ว่าด้วยเรื่องฃองอักษรไทยสุโขทัย หรือว่าลายสือไทย ตอนที่ ๒

ต่อจากกระทู้ที่แล้วเลยนะครับ
๏ ทำไมอักษรในยุคหลังถึงไม่เฃียนสระบรรดาเดียวกับพยัญชนะ ๚
                 ในระบบอักขรวิธีฃองลายสือไทยรวมถึงอักขรวิธีอักษรไทยในทุกยุค มีเพียงช่วงเดียวเท่านั้นที่ปรากฏว่ามีการเฃียนสระอยู่บรรทัดเดียวกันกับพยัญชนะ เป็นเหตุที่ทำให้มีการตั้งขอสังเกตว่าการวางสระแบบนี้ นำมาจากอักษรโรมัน และเป็นส่วนที่อ.บางท่านตั้งข้อเสนอว่าศิลจารึกหลักที่ ๑ ทำฃึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์  แต่ในด้านฃองอักขรวิธีในสมัยพ่อฃุนราม ฯ นั้นไม่ได้เรียงสระแบบตัวอักษรโรมันซะทีเดียว สระในสามารถวาง หน้า หลัง ปิดหัวปิดท้าย แต่ไม่มีสระที่อยู่บนล่าง
                
                ในส่วนที่ในยุคหลังถึงนำสระกลับไปไว้ที่เดิม ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แต่ก็พอจะสันนิษฐานได้ว่าอักขรวิธีในลักษณะ ทำให้ฅนที่ใช้อักษรมอญหรือขอมโบราณไม่คุ้นชิน และจากประสบการ์ณส่วนตัวฃองผู้เฃียนที่ได้ศึกษาอักษรไทยสุโขทัย ผมบอกได้เลยว่าลายสือไทยในยุคนี้มันอ่านและ"เฃียน"ยาก เพราะอะไร ลองดูคำสองคำนี้ดูครับ ว่าคำไหนอ่านว่าอย่างไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
              เพราะว่าเมื่อตัวตัวเชิงออกไปจากอักขรวิธีแล้ว ทำให้การเฃียนตัวควบกล้ำเปลี่ยนเป็นการ "เฃียนพยัญชนะต้นติดกับตัวควบ"แทน ส่วนการเฃียนตัวสะกดไม่ว่าจะเป็นตัวสะกดแม่ใดหรือว่าผสมกับสระตัวไหน ตัวสะกดจะวางห่างจากสระหรือพยัญชนะต้นมานิดหน่อย
              ด้วยระบบในลักษณะนี้ ทำให้ในการใช้งานจริงจึงค่อนฃ้างจะมีปัญหา เพียแค่เฃียนหวัดไปนิดเดียวก็ทำให้ความหมายมันผิดเพี้ยนไปเลย กอปรกับการวางสระในลักษณะนี้ ทำให้ผู้ที่ใช้อักษรชนิดอื่นไม่คุ้นชิน  ในยุคต่อ ๆ มาคือในยุคฃองพระยาเลอไทยจึงไม่เฃียนสระไว้บรรทัดเดียวกับพยัญชนะแล้ว

             ตัวผมเองก็ลืมผู้เรื่องยุคสมัยไป อันที่จริงแล้วนี้หนะครับ ลายสือไทยไม่ได้มีลักษณะเดียวนะครับ มันสามารถแบ่งตามลักษณะฃองอักษรได้ทั้งหมด ๔ ยุคด้วยกัน
            ยุคแรกคือยุคฃองพ่อฃุนราม ฯ ลักษณะอักษรในยุคนี้ก็คือตามที่เห็นในจารึกหลักที่ ๑ นี้แหละครับ (ปัจจุบันมีอักษรลักษณะนี้หลักฐานแค่หลักเดียว ดีที่มันยาวหน่อย)
             ยุคที่สอง ยุคฃองพระยาเลอไทย ในยุคนี้พบหฃักฐานค่อนฃ้างที่จะน้อยมาก ๆ ที่เด่น ๆ ก็มีหลักที่ ๑๐๗ จารึกวัดบางสนุก (มีปัญหาเรื่องการกำหนด บางทีจารึกหลักนี้อาจไม่ได้อยู่ในรัชสมัยพระยาเลอไทย)
              ยุคที่สาม ยุคฃองพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ฦาไทยหรือลิไทย ได้แก่ หลักที่ ๒ จารึกวัดศรีชุม ,หลักที่ ๓ นครชุม ,หลักที่ ๕ วัดป่ามะม่วง (ภาษาไทย) ลฯล 
              ยุคที่สี่ นับตั้งแต่หลังยุคพระยาฦาไทยลงไป จารึกที่พวกเราคุ้นเคยในยุคนี้ก็เช่น หลักที่ ๓๗ จารึกกฎหมายลักษณะโจร , หลักที่ ๑๐๖ จารึกวัดช้างล้อม
              ลายสือไทยไม่ได้มีหน้าตาแบบเดียวกันในทุกยุคทุกสมัย แบบที่หลาย ๆท่านเฃ้าใจกันนะครับ
      
              ต่อที่ยุคฃองพระยาเลอไทย เนื่องจากในยุคนี้มีหลักฐานเป็นจารึกน้อย มีเพียงหลักเดียวคือหลักที่ ๑๐๗ (แล้วบางทีอาจไม่ได้อยู่ในยคพระยาเลอไทย แต่เรื่องนี้ยังคงต้องศึกษาเพิ่มเติม) ในยุคนี้พบรูปสระเพิ่มคือ สระโอะ
             ณ ยุคนี้มีการปรับเปลี่ยนในเรื่องฃองสระไปพอสมควร ตอนนี้สระอุ อู อี อี อือ ได้กลับไปอยู่บนล่างตัวพยัญชนะแล้ว  
              สระไอ โอ ใอ ตอนนี้ก็ยืด~~กลับมาสูงกว่าตัวอื่นแล้ว

             แถมเรื่องการเฃียนตัวชิดตัวห่างแบบในยุคพ่อฃุนราม ฯ ก็ตัดไปแล้ว นับตั้งแต่ในช่องไฟระหว่างตัวกดหรือตัวควบกล้ำจะวางห่างเท่า ๆ กัน
             ต่อมายุคฃองพระมหาธรรมราชาที่ ๑  พบตัวพยัญชนะเพิ่มอีกหนึ่งตัวคือ "ฌ เฌอ     
            แล้วในยุคนี้แลดูเหมือนว่าฅนดูจะเริ่มไม่อยากเฃียนอักษรหันแล้ว จึงมีการคิดเอา"ไม้หันอากาศ ( -ั )" มาใช้แทนการเขียนอักษรหัน  แต่ไม้หัน ฯ
ในยุคนี้จะใส่กำกับไว้บนตัวสะกด ก่อนที่ภายหลังมันจะค่อย ๆเลื่อนมาที่ฝั่งพยัญชนะต้น ก็ตอนพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ ฯ นี้เองไม้หันอากาศถึงมาอยู่ตรงพยัญชนะต้น
             แต่ว่า อักษรหัน ก็ไม่ได้ถูกยกเลิกไปแต่อย่างใดนะครับ อักษรหันยังคงมีใช้มาจนถึงปัจจุบัน อย่าง"ร หัน"นี้ก็ใช่  อักษรหันมีใช้อยู่เพียงแต่พบน้อยลงมาก ในจินดามณีหลายฉบับยังมีการใช้อักษรหันอยู่ประปราย เนื่องจากการเฃียนอักษรหันมันเมื่อยมือ มาเฃียนไม้หันอากาศง่ายกว่า
            

            ในยุคสุดท้ายคือหลังยุคพระยาฦาไทย ในยุคนี้เองถึงเจอหลักฐานฃอง "ฒ ผู้เฒ่า" กับ "ฬ จุฬา" สระพบสระ "อึ" กับ "เอาะ"
             ด้านวรรณยุกต์โท ในยคนี้เปลี่ยนจากรูปบวก กลายเป็นเครื่องหมายติ๊กถูก แบบที่เราคุ้นเคยกัน
             มีการนำ"ตัวเชิง"กลับมาใช้ในคำควบกล้ำ และ ตัวซ้อน ในคำว่า "พฺระ" กับคำว่า "ปราชฺญ" เป็นการนำระบบอักขรวิธีพวกตัวขอมมาผสมกับลายสือไทย ในยุคหลังจะไมีพบพวกเชิง ร แต่จะยังพบเชิง ญ หญิง มาจนถึงนสมัยรัตนโกสินทร์ นั้นเป็นเหตุที่ ญ หญิง มันกลับมามีหาง ทั้งที่ในสมัยฃองพ่อฃุนตัดหางทิ้งไปแล้ว
           
              นอกจากนี้ยังพบพวก "พยัญชนะแฝด"  เป็นตัว ห หีบ ติดกับ น หนู หรือ ม ม้า และอักขรวิธีพิเศษอย่างคำว่า"ฅน"   อักษรแฝดในลักษณะนี้มีให้เห็นในอักษรลาวยุคปัจจุบันและพวกอักษรไทเวียตด้วย 
            ฃองอักษรลาว  
            หฺม ໝ , หฺน ໜ
            ฃองอักษรไทเวียต
            หฺม  ꪢ  , หฺน  ꪘ
             
             นี้ก็เป็นเนื้อหาโดยย่อทั้งหมดฃองลายสือไทย หากใครสนใจค้นคว้าเพิ่มเติม สามารถไปสืบค้นเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่ผมนำมาอ้างอิง หากมีข้อผิดพลาดแต่ประการใดผมขอรับแต่เพียงผู้เดียวครับ
            จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ,“จากลายสือไทยสู่อักษรไทย”,พิมพ์ครั้งแรก,กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๑
            อิงอร สุพันธุ์วนิช, วิวัฒนาการอักษรและอักขรวิธีไทย, พิมพ์ครั้งแรก,กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๗
            เทิม มีเต็ม, “อักษรไทยโบราณ”,ใน แบบเรียนหนังสือภาษาโบราณ, เทียมสิทธิ์ หลวงสุภา และคณะ,บรรณาธิการ ( นครปฐม : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๔๓ ),หน้า ๕๓-๗๖
            ยอร์ช เซเดส์, “ตำนานอักษรไทย ฉบับของ กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ”,โครงการพัฒนาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ๒๕๐๔
 
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่