สื่อไต้หวันตีข่าว นทท.มาไทย ถูกปฏิเสธการรักษาหลังโดนรถชน จนเสียชีวิตระหว่างส่งตัว
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4326570
สื่อไต้หวันตีข่าว นทท.มาไทย ถูกปฏิเสธการรักษาหลังโดนรถชน จนเสียชีวิตระหว่างส่งตัว
กลายเป็นข่าวกระฉ่อนไปทั่วไต้หวันแล้ว สำหรับข่าวนักท่องเที่ยวไต้หวัน ที่ถูกรถชน ขณะมาเที่ยวที่ไทย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลใกล้ๆ แต่กลับถูกปฏิเสธการรักษา โดยอ้างว่า เนื่องจากเป็นชาวต่างชาติ ทำให้ไม่รู้ว่าจะเบิกอย่างไร กระทั่งเสียชีวิตในที่สุด (อ่านข่าว
ต่างชาติถูกชนโคม่า กู้ภัยหามส่งรพ.เอกชนอยู่ใกล้ เจอไล่ไปรพ.รัฐ ลั่นไม่คิดเหรอจะเบิกยังไง)
ล่าสุด สื่อของไต้หวัน 2 แห่ง คือ
tvbs และ
udn ได้รายงานข่าวดังกล่าว โดยระบุว่า นักท่องเที่ยวที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุดังกล่าวเป็นชาวไต้หวัน ที่เดินทางมาเที่ยวที่ประเทศไทย พร้อมกับกรุ๊ปทัวร์ เป็นชาย ระบุเพียง แซ่เฉิน ประสบอุบัติเหตุถูกรถชน ขณะเที่ยวอยู่ที่กรุงเทพฯ
รายงานระบุว่า หลังประสบอุบัติเหตุ รถพยาบาลได้มาถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็ว และรับตัวผู้บาดเจ็บไปส่งโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ที่อยู่ห่างออกไปราว 500 เมตรเท่านั้น แต่กลับถูกโรงพยาบาลปฏิเสธการรักษา ทำให้เจ้าหน้าที่ของรถพยาบาลไม่มีทางเลือก ต้องรีบพาคนเจ็บไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนที่อยู่ห่างออกไป 10 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ผู้บาดเจ็บทนพิษบาดแผลไม่ไหว และเสียชีวิตระหว่างการเดินทางไปโรงพยาบาลในที่สุด
สื่อไต้หวันรายงานด้วยว่า ประเทศไทย มีสิทธิการรักษาตามนโยบายของรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤต ซึ่งทางโรงพยาบาลห้ามปฏิเสธการรักษา มิเช่นนั้นจะต้องถูกปรับเงินจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม รายงานอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่บางคน ระบุว่า โรงพยาบาลเอกชนท้องถิ่นบางแห่ง อาจจะไม่รับผู้ป่วยในเคสเหล่านี้ เนื่องจากขนาดของโรงพยาบาล หรืออุปสรรคด้านภาษา หรือเป็นห่วงว่า จะเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ลำบาก
ข่าวระบุว่า สำนักงานท่องเที่ยวของไต้หวัน แจ้งว่า นักท่องเที่ยวที่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตคนนี้ แซ่เฉิน อยู่ระหว่างการเที่ยวกรุงเทพฯ กับกรุ๊ปทัวร์ ที่มีทั้งหมด 19 คน รวมทั้งหัวหน้าทัวร์ด้วย และในวันที่ 7 ธ.ค.นาย
เฉิน ได้แจ้งกับหัวหน้าทัวร์ว่า เขาจะขอออกไปเที่ยวคนเดียว ก่อนที่ทางหัวหน้าทัวร์จะมารู้ว่าเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับนายเฉิน
ขณะที่ udn รายงานว่า กระทรวงต่างประเทศไต้หวัน ได้แจ้งไปยังผู้แทนไต้หวันในประเทศไทย ให้ตรวจสอบเรื่องที่เกิดขึ้น พร้อมกับแสดงความห่วงกังวล ไปยังสำนักงานด้านการค้าและเศรษฐกิจของไทย ในไต้หวัน และขอให้รัฐบาลไทยดูแลเรื่องที่เกิดขึ้นด้วย
สส.ก้าวไกล อัด รัฐบาลขึ้นค่าแรงขั้นต่ำน้อย แถมห่างจากเป้าที่หาเสียงไว้
https://www.thairath.co.th/news/politic/2747205
“สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล” แนะ นายกฯ 3 ข้อ ชี้แค่แสดงออกความไม่พอใจคงไม่เพียงพอ ควรเร่งพูดคุยคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อปรับค่าแรงอีกครั้ง ซัด ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบนี้ห่างเป้าที่นายกฯ หาเสียงไว้ แถมไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ
วันที่ 11 ธันวาคม 2566 นาย
สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ ทีมเศรษฐกิจพรรคก้าวไกล กล่าวถึงมติคณะกรรมการค่าจ้างที่เห็นชอบให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราตั้งแต่วันละ 2-16 บาท คิดเป็นอัตราเฉลี่ยที่ 2.37% โดยบางจังหวัดปรับขึ้นเพียง 2 บาท หรือคิดเป็น 0.6% เท่านั้น ส่งผลให้ค่าแรงขั้นต่ำเป็น 330-370 บาท ต่ำกว่าที่รัฐบาลเคยตั้งเป้าไว้ที่ 400 บาท
นาย
สิทธิพล กล่าวว่า นโยบายค่าแรงขั้นต่ำมีนัยสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย อย่างน้อย 3 มิติ มิติที่หนึ่ง ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ การขึ้นค่าแรง โดยเฉพาะสำหรับแรงงานที่หาเลี้ยงชีพด้วยค่าแรงขั้นต่ำ มีบทบาทสูงต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ
การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำน้อย ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ ย่อมส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ค่าแรงที่ปรับ ณ ขณะนี้ไม่สอดคล้องกับการปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ค่าครองชีพ โดยประเทศไทยมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2555-2565) อยู่ระหว่าง 28-54 บาท คิดเป็นอัตราเติบโตเพียงปีละ 0.93%-1.8% เท่านั้น
ค่าจ้างขั้นต่ำที่ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ ย่อมกระทบการเติบโตของเศรษฐกิจมหภาค เพราะขาดหัวจักรสำคัญคือการจับจ่ายของภาคแรงงานซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ในประเทศ
มิติที่สอง ต่อมาตรฐานการดำรงชีพของแรงงาน อัตราค่าแรงที่เพิ่มขึ้น 0.6%-4.5% สวนทางกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าจำเป็นหรือสินค้าพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของแรงงานกลุ่มนี้ อย่างอาหาร เช่น จากข้อมูลราคาไข่ หรือนมปีนี้ (ม.ค.-พ.ย. 2566) ปรับเพิ่มขึ้นถึง 7.54% หรือผักสดที่สูงขึ้น 8.25% สินค้ากลุ่มนี้คือค่าใช้จ่ายหลักของพี่น้องแรงงาน จะเห็นว่าสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มในระดับสูงมาก
ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต้องไม่ใช่เพื่อให้แรงงาน 1 คนอยู่รอดได้เท่านั้น แต่ควรอยู่รอดได้อย่างมีศักดิ์ศรี มั่นคงเพียงพอทั้งต่อตัวแรงงานเอง และครอบครัว
นอกจากนี้การสวนทางของค่าจ้างกับการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพ หรือสินค้าจำเป็น คือสาเหตุสำคัญของหนี้นอกระบบ ที่สุดท้ายกระทบความมั่นคงของแรงงานในระยะยาว และรัฐต้องไปแก้ไขอยู่ดี
มิติที่สาม การขึ้นค่าแรงที่น้อยในรอบนี้ยิ่งทำให้ห่างจากเป้าหมายของรัฐ หรือที่ท่านนายกรัฐมนตรีหาเสียงไว้ คือ ค่าแรงทั่วประเทศ 600 บาท ในปี 2570
ในอนาคต หากนายกฯ ยังยืนยันนโยบายขึ้นค่าแรงตามที่หาเสียง ย่อมต้องขึ้นค่าแรงแบบกระชากมากขึ้นเพื่อไปสู่เป้าหมาย จะยิ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยสูงขึ้น
นาย
สิทธิพล กล่าวต่อว่า ในกรณีนี้มีข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรี 3 ข้อ ข้อเสนอที่หนึ่ง ในฐานะนายกรัฐมนตรี การส่งสัญญาณว่าไม่พอใจต่ออัตราค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้นคงไม่เพียงพอ ท่านนายกฯ ควรเร่งรัดพูดคุยกับคณะกรรมการไตรภาคีอีกครั้ง เพื่อให้สามารถปรับค่าแรงได้จริง
ทั้งนี้หากอ้างอิงตามที่ รมว.แรงงาน ชี้แจง ที่ระบุว่า ในการพิจารณาปรับขึ้นของมติไตรภาคีนั้นต้องปฏิบัติตาม ILO (International Labour Organization) อยากเรียนท่านนายกฯ และ รมว.แรงงาน ว่าแนวคิดการปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทยในขณะนี้ยังตามแนวคิดสากลไม่ทันด้วยซ้ำ ปัจจุบันไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฉบับที่ 131 ที่ในมาตรา 3 ของอนุสัญญาฉบับดังกล่าว ระบุให้การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ต้องพิจารณาทั้งปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ความต้องการของแรงงาน และครอบครัวควบคู่ ดังนั้นจึงอยากให้ท่านนายกฯ เน้นย้ำให้ไตรภาคีทบทวนอีกครั้งถึงประเด็นทางเศรษฐกิจอื่นด้วย
ข้อเสนอที่สอง ผลกระทบของการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำต่อภาคธุรกิจ รัฐสามารถเตรียมนโยบายรองรับผลกระทบต่อ SMEs และภาคเอกชน เช่น การพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีนิติบุคคล การพิจารณาประเด็นสมทบค่าประกันสังคมให้กับผู้ประกอบการ การช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถนำค่าใช้จ่ายในส่วนค่าแรงที่เพิ่มมาหักค่าใช้จ่ายในการชำระภาษีได้ ดังนั้นประเด็นสำคัญอีกด้าน คือรัฐต้องออกนโยบายเยียวยาผลกระทบ เพื่อคลายความกังวลให้เอกชนไปพร้อมกัน
ข้อเสนอที่สาม การเพิ่มผลิตภาพ และทักษะให้แรงงานในระยะยาว เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ภาคธุรกิจและเศรษฐกิจ และบรรเทาผลกระทบของค่าแรงที่สูงขึ้น รัฐต้องมีนโยบายพัฒนาฝีมือแรงงาน พัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต ปัจจุบันแรงงานไทยส่วนใหญ่ยังมีทักษะต่ำ สัดส่วนสูงถึง 62% ของแรงงานทั้งหมด (จากข้อมูลสำรวจภาวะการทำงานของประชากรปี 2558-2565 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน และการคำนวณของ ธปท.)
ขณะเดียวกันรัฐควรมีนโยบายสนับสนุนภาคธุรกิจให้ปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยี ลงทุนเครื่องจักรมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไปพร้อมๆ กันผ่านมาตรการจูงใจ เช่น มาตรการหักรายจ่ายเพื่อลงทุนในเครื่องจักรได้เพิ่มขึ้น มีวงเงินสนับสนุนการวิจัย และพัฒนา เป็นต้น
“
พรรคก้าวไกล ขอเรียกร้องให้ท่านนายกรัฐมนตรีเอาจริงเอาจัง และให้ความสำคัญกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อดูแลสวัสดิภาพของพี่น้องแรงงานไทย” นาย
สิทธิพล ระบุ.
บาทอ่อนค่าหนัก หลังตลาดคาดเฟดลดดอกช้าลง หนุนดอลล์แข็งค่าขึ้น แนะผู้ประกอบการป้องเสี่ยง
https://www.matichon.co.th/economy/news_4326494
บาทอ่อนค่าหนัก หลังตลาดคาดเฟดลดดอกช้าลง หนุนดอลล์แข็งค่าขึ้น แนะผู้ประกอบการป้องเสี่ยง
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม นาย
พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.71 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงหนักจากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 35.32 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 35.30-36.00 บาทต่อดอลลาร์ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.55-35.80 บาทต่อดอลลาร์
นาย
พูนกล่าวว่า โดยนับตั้งแต่ช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลงต่อเนื่อง (แกว่งตัวในกรอบ 35.30-35.80 บาทต่อดอลลาร์) หลังรายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ล่าสุด ออกมาดีกว่าคาด ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดต่างกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจไม่ได้ลดดอกเบี้ยลงเร็วอย่างที่ตลาดเคยประเมินไว้ก่อนหน้า ทำให้เงินดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากการพลิกกลับมาอ่อนค่าของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) หลังผู้เล่นในตลาดคลายกังวลแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในการประชุมเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ เงินบาทยังเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าเพิ่มเติมจากโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะปรับฐาน หลังราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่องสู่โซนแนวรับ ตามการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ
“
สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าต่อเนื่อง ตามการปรับตัวขึ้นของเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด ในสัปดาห์นี้ ควรระวังความผันผวน ในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุมบรรดาธนาคารกลางหลัก อาทิ เฟด ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ธนาคารอังกฤษ (BOE) และรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ จากฝั่งสหรัฐฯ ยุโรป รวมถึงจีน” นายพูนกล่าว
นาย
พูนกล่าวว่า สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท โมเมนตัมการอ่อนค่ายังคงอยู่ ทำให้เงินบาทอาจอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้าน 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ ต้องจับตาทิศทางราคาทองคำ เนื่องจาก โฟลว์ธุรกรรมทองคำยังคงส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทได้พอสมควร โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ราคาทองคำได้ย่อตัวลงใกล้โซนแนวรับ นอกจากนี้ ค่าเงินหยวนจีนก็อาจส่งผลต่อทิศทางสกุลเงินเอเชียได้ ซึ่งจะขึ้นกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีนว่าจะสะท้อนภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ดีขึ้นหรือไม่
ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เรามองว่า เงินดอลลาร์มีโอกาสกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดหรือเฟดส่งสัญญาณพร้อมคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานกว่าที่ตลาดกำลังคาดการณ์อยู่ อนึ่ง หากเฟดเซอร์ไพรส์ตลาดด้วยการขึ้นดอกเบี้ย ก็อาจทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเร็วและแรง
“
ตลาดการเงินยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง แนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และการเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) บริหารความเสี่ยง ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง“ นายพูนกล่าวว่า
JJNY : ตีข่าวนทท.ถูกปฏิเสธหลังโดนรถชน จนเสียชีวิต│สส.ก้าวไกลอัดขึ้นค่าแรงน้อย│บาทอ่อนค่าหนัก│ทูตประเมิน จะยังไม่หยุดยิง
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4326570
สื่อไต้หวันตีข่าว นทท.มาไทย ถูกปฏิเสธการรักษาหลังโดนรถชน จนเสียชีวิตระหว่างส่งตัว
กลายเป็นข่าวกระฉ่อนไปทั่วไต้หวันแล้ว สำหรับข่าวนักท่องเที่ยวไต้หวัน ที่ถูกรถชน ขณะมาเที่ยวที่ไทย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลใกล้ๆ แต่กลับถูกปฏิเสธการรักษา โดยอ้างว่า เนื่องจากเป็นชาวต่างชาติ ทำให้ไม่รู้ว่าจะเบิกอย่างไร กระทั่งเสียชีวิตในที่สุด (อ่านข่าว ต่างชาติถูกชนโคม่า กู้ภัยหามส่งรพ.เอกชนอยู่ใกล้ เจอไล่ไปรพ.รัฐ ลั่นไม่คิดเหรอจะเบิกยังไง)
ล่าสุด สื่อของไต้หวัน 2 แห่ง คือ tvbs และ udn ได้รายงานข่าวดังกล่าว โดยระบุว่า นักท่องเที่ยวที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุดังกล่าวเป็นชาวไต้หวัน ที่เดินทางมาเที่ยวที่ประเทศไทย พร้อมกับกรุ๊ปทัวร์ เป็นชาย ระบุเพียง แซ่เฉิน ประสบอุบัติเหตุถูกรถชน ขณะเที่ยวอยู่ที่กรุงเทพฯ
รายงานระบุว่า หลังประสบอุบัติเหตุ รถพยาบาลได้มาถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็ว และรับตัวผู้บาดเจ็บไปส่งโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ที่อยู่ห่างออกไปราว 500 เมตรเท่านั้น แต่กลับถูกโรงพยาบาลปฏิเสธการรักษา ทำให้เจ้าหน้าที่ของรถพยาบาลไม่มีทางเลือก ต้องรีบพาคนเจ็บไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนที่อยู่ห่างออกไป 10 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ผู้บาดเจ็บทนพิษบาดแผลไม่ไหว และเสียชีวิตระหว่างการเดินทางไปโรงพยาบาลในที่สุด
สื่อไต้หวันรายงานด้วยว่า ประเทศไทย มีสิทธิการรักษาตามนโยบายของรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤต ซึ่งทางโรงพยาบาลห้ามปฏิเสธการรักษา มิเช่นนั้นจะต้องถูกปรับเงินจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม รายงานอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่บางคน ระบุว่า โรงพยาบาลเอกชนท้องถิ่นบางแห่ง อาจจะไม่รับผู้ป่วยในเคสเหล่านี้ เนื่องจากขนาดของโรงพยาบาล หรืออุปสรรคด้านภาษา หรือเป็นห่วงว่า จะเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ลำบาก
ข่าวระบุว่า สำนักงานท่องเที่ยวของไต้หวัน แจ้งว่า นักท่องเที่ยวที่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตคนนี้ แซ่เฉิน อยู่ระหว่างการเที่ยวกรุงเทพฯ กับกรุ๊ปทัวร์ ที่มีทั้งหมด 19 คน รวมทั้งหัวหน้าทัวร์ด้วย และในวันที่ 7 ธ.ค.นายเฉิน ได้แจ้งกับหัวหน้าทัวร์ว่า เขาจะขอออกไปเที่ยวคนเดียว ก่อนที่ทางหัวหน้าทัวร์จะมารู้ว่าเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับนายเฉิน
ขณะที่ udn รายงานว่า กระทรวงต่างประเทศไต้หวัน ได้แจ้งไปยังผู้แทนไต้หวันในประเทศไทย ให้ตรวจสอบเรื่องที่เกิดขึ้น พร้อมกับแสดงความห่วงกังวล ไปยังสำนักงานด้านการค้าและเศรษฐกิจของไทย ในไต้หวัน และขอให้รัฐบาลไทยดูแลเรื่องที่เกิดขึ้นด้วย
สส.ก้าวไกล อัด รัฐบาลขึ้นค่าแรงขั้นต่ำน้อย แถมห่างจากเป้าที่หาเสียงไว้
https://www.thairath.co.th/news/politic/2747205
“สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล” แนะ นายกฯ 3 ข้อ ชี้แค่แสดงออกความไม่พอใจคงไม่เพียงพอ ควรเร่งพูดคุยคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อปรับค่าแรงอีกครั้ง ซัด ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบนี้ห่างเป้าที่นายกฯ หาเสียงไว้ แถมไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ
วันที่ 11 ธันวาคม 2566 นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ ทีมเศรษฐกิจพรรคก้าวไกล กล่าวถึงมติคณะกรรมการค่าจ้างที่เห็นชอบให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราตั้งแต่วันละ 2-16 บาท คิดเป็นอัตราเฉลี่ยที่ 2.37% โดยบางจังหวัดปรับขึ้นเพียง 2 บาท หรือคิดเป็น 0.6% เท่านั้น ส่งผลให้ค่าแรงขั้นต่ำเป็น 330-370 บาท ต่ำกว่าที่รัฐบาลเคยตั้งเป้าไว้ที่ 400 บาท
นายสิทธิพล กล่าวว่า นโยบายค่าแรงขั้นต่ำมีนัยสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย อย่างน้อย 3 มิติ มิติที่หนึ่ง ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ การขึ้นค่าแรง โดยเฉพาะสำหรับแรงงานที่หาเลี้ยงชีพด้วยค่าแรงขั้นต่ำ มีบทบาทสูงต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ
การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำน้อย ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ ย่อมส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ค่าแรงที่ปรับ ณ ขณะนี้ไม่สอดคล้องกับการปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ค่าครองชีพ โดยประเทศไทยมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2555-2565) อยู่ระหว่าง 28-54 บาท คิดเป็นอัตราเติบโตเพียงปีละ 0.93%-1.8% เท่านั้น
ค่าจ้างขั้นต่ำที่ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ ย่อมกระทบการเติบโตของเศรษฐกิจมหภาค เพราะขาดหัวจักรสำคัญคือการจับจ่ายของภาคแรงงานซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ในประเทศ
มิติที่สอง ต่อมาตรฐานการดำรงชีพของแรงงาน อัตราค่าแรงที่เพิ่มขึ้น 0.6%-4.5% สวนทางกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าจำเป็นหรือสินค้าพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของแรงงานกลุ่มนี้ อย่างอาหาร เช่น จากข้อมูลราคาไข่ หรือนมปีนี้ (ม.ค.-พ.ย. 2566) ปรับเพิ่มขึ้นถึง 7.54% หรือผักสดที่สูงขึ้น 8.25% สินค้ากลุ่มนี้คือค่าใช้จ่ายหลักของพี่น้องแรงงาน จะเห็นว่าสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มในระดับสูงมาก
ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต้องไม่ใช่เพื่อให้แรงงาน 1 คนอยู่รอดได้เท่านั้น แต่ควรอยู่รอดได้อย่างมีศักดิ์ศรี มั่นคงเพียงพอทั้งต่อตัวแรงงานเอง และครอบครัว
นอกจากนี้การสวนทางของค่าจ้างกับการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพ หรือสินค้าจำเป็น คือสาเหตุสำคัญของหนี้นอกระบบ ที่สุดท้ายกระทบความมั่นคงของแรงงานในระยะยาว และรัฐต้องไปแก้ไขอยู่ดี
มิติที่สาม การขึ้นค่าแรงที่น้อยในรอบนี้ยิ่งทำให้ห่างจากเป้าหมายของรัฐ หรือที่ท่านนายกรัฐมนตรีหาเสียงไว้ คือ ค่าแรงทั่วประเทศ 600 บาท ในปี 2570
ในอนาคต หากนายกฯ ยังยืนยันนโยบายขึ้นค่าแรงตามที่หาเสียง ย่อมต้องขึ้นค่าแรงแบบกระชากมากขึ้นเพื่อไปสู่เป้าหมาย จะยิ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยสูงขึ้น
นายสิทธิพล กล่าวต่อว่า ในกรณีนี้มีข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรี 3 ข้อ ข้อเสนอที่หนึ่ง ในฐานะนายกรัฐมนตรี การส่งสัญญาณว่าไม่พอใจต่ออัตราค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้นคงไม่เพียงพอ ท่านนายกฯ ควรเร่งรัดพูดคุยกับคณะกรรมการไตรภาคีอีกครั้ง เพื่อให้สามารถปรับค่าแรงได้จริง
ทั้งนี้หากอ้างอิงตามที่ รมว.แรงงาน ชี้แจง ที่ระบุว่า ในการพิจารณาปรับขึ้นของมติไตรภาคีนั้นต้องปฏิบัติตาม ILO (International Labour Organization) อยากเรียนท่านนายกฯ และ รมว.แรงงาน ว่าแนวคิดการปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทยในขณะนี้ยังตามแนวคิดสากลไม่ทันด้วยซ้ำ ปัจจุบันไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฉบับที่ 131 ที่ในมาตรา 3 ของอนุสัญญาฉบับดังกล่าว ระบุให้การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ต้องพิจารณาทั้งปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ความต้องการของแรงงาน และครอบครัวควบคู่ ดังนั้นจึงอยากให้ท่านนายกฯ เน้นย้ำให้ไตรภาคีทบทวนอีกครั้งถึงประเด็นทางเศรษฐกิจอื่นด้วย
ข้อเสนอที่สอง ผลกระทบของการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำต่อภาคธุรกิจ รัฐสามารถเตรียมนโยบายรองรับผลกระทบต่อ SMEs และภาคเอกชน เช่น การพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีนิติบุคคล การพิจารณาประเด็นสมทบค่าประกันสังคมให้กับผู้ประกอบการ การช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถนำค่าใช้จ่ายในส่วนค่าแรงที่เพิ่มมาหักค่าใช้จ่ายในการชำระภาษีได้ ดังนั้นประเด็นสำคัญอีกด้าน คือรัฐต้องออกนโยบายเยียวยาผลกระทบ เพื่อคลายความกังวลให้เอกชนไปพร้อมกัน
ข้อเสนอที่สาม การเพิ่มผลิตภาพ และทักษะให้แรงงานในระยะยาว เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ภาคธุรกิจและเศรษฐกิจ และบรรเทาผลกระทบของค่าแรงที่สูงขึ้น รัฐต้องมีนโยบายพัฒนาฝีมือแรงงาน พัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต ปัจจุบันแรงงานไทยส่วนใหญ่ยังมีทักษะต่ำ สัดส่วนสูงถึง 62% ของแรงงานทั้งหมด (จากข้อมูลสำรวจภาวะการทำงานของประชากรปี 2558-2565 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน และการคำนวณของ ธปท.)
ขณะเดียวกันรัฐควรมีนโยบายสนับสนุนภาคธุรกิจให้ปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยี ลงทุนเครื่องจักรมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไปพร้อมๆ กันผ่านมาตรการจูงใจ เช่น มาตรการหักรายจ่ายเพื่อลงทุนในเครื่องจักรได้เพิ่มขึ้น มีวงเงินสนับสนุนการวิจัย และพัฒนา เป็นต้น
“พรรคก้าวไกล ขอเรียกร้องให้ท่านนายกรัฐมนตรีเอาจริงเอาจัง และให้ความสำคัญกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อดูแลสวัสดิภาพของพี่น้องแรงงานไทย” นายสิทธิพล ระบุ.
บาทอ่อนค่าหนัก หลังตลาดคาดเฟดลดดอกช้าลง หนุนดอลล์แข็งค่าขึ้น แนะผู้ประกอบการป้องเสี่ยง
https://www.matichon.co.th/economy/news_4326494
บาทอ่อนค่าหนัก หลังตลาดคาดเฟดลดดอกช้าลง หนุนดอลล์แข็งค่าขึ้น แนะผู้ประกอบการป้องเสี่ยง
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.71 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงหนักจากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 35.32 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 35.30-36.00 บาทต่อดอลลาร์ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.55-35.80 บาทต่อดอลลาร์
นายพูนกล่าวว่า โดยนับตั้งแต่ช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลงต่อเนื่อง (แกว่งตัวในกรอบ 35.30-35.80 บาทต่อดอลลาร์) หลังรายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ล่าสุด ออกมาดีกว่าคาด ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดต่างกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจไม่ได้ลดดอกเบี้ยลงเร็วอย่างที่ตลาดเคยประเมินไว้ก่อนหน้า ทำให้เงินดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากการพลิกกลับมาอ่อนค่าของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) หลังผู้เล่นในตลาดคลายกังวลแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในการประชุมเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ เงินบาทยังเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าเพิ่มเติมจากโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะปรับฐาน หลังราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่องสู่โซนแนวรับ ตามการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ
“สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าต่อเนื่อง ตามการปรับตัวขึ้นของเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด ในสัปดาห์นี้ ควรระวังความผันผวน ในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุมบรรดาธนาคารกลางหลัก อาทิ เฟด ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ธนาคารอังกฤษ (BOE) และรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ จากฝั่งสหรัฐฯ ยุโรป รวมถึงจีน” นายพูนกล่าว
นายพูนกล่าวว่า สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท โมเมนตัมการอ่อนค่ายังคงอยู่ ทำให้เงินบาทอาจอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้าน 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ ต้องจับตาทิศทางราคาทองคำ เนื่องจาก โฟลว์ธุรกรรมทองคำยังคงส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทได้พอสมควร โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ราคาทองคำได้ย่อตัวลงใกล้โซนแนวรับ นอกจากนี้ ค่าเงินหยวนจีนก็อาจส่งผลต่อทิศทางสกุลเงินเอเชียได้ ซึ่งจะขึ้นกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีนว่าจะสะท้อนภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ดีขึ้นหรือไม่
ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เรามองว่า เงินดอลลาร์มีโอกาสกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดหรือเฟดส่งสัญญาณพร้อมคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานกว่าที่ตลาดกำลังคาดการณ์อยู่ อนึ่ง หากเฟดเซอร์ไพรส์ตลาดด้วยการขึ้นดอกเบี้ย ก็อาจทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเร็วและแรง
“ตลาดการเงินยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง แนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และการเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) บริหารความเสี่ยง ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง“ นายพูนกล่าวว่า