หยุดงานกระทันหัน เนื่องจากคุณแม่ที่ป่วยให้คีโม ภูมิคุ้มกันตก ต้องย้ายเข้าห้องปลอดเชื้อฉุกเฉิน

1.ผมต้องเข้างานก่อน 06.00 น ซื้อเวลาก็ประมาณ 05.50  ของวันที่ 22-11-2023
ได้รับสายจากโรงพยาบาล แจ้งว่า คุณแม่ที่ป่วยอยู่ ภูมิคุ้มกันตก หลังจากที่ให้คีโม เมื่อวานตอนเย็น ต้องย้ายฉุกเฉิน เข้าห้องปลอด เชื้อ ซึ่งผมก็มีกันแค่ 2 คนแม่ลูก คนอื่นเขาก็อยู่ที่อื่น พยาบาลได้แจ้งมา ผมสติแตก ทำอะไรไม่ถูกเพราะ กลัว กลัวจะเสียเขาไป จึงมุ่งหน้าไปโรงพยาบาลเลย จนลืมแจ้งที่ทำงานก่อนไป และช่วงเช้า การจราจรก็เยอะมากกว่าจะถึงโรงพยาบาล ชลบุรี ก็ใช้เวลาเป็นชั่วโมง จาก เขาเขียว - โรงพยาบาลชลบุรี พอยังไปไม่ถึง โรงพยาบาลโทรมาอีกแต่ความที่เสียใจร้องไห้ไม่ได้ยินไม่ได้รับสาย
และเขาก็โทรเข้าที่ทำงาน ที่ทำงานก็ไม่มีคนรับเพราะลูกค้าเยอะ จึงติดต่อ ทางญาติทุกคนก็ช่วยกันโทรเพราะเขาไม่รู้ว่าเราถึงไหนแล้ว แต่โทรไป เบอร์นึงก็โทรติดแต่ไม่มีคนรับ อีกเบอร์ก็ไม่ติดเลย โทรหาฝ่ายบุคคลก็ไม่ติดขึ้นปิดเครื่อง โทรกันจนมีคนรับแล้วจะแจ้งข้อมูลกับเขา แต่เขากลับบอกว่า ไม่รู้ๆติดต่อไม่ได้เหมือนกัน แล้ววางสาย แล้วหัวหน้าก็ต่อว่าลงในกลุ่มว่า ทำไมติดต่อไม่ได้ถึงต้องให้เขาโทรเข้าบริษัท   ผมก็ไม่ได้ตอบเดี๋ยวนั้น  ประมาณแปดโมงกว่าจึงไปตอบและถ่ายรูปส่งให้ดู  ถามต่ออีกว่า ไม่มีญาติเลยหรอที่รับสายติดต่อด่วน ผมตอบว่าไม่มีญาติครับ มีกัน2คนแม่ลูก แต่GM ตอบว่า รับทราบ เข้าใจแล้ว พอมาทำงาน เขาโทรหาฝ่ายบุคคลให้ผมขาดงาน และเซ็นใบเตือน
มันสมเหตุสมผลหรือไม่ครับ กับการขาดงานโดยคิดว่าเราเอาแม่มาอ้าง ปละขับรถไปเอาเอกสารเพื่อมาลาหยุดงานวันนั้น  ผมรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จากตรงนี้เลย หาทางออกได้อย่างไรบ้างครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ฎีกาแรงงาน ที่ 3004/ 2526
      ลูกจ้างไม่มาทํางานมากกว่า 3 วัน เพราะต้องดูแลมารดาที่ป่วยหนัก มีเหตุอันสมควร

------------------
ลงโทษไม่ได้ ....ฟ้องศาลแรงงาน ให้เพิกถอนได้ ฟ้องถูกบริษัท/GM ฐานละเมิดได้ เรียกค่าเสียหายเสียให้เข็ดอีกต่างหาก

มาตรา ๘ ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษา หรือมีคำสั่งในเรื่องต่อไปนี้
(๑)คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
(๕)คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง สืบเนื่องมาจากข้อพิพาทแรงงาน หรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน

ปพพ. มาตรา 420 “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”

คำพิพากษาฎีกาที่ 8108/2559

      การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกหนังสือตักเตือนโจทก์เรื่องบริหารงานล้มเหลว ขาดความเข้าใจในการผลิตงานและขาดความเป็นทีมในฝ่าย พร้อมแนบหนังสือตักเตือนมาท้ายคำฟ้องโดยไม่เป็นความจริง และไม่ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นการใช้อำนาจที่ไม่ชอบและไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติคุณนั้น พอเข้าใจได้ว่า เป็นการกล่าวอ้างว่าการออกหนังสือตักเตือนของจำเลย เป็นการใช้อำนาจลงโทษโจทก์ซึ่งไม่ได้กระทำความผิด โดยไม่ชอบด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์มีข้อโต้แย้งสิทธิกับจำเลยแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่