JJNY : 5in1 พิธาวิเคราะห์│โรมคุยผบ.ทบ.ชื่นมื่น│อ.ปริญญาชี้ช่องถอนพิษ│ก้าวไกลพร้อมหนุนสมรสเท่าเทียม│จับฮามาสเตรียมโจมตี

พิธา วิเคราะห์ 100 วัน รัฐบาลเศรษฐา แผนงานไม่ชัด ชี้โจทย์หินปีหน้า แก้เศรษฐกิจ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8010661
 
 
“พิธา” ยก 5 กรอบคิด วิเคราะห์ 100 วันแรก “รัฐบาลเศรษฐา” แผนงานไม่ชัดเจน แนะ ไม่ควรเปลี่ยนตัวนายกฯ ตอนนี้ ชี้โจทย์หินปีหน้า แก้เศรษฐกิจ
 
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 15 ธ.ค. 2566 ที่พรรคก้าวไกล นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคก้าวไกล แถลงวิเคราะห์การดำเนินงาน 100 วันแรกของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ว่า ยังประเมินเป็นเกรดไม่ได้ ทำได้อย่างมากแค่การวิเคราะห์ เพราะไม่มีโรดแมปออกมาว่ารัฐบาลจะทำอะไรที่ชัดเจน
 
นายพิธา กล่าวต่อว่า แต่มีหลายเรื่องที่เห็นว่าทำได้ดีเช่นกัน เช่น การช่วยเหลือแรงงานไทยและตัวประกันในอิสราเอล การดูแลเอสเอ็มอี จึงถือว่าการทำงานของรัฐบาลผ่านบ้าง ไม่ผ่านบ้าง บางเรื่องทำได้ดีแล้วก็ขอให้ทำต่อ บางเรื่องที่ทำแล้วยังมีข้อที่จะต้องพัฒนาและปรับปรุงก็หวังว่ารัฐบาลจะรับฟังในการทำงานของฝ่ายค้านอย่างสร้างสรรค์ และฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชน
 
นายพิธา กล่าวว่า ในเชิงของรัฐศาสตร์นั้น 100 วันแรกเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก การเมืองไม่มีเวลาฮันนีมูน การวิเคราะห์แบ่งเป็น 3 ประการ ประการที่ 1 การแสดงถึงความมุ่งมั่นในการรักษาสัญญาที่ให้กับประชาชนก่อนมาเป็นรัฐบาล
 
ประการที่ 2 โรดแมป 100 วันแรกในการตามงานหรือสั่งงาน และประการที่ 3 การบริหารความคาดหวังความเชื่อมั่นนักลงทุนจากต่างประเทศ แต่ก็เข้าใจว่ามีข้อจำกัดเรื่องเวลาและงบประมาณแผ่นดิน
 
นายพิธา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ผลงานรัฐบาลเศรษฐา ประกอบด้วย 5 กรอบ คือ 
 
1. คิดดี ทำได้ การช่วยเหลือตัวประกันชาวไทยในอิสราเอล การจัดหาวัคซีน HPV ถือว่ารัฐบาลทำได้ดี รวมถึงการแก้ปัญหาหนี้ในระบบและนอกระบบ
 
2. คิดไป ทำไป มีการปรับเปลี่ยนไปมา ไม่ว่าจะเป็นที่มาของเงิน เทคโนโลยีที่ใช้ และผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต การจ่ายเงินเดือนข้าราชการ รวมถึงเรื่องโครงการแลนด์บริดจ์
 
การที่รัฐบาลไม่คิดอย่างรอบคอบและเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ทำให้เกิดความสับสนในสังคมและในกลุ่มของตลาดทุนด้วย สิ่งที่คาดหวังจากรัฐบาล คือ ต้องมีแผน 2 หากจะเอาดิจิทัลวอลเล็ต ไม่ควรปรับเปลี่ยนอีกแล้ว แต่หากจะไม่เอาดิจิทัลวอลเล็ต ก็จะต้อง มีความชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะกลางและระยะยาว” นายพิธา กล่าว
 
3. คิดสั้น ไม่คิดยาว เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าไฟ ค่าพลังงาน ค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย มีแต่มาตรการระยะสั้น และยังไม่เห็นมาตรการการแก้ปัญหาที่ต้นตอ
 
4. คิดใหญ่ ทำเล็ก การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์พาวเดอร์ หรือการบริหารการท่องเที่ยวผ่านวีซ่าฟรี และการลดความเหลื่อมล้ำให้กับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นที่ดินสปก. และค่าแรง
 
นายพิธา กล่าวต่อว่า เราเห็นนายกฯ มีการสั่งการ เมื่อไม่ได้ตัวเลขที่ควรจะเป็นหรือไม่ใช่ตัวเลขที่ได้สัญญาไว้กับพี่น้องประชาชน สิ่งที่รัฐบาลทำเป็นเรื่องที่ดี และมีความคล้ายคลึงกับนโยบายที่ก้าวไกลเคยเสนอไว้ เช่น คณะกรรมการซอฟต์พาวเดอร์ การเคาะงบประมาณ 5 พันล้านบาท สนับสนุน 11 อุตสาหกรรม หรือการทำเฟสติวัล Winter festival และสงกรานต์ตลอดเดือน เม.ย.
 
แต่อยากเห็นการเสนอแก้กฎหมาย เช่น พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพิ่มเสรีภาพในการสร้างสรรค์ผลงาน หรือการแก้กฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ เพื่อลดขั้นตอนขออนุญาตกองถ่ายหรือจัดเฟสติวัล หรือการสนับสนุนการรวมตัวของแรงงานฟรีแลนซ์ รวมถึงการแก้กฎกระทรวงสุราก้าวหน้า
 
5. คิดอย่าง ทำอย่าง เช่น ร่างรัฐธรรมนูญ การทำประชามติ ซึ่งไม่ชัดเจนว่าที่มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) จะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดหรือไม่ การปฏิรูปกองทัพ ทั้งนี้ ค่อนข้างชัดเจนตั้งแต่สภาฯ สมัยที่แล้ว ในการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยมีความคิดที่เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับพรรคก้าวไกล แต่การกระทำตอนนี้ค่อนข้างตรงข้ามกับสิ่งที่เคยคิดไว้
 
นายพิธา กล่าวว่า สำหรับความคาดหวังเรื่องการทำงานของรัฐบาลในปีหน้า รัฐบาลควรมี Strategic Roadmap ที่ชัดเจน ต้องการเห็นแผนการทำงานของรัฐบาล 1 ปี ต้องทำงานอย่างเป็นมืออาชีพมากว่านี้ และในฐานะรัฐบาลผสมก็ต้องทำงานให้มีเอกภาพมากกว่านี้ ควรศึกษารายละเอียดของโครงการที่จะทำให้ดีก่อนที่จะประกาศออกไป ต้องเป็นแผนที่ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถติดตามกับการทำงานของรัฐบาลได้ และมี KPI ที่ชัดเจน
 
เมื่อถามถึงสถานการณ์การเมืองในปีหน้า มีการวิเคราะห์ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยมีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีจากนายเศรษฐา เป็นน.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และโครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะไม่เกิดขึ้นนั้น นายพิธา กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนทิศทางน่าจะเหมาะสมมากกว่าการหาทางลง เพราะประเทศไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่านี้
 
นายพิธา กล่าวต่อว่า แต่ขอให้ปรับเปลี่ยนทิศทาง มีเป้าหมายและมีความเป็นมืออาชีพ ก็จะทำให้สถานการณ์ต่างๆ ที่ดูเหมือนร้อนในปีหน้า จะเบาบางลงได้ การเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำในตอนนี้ ควรให้โอกาสนายกฯ ได้ทำงานก่อน

อยากเสนอแนะนายกฯ ว่า ไม่สามารถสั่งการลงไปแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทันที เพราะการบริหารราชการแผ่นดินไม่เหมือนกับเอกชน ที่จะต้องมีกระบวนการในการบริหารงาน และให้คนไปติดตามว่าสิ่งที่สั่งการนั้นเป็นไปได้ทางกฎหมายหรือไม่ ถ้าเป็นไปไม่ได้ก็จะต้องมีการปรับแก้อย่างไร” นายพิธา กล่าว
 
นายพิธา กล่าวว่า โจทย์หินของรัฐบาล คือ เรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในปีหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ GDP ที่ไม่แน่ใจว่าจะถึง 2% หรือไม่ เรื่องของดิจิทัลวอลเล็ตที่อยู่ในกฤษฎีกา เรื่องการท่องเที่ยวที่รายได้ไม่ถึง 4 แสนล้านบาทตามเป้าหมาย แม้จะมีคนมาท่องเที่ยว 27 ล้านคนก็ตาม
 
นายพิธา กล่าวต่อว่า การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนที่คาดไว้ในระดับ 60% ดังนั้น ฟรีวีซ่าตรงนี้ก็ไม่เพียงพอ คำตอบนี้ขึ้นอยู่กับการทำงานของรัฐบาล หากฟังประชาชนบ้าง เพื่อนนักการเมืองบ้างว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำงานแบบมีโรดแมป
 

 
โรม คุย ผบ.ทบ. ชื่นมื่น กองทัพรับปากเลิกทหารเกณฑ์ปี 71 จ่อตั้งเจ้ากรม นั่งกุนซือ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8010709

โรม คุย ผบ.ทบ. ครั้งแรกชื่นมื่น เห็นกองทัพกำลังปรับตัว กองทัพรับปากเลิกทหารเกณฑ์ปี 71 จ่อตั้ง เจ้ากรมยุทธการทหารบก นั่งที่ปรึกษาประธานกมธ.
 
เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2566 ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) นายรังสิมันต์ โรม ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร แถลงภายหลังนำคณะเข้าหารือครั้งแรก กับพล.อ.เจริญชัย หินเธาว์ ผบ.ทบ.

นายรังสิมันต์ กล่าวว่า บรรยากาศเป็นไปด้วยดี กมธ.ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก วันนี้ทิศทางของกองทัพดีมาก ต้องชื่นชม ขณะที่ผบ.ทบ.ยืนยันว่ากองทัพบกปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
 
ทั้งนี้ มีข้อตกลงในที่ประชุมว่า จะตั้ง พล.ท.พงศกร รอดชมภู ที่ปรึกษากมธ. เป็นส่วนหนึ่งในการให้ข้อมูลกับกองทัพที่เป็นประโยชน์ ยืนยันว่าไม่ได้ส่งมาเป็นตัวประกัน เช่นเดียวกับมีแนวคิดตั้ง พล.ท.ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์ เจ้ากรมยุทธการทหารบก เป็นประธานที่ปรึกษากมธ. ที่จะทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ต่อไป
 
นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ได้มีการหารือเรื่องการเกณฑ์ทหาร โดยกองทัพชี้แจงว่า ภายในปี 2571 ตั้งเป้าจะรับสมัครทหาร 100% ซึ่งปัจจุบันทำได้อยู่ที่ 40% และในปีหน้า ตั้งเป้าให้มีผู้สมัครเป็นทหาร 50-60% ถือเป็นสัญญาณบวก แสดงให้เห็นว่ากองทัพ มีทหารสมัครเข้ามา ส่วนทหารเกณฑ์จะถูกใช้เฉพาะในยามสงคราม ซึ่งกมธ.ได้เสนอแนะเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต โดยอาจพิจารณากฎหมายต่างๆ ให้มั่นใจว่านโยบายนี้จะถูกใช้ต่อไป
 
นอกจากนี้ได้หารือถึงปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการตั้งด่านความมั่นคง กมธ.แนะนำว่า อยากให้ปรับลดด่านลง แต่ก็เข้าใจเรื่องความมั่นคง ถ้าลดมาบางส่วน จะเป็นนิมิตรหมายที่ดี ทำให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการใช้กฎหมายสำคัญหลายฉบับ มีทิศทางที่ผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อส่งมอบให้พลเรือนดูแลต่อในอนาคต
 
ทั้งนี้ ตนได้หารือถึงน้ำมันสวัสดิการที่หายไป ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า อยู่ในกระบวนการสรุป ในอนาคตก็อยากให้ติดตามว่าผลจะเป็นอย่างไร เท่าที่พูดคุยกับ ผบ.ทบ. ทิศทางเป็นไปด้วยดี รวมถึงพูดคุยถึงเหตุการณ์ เรื่องบ้านพักสวัสดิการ ที่เป็นต้นตอนำไปสู่เรื่องที่สังคมไม่อยากให้เกิดขึ้น ซึ่งได้รับคำยืนยันว่าจะมีการลงโทษต่างๆ กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องทุจริต
 
วันนี้เราได้ฟังข้อมูลจากกองทัพ คิดว่าเป็นประโยชน์ ขอขอบคุณทหารทุกท่าน แม้เวลาพูดคุยของเราอาจจะสั้น แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ทำให้กมธ.และกองทัพ ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ต่อไป” นายรังสิมันต์ กล่าว


 
อ.ปริญญา ชี้ช่องถอนพิษรัฐประหาร แนะ นำคดีคณะปฏิวัติที่รธน.ไม่รองรับ ขึ้นศาล
https://www.khaosod.co.th/politics/news_8010126

กมธ.พัฒนาการเมืองฯ หาช่องป้องกันรัฐประหาร “อ.ปริญญา” แนะ ออกกฎหมายเลิกคำสั่งคณะปฏิวัติ ที่รธน.60ไม่รองรับ ชี้ช่องให้นำคดีปว.ขึ้นศาล สร้างบรรทัดฐานใหม่
 
เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา ว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นประธานคณะกรรมาธิการ เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา ได้พิจารณาศึกษาแนวทางป้องกันการรัฐประหารที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
 
โดยเชิญ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ ในฐานะผู้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวทางป้องกันการรัฐประหารเข้าชี้แจง

นายปริญญา นำเสนอผลงานวิจัยตอนหนึ่งว่า ต้องถอนพิษรัฐประหาร ผ่านการรวบรวมคำสั่ง หรือประกาศจากคณะปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามี 62 ฉบับที่ไม่ถูกรับรองตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ดังนั้น สามารถรวบรวมและเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ต่อสภาฯ เพื่อยกเลิกทั้งหมด
 
นายปริญญา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ มีตัวอย่างจากการประกาศคณะปฏิวัติ เมื่อปี 2519 ที่แก้ไขโทษประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งถูกแก้ไขในเรื่องโทษโดยคณะปฏิวัติ 2519 จากเดิมกำหนดโทษจำคุกสูงสุด 7 ปี แต่ไม่กำหนดขั้นต่ำ ซึ่งศาลสามารถพิพากษาโทษขั้นต่ำได้ 1 สัปดาห์ เป็นต้น
 
นายปริญญา กล่าวว่า เหตุผลที่ต้องเพิ่มโทษดังกล่าว เพราะเป็นการใช้ข้อมูลที่บิดเบือนจากการทำกิจกรรมของนักศึกษาเมื่อ 6 ต.ค.19 ที่ถูกมองว่าพาดพิงสถาบันเบื้องสูง ทั้งที่ข้อเท็จจริงไม่เป็นเช่นนั้น
 
ดังนั้น กรณีดังกล่าวการใช้อำนาจของคณะปฏิวัติจึงเป็นการกระทำข้างเดียว ไม่ผ่านการรับฟังความเห็นใดๆ และมาจากการบิดเบือน หากแก้ไขดังกล่าวจะทำให้คืนบทลงโทษเป็นเหมือนเดิมคือ จำคุกสูงสุด 7 ปี ไม่มีกำหนดขั้นต่ำ ซึ่งอยู่ที่ศาลจะพิจารณา
 
นายปริญญา กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัยพบว่าบรรดาคำสั่งหรือประกาศของคณะปฏิวัติรัฐประหาร ตั้งแต่ปี 2514, 2519, 2520, 2534 และ 2549 ไม่ถูกรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 2560 เพราะมาตรา 279 ที่รับรองการกระทำของคสช.นั้น คุ้มครองเฉพาะที่เกิดขึ้นในปี 2557 เท่านั้น แต่ไม่ครอบคลุมย้อนหลัง ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องทำให้ศาลเปลี่ยนบรรทัดฐาน และต้องทำก่อนจะเกิดการรัฐประหารครั้งถัดไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่