หลายสำนักมุ่งเน้นผิดทาง ไปเน้นให้ทานเยอะๆ ทำบุญบ่อยๆ
บางสายสอนให้เข้าสมาธิอย่างเข้มข้น หวังฌานบ้าง หวังความสงบนิ่งในจิตใจบ้าง
สิ่งเหล่านี้เป็นลัทธินอกพุทธ มีมาตั้งแต่ก่อนศาสนาพุทธแล้ว
ไตรสิกขาประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา
สิ่งที่ทำให้บรรลุธรรมคือปัญญาเพียงตัวเดียว ศีลกับสมาธิเป็นเพียงพื้นฐานให้เกิดปัญญา
การทำไตรสิกขาที่ถูกต้องปลายทางต้องเกิดปัญญา ถ้าไม่เกิดปัญญาถือเป็นมิจฉาไม่ต่างจากลัทธิอื่น
ศีลกับสมาธิเอื้อให้เกิดกิเลสได้ เช่น ทำบุญแล้วใจฟู ติดภพแห่งความใจฟูนี้ ไปเกิดบนสวรรค์
เข้าสมาธิเข้าฌานแล้วใจสงบ ติดภพแห่งความสงบนี้ ไปเกิดเป็นพรหม
วิธีปฏิบัติ เวลาทำบุญหรือเข้าสมาธิให้วางใจเป็นกลาง แล้วพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
อย่าเคลิ้มไปกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น อารมณ์ทุกอย่างเป็นอนิจจัง เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป
ตัวอย่างที่ 1 ขณะให้ทานด้วยเงินและสิ่งของ เกิดความรู้สึกเสียดายเงินและสิ่งของนั้น
ให้รู้ทันความเสียดายนี้ สังเกตว่ายึดติดเงินและสิ่งของมากขนาดนี้เลยหรือ
พอให้ทานบ่อยเข้า สังเกตบ่อยเข้า รู้ทันความเสียดายบ่อยๆ ค่อยๆ ปล่อยวางเงินและสิ่งของ
เป็นการให้ทานที่ทำให้เกิดปัญญา เห็นความยึดติด ปล่อยวางความยึดติด เรียกว่ามาถูกทาง
ตัวอย่างที่ 2 ขณะทำบุญ ให้ทาน ตักบาตร ช่วยเหลือคนอื่น เกิดความรู้สึกใจฟูอิ่มเอิบเหลือเกิน
ให้ถอนความรู้สึกลงมาแล้วสังเกต ทำบุญแล้วใจฟูงั้นเหรอ อีกเดี๋ยวก็ใจห่อเหี่ยวด้วยเรื่องอื่น
อาการใจฟูไม่เที่ยง ควรหรือที่จะยึดติดอาการใจฟู ฝึกสังเกตบ่อยๆ จนปล่อยวางอาการใจฟูได้
ตัวอย่างที่ 3 เข้าสมาธิ เข้าฌาน เกิดความสงบเหลือเกิน สุขยิ่งกว่ากามหลายร้อยเท่า
ยิ่งเข้าฌานสูงขึ้นความสุขหายไปเหลือแต่อุเบกขา ใจสงบนิ่งใจว่างเหลือเกิน
ให้สังเกตอาการของสมาธิ ความสงบนี้อยู่ได้เพราะมีสมาธิ ออกจากสมาธิเมื่อไรกลับเป็นเหมือนเดิม
ต้องข่มไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิตเลยเหรอ สมาธิไม่เที่ยง ควรหรือที่จะยึดติดสมาธิ
ฝึกสังเกตบ่อยๆ จนปล่อยวางความสุข ความสงบนิ่ง ความว่าง ที่เกิดจากสมาธิได้
ให้ทาน ทำบุญ นั่งสมาธิ ทำแทบตายก็ไม่บรรลุธรรมถ้าไม่เกิดปัญญา
บางสายสอนให้เข้าสมาธิอย่างเข้มข้น หวังฌานบ้าง หวังความสงบนิ่งในจิตใจบ้าง
สิ่งเหล่านี้เป็นลัทธินอกพุทธ มีมาตั้งแต่ก่อนศาสนาพุทธแล้ว
ไตรสิกขาประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา
สิ่งที่ทำให้บรรลุธรรมคือปัญญาเพียงตัวเดียว ศีลกับสมาธิเป็นเพียงพื้นฐานให้เกิดปัญญา
การทำไตรสิกขาที่ถูกต้องปลายทางต้องเกิดปัญญา ถ้าไม่เกิดปัญญาถือเป็นมิจฉาไม่ต่างจากลัทธิอื่น
ศีลกับสมาธิเอื้อให้เกิดกิเลสได้ เช่น ทำบุญแล้วใจฟู ติดภพแห่งความใจฟูนี้ ไปเกิดบนสวรรค์
เข้าสมาธิเข้าฌานแล้วใจสงบ ติดภพแห่งความสงบนี้ ไปเกิดเป็นพรหม
วิธีปฏิบัติ เวลาทำบุญหรือเข้าสมาธิให้วางใจเป็นกลาง แล้วพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
อย่าเคลิ้มไปกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น อารมณ์ทุกอย่างเป็นอนิจจัง เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป
ตัวอย่างที่ 1 ขณะให้ทานด้วยเงินและสิ่งของ เกิดความรู้สึกเสียดายเงินและสิ่งของนั้น
ให้รู้ทันความเสียดายนี้ สังเกตว่ายึดติดเงินและสิ่งของมากขนาดนี้เลยหรือ
พอให้ทานบ่อยเข้า สังเกตบ่อยเข้า รู้ทันความเสียดายบ่อยๆ ค่อยๆ ปล่อยวางเงินและสิ่งของ
เป็นการให้ทานที่ทำให้เกิดปัญญา เห็นความยึดติด ปล่อยวางความยึดติด เรียกว่ามาถูกทาง
ตัวอย่างที่ 2 ขณะทำบุญ ให้ทาน ตักบาตร ช่วยเหลือคนอื่น เกิดความรู้สึกใจฟูอิ่มเอิบเหลือเกิน
ให้ถอนความรู้สึกลงมาแล้วสังเกต ทำบุญแล้วใจฟูงั้นเหรอ อีกเดี๋ยวก็ใจห่อเหี่ยวด้วยเรื่องอื่น
อาการใจฟูไม่เที่ยง ควรหรือที่จะยึดติดอาการใจฟู ฝึกสังเกตบ่อยๆ จนปล่อยวางอาการใจฟูได้
ตัวอย่างที่ 3 เข้าสมาธิ เข้าฌาน เกิดความสงบเหลือเกิน สุขยิ่งกว่ากามหลายร้อยเท่า
ยิ่งเข้าฌานสูงขึ้นความสุขหายไปเหลือแต่อุเบกขา ใจสงบนิ่งใจว่างเหลือเกิน
ให้สังเกตอาการของสมาธิ ความสงบนี้อยู่ได้เพราะมีสมาธิ ออกจากสมาธิเมื่อไรกลับเป็นเหมือนเดิม
ต้องข่มไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิตเลยเหรอ สมาธิไม่เที่ยง ควรหรือที่จะยึดติดสมาธิ
ฝึกสังเกตบ่อยๆ จนปล่อยวางความสุข ความสงบนิ่ง ความว่าง ที่เกิดจากสมาธิได้