#๘ ขั้นตอนการเขียนกระทู้ธรรมตรี-โท-เอก
#การแต่งกระทู้ธรรมชั้นตรี จะมีขั้นตอนหลักๆ อยู่ ๘ ขั้นตอนใหญ่ จะเห็นว่ามีตัวเลขกำกับอยู่ด้านหน้า หมายถึงขั้นตอนที่ต้องเขียนดังนี้
-ขั้นตอนที่ ๑ เขียน "สุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล" เป็นสุภาษิตที่สนามหลวงกำให้เป็นโจทย์ ต้องเขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ
-ขั้นตอนที่ ๒ ย่อหน้าเขียน คำนำหรืออารัมภบท คือเขียนคำว่า "บัดนี้ จักได้ ...สืบต่อไป"
-ขั้นตอนที่ ๓ ย่อหน้าเขียน อธิบายเนื้อความสุภาษิตบทตั้ง ประมาณ ๘-๑๕ บรรทัด จากนั้นต่อด้วยคำ "สมดังสุภาษิตที่มาใน ...ว่า" เช่น "สมดังสุภาษิตที่มาใน ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท ว่า" -ต้องปิดด้วยคำว่า "ว่า" เสมอ เป็นการบอกที่มาของสุภาษิตเชื่อมก่อนจะเขียนในขั้นที่ ๔
-ขั้นตอนที่ ๔ เขียน สุภาษิตเชื่อมพร้อมคำแปล เป็นสุภาษิตที่เราจำมาเอง ให้อยู่กึ่งกลางและตรงกับสุภาษิตบทตั้งด้วย
-ขั้นตอนที่ ๕ ย่อหน้าเขียน อธิบายเนื้อความสุภาษิตเชื่อม ประมาณ ๘-๑๕ บรรทัด
-ขั้นตอนที่ ๖ ย่อหน้าเขียน สรุปความกระทู้ธรรม ให้ได้ใจความสาระสำคัญ ประมาณ ๕-๖ บรรทัด เมื่อสรุปเสร็จแล้วต้องเขียนต่อด้วยคำว่า "สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า
-ขันตอนที่ ๗ ให้ยกสุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล มาเขียนปิดอีกครั้งหนึ่ง และจะต้องเขียนให้อยู่กึ่งกลางตรงกันพอกับสุภาษิตเชื่อม
-ขั้นตอนที่ ๘ บรรทัดสุดท้ายเขียนคำว่า "มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้" เพื่อปิดการเขียนเรียงแก้กระทู้ธรรมทั้งหมด
สำคัญ : ตั้งแต่ขั้นตอนที่ ๑ จนถึง ๘ ต้องเขียน "เว้นบรรทัดทุกบรรทัด"
ตัวอย่าง
สุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล
ททมาโน ปิโย โหติ
ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก
ชื่อคัมภีร์ (หนังสือ ) อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
สุภาษิตเชื่อมพร้อมคำแปล
ททํ ปิโย โหติ ภชนฺติ นํ พหู
ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา
ชื่อคัมภีร์ (หนังสือ ) อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
#ตัวอย่างการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นตรี-ชั้นโท-ชั้นเอก
อ่านเพิ่มเติมคลิก
นักธรรมและธรรมศึกษา
๘ ขั้นตอนการเขียนกระทู้ธรรมตรี-โท-เอก
#การแต่งกระทู้ธรรมชั้นตรี จะมีขั้นตอนหลักๆ อยู่ ๘ ขั้นตอนใหญ่ จะเห็นว่ามีตัวเลขกำกับอยู่ด้านหน้า หมายถึงขั้นตอนที่ต้องเขียนดังนี้
-ขั้นตอนที่ ๑ เขียน "สุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล" เป็นสุภาษิตที่สนามหลวงกำให้เป็นโจทย์ ต้องเขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ
-ขั้นตอนที่ ๒ ย่อหน้าเขียน คำนำหรืออารัมภบท คือเขียนคำว่า "บัดนี้ จักได้ ...สืบต่อไป"
-ขั้นตอนที่ ๓ ย่อหน้าเขียน อธิบายเนื้อความสุภาษิตบทตั้ง ประมาณ ๘-๑๕ บรรทัด จากนั้นต่อด้วยคำ "สมดังสุภาษิตที่มาใน ...ว่า" เช่น "สมดังสุภาษิตที่มาใน ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท ว่า" -ต้องปิดด้วยคำว่า "ว่า" เสมอ เป็นการบอกที่มาของสุภาษิตเชื่อมก่อนจะเขียนในขั้นที่ ๔
-ขั้นตอนที่ ๔ เขียน สุภาษิตเชื่อมพร้อมคำแปล เป็นสุภาษิตที่เราจำมาเอง ให้อยู่กึ่งกลางและตรงกับสุภาษิตบทตั้งด้วย
-ขั้นตอนที่ ๕ ย่อหน้าเขียน อธิบายเนื้อความสุภาษิตเชื่อม ประมาณ ๘-๑๕ บรรทัด
-ขั้นตอนที่ ๖ ย่อหน้าเขียน สรุปความกระทู้ธรรม ให้ได้ใจความสาระสำคัญ ประมาณ ๕-๖ บรรทัด เมื่อสรุปเสร็จแล้วต้องเขียนต่อด้วยคำว่า "สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า
-ขันตอนที่ ๗ ให้ยกสุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล มาเขียนปิดอีกครั้งหนึ่ง และจะต้องเขียนให้อยู่กึ่งกลางตรงกันพอกับสุภาษิตเชื่อม
-ขั้นตอนที่ ๘ บรรทัดสุดท้ายเขียนคำว่า "มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้" เพื่อปิดการเขียนเรียงแก้กระทู้ธรรมทั้งหมด
สำคัญ : ตั้งแต่ขั้นตอนที่ ๑ จนถึง ๘ ต้องเขียน "เว้นบรรทัดทุกบรรทัด"
ตัวอย่าง
สุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล
ททมาโน ปิโย โหติ
ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก
ชื่อคัมภีร์ (หนังสือ ) อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
สุภาษิตเชื่อมพร้อมคำแปล
ททํ ปิโย โหติ ภชนฺติ นํ พหู
ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา
ชื่อคัมภีร์ (หนังสือ ) อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
#ตัวอย่างการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นตรี-ชั้นโท-ชั้นเอก
อ่านเพิ่มเติมคลิก นักธรรมและธรรมศึกษา