สัตว์ที่อยู่ในอบายมีมาก
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๑/๑๗๑๙.
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษ ตัดหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ในชมพูทวีปนี้ นำมารวมไว้ในที่เดียวกัน ครั้นนำมารวมไว้ในที่เดียวกันแล้ว กระทำให้เป็นหลาว ครั้นกระทำให้เป็นหลาวแล้ว ก็เสียบสัตว์ใหญ่ๆ ในมหาสมุทร ด้วยหลาวขนาดใหญ่ เสียบสัตว์ขนาดกลางๆ ในมหาสมุทร ด้วยหลาวขนาดกลาง เสียบสัตว์ขนาดเล็กๆ ในมหาสมุทร ด้วยหลาวขนาดเล็ก.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ใหญ่ๆ ในมหาสมุทรยังไม่ทันจะหมด แต่หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ในชมพูทวีปนี้ก็หมดเสียแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ตัวเล็กในมหาสมุทรขนาดที่เสียบด้วยหลาวได้โดยยากนั้น มีมากกว่านั้นมากนัก.
ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะมันมาก โดยตัวมันเล็ก ข้อนี้ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! อบายก็กว้างใหญ่อย่างนั้นเหมือนกัน จากอบายที่กว้างใหญ่อย่างนั้น ก็มีทิฏฐิสัมปันนบุคคล (บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) หลุดพ้นออกมาได้ เขารู้ตามเป็นจริงว่า “นี้ ความทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า :-
ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้.
https://etipitaka.com/read/thaipb/11/0/
สัตว์ที่อยู่ในอบายมีมาก | พุทธวจน
สัตว์ที่อยู่ในอบายมีมาก
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๑/๑๗๑๙.
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษ ตัดหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ในชมพูทวีปนี้ นำมารวมไว้ในที่เดียวกัน ครั้นนำมารวมไว้ในที่เดียวกันแล้ว กระทำให้เป็นหลาว ครั้นกระทำให้เป็นหลาวแล้ว ก็เสียบสัตว์ใหญ่ๆ ในมหาสมุทร ด้วยหลาวขนาดใหญ่ เสียบสัตว์ขนาดกลางๆ ในมหาสมุทร ด้วยหลาวขนาดกลาง เสียบสัตว์ขนาดเล็กๆ ในมหาสมุทร ด้วยหลาวขนาดเล็ก.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ใหญ่ๆ ในมหาสมุทรยังไม่ทันจะหมด แต่หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ในชมพูทวีปนี้ก็หมดเสียแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ตัวเล็กในมหาสมุทรขนาดที่เสียบด้วยหลาวได้โดยยากนั้น มีมากกว่านั้นมากนัก.
ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะมันมาก โดยตัวมันเล็ก ข้อนี้ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! อบายก็กว้างใหญ่อย่างนั้นเหมือนกัน จากอบายที่กว้างใหญ่อย่างนั้น ก็มีทิฏฐิสัมปันนบุคคล (บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) หลุดพ้นออกมาได้ เขารู้ตามเป็นจริงว่า “นี้ ความทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า :-
ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้.
https://etipitaka.com/read/thaipb/11/0/