ศาลอาญายกฟ้อง ม.116 อดีตนศ.-กลุ่มดาวดิน ชุมนุมปี 58 ชี้เป็นไปอย่างสงบ ไม่มีความรุนแรง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4336080
ศาลอาญายกฟ้อง ม.116 อดีตนศ.-กลุ่มดาวดิน ชุมนุมปี 58 ชี้เป็นไปอย่างสงบ ไม่มีความรุนแรง
วันที่ 18 ธันวาคม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า ศาลอาญากรุงเทพใต้ พิพากษายกฟ้อง คดีNDM ข้อหา มาตรา 116 ของอดีตนศ. ประชาธิปไตย (NDM)-ดาวดิน ทั้ง 13 คน เหตุชุมนุมหน้า สน. ปทุมวัน เมื่อปี 2558
โดยศาลพิเคราะห์จากพยานหลักฐานของโจทก์ การชุมนุมของจำเลยเป็นการชุมนุมโดยความสงบ ไม่มีความรุนแรงปรากฎ ทั้งไม่มีการสร้างความเสียหายหรือมีเจ้าหน้าที่รัฐถูกทำร้ายอย่างไร
นอกจากนี้ จากการเบิกความของพยานโจทก์ได้ความว่าจำเลยทั้งหมดมีการสลับกันขึ้นปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์ การทำงานของรัฐบาล คสช.มีการเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศเลือกตั้ง ไม่ปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย หรือผิดตามฟ้องอย่างไร
ศาลเห็นว่าการชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบ ปราศจากอาวุธ และความรุนแรง อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ปรากฎว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพนอกเหนือกรอบของรัฐธรรมนูญ แม้การปราศรัยจะมีถ้อยคำหยาบคายไม่สุภาพไปบ้าง แต่ก็ไม่ปรากฎความรุนแรงหรือมีการสร้างความยุยงปลุกปั่นตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง
ไทยสร้างไทย จี้ กสทช. อย่าดึงเวลา ประกาศราคาค่าโทร-ค่าเน็ตมาตรฐาน
https://www.thairath.co.th/news/politic/2748501
“ปริเยศ อังกูรกิตติ” อัด กสทช. อ้างรอผลศึกษาเพื่ออะไร ชี้หากไม่เร่งประกาศราคาค่าโทร-ค่าเน็ตมาตรฐาน เสี่ยงโดนฟ้องเพิ่ม จี้อย่าดึงเวลา ชี้เวลานี้ประชาชนจับตาอยู่
วันที่ 17 ธันวาคม 2566 นาย
ปริเยศ อังกูรกิตติ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ พรรคไทยสร้างไทย กล่าวถึงกรณี 4 บอร์ด คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ส่งหนังสือถึงประธานบอร์ด กรณีประชาชนร้องเรียนถึงคุณภาพ และค่าบริการของมือถือและอินเทอร์เน็ต หลังการควบรวมกิจการของบริษัทเอกชนว่า กสทช.อาจกำลังหลงประเด็นอยู่ เพราะก่อนหน้านี้ กสทช.เองก็มีอำนาจในการออกประกาศราคามาตรฐานของค่าบริการทั้งการโทรและค่าบริการข้อมูลอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นในตอนที่มีการควบรวมกิจการที่ กสทช.ออกมาให้ข้อมูลด้านการดูแลมาตรการที่ว่า ค่าบริการจะต้องลดลงได้นั้น ย่อมเป็นอำนาจที่ กสทช.ทำได้เลย และไม่เกี่ยวกับการศึกษาใดๆ ของคณะทำงานทั้งสิ้น เพราะ กสทช.เองมีข้อมูลในมือแล้ว ดังนั้นตนยังยืนยันว่า กสทช.ต้องออกประกาศฉบับใหม่เพื่อกำหนดราคามาตรฐานใหม่ขึ้นมาในราคาที่ถูกลง ก็จะแก้ปัญหานี้ได้ นอกเสียจากว่าบอร์ดคณะนี้มีเหตุผลอื่นใด จึงไม่ยอมกำหนดราคาอัตราใหม่ ส่วนการอ้างว่ายังไม่ได้ข้อมูล หรือยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการคำนวณนั้นฟังไม่ขึ้น เพราะตอนควบรวมกิจการ ทางบริษัทผู้ควบรวมจะต้องให้ข้อมูลด้านต้นทุนต่างๆ และแผนการดำเนินการทุกอย่างแก่ กสทช. ทั้งราคาประมูล ต้นทุนบุคลากร รายละเอียดด้านสถานีฐาน และอื่นๆ ทั้งหมด ไปแล้ว
“
บอร์ด กสทช. อย่าดึงเวลาการออกประกาศการกำหนดราคามาตรฐานค่าบริการฉบับใหม่ เพราะก่อนหน้านี้สองฉบับ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำมากขึ้น ต้นทุนยังถูกลง ทำให้ฉบับก่อนหน้าปรับราคาลงได้ทั้งค่าโทรและค่าเน็ต ผมเป็นห่วงว่า บอร์ด กสทช.กำลังเอาตัวเองไปอยู่ในจุดเสี่ยงทั้งที่ไม่ควร เวลานี้ประชาชนจับตา และเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงสถานการณ์ว่า กสทช.กำลังเล่นอะไรอยู่” นายปริเยศ กล่าว.
ฝ่ายนายจ้าง รับไม่ได้! ไม่มีเหตุผลต้องทบทวนมติ ‘ค่าแรงขั้นต่ำ’ ที่ขึ้นให้ไม่น้อยแล้ว
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8013974
ฝ่ายนายจ้าง รับไม่ได้! ลั่นไม่มีเหตุผลต้องทบทวนมติ ‘ค่าแรงขั้นต่ำ’ ชี้ คำนวณตามสูตร-ค่าเงินเฟ้อแล้ว ยันที่ขึ้นให้ไม่น้อยแล้ว
กรณี นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง มีคำสั่งให้ทบทวนมติค่าจ้างขั้นต่ำจากการประชุมของไตรภาคีแรงงาน หรือ คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ได้นำมติดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. และนำมติกลับมาทบทวนอีกครั้ง ทั้งนี้ หลายฝ่ายแสดงความเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง
วันที่ 18 ธ.ค.2566 นาย
อรรถยุทธ ลียะวณิช ผู้แทนฝ่ายนายจ้างในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 (บอร์ดค่าจ้าง) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ นาย
ไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เตรียมประสานคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ทำสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อทบทวนมติค่าจ้างขั้นตที่มีมติไปแล้วในการประชุมบอร์ดค่าจ้างเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่ผ่านมา จากนั้นจะมีการประชุมบอร์ดค่าจ้างอีกครั้งในวันที่ 20 ธ.ค. นี้ เพื่อให้มีข้อสรุปและประกาศค่าจ้างขั้นต่ำเป็นของขวัญปีใหม่ 2567 ว่า
ตนไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้มีการทบทวนอัตราการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากการประชุมบอร์ดค่าจ้างในวันที่ 8 ธ.ค. ที่ผ่านมานั้น มีมติเป็นเอกฉันท์ และการคำนวณอัตราค่าจ้างนั้นเป็นไปตามระเบียบกฎหมายทุกประการ
“
หากจะทบทวน สามารถทำได้ในกรณีที่เศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน เช่น อัตราเงินเฟ้อขึ้นสูงขึ้นกะทันหัน 2 หรือ 5% แบบนี้เราทบทวนใหม่ได้ แต่มติที่เกิดขึ้นในวันที่ 8 ธ.ค. นั้น เป็นการทำตามกติกาอย่างครบถ้วน ซึ่งมีการนำเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ และตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจมาคำนวณหมดแล้ว” นาย
อรรถยุทธกล่าว
เมื่อถามว่ากรณีที่นายกรัฐมนตรี มองว่าการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำในบางจังหวัดน้อยเกินไปนั้น นาย
อรรถยุทธ กล่าวว่า ต้องถามว่าน้อยอย่างไร เนื่องจากการคำนวณก็ใช้สูตรที่มีอยู่เดิมตั้งแต่ปี 2541 ซึ่งเป็นไปตามกติกาในกฎหมายมาตรา 87 ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ทุกอย่าง ซึ่งมีการคิดอย่างรอบคอบแล้ว จึงมีการเสนอให้ ครม. รับทราบ
“
ที่ผ่านมาเราให้มากกว่าอัตราที่คำนวณตามสูตรทุกครั้ง ดังนั้น ถ้ามีการปรับตัวเลขเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องที่นายจ้างรับไม่ได้อยู่แล้ว เพราะไม่รู้จะปรับขึ้นอย่างไรแล้ว” นาย
อรรถยุทธกล่าว
JJNY : ยกฟ้อง ม.116 ชุมนุมปี 58│ไทยสร้างไทยจี้กสทช.อย่าดึงเวลา│ฝ่ายนายจ้าง รับไม่ได้!│ไต่สวน‘จิมมี ไหล’ คดีสมคบต่างชาติ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4336080
ศาลอาญายกฟ้อง ม.116 อดีตนศ.-กลุ่มดาวดิน ชุมนุมปี 58 ชี้เป็นไปอย่างสงบ ไม่มีความรุนแรง
วันที่ 18 ธันวาคม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า ศาลอาญากรุงเทพใต้ พิพากษายกฟ้อง คดีNDM ข้อหา มาตรา 116 ของอดีตนศ. ประชาธิปไตย (NDM)-ดาวดิน ทั้ง 13 คน เหตุชุมนุมหน้า สน. ปทุมวัน เมื่อปี 2558
โดยศาลพิเคราะห์จากพยานหลักฐานของโจทก์ การชุมนุมของจำเลยเป็นการชุมนุมโดยความสงบ ไม่มีความรุนแรงปรากฎ ทั้งไม่มีการสร้างความเสียหายหรือมีเจ้าหน้าที่รัฐถูกทำร้ายอย่างไร
นอกจากนี้ จากการเบิกความของพยานโจทก์ได้ความว่าจำเลยทั้งหมดมีการสลับกันขึ้นปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์ การทำงานของรัฐบาล คสช.มีการเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศเลือกตั้ง ไม่ปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย หรือผิดตามฟ้องอย่างไร
ศาลเห็นว่าการชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบ ปราศจากอาวุธ และความรุนแรง อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ปรากฎว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพนอกเหนือกรอบของรัฐธรรมนูญ แม้การปราศรัยจะมีถ้อยคำหยาบคายไม่สุภาพไปบ้าง แต่ก็ไม่ปรากฎความรุนแรงหรือมีการสร้างความยุยงปลุกปั่นตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง
ไทยสร้างไทย จี้ กสทช. อย่าดึงเวลา ประกาศราคาค่าโทร-ค่าเน็ตมาตรฐาน
https://www.thairath.co.th/news/politic/2748501
“ปริเยศ อังกูรกิตติ” อัด กสทช. อ้างรอผลศึกษาเพื่ออะไร ชี้หากไม่เร่งประกาศราคาค่าโทร-ค่าเน็ตมาตรฐาน เสี่ยงโดนฟ้องเพิ่ม จี้อย่าดึงเวลา ชี้เวลานี้ประชาชนจับตาอยู่
วันที่ 17 ธันวาคม 2566 นายปริเยศ อังกูรกิตติ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ พรรคไทยสร้างไทย กล่าวถึงกรณี 4 บอร์ด คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ส่งหนังสือถึงประธานบอร์ด กรณีประชาชนร้องเรียนถึงคุณภาพ และค่าบริการของมือถือและอินเทอร์เน็ต หลังการควบรวมกิจการของบริษัทเอกชนว่า กสทช.อาจกำลังหลงประเด็นอยู่ เพราะก่อนหน้านี้ กสทช.เองก็มีอำนาจในการออกประกาศราคามาตรฐานของค่าบริการทั้งการโทรและค่าบริการข้อมูลอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นในตอนที่มีการควบรวมกิจการที่ กสทช.ออกมาให้ข้อมูลด้านการดูแลมาตรการที่ว่า ค่าบริการจะต้องลดลงได้นั้น ย่อมเป็นอำนาจที่ กสทช.ทำได้เลย และไม่เกี่ยวกับการศึกษาใดๆ ของคณะทำงานทั้งสิ้น เพราะ กสทช.เองมีข้อมูลในมือแล้ว ดังนั้นตนยังยืนยันว่า กสทช.ต้องออกประกาศฉบับใหม่เพื่อกำหนดราคามาตรฐานใหม่ขึ้นมาในราคาที่ถูกลง ก็จะแก้ปัญหานี้ได้ นอกเสียจากว่าบอร์ดคณะนี้มีเหตุผลอื่นใด จึงไม่ยอมกำหนดราคาอัตราใหม่ ส่วนการอ้างว่ายังไม่ได้ข้อมูล หรือยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการคำนวณนั้นฟังไม่ขึ้น เพราะตอนควบรวมกิจการ ทางบริษัทผู้ควบรวมจะต้องให้ข้อมูลด้านต้นทุนต่างๆ และแผนการดำเนินการทุกอย่างแก่ กสทช. ทั้งราคาประมูล ต้นทุนบุคลากร รายละเอียดด้านสถานีฐาน และอื่นๆ ทั้งหมด ไปแล้ว
“บอร์ด กสทช. อย่าดึงเวลาการออกประกาศการกำหนดราคามาตรฐานค่าบริการฉบับใหม่ เพราะก่อนหน้านี้สองฉบับ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำมากขึ้น ต้นทุนยังถูกลง ทำให้ฉบับก่อนหน้าปรับราคาลงได้ทั้งค่าโทรและค่าเน็ต ผมเป็นห่วงว่า บอร์ด กสทช.กำลังเอาตัวเองไปอยู่ในจุดเสี่ยงทั้งที่ไม่ควร เวลานี้ประชาชนจับตา และเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงสถานการณ์ว่า กสทช.กำลังเล่นอะไรอยู่” นายปริเยศ กล่าว.
ฝ่ายนายจ้าง รับไม่ได้! ไม่มีเหตุผลต้องทบทวนมติ ‘ค่าแรงขั้นต่ำ’ ที่ขึ้นให้ไม่น้อยแล้ว
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8013974
ฝ่ายนายจ้าง รับไม่ได้! ลั่นไม่มีเหตุผลต้องทบทวนมติ ‘ค่าแรงขั้นต่ำ’ ชี้ คำนวณตามสูตร-ค่าเงินเฟ้อแล้ว ยันที่ขึ้นให้ไม่น้อยแล้ว
กรณี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง มีคำสั่งให้ทบทวนมติค่าจ้างขั้นต่ำจากการประชุมของไตรภาคีแรงงาน หรือ คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ได้นำมติดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. และนำมติกลับมาทบทวนอีกครั้ง ทั้งนี้ หลายฝ่ายแสดงความเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง
วันที่ 18 ธ.ค.2566 นายอรรถยุทธ ลียะวณิช ผู้แทนฝ่ายนายจ้างในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 (บอร์ดค่าจ้าง) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เตรียมประสานคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ทำสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อทบทวนมติค่าจ้างขั้นตที่มีมติไปแล้วในการประชุมบอร์ดค่าจ้างเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่ผ่านมา จากนั้นจะมีการประชุมบอร์ดค่าจ้างอีกครั้งในวันที่ 20 ธ.ค. นี้ เพื่อให้มีข้อสรุปและประกาศค่าจ้างขั้นต่ำเป็นของขวัญปีใหม่ 2567 ว่า
ตนไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้มีการทบทวนอัตราการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากการประชุมบอร์ดค่าจ้างในวันที่ 8 ธ.ค. ที่ผ่านมานั้น มีมติเป็นเอกฉันท์ และการคำนวณอัตราค่าจ้างนั้นเป็นไปตามระเบียบกฎหมายทุกประการ
“หากจะทบทวน สามารถทำได้ในกรณีที่เศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน เช่น อัตราเงินเฟ้อขึ้นสูงขึ้นกะทันหัน 2 หรือ 5% แบบนี้เราทบทวนใหม่ได้ แต่มติที่เกิดขึ้นในวันที่ 8 ธ.ค. นั้น เป็นการทำตามกติกาอย่างครบถ้วน ซึ่งมีการนำเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ และตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจมาคำนวณหมดแล้ว” นายอรรถยุทธกล่าว
เมื่อถามว่ากรณีที่นายกรัฐมนตรี มองว่าการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำในบางจังหวัดน้อยเกินไปนั้น นายอรรถยุทธ กล่าวว่า ต้องถามว่าน้อยอย่างไร เนื่องจากการคำนวณก็ใช้สูตรที่มีอยู่เดิมตั้งแต่ปี 2541 ซึ่งเป็นไปตามกติกาในกฎหมายมาตรา 87 ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ทุกอย่าง ซึ่งมีการคิดอย่างรอบคอบแล้ว จึงมีการเสนอให้ ครม. รับทราบ
“ที่ผ่านมาเราให้มากกว่าอัตราที่คำนวณตามสูตรทุกครั้ง ดังนั้น ถ้ามีการปรับตัวเลขเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องที่นายจ้างรับไม่ได้อยู่แล้ว เพราะไม่รู้จะปรับขึ้นอย่างไรแล้ว” นายอรรถยุทธกล่าว