สืบเนื่องจากโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้มีข้อสรุปสำหรับผู้ที่จะได้รับสิทธิเงินดิจิทัลนี้ ว่าต้องมีคุณสมบัติและเงื่อนไขคือ
- ต้องเป็นผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 70,000 บาท
- ต้องมีเงินฝากน้อยกว่า 500,000 บาท
ดังนั้น กรณีผู้มีรายได้น้อยกว่า 70,000 บาท แต่มีเงินฝากเกิน 500,000 บาท ก็จะไม่สามารถเข้าร่วมสิทธิเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้ หรือมีรายได้มากกว่า 70,000 บาท แต่มีเงินฝากในธนาคารน้อยกว่า 500,000 บาท ก็ไม่สามารถเข้าร่วมสิทธิได้เช่นกัน
แต่ใช่ว่าผู้ที่ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะไม่ได้รับสิทธิอะไรเลย เพราะรัฐได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นมาช่วย กับโครงการ e-Refund ซื้อสินค้านำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท โดยจะมีเงื่อนไขเป็นอย่างไร ใครบ้างที่สามารถช้อปสินค้าและบริการแล้วนำมาลดหย่อนได้บ้าง ไปศึกษาพร้อมกัน ดังนี้
ทำความรู้จัก “e-Refund” คืออะไร
e-Refund หรือการขอคืนภาษี เป็นสิทธิที่ผู้เสียภาษีสามารถทำได้ หากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายระหว่างปีมากกว่ามูลค่าภาษีที่ตัวเองต้องจ่ายจริง โดยเมื่อมีการคำนวณภาษีและพบว่ามีภาษีที่ได้จ่ายไว้เกิน และต้องการขอคืนภาษี หลังจากยื่นภาษีไปแล้ว กรมสรรพากรก็จะพิจารณาตามเงื่อนไข และคืนเงินภาษีบางส่วนที่เกินกว่าที่จ่ายจริงกลับมาให้ผู้มีรายได้
ทั้งนี้ สามารถเช็กได้ว่าผู้มีรายได้มีภาษีที่สามารถขอคืนได้เท่าไหร่ โดยวิธีการคือหลังจากที่ยื่นภาษี ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ตามประเภทรายได้ที่ได้รับ ผ่านเว็บของกรมสรรพากร ซึ่งจะสามารถยื่นภาษีประจำปีได้ช่วงประมาณเดือนมกราคม – เมษายน ของทุกปีแล้ว
โดยขั้นตอนสุดท้ายของการยื่นภาษีจะมีข้อความว่าสามารถขอคืนได้เท่าไหร่ในช่องของ “ยอดภาษีสุทธิชำระไว้เกิน” ก็จะทำให้ทราบภาษีที่จ่ายไว้เกินได้ จากนั้นหน้าเว็บไซต์จะถามว่า “ต้องการขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกิน” และหากต้องการขอคืนก็กดตกลงได้เลย
ทำความเข้าใจ "โครงการ e-Refund"
สำหรับ “โครงการ e-Refund” หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ โครงการ Easy e-receipt แต่เรียกกันคุ้นหูว่า e-Refund นั้น เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงต้นปี และเพื่อรองรับสำหรับผู้ที่มีรายได้เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี รวมถึงกลุ่มคนที่มีรายได้สูงที่มีอยู่ถึง 20% ที่ไม่ได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ก็จะสามารถเข้าร่วมโครงการ e-Refund นี้ได้
โดยโครงการ e-Refund ผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการสูงสุด 50,000 บาท มาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามเกณฑ์รายได้สูงสุดที่อัตรา 35% หากใช้สิทธิลดหย่อน 50,000 บาท จะได้เงินคืนภาษีสูงสุดถึง 17,500 บาท/คน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่อัตรา 20% คือ 10,000 บาท/คน
คุณสมบัติและเงื่อนไข E-Refund ซื้อสินค้าและบริการเพื่อใช้ลดหย่อนภาษี
เนื่องจากโครงการ e-Refund เป็นโครงการของรัฐบาลที่กระตุ้นเศรษฐกิจ สนับสนุนช่วยเหลือประชาชน และร้านค้าที่เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) ดังนั้น เงื่อนไขและคุณสมบัติสำหรับโครงการ e-Refund หลักๆ จึงประกอบด้วย ดังนี้
- ผู้สามารถใช้สิทธิ์โครงการ e-Refund คือผู้มีรายได้ที่ถึงเกณฑ์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกคน
- รองรับผู้ที่มีรายได้ทั้งที่เกินและไม่เกิน 70,000 บาท
- มีเงินฝากในบัญชีเกิน 500,000 บาท
- ผู้ที่รับเงินโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ e-Refund เพื่อลดหย่อนภาษีได้
- ซื้อสินค้าจากร้านค้าที่อยู่ในฐานระบบภาษี ที่สามารถออกใบกำกับภาษีในรูปอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
- นำใบกำกับภาษีจากการซื้อสินค้าและบริการ มูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท มาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หลักการคำนวณลดหย่อนภาษี "โครงการ e-Refund"
หลักการคำนวณลดหย่อนภาษีสำหรับ “โครงการ E-Refund” นี้ ผู้ที่ซื้อสินค้าและบริการมูลค่า 50,000 บาท จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามเกณฑ์รายได้สูงสุดอัตรา 35%
กล่าวคือหากใช้สิทธิลดหย่อนเต็มจำนวน 50,000 บาท อัตราภาษีที่ต้องเสีย 35% จะได้คืนภาษีสูงสุดถึง 17,500 บาท/คน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่อัตรา 20% คือ 10,000 บาท/คน อัตราภาษีต่ำสุดที่ 5% จะได้เงินคืนภาษีสูงสุด 2,500 บาท
หรือหากใช้สิทธิลดหย่อนแค่ 10,000 บาท อัตราภาษีที่ต้องเสียอยู่ที่ 35% ก็จะได้คืนภาษี 3,500 บาท อัตราภาษีต่ำสุดที่ 5% จะได้เงินคืน 500 บาท ดังนี้
รายได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท
ได้รับยกเว้นภาษี
รายได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาท : อัตราภาษี 5%
กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 500 บาท
กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 1,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 1,500 บาท
กรณีใช้จ่าย 40,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 2,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 2,500 บาท
รายได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท : อัตราภาษี 10%
กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 1,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 2,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 3,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 40,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 4,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 5,000 บาท
รายได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท บาท : อัตราภาษี 15%
กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 1,500 บาท
กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 3,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 4,500 บาท
กรณีใช้จ่าย 40,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 6,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 7,500 บาท
รายได้สุทธิ 750,001 – 1 ล้านบาท : อัตราภาษี 20%
กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 2,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 4,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 6,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 40,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 8,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 10,000 บาท
รายได้สุทธิ 1,000,000 - 2,000,000 บาท : อัตราภาษี 25%
กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 2,500 บาท
กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 5,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 7,500 บาท
กรณีใช้จ่าย 40,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 10,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 12,500 บาท
รายได้สุทธิ 2,000,000 - 5,000,000 บาท อัตราภาษี 30%
กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 3,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 6,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 9,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 40,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 12,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 15,000 บาท
รายได้สุทธิ 5,000,000 บาท : อัตราภาษี 35%
กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 3,500 บาท
กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 7,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 10,500 บาท
กรณีใช้จ่าย 40,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 14,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 17,500 บาท
โดยผู้มีรายได้ที่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี เมื่อนำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มายื่นลดหย่อนภาษีแล้ว หากมีภาษีที่ชำระไว้เกิน ทางกรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินภาษีให้ผ่านระบบพร้อมเพย์
สรุป...เริ่มเมื่อไหร่ ใครมีสิทธิ์บ้าง
เบื้องต้นสำหรับโครงการ e-Refund จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 - วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 รวมเป็นเวลาทั้งหมด 45 วัน โดยประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการตามส่วนที่จ่ายจริงไปไปหักลดหย่อยภาษี รวมไม่เกิน 50,000 บาท โดยการซื้อสินค้าและบริการที่จะสามารถ E-Refund ได้ จะต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
ทั้งนี้ ทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องต้องเสียภาษีสามารถใช้สิทธิ์ได้ทุกคน รวมถึงกลุ่มมนุษย์เงินเดือนก็สามารถซื้อสินค้าและบริการมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท ที่มีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ซึ่งนำไปยื่นลดหย่อนภาษีได้ในช่วงปี พ.ศ.2568
แต่อย่างไรก็ตาม ยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ดังนั้น ผู้ที่สนใจต้องรอดูต่อไปว่านโยบาย e-Refund จะมีเงื่อนไขอะไรออกมาเพิ่มเติมอีกบ้างหรือไม่
เรื่องราวโดย Bangkokbiznews
เจาะลึก! โครงการ e-Refund และเงื่อนไขการซื้อสินค้าเพื่อ 'ลดหย่อนภาษี'
- ต้องเป็นผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 70,000 บาท
- ต้องมีเงินฝากน้อยกว่า 500,000 บาท
ดังนั้น กรณีผู้มีรายได้น้อยกว่า 70,000 บาท แต่มีเงินฝากเกิน 500,000 บาท ก็จะไม่สามารถเข้าร่วมสิทธิเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้ หรือมีรายได้มากกว่า 70,000 บาท แต่มีเงินฝากในธนาคารน้อยกว่า 500,000 บาท ก็ไม่สามารถเข้าร่วมสิทธิได้เช่นกัน
แต่ใช่ว่าผู้ที่ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะไม่ได้รับสิทธิอะไรเลย เพราะรัฐได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นมาช่วย กับโครงการ e-Refund ซื้อสินค้านำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท โดยจะมีเงื่อนไขเป็นอย่างไร ใครบ้างที่สามารถช้อปสินค้าและบริการแล้วนำมาลดหย่อนได้บ้าง ไปศึกษาพร้อมกัน ดังนี้
ทำความรู้จัก “e-Refund” คืออะไร
e-Refund หรือการขอคืนภาษี เป็นสิทธิที่ผู้เสียภาษีสามารถทำได้ หากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายระหว่างปีมากกว่ามูลค่าภาษีที่ตัวเองต้องจ่ายจริง โดยเมื่อมีการคำนวณภาษีและพบว่ามีภาษีที่ได้จ่ายไว้เกิน และต้องการขอคืนภาษี หลังจากยื่นภาษีไปแล้ว กรมสรรพากรก็จะพิจารณาตามเงื่อนไข และคืนเงินภาษีบางส่วนที่เกินกว่าที่จ่ายจริงกลับมาให้ผู้มีรายได้
ทั้งนี้ สามารถเช็กได้ว่าผู้มีรายได้มีภาษีที่สามารถขอคืนได้เท่าไหร่ โดยวิธีการคือหลังจากที่ยื่นภาษี ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ตามประเภทรายได้ที่ได้รับ ผ่านเว็บของกรมสรรพากร ซึ่งจะสามารถยื่นภาษีประจำปีได้ช่วงประมาณเดือนมกราคม – เมษายน ของทุกปีแล้ว
โดยขั้นตอนสุดท้ายของการยื่นภาษีจะมีข้อความว่าสามารถขอคืนได้เท่าไหร่ในช่องของ “ยอดภาษีสุทธิชำระไว้เกิน” ก็จะทำให้ทราบภาษีที่จ่ายไว้เกินได้ จากนั้นหน้าเว็บไซต์จะถามว่า “ต้องการขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกิน” และหากต้องการขอคืนก็กดตกลงได้เลย
ทำความเข้าใจ "โครงการ e-Refund"
สำหรับ “โครงการ e-Refund” หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ โครงการ Easy e-receipt แต่เรียกกันคุ้นหูว่า e-Refund นั้น เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงต้นปี และเพื่อรองรับสำหรับผู้ที่มีรายได้เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี รวมถึงกลุ่มคนที่มีรายได้สูงที่มีอยู่ถึง 20% ที่ไม่ได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ก็จะสามารถเข้าร่วมโครงการ e-Refund นี้ได้
โดยโครงการ e-Refund ผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการสูงสุด 50,000 บาท มาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามเกณฑ์รายได้สูงสุดที่อัตรา 35% หากใช้สิทธิลดหย่อน 50,000 บาท จะได้เงินคืนภาษีสูงสุดถึง 17,500 บาท/คน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่อัตรา 20% คือ 10,000 บาท/คน
คุณสมบัติและเงื่อนไข E-Refund ซื้อสินค้าและบริการเพื่อใช้ลดหย่อนภาษี
เนื่องจากโครงการ e-Refund เป็นโครงการของรัฐบาลที่กระตุ้นเศรษฐกิจ สนับสนุนช่วยเหลือประชาชน และร้านค้าที่เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) ดังนั้น เงื่อนไขและคุณสมบัติสำหรับโครงการ e-Refund หลักๆ จึงประกอบด้วย ดังนี้
- ผู้สามารถใช้สิทธิ์โครงการ e-Refund คือผู้มีรายได้ที่ถึงเกณฑ์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกคน
- รองรับผู้ที่มีรายได้ทั้งที่เกินและไม่เกิน 70,000 บาท
- มีเงินฝากในบัญชีเกิน 500,000 บาท
- ผู้ที่รับเงินโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ e-Refund เพื่อลดหย่อนภาษีได้
- ซื้อสินค้าจากร้านค้าที่อยู่ในฐานระบบภาษี ที่สามารถออกใบกำกับภาษีในรูปอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
- นำใบกำกับภาษีจากการซื้อสินค้าและบริการ มูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท มาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หลักการคำนวณลดหย่อนภาษี "โครงการ e-Refund"
หลักการคำนวณลดหย่อนภาษีสำหรับ “โครงการ E-Refund” นี้ ผู้ที่ซื้อสินค้าและบริการมูลค่า 50,000 บาท จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามเกณฑ์รายได้สูงสุดอัตรา 35%
กล่าวคือหากใช้สิทธิลดหย่อนเต็มจำนวน 50,000 บาท อัตราภาษีที่ต้องเสีย 35% จะได้คืนภาษีสูงสุดถึง 17,500 บาท/คน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่อัตรา 20% คือ 10,000 บาท/คน อัตราภาษีต่ำสุดที่ 5% จะได้เงินคืนภาษีสูงสุด 2,500 บาท
หรือหากใช้สิทธิลดหย่อนแค่ 10,000 บาท อัตราภาษีที่ต้องเสียอยู่ที่ 35% ก็จะได้คืนภาษี 3,500 บาท อัตราภาษีต่ำสุดที่ 5% จะได้เงินคืน 500 บาท ดังนี้
รายได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท
ได้รับยกเว้นภาษี
รายได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาท : อัตราภาษี 5%
กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 500 บาท
กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 1,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 1,500 บาท
กรณีใช้จ่าย 40,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 2,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 2,500 บาท
รายได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท : อัตราภาษี 10%
กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 1,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 2,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 3,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 40,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 4,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 5,000 บาท
รายได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท บาท : อัตราภาษี 15%
กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 1,500 บาท
กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 3,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 4,500 บาท
กรณีใช้จ่าย 40,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 6,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 7,500 บาท
รายได้สุทธิ 750,001 – 1 ล้านบาท : อัตราภาษี 20%
กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 2,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 4,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 6,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 40,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 8,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 10,000 บาท
รายได้สุทธิ 1,000,000 - 2,000,000 บาท : อัตราภาษี 25%
กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 2,500 บาท
กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 5,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 7,500 บาท
กรณีใช้จ่าย 40,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 10,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 12,500 บาท
รายได้สุทธิ 2,000,000 - 5,000,000 บาท อัตราภาษี 30%
กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 3,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 6,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 9,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 40,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 12,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 15,000 บาท
รายได้สุทธิ 5,000,000 บาท : อัตราภาษี 35%
กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 3,500 บาท
กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 7,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 10,500 บาท
กรณีใช้จ่าย 40,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 14,000 บาท
กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 17,500 บาท
โดยผู้มีรายได้ที่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี เมื่อนำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มายื่นลดหย่อนภาษีแล้ว หากมีภาษีที่ชำระไว้เกิน ทางกรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินภาษีให้ผ่านระบบพร้อมเพย์
สรุป...เริ่มเมื่อไหร่ ใครมีสิทธิ์บ้าง
เบื้องต้นสำหรับโครงการ e-Refund จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 - วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 รวมเป็นเวลาทั้งหมด 45 วัน โดยประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการตามส่วนที่จ่ายจริงไปไปหักลดหย่อยภาษี รวมไม่เกิน 50,000 บาท โดยการซื้อสินค้าและบริการที่จะสามารถ E-Refund ได้ จะต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
ทั้งนี้ ทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องต้องเสียภาษีสามารถใช้สิทธิ์ได้ทุกคน รวมถึงกลุ่มมนุษย์เงินเดือนก็สามารถซื้อสินค้าและบริการมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท ที่มีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ซึ่งนำไปยื่นลดหย่อนภาษีได้ในช่วงปี พ.ศ.2568
แต่อย่างไรก็ตาม ยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ดังนั้น ผู้ที่สนใจต้องรอดูต่อไปว่านโยบาย e-Refund จะมีเงื่อนไขอะไรออกมาเพิ่มเติมอีกบ้างหรือไม่
เรื่องราวโดย Bangkokbiznews