ปี 2543 ผมรวบรวมคนที่เดือดร้อน ประมาณ 5,000 กว่าครอบครัว มานำเสนอรัฐมนตรี มีการสอบสวน ทางสภาฯ กรรมาธิการ ส.ว. ก็ลงไปดู มาจนถึงตอนนี้เหลืออยู่ 40,000 กว่าไร่ ผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่าถอยอย่างไร เอาอะไรมาวัด จาก 66,000
เหลือ 40,000 กว่าไร่ ที่จะประกาศวนอุทยาน รอ ครม.ประกาศ ตอนนั้นพวกเราประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เลยลุกขึ้นต่อสู้
แต่เขาบอกว่า ได้ทำประชาพิจารณ์เรียบร้อยหมดแล้ว ช่วงนั้นโควิด เขาบอกทำผ่านเน็ต แต่เจ้าของที่ พูด-เขียนภาษาไทยยังไม่เป็น จะใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างไร เมื่อสมัชชาคนจนมาข่วย ทำให้การต่อสู้ของเรามีระบบขึ้น มีหนังสือโต้ตอบ กระทรวง ทำให้การประกาศของเขาต้องชะลอ สถานะตอนนี้ ยังชะลออยู่” นายอาหะหมัดเผย
เมื่อถาม ถ้าได้ออกแบบชุมชนตัวเอง เชื่อว่า เรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้น ?
นายอาหะหมัดกล่าวว่า ถ้าจำได้ บุคคลแรกที่นำเสนอการกระจายอำนาจอย่าง เป็นรูปธรรม คือ หะยีสุหลง โต๊ะมีนา ที่รู้ว่าถ้าไม่กระจายอำนาจภาคใต้จะมีปัญหา เพราะ ‘อิสลาม’ คือวิถีดำเนินชีวิตของชาวมุสลิม ถ้าไม่กระจายอำนาจ จะกระทบกับวิถีใช้ชีวิต เพราะคนละศาสนา และวัฒนธรรม ยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องของการแบ่งแยกดินแดน
“ถ้าอยากให้ทุกเชื้อชาติในสังคม อยู่อย่างเป็นสุข ต้องกระจายอำนาจ ผมอยากเห็นการกระจายอำนาจเกิดขึ้น หวังตั้งแต่ต้น เมื่อเลือกรัฐบาลประชาธิปไตยมา เราคงจะได้เห็นประชาธิปไตยบ้าน เพราะบ้านผมไม่ได้ใช้รัฐธรรมนูญ ใช้กฎอัยการศึก”
“ที่บ้านผมก็พิเศษเหมือนกัน เกือบ 200 ศพ ที่ตากใบ จนตอนนี้คดีไม่คืบหน้า เกือบ 20 ปีแล้ว จะไม่พิเศษอย่างไร ไปจ่อยิงหัวเข่า กี่ปีแล้ว ไม่มีคืบ”
เราต้องมีสิทธิกำหนดชะตาชีวิตของเรา ไม่ใช่แบ่งแยกดินแดน ถ้าต้องการให้เราอยู่กับคุณ ต้องดูแลดีๆทไม่ใช่มาเหยียบหัว การพัฒนาต้องสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของคนที่นั่น ไม่ใช่ไปสร้างปัญหาให้กับเขา” นายอาหะหมัดกล่าว
เมื่อถามต่อว่า มีรัฐธรรมนูญในฝันที่อยากเห็น ที่ทำให้คนไทยมุสลิม มีโอกาสออกแบบพื้นถิ่นของตัวเอง ตามวัฒนธรรมของเราอย่างไรบ้าง ?
นายอาหะหมัดกล่าวว่า ตนอยากจะเรียกร้อง คนที่จะมาเป็น ส.ส.ร. ที่จะมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ว่า
1. หาคนที่ฉีกรัฐธรรมนูญ มาลงโทษ ฉีกมาตลอด ไม่มีบทลงโทษใดๆ ทั้งสิ้น หากจะแก้ไขต้องผ่านรัฐสภาอย่างเดียว และต้องมีบทลงโทษที่ชัดเจน
2. อยากได้รัฐธรรมนูญ ที่ทุกส่วนของสังคม ทุกเชื้อชาติในสังคมไทย มีส่วนร่วมร่าง
3. อยากให้มีรัฐธรรมนูญ ที่ท้องถิ่นสามารถดูแลตัวเองได้ ในบริบทของแต่ละส่วน
“ผมเชื่อว่า ทางล้านนา ก็มีของดีของเขา ที่อยากใช้เพื่อปรับสภาพของเขา เหมือนอีสานและใต้ ที่พร้อมใช้เพื่อดูแลสังคมของผม คงไม่มีใครอยากเผาสังคมของตัวเอง ทำไมเราไม่ไว้ใจเขา ให้ดูแลเอง ผมว่าเขารักสังคมของเขามากกว่าผู้บริหารบางคน ผมอยากได้รัฐธรรมนูญที่อำนวย ประชาชน เพื่อประชาชน สร้างกติกาที่อยู่ร่วมกันของสังคมพหุวัฒนธรรม ทุกวันนี้ไม่ได้เพื่อประชาชน แต่บีบประชาชน รัฐธรรมนูญเป็นหัวใจที่จะทำให้ปัญหาชายแดนใต้หมดไป” นายอาหะหมัดกล่าว
นายอาหะหมัดกล่าวอีกว่า กรณีตากใบ ถ้าไม่มีการพูดในสภาฯ คดีจะไม่คืบไปไหน
“ล่าสุด สำนวนคดีหาย เราจะยอมให้บ้านเราเป็นอย่างนี้ อยู่กันอย่างนี้หรือ อยากเห็นประชาธิปไตยที่เคารพ ให้เกียรติ เสมอภาคสำหรับประชาชน”
“รัฐไทยเป็นรัฐเดี่ยว แต่ปกครองตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นนั้นๆ ถ้ามีรัฐธรรมนูญที่ตอบสนองทุกหมู่ชน ข้อนี้น่าจะเปลี่ยนให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่เราใฝ่ฝัน” นายอาหะหมัดกล่าว
บรรยากาศเวลา 20.30 น. ระหว่างการแสดงดนตรีของ ‘วงสะเลเต’ มีต่างชาติเข้ามาร่วมฟ้อน
รำด้วยความครึกครื้น ท่ามกลางชาวบ้านที่ร่วมออกบูธรณรงค์รัฐธรรมนูญฉบับคนจน ร่วมฟ้อนด้วยความสนุกสนาน
ในช่วงท้าย ‘น้ำ คีตาญชลี’ อธิบายถึงการรำวงดังกล่าว ว่ามีจุดประสงค์เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ที่เห็นความสำคัญของคน ก่อนยุติกิจกรรมในเวลา 21.00 น.
นักวิชาการดังชี้รบ.แก้หนี้ไม่ได้-ปชช.รับปัญหาภายหลัง
https://www.innnews.co.th/news/local/news_655285/
นักวิชาการดัง ระบุ รัฐบาลแก้หนี้นอกระบบไม่ได้ คาดประชาชนอาจแบกรับปัญหาภายหลัง ขณะรัฐฯควรจัดการเจ้าหนี้ดอกเบี้ยสูง
รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อ.ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่านโยบายแก้หนี้นอกระบบนั้นคาดว่ารัฐบาลจะทำไม่สำเร็จ เพราะกลุ่มคนเหล่านั้นอาจจะต้องแบกรับปัญหาในภายหลังเนื่องจากประชาชนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ดังนั้นจึง
จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาหนี้นอกระบบ
แต่จากข้อมูลจำนวนคนลงทะเบียนคิดว่าคงจะไม่ใช่ตัวเลขที่แท้จริงอย่างแน่นอน ประกอบกับไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา ในเชิงระบบอีกด้วย ทั้งนี้รัฐบาลควรจะไปจัดการกลุ่มผู้ประกอบการหรือเจ้าหนี้ที่เก็บดอกเบี้ยสูง รวมถึงให้องค์กรส่วนท้องถิ่นสร้างกองทุน ธนาคาร เพื่อดูแลเงินกู้ของประชาชนจะดีกว่า
โฆษณาปี’67 ส่อแตะไม่ถึงแสนล้าน เทรนด์อินฟลูเอนเซอร์แรง ธุรกิจแห่ใช้ดันยอด
https://www.matichon.co.th/economy/news_4337359
โฆษณาปี’67 ส่อแตะไม่ถึงแสนล้าน เทรนด์อินฟลูเอนเซอร์แรง ธุรกิจแห่ใช้ดันยอด
มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ คาดเม็ดเงินอุตฯ โฆษณาปี 67 โตแค่ 4% หรือป 87,960 ล้านบาท หลังภาวะเศรษฐกิจ หนี้ครัวเรือน-หนี้บุคคลสูง ทำกำลังซื้อลดลง
นายภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานและกรรมการบริหาร บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ กรุ๊ป จำกัด หรือเอ็มไอ กรุ๊ป เปิดเผยว่า ในปี 2567 ที่จะถึงนี้ แม้เม็ดเงินโฆษณามีแนวโน้มเติบโต แต่จะเป็นการเติบโตในอัตราน้อยกว่าปี 2566 จากหลายปัจจัยท้าทายทั้งในและนอกประเทศที่ส่งผลต่อความสามารถในการจับจ่ายของผู้บริโภค และการใช้งบฯการตลาดของภาคธุรกิจ
โดยจากการประเมินของทีม MI Learn Lab ของบริษัท คาดว่าเม็ดเงินโฆษณาในปี 2567 จะมีมูลค่าประมาณ 87,960 ล้านบาท หรือเท่ากับการเติบโต 4% จากปี 2566 นี้ ซึ่งจากข้อมูลช่วง 11 เดือน เชื่อว่าสิ้นปี 2566 มูลค่าเม็ดเงินโฆษณาจะอยู่ที่ 84,500 ล้านบาท และเติบโต 4.4% จากปีก่อนหน้า ตัวเลขนี้น้อยกว่าการเติบโตในปี 2565 ที่เม็ดเงินเพิ่มขึ้น 6.3%
สำหรับปัจจัยท้าทายที่ส่งผลต่อการเติบโต ประกอบด้วยจีดีพีโลก ที่จะเติบโตเพียง 2.3% สถานการณ์การเมืองโลกที่ยังคงมีหลายปัญหาเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ขณะเดียวกัน ขณะที่ผู้บริโภคจะแยกเป็นกลุ่มย่อย ๆ มากยิ่งขึ้นกว่าปัจจุบัน พร้อมสภาพสังคมสูงวัยที่เข้มข้นขึ้นหลังอัตราการเกิดของปี 2566 ทำสถิติต่ำสุดอีกครั้ง ปัจจัยเหล่านี้สร้างความท้าทายให้กับภาคธุรกิจในการตัดสินใจใช้งบฯ และวางกลยุทธ์ตลาด
ในส่วนของผู้บริโภคนั้น ระดับหนี้ครัวเรือนและหนี้บุคคลที่สูงต่อเนื่องในปี 2566 จะส่งผลให้ปี 2567 ผู้บริโภคมีความสามารถจับจ่ายสินค้าลดลง เนื่องจากขาดทั้งเงินสดและเครดิต ส่วนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างดิจิทัลวอลเลต 1 หมื่นบาท หรือนโยบายช้อปลดหย่อนภาษี แม้จะมีผลบวก แต่อาจไม่มากนัก ผู้บริโภคจึงยังขาดความเชื่อมั่นจนชะลอการจับจ่ายลง
อย่างไรก็ตาม ช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 อาจยังไม่สามารถสะท้อนสภาพกำลังซื้อได้ชัดเจน เนื่องจากช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังหยุดปีใหม่ ผู้บริโภคมักชะลอการจับจ่าย ก่อนจะเริ่มคึกคักในไตรมาส 3 ด้วยแรงหนุนจากเทศกาลตรุษจีนในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ และต่อด้วยเทศกาลสงกรานต์ในช่วงกลางเดือนเมษายน ทำให้อาจต้องรอถึงช่วงหลังสงกรานต์จึงจะสามารถเห็นสภาพกำลังซื้อที่แท้จริงได้
“นอกจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมแล้ว การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีเป็นอีกปัจจัยท้าทายของทั้งธุรกิจและผู้บริโภค เนื่องจากช่องว่างระหว่างผู้ที่มีและไม่มีความรู้ในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI จะถ่างกว้างขึ้น ส่งผลต่อความได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขัน และความสามารถในการหารายได้ของผู้บริโภค”
ขณะเดียวกันแม้เม็ดเงินจะเติบโต 4% แต่การเติบโตนี้จะกระจุกอยู่ในกลุ่มสื่อออนไลน์ และสื่อนอกบ้าน ขณะที่สื่ออื่น ๆ ทั้งทีวี สิ่งพิมพ์ ยังหดตัวต่อเนื่องโดยเป็นผลจากฟังก์ชั่ันใหม่อย่าง Affiliate หรือการแบ่งรายได้จากการขายสินค้า-บริการให้กับ KOL (Key Opinion Leader) หรืออินฟลูเอนเซอร์ เมื่อผู้บริโภคซื้อผ่านลิงก์ในโพสต์หรือวิดีโอ ร่วมกับพฤติกรรมการรับสื่อของผู้บริโภคที่ย้ายไปออนไลน์อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าในปี 2567 สื่อทีวีจะมีเม็ดเงินโฆษณาลดจาก 36,199 ล้านบาทในปี 2566 เป็น 35,475 ล้านบาท ขณะที่เม็ดเงินในสื่อออนไลน์ จะเพิ่มจาก 28,999 ล้านบาทเป็น 31,899 ล้านบาท เช่นเดียวกับสื่อนอกบ้านที่จะได้เม็ดเงินเพิ่มจาก 12,101 ล้านบาทเป็น 13,311 ล้านบาท ความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ส่วนแบ่งของสื่อออนไลน์กับทีวีขยับเข้าใกล้กันเป็น 36.3% และ 40.3% ตามลำดับ
สำหรับในกลุ่มสื่อออนไลน์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในด้านสัดส่วนเม็ดเงินของแต่ละแพลตฟอร์ม โดยแพลตฟอร์มเครือเมต้า อย่างเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม จะยังครองอันดับต้น ๆ แต่สัดส่วนจะลดลงเนื่องจากเม็ดเงินเริ่มไหลไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ มากขึ้น เนื่องจากความนิยมแบ่งรายได้แบบ Affiliate ทำให้ KOL กระจายตัวไปหลายแพลตฟอร์ม
เมื่อฝั่งอุตสาหกรรมสื่อออนไลน์เติบโตแรงติดจรวด แต่สื่อดั้งเดิมแทบไม่กระเตื้อง ทำให้สื่อทีวี ถูกแบ่งเม็ดเงินไปยังแพลตฟอร์มอื่นมากขึ้น เช่น ยูทูบและสตรีมมิ่ง ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์การลงโฆษณาได้ใกล้เคียงกับสื่อทีวีมากที่สุด รวมถึงยังมีความยืดหยุ่น สามารถส่งสารออกไปได้มากกว่า ทำให้การเติบโตของ YouTube, Streaming Platforms และ TikTok รวมไปถึงบรรดา Digital Content Creator เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของสื่อออนไลน์ในปี 2567