อักขรวิธีลายสือไทย(อักษรไทยสุโขทัยสมัยพ่อฃุนรามคำแหง) โดยละเอียด ตอนที่ ๒

ต่อจากกระทู้ที่แล้วในตอนที ๑ https://ppantip.com/topic/42389856/comment2-1

สระเอา
เฃียนแบบเดียวกับปัจจุบัน แค่เฃียนติด

สระอำ
เฃียนแบบปัจจุบัน

นิคหิตหรืออนุสวาร (-ํ)
ถ้าเป็นฅนที่เรียนปาฬีมาจะรู้จักเจ้านี้ว่าตัวอังบ้าง อย่างไรเสียตัว อํ ในยุคนี้จะเป็นตัว "ม" เป็นหลัก  แต่ประเด็นคือ อํ ยุคนี้สามารถเป็นเสียงตัวสะกดสระอะและโอะได้ ในจุดนี้อาจจะยากเสียหน่อยเพราะต้องอาศัยความเคยชิน

วรรณยุกต์
หลังจากผ่านสระมาเราก็มาเรื่องอื่นกันบ้าง วรรณยุกต์ยุคนี้มีสองรูปคือเอกกับโท มีตัวโทที่หน้าตาไม่เหมือนกับปัจจุบัน แต่ก็ต้องขอกำชับก่อนนะครับว่าวรรณยุกต์ในยุคนี้ "ออกเสียงคนล่ะแบบกับปัจจุบัน" และก็ต้องระวังสับสนกับเครื่องหมายฝนทองด้วย

ตัวเลข
ตัวเลขไทยในยุคนี้มีหลักฐานปรากฏแค่ ๖ ตัว (เพราะฉะนั้น หากใครจะใช้เฃียนตัวเลขโดยใช้ลายสือ ฯ แนะนำให้เฃียนเป็นตัวหนังสือจะดีกว่า)

เครื่องหมายประกอบการเฃียน
มีมา ๒ ตัว  ตัวแรกเป็นตัวที่สำคัญมากนั้นคือ "ฟองมัน (๏)" เครื่องหมายตัวนี้ใช้เพื่อเริ่มย่อหน้าใหม่หรือฃึ้นหัวข้อใหม่ เนื่องจากในอดีตในการเฃียนหนังสือในอดีตไม่มีการใช้ "ย่อหน้า" เวลาฃึ้นเรื่องใหม่จึงต้องใส่เครื่องหมาย
        แต่หลายท่านคงจะสงสัยว่ายุคพ่อฃุนราม ฯ มีฟองมันด้วยหรอ ? ทำไมไม่เคยเห็นมาก่อนเลย ?อันที่จริงฟองมันนี้มันอยู่บนจารึกหลักที่ ๑ บรรทัดแรก เพียงแต่ด้วยที่จารึกมันเลือนกอปรกับมันยังไม่หน้าตาเหมือนฟองแบบยุคปัจจุบัน

เครื่องหมายคั่นข้อความ
ถ้าให้เทียบเป็นเครื่องหมายแบบยุคปัจจุบันคงจะเหมือนลูกน้ำหรือจุลภาค (,) แต่สำหรับยุคสุโขทัยจะมมีหน้าตาไปทางเครื่องหมายขีดโค้ง ๆ (-) มากกว่า
เครื่องหมายนี้มันอยู่ตรงจารึกหลักที ๑ ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๒๒

อักขรวิธีพิเศษ
มีปรากฏให้เห็นอยู่ ๒ คำ คือคำว่า จูง (เฃียนเป็น  ูจอง) และ ปตู [ประตู] ที่ในยุคนั้นแทนที่เป็น"ปตู"ก็กลับเฃียนเป็น "  ูปต"ซึ่งควรจะอ่านว่า "ปูตฺ"มากกว่า

       นี้ก็ถือว่าเป็นเนื้อหาทั้งหมดฃองอักขรวิธี ณ สมัยพ่อฃุนรามคำแหงจากหลักฐานที่มีมาจนถึงปัจจุบัน หากในอนาคตมีการพบหลักฐานหรือมีการเสนอข้อเสนอใหม่ เนื้อหาภายในกระทู้ก็อาจจะตกยุคก็ถือว่าอย่าได้ถือว่ามันเป็นอกาลิโกนะครับ  สำหรับครั้งนี้ก็ถือว่าในเรื่องฃองลายสือไทยนี้จบไปแล้ว ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาจนถึง ณ จุดนี้

อ้างอิง
อ้างอิง : จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ,“จากลายสือไทยสู่อักษรไทย”,พิมพ์ครั้งแรก,กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๑
อิงอร สุพันธุ์วนิช, วิวัฒนาการอักษรและอักขรวิธีไทย, พิมพ์ครั้งแรก,กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๗
เทิม มีเต็ม, “อักษรไทยโบราณ”,ใน แบบเรียนหนังสือภาษาโบราณ, เทียมสิทธิ์ หลวงสุภา และคณะ,บรรณาธิการ ( นครปฐม : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๔๓ ),หน้า ๕๓-๗๖
ยอร์ช เซเดส์, “ตำนานอักษรไทย ฉบับของ กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ”,โครงการพัฒนาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ๒๕๐๔
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่