กินหลายๆมื้อ หรือกินน้อยๆ มื้อ แบบไหนส่งผลดีกับรูปร่าง และสุขภาพกว่ากัน

งานที่นำมาแชร์ในวันนี้ เป็นงานวิจัยที่ศึกษาแบบ Systematic Review และ Meta-Analysis ซึ่งศึกษาข้อมูลจากงานที่เป็น RCTs หลายๆงานในช่วงที่ผ่านมา โดยดูผลของการทานหลายมื้อ (4 มื้อขึ้นไป) และน้อยมื้อ (ไม่เกิน 3)

โดยผลที่เขาสนใจ ก็เป็นในแง่ของสัดส่วนร่างกาย (Body composition) และสุขภาพในด้าน Cardiometabolic health ผ่าน Bio marker ต่างๆที่เป็นข้อบ่งชี้ สุขภาพทางด้านนี้ และกลุ่มตัวอย่างที่สนใจก็เป็นกลุ่มผู้ใหญ่ (Adults) หลังจากค้นข้อมูลก็มีงานที่เข้าเกณฑ์นำมาศึกษา 16 งาน

งานที่นำมาทำ Meta-Analysis ก็มีจำนวน 11 งาน ก็มีทั้งเทียบแบบ 1 กับ 3 มื้อ 3 กับ 6 มื้อ และแบบอื่น ซึ่ง 3 กับ 6 มื้อนี่มีหลายงานเลยที่ทำกัน ส่วนในแง่พลังงานอาหาร มีทั้งทานสมดุลย์ และทานเพื่อลดน้ำหนัก (Deficit) แต่รวมๆแล้ว ในกลุ่มทดลองงานทั้งสองกลุ่ม ส่วนใหญ่จะกำหนดให้กินเท่ากัน

ผลที่พบในแง่ของการเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก BMI มวลไขมัน ไม่ค่อยต่างกันมาก แต่ว่าเป็นการไม่ค่อยต่างกันที่เป็นหลักฐานที่ความแน่นอนต่ำ ยังให้ข้อสรุปได้ไม่ชัดเจนนะครับ ทั้งจากจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่น้อย (ไม่ถึง 400) และข้อจำกัดด้านอื่นๆ ในแต่ละงานที่ทำกัน

ส่วนข้อมูลด้าน Cardiometabolic Health อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำตาลในเลือด อินซูลิน ไตรกีเซอไรด์ LDL HDL คอเรสเตอรอล ต่างๆ ก็คล้ายๆกัน คือไม่พบความแตกต่าง แต่เป็นหลักฐานที่มีความแน่นอนชัดเจนต่ำ เนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนน้อย รูปแบบการทดลองที่แตกต่างกัน ฯลฯ

สาเหตุที่มีกลุ่มตัวอย่างน้อย ส่วนนึงเพราะว่าเกณฑ์ในการคัดงานของเขา ระยะเวลาอย่างน้อยต้องมากกว่า 2 สัปดาห์ และถ้าเป็นงานที่ศึกษาแบบ Cross over คือทำในคนเดียวกัน ให้ทานทั้งสองแบบ จะต้องมีช่วง Wash out พักผลของแต่ละการทาน ก็เลยมีงานที่เข้าเกณฑ์น้อย

สรุป ถ้าทานเท่าๆกัน ความถี่การทานว่ากี่มื้อ ส่งผลต่อรูปร่าง และ Cardiometabolic Health ไม่ค่อยต่างกัน ทั้งทานน้อย หรือมากมื้อ แต่ความชัดเจนของหลักฐาน อยู่ในระดับที่ต่ำมาก ต้องศึกษาเพิ่มเติมให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น ส่วนเราจะทานกี่มื้อก็เอาตามสะดวกเลยครับ

อ้างอิง
Blazey, P., Habibi, A., Hassen, N. et al. The effects of eating frequency on changes in body composition and cardiometabolic health in adults: a systematic review with meta-analysis of randomized trials. Int J Behav Nutr Phys Act 20, 133 (2023). https://doi.org/10.1186/s12966-023-01532-z
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่